|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง - วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง - วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ //tnakon.blogbkk.com/main.php?pack=blog_view&t=1&t2=&t3=&id=75 ความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากกับตลาดแรงงาน ดังนั้น อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว อย่ามัวแต่ฟังข่าว หรือ นักวิเคราะห์ ออกมาจ้อให้ฟังรายวัน แล้วก็เชื่อไปตามนั้น ไม่ได้ เพราะว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ข้อมูลเหล่านั้นเป็นข้อมูลจริงๆ หรือว่าเป็นข้อมูลเท็จที่มีการหวังผลอย่างอื่นแอบแฝงอยู่ ถ้าเราแยกแยะตรงนี้ได้ เราก็สามารถเตรียมตัวเองได้ ไม่หลงไปกับกระแส ไม่ดำเนินชีวิตไปแบบประมาท เพราะเมื่อถึงเวลาคับขันขึ้นมา คงยากที่จะมีคนมาช่วยเหลือเรา เพราะต่างก็ต้องช่วยตัวเอง
ตัวอย่างการวิเคราะห์ข่าว (เราจะใช้ความรู้จากเนื้อหาของ การเปลี่ยนแปลง 1 มาใช้กัน)
เมื่อต้นปี-ปลายปี นายกฯ ออกมาให้ข่าวทำนองว่า เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งเชื่อว่าได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการไทยเข้มแข็ง มาตรการกู้ 8 แสนล้าน มาตรการขายพันธบัตรในประเทศต่างๆ และยังมีการระบุว่าตัวเลขเศรษฐกิจไทย จะไม่ติดลบ (24 ก.พ. 2009)
นายกฯ ยืนยันเศรษฐกิจไทยไม่เลวร้ายที่สุดในเอเชีย ข่าว 18.00 น.
Posted on Tuesday, February 24, 2009
//www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/80352/Default.aspx
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า เศรษฐกิจไทยไม่มีปัญหามากเหมือนที่มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส (มูดี้ส์) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินรุนแรงที่สุดในเอเชีย โดยเศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆ
ส่วนการที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 4/51 ติดลบถึง 4.3% นั้นไม่ได้อยู่เหนือความคาดหมาย และคาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/52 คงจะติดลบใกล้เคียงหรือมากกว่าเล็กน้อย แต่เชื่อว่า ในไตรมาส 2/52 จะติดลบลดลง และครึ่งปีหลังปีหลังจะเริ่มฟื้นตัวได้ เพราะรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง
ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน มูดี้ส์ไม่ควรมาวิจารณ์เศรษฐกิจไทย แต่ควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาจะดีกว่า โดยยังมั่นใจว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็ง อีกทั้งรู้จักจุดอ่อนจุดแข็งของไทย ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการที่เหมาะสมมาดูแลเศรษฐกิจอยู่แล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยืนยันว่า การที่สถาบันการเงินในสหรัฐฯและยุโรป 21 แห่งองเข้าแผนฟื้นฟูและปรับโครงสร้างหนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของไทยแน่นอน เพราะขณะนี้สถาบันการเงินของไทยมีความมั่นคงมากที่สุดในโลก เพราะมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็ง มีสภาพคล่องเพียงพอ มีการกันสำรองเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามที่กฎหมายกำหนด
นายกรณ์ยืนยันด้วยว่า ยังไม่มีแนวคิดในการแก้ไขกฎหมายเพื่อขยายเพดานการก่อหนี้ของรัฐบาล โดยในการจัดกรอบงบประมาณประจำปี 2553 ตั้งขาดดุลงบประ มาณไว้ที่ 3.9 แสนล้านบาท สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ 45% ของ GDP ซึ่งสัดส่วนการก่อหนี้สาธารณะยังไม่เกินเพดานที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของ GDP
แต่เดือน พ.ย. นี้ นายกฯ ออกมาให้ข่าวว่า
ความเชื่อนายกอยู่ที่เว็บนี้
//www.pm.go.th/blog/5728
นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นไตรมาสสุดท้ายตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นบวก
วันที่ 2 November 09 20:16:26
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นวิทยากรพิเศษในการประชุมเกี่ยวกับแนวโน้มทางการเมืองและเศรษฐกิจของ ประเทศไทย ของบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซิมิโก้ จำกัด
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ กรุงเทพมหานคร นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นวิทยากรพิเศษในการประชุมเกี่ยวกับแนวโน้มทางการเมืองและเศรษฐกิจของ ประเทศไทย ของบริษัทหลักทรัพย์ เคที ซิมิโก้ จำกัด เพื่อสร้างความเข้าใจและเพิ่มความเชื่อมั่นเกี่ยวกับทิศทางของประเทศไทยทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงความคืบหน้าและแนวโน้มในการบริหารนโยบายการคลังในการกระตุ้น เศรษฐกิจที่ครอบคลุมทั้งงบประมาณปกติและโครงการไทยเข้มแข็งว่า เรื่องเศรษฐกิจและบทบาทของภาครัฐเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยรวมตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา มีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ถ้าเปรียบเทียบเดือนต่อเดือน และถ้าเปรียบเทียบปีต่อปีก็ยังเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าเอาไว้คือ ตัวเลขจะกลับมาเป็นบวกในไตรมาสสุดท้ายอย่างแน่นอน ซึ่งปัจจุบันจากการคาดการณ์เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจปีหน้านั้น จะเริ่มมีการขยับขึ้นไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3
พร้อมกล่าวถึงตัว เลขปัญหาการว่างงานว่า ในสองเดือนที่ผ่านมาไม่เพิ่มขึ้นและมีแนวโน้ม ลดลง ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดและเริ่มฟื้นตัวขึ้น สำหรับทางการด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การส่งออกถ้าเปรียบเทียบเดือนต่อเดือนจะเริ่มดีขึ้นโดยลำดับ ส่วนทางด้านท่องเที่ยวหลักจากที่ติดลบเป็นเลขสองหลักมาเกือบทุกเดือน แต่ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาติดลบเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ และเดือนกันยายนตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้น 16 เปอร์เซ็นต์ โดยขณะนี้เศรษฐกิจข้างนอกค่อนข้างจะฟื้นตัวแล้ว เพราะฉะนั้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาพรวมน่าจะไปได้
ส่วนกรณีของ งบประมาณและปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวได้ประกาศใช้แล้ว เพราะฉะนั้นเงินที่จะลงไปในส่วนของงบประมาณตามปกติไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งปีที่แล้วการใช้จ่ายได้มีการเร่งขึ้นมารวมทั้งงบประมาณกลางปีได้ใช้จ่าย ไปประมาณร้อยละ 90 ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนที่อาจจะล่าช้าเล็กน้อยจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นงบลงทุนที่ยังติดปัญหา อุปสรรคในโครงการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามได้มีการเร่งเรียบร้อยแล้ว
นอก จากนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาลซึ่งเป็นที่ น่าพอใจ คือ 1. การวางรากฐานในเรื่องของระบบสวัสดิการ เช่น เรื่องสิทธิด้านการศึกษา สาธารณสุขที่จะมีการปรับปรุง และเรื่องหลักประกันภายหลังการเกษียณอายุราชการ โดยเฉพาะหากกฎหมายออมแห่งชาติ ออกมาการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจะเป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่คนไทยที่ไม่ได้รับราชการและไม่ได้อยู่ในหลักประกัน สังคมจะมีโอกาสได้รับสวัสดิการที่ครอบคลุมด้วย 2.การที่รัฐบาลสามารถบริหารเศรษฐกิจเพื่อหยุดยั้งการทดถอยซึ่งมีความรุนแรง มากในช่วง 3 เดือนแรก และเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาจนนำมาสู่การลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็น เรื่องสำคัญ และ3.การทำหน้าที่ประธานอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 ได้บรรลุผลสำเร็จและเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยการประชุมดังกล่าวได้ช่วยในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยได้ เป็นอย่างดีหลังจากที่ติดลบมาในช่วงเดือนเมษายนในกรณีมีเหตุความวุ่นวายขึ้น
โดย กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
ที่มา - รัฐบาลไทย
นายกฯคาดสภาพัฒน์แถลงตัวเลขศก.Q3พรุ่งนี้ติดลบน้อยลง ชี้ชัดฟื้นQ4เป็นบวก
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน 2009 10:36:03 น.
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจน โดยรัฐบาลจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อ เพราะยังมีความเปราะบางอยู่ และอาจได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ พรุ่งนี้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ จะแถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 เป็นทางการ คาดว่ายังติดลบแต่มั่นใจว่าน้อยกว่าไตรมาสที่ 2 และไตรมาสสุดท้ายจะกลับมาเป็นบวกได้
//www.ryt9.com/s/iq02/753529
ปธ.สภาหอการค้าไทย พอใจ ผลงาน 6 เดือนของรัฐบาล
วันจันทร์ 3 สิงหาคม 2552 16:46 เศรษฐกิจ อ่าน 53 ครั้ง ยังไม่มีความเห็น วันนี้ (3 ส.ค.) นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลงานรัฐบาลในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา ยอมรับได้ เพราะรัฐบาลมีการเตรียมการทำงานทำการบ้านมาเป็นอย่างดี และสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที โดยมาตรการแรกของรัฐบาล ที่ออกมา อาทิ เงิน 2,000 บาท ให้กับผู้มีรายได้น้อย เบี้ยผู้สูงอายุ มีความจำเป็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย และสร้างความเชื่อมั่นได้ในระดับหนึ่ง และการออกมาตรการระยะที่ 2 ของรัฐบาลที่รัฐบาลเตรียมความพร้อม เพื่อให้ไตรมาส 4 และ ไตรมาส 1 และไตรมาส 2 ของปีหน้า ออกมาเป็นบวก ซึ่งหากรัฐบาลไม่ออกมาตรการดังกล่าว ก็ไม่รู้ว่าภาวะเศรษฐกิจ จะแย่ไปมากกว่านี้หรือไม่
โดยนายดุสิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนที่เป็นความกังวล คือ การใช้งานของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 ซึ่งจะต้องมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและไม่อยากให้มีการเปลี่ยนรัฐบาลเพราะนักลงทุน ต้องการนโยบายที่มั่นคง ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
ประธานหอการค้าให้คะแนนผลงาน 6 เดือนของรัฐบาลที่ 8 เต็ม 10 ข่าวจาก UTCC
//news.utcc.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=1955&Itemid=13
ข่าวจาก money chanel
//www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/tabid/89/newsid491/94603/Default.aspx
Posted on Thursday, August 06, 2009
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้ให้คะแนนการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ที่ 8 คะแนน จาก 10 คะแนน เพราะมองว่ารัฐบาลมีความตั้งใจและทุ่มเทกับการทำงาน แม้ว่าจะมีปัญหาทั้งจากต่างประเทศ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศและส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นก็ตาม ซึ่งการที่รัฐบาลชุดนี้ได้เตรียมพร้อมและศึกษาปัญหามาล่วงหน้า จึงแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว และทำให้เศรษฐกิจสามารถมายืนอยู่ในระดับนี้ได้ โดยเฉพาะโครงการให้การศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ที่ถือว่ามีความชัดเจนขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ และน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้
สำหรับโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโลจิสติกส์ซึ่งอยู่ในแพ็คเกจขั้นที่ 2 ของรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นแผนงานที่ดีเช่นกัน แต่ภาคเอกชนก็ยังต้องการเห็นความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน และสามารถตรวจสอบได้ เพราะเชื่อว่าจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลดีขึ้น
นอกจากนี้ จากการที่รัฐบาลชุดนี้ได้เข้ามารับฟังและพูดคุยกับประชาชนและนักธุรกิจ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเชื่อว่าจะช่วยร่วมกันหาวิธีแก้ไขและลดปัญหาที่เกิดขึ้นลงได้
สรุปข่าวจากฝ่ายรัฐบาล ทีวี หนังสือพิมพ์ นักวิชาการ นักวิเคราะห์ โพลต่างๆ ยืนยันตรงกันหมดว่า เศรษฐกิจไทย จะเป็นบวก ไม่ติดลบดังข่าวจากนายก ตั้งแต่ต้นปี ถึงปลายปี 2552 รัฐบาลบริหารดี ปธ.หอการค้าพอใจ!
ผมจะชี้ข่าวที่จะนำมาหักล้างเพื่อชั่งน้ำหนักข่าวว่าส่วนไหนจริงเท็จแค่ไหน
เริ่มกันจากข่าวการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำปี 2553 (ซึ่งหมายถึงเป็นผลงานการบริหารงานในปี 2552)
//www.posttoday.com/politics.php?id=79773
ผู้ใช้แรงงานเฮ ปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำ1-9บาท
วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
อนุกรรมการค่าจ้างเคาะปรับค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีหน้า 1-9 บาท
นายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง เปิดเผยว่า การพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2553 นั้นได้ผ่านการพิจารณาจากอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างแล้ว โดยมี ผลให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตั้งแต่ 1-9 บาท
ทั้งนี้ จังหวัดที่ปรับขึ้นสูงสุด คือ จ.ภูเก็ต ซึ่งปรับขึ้น 9 บาท ส่วนกทม. ปรับขึ้น 2 บาท โดยในปัจจุบันกทม.มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 203 บาท เมื่อปรับค่าแรงจะได้ 205 บาท ส่วนจังหวัดอื่นๆ ต้องรอการพิจารณาจากคณะกรรมการค่าจ้างกลางอีกครั้งในวันที่ 14 ธ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้น 20 จังหวัดไม่ขอปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ทาง อนุกรรมการวิชาการฯ เห็นควรให้เพิ่มค่าจ้าง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวจึงควรเพิ่มค่าแรง แต่มี 6 จังหวัดที่ไม่สามารถปรับขึ้นค่า แรงขั้นต่ำได้ ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไป หากคณะกรรมการค่าจ้างกลางเห็นชอบจะเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในวันที่ 1 ม.ค.ปีหน้า
ขณะที่นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน ได้ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ไปยังสำนักงานจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวได้รับทราบสิทธิการเคลื่อนย้ายออกนอกเขตพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต เพื่อให้ทราบเงื่อนไขว่าปัจจุบันแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองยังคงมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
การสังเกต - ตามหลักการของอุปสงค์ และ อุปทานจะเป็นดังนี้ ความต้องการมาก+สิ่งที่ต้องการมีน้อย = ราคาจะสูง ถ้า ความต้องการมีน้อย+สิ่งที่ต้องการมีอยู่มาก = ราคาจะต่ำ
ในที่นี้เราจะวิเคราะห์ถึงตลาดแรงงาน และ ค่าแรง ดังนั้น เราก็แทนสิ่งที่ต้องการด้วยแรงงาน
วิเคราะห์จากข่าว เรามาดูกัน กรุงเทพ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น เพียงแค่ 2 บาท/ต่อวัน = ค่าแรงเพิ่ม 60 บาท/เดือน = ค่าแรงเพิ่มขึ้น 720 บาท/ต่อปี คิดดูแรงงานหากินโดยสุจริตได้ค่าแรงเพิ่มแค่วันละ 2 บาท ถ้าไปนั่งขอทาน วันหนึ่งๆ ยังได้มากกว่า 2 บาทแน่นอน ชี้ให้เห็นแนวโน้มชัดเจนในปี 2552 - 2553 เลยว่า ประเทศไทยไม่ฟื้นแน่นอน แบบนี้ หมายความว่าอย่างไร? แสดงว่า ที่บอกว่าเศรษฐกิจฟื้นนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าเศรษฐกิจไม่ติดลบ จะต้องมีกำลังเพียงพอในการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในศูนย์กลางเศรษฐกิจของไทยอย่างแน่นอน การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำแค่ 2 บาทแย่ยิ่งกว่าไปนั่งขอทานนั้นชี้ให้เห็นว่า ความต้องการแรงงานต่ำ และแรงงานในตลาดแรงงานมีมากเกินความต้องการ ทำให้เงินเพิ่มค่าแรงต่ำไปด้วย มันเป็นกลไกตลาดดังนั้น รัฐบาลยากที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้อย่างสมบูรณ์ เพราะมันจะเป็นตัวสะท้อนสถานการณ์ที่แท้จริง
หอการค้าเดินหน้าแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับเอกชนให้รัฐบาลพิจารณา
//news.impaqmsn.com/articles.aspx?id=294059&ch=ec1
เชียงใหม่ 29 พ.ย. - นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวปิดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 27 ที่จังหวัดเชียงใหม่อย่างเป็นทางการ ว่า การประชุมครั้งนี้แม้ว่าฝ่ายการเมืองจะไม่มาเข้าร่วมการประชุมเหมือนครั้งที่ผ่านๆ มา เนื่องจากเป็นช่วงสถานการณ์ทางการเมืองไม่เป็นปกติ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าร่วมการสัมมนาของสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศกว่า 1,000 คน ที่เข้าร่วมประชุมแต่อย่างใด ซึ่งในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้มีการกำหนดแนวทาง "เราต้องไม่เป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง แต่จะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์แผนพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับเอกชน โดยจะนำเสนอแผนดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ การสัมมนาครั้งนี้ ทางเลขาธิการสภาธุรกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก็ได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ด้วย โดยเชื่อว่าทาง สศช. จะได้นำแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจประเทศไทยซึ่งเป็นภาคของเอกชนนำไปปรับปรุงให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ต่อไป และหลังจากนี้ไปสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศทุกคนจะลดขั้นตอนและลุกขึ้นมาปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปธรรม ซึ่งการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 28 จะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น และครั้งที่ 29 ที่จังหวัดระยอง
นายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสัมมนาและแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจประเทศไทย ฉบับเอกชน ว่า หอการค้าไทยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขึ้น 6 ยุทธศาสตร์ ที่จะดำเนินการใน 7 กลุ่มธุรกิจ และยุทธศาสตร์ภูมิภาคใน 18 กลุ่มภูมิภาค ประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ การส่งเสริมจริยธรรมและธรรมาภิบาล การรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต และการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหา และอื่นๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทาง สศช.ได้ดำเนินการใช้แผนมาแล้วกว่า 10 ฉบับ โดยในฉบับหลังๆ ถือว่าไม่สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางการเมืองบ่อยมาก ทำให้การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแผนของภาคเอกชนถือเป็นแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเสนอต่อ สศช. ซึ่งไม่ใช่เป็นแผนหลักแต่เป็นแผนเพื่อต้องการให้ สศช.นำไปกำหนดการพัฒนาประเทศให้ตรงตามการเปลี่ยนแปลง จึงถือว่าไม่ได้มีความขัดแย้งในแผนแต่อย่างใด คาดว่าแผนดังกล่าวซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย และทางหอการค้าจะนำแผนดังกล่าวเสนอต่อภาครัฐบาลได้ในเร็วๆ นี้. -สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 2009-11-29 11:52:37
สังเกต ข่าวอาชญากรรม ฉกชิงวิ่งราว จี้ปล้น ขโมย มากขึ้นหรือลดลง ถ้าข่าวประเภทนี้มีมากแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่ามันเลวร้าย คนจึงหันไปยึดอาชีพทุจริต
สังเกต ข่าวโหดๆ เช่น ข่าวการทวงหนี้โหด ข่าวฆ่ากันตายเพราะเงิน เช่น ฆ่าตัวตายเพราะเครียด ติดหนี้ ถ้ามีข่าวประเภทนี้มาก ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์แย่ลง
สังเกต ข่าวทุจริตคอรัปชั่น (ข่าวนี้ต้องพิจารณาให้รอบด้านว่าข่าวมีหลักฐานมากน้อยเชื่อถือได้แค่ไหนด้วย) ถ้ามีข่าวพวกนี้อยู่มาก ชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์แย่ลง
สังเกต ข่าวยาเสพติด ข่าวเหล่านี้ถ้ายาเสพติดซื้อง่ายขายคล่องแสดงให้เห็นว่า ทุจริตคอรัปชั่นมาก เพราะสิ่งผิดกฎหมายย่อมคู่กันกับการคอรัปชั่นเพื่อขอใช้อำนาจอิทธิพลคุ้มครอง
สังเกต เงินเดือน โบนัส เพิ่มขึ้นมากหรือน้อย ถ้ามากแสดงว่าเศรษฐกิจดี ถ้าน้อยเศรษฐกิจไม่ดี
วิเคราะห์-วิจัย สำรวจตลาดจริง อันดับแรกถามพวกพ่อค้าแม่ค้าก่อนเลย เช่น ร้านขายอาหาร ถามเค้าดูว่าขายดีไหม, ร้านตัดผมรายได้ดีไหม, ถามตัวเองรายได้เพิ่มขึ้นไหม
ข่าวต่างประเทศ
ภายในปี 2010 ผมคาดว่าอเมริกาจะต้องใช้เงินและแบกภาระมากขึ้นอีกมหาศาล เพราะว่าจะเป็นปีแรกที่ประกันสังคมอเมริกา จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญให้กับพนักงานเกษียณอายุ และปริมาณจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ดังนั้น เป็นไปได้อย่างมากที่จะมีข่าวร้ายทางการเงินจากอเมริกาอีก และนี่จะเป็นระเบิดอีกลูกที่รอเวลาระเบิดใส่เศรษฐกิจโลก
ประเทศสิงคโปร์ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานอาเซียนเกมส์ ในปี 2013 เพราะคาดเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น
ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างวิตกว่าเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นจริง แม้แต่จีนก็มีการเตรียมรับมือด้านเศรษฐกิจไม่กล้าให้ข่าวว่าจีนเศรษฐกิจดี มีแต่ให้ข่าวว่าเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าคาด
ความคิดเห็นส่วนตัว
จากข่าวต่างๆ ข้างต้น สามารถชี้บ่งไปในแนวทางเดียวกันว่า สภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะทรุดหนักในปี 2553 และประเทศไทยก็ยังไม่มีแผนในการรับมือ อีกทั้งการให้ข่าวของนายกฯ สื่อ นักวิชาการ นักวิเคราะห์คนไทยที่ให้ข่าวนั้น ไม่สอดคล้องกับความจริง เพราะความจริงคือ ตัวเลขเศรษฐกิจน่าจะติดลบหนัก (พิจารณาจากข่าวต่างๆ) ซึ่งเมื่อต้นปี มีองค์กรต่างประเทศให้ข้อมูลบนพื้นฐานของสถิติ การเงิน แต่ทั้งรัฐบาล, สื่อ, นักวิชาการ, โพล ต่างออกมาให้ข่าวในแนวเดียวกันกับนายกฯ และอัดองค์กรต่างชาติเหล่านั้นว่า ที่นี่ประเทศไทย ไม่มีใครรู้ดีกว่าคนไทย??? จริงหรือ??? ดูอย่างข่าว ประธานหอการค้าฯ ออกมาสร้างกระแสว่ารัฐบาลบริหารดี เป็นที่น่าพอใจของเอกชนตามข่าวเดือนสิงหาคมนั้น แต่พอถึงปลายปี เอกชนกลับรวมตัวออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจต่อรัฐ ทั้งที่ผ่านเวลามาแค่ 3-4 เดือนจากที่ประธานหอการค้าออกมาสร้างภาพเอกชนพอใจผลงานรัฐบาล คิดเอาเองอะไรเชื่อถือได้ไม่ได้ (เราต้องแยกแยะข่าว กับคนออกมาให้ได้)
นอกจากนี้ โครงการมาบตาพุด ที่ไม่สามารถเดินต่อไปได้เพราะรัฐไม่ได้บริหารจัดการให้ดีใน 1 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดปัญหา น่าจะเกิดผลกระทบกับตลาดแรงงานมากขึ้นไปอีก
ที่นายกฯ ไม่ยอมรับความจริงต่อคนไทยนั้น อาจเพื่อต้องการสร้างความเชื่อมั่น ต้องการให้ระบบเศรษฐกิจเดินต่อไป ต้องการให้คนไทยยอมออกมาใช้จ่ายเงิน สร้างภาพว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น จะได้เงินเดือนกันต่อไป เพื่อให้คนกล้าใช้เงิน - ผมไม่อยากวิจารณ์ว่ามันจะเป็นผลดีหรือผลเสียในอนาคต แต่อยากชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลข่าวสารมีจริง มีเท็จ ต้องหมั่นคิดวิเคราะห์เอาเอง แล้วเตรียมตัวเอง
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ด้วยการกู้เงินมาใช้จ่าย รวมเงินกว่า ล้านล้านบาท หมายถึงอะไร? การกู้เงินมาใช้ หมายถึงการเอาเงินในอนาคตมาใช้จ่าย แต่ข่าวตั้งแต่ต้นปี-ปลายปี ไม่มีข่าวเกี่ยวกับรายละเอียดมาตรการการชำระเงินที่รัฐบาลไปกู้มาใช้เลย ไม่มีแผนการที่จะชี้ให้เห็นได้เลยว่าประเทศไทยจะชำระเงินคืนทั้งหมดได้อย่างไร? นี่เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงและจะมีผลกระทบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้
จากข่าวต่างประเทศ ยังไม่มีประเทศไหนออกมาป่าวประกาศว่าเศรษฐกิจฟื้น มีแต่เตรียมตัวรับมือพิษเศรษฐกิจระลอกใหม่(ดูอย่างข่าวสิงคโปร์) มีแต่พี่ไทยนี่แหละที่ตีฆ้องร้องป่าวว่า เศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นแล้ว ตัวเลขเป็นบวก ทั้งๆ ที่ขึ้นค่าแรงของศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศอย่าง กรุงเทพ ได้แค่ 2 บาท/วัน ต่ำกว่าไปนั่งขอทานอีก!
Create Date : 04 มกราคม 2553 |
Last Update : 4 มกราคม 2553 17:10:48 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1078 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|