"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
22 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย - ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์

 

มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
นักเรียนที่กำลังสอบเข้า (ที่มา : //mainichi.jp)
ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
       Tokyo University of Foreign Studies



จากวัยเด็กซึ่งดูเหมือนเรียนกันสบายๆ พอเข้าสู่วัยรุ่น การเรียนของเด็กญี่ปุ่นจะพลิกโฉมในหลายด้าน เด็กมัธยมต้นและมัธยมปลายจะแต่งเครื่องแบบนักเรียนซึ่งมีทั้งเครื่องแบบประจำฤดูใบไม้ผลิ และเครื่องแบบประจำฤดูหนาว

โครงสร้างการใช้เวลาก็จะเปลี่ยนไป นอนน้อยลง อยู่กับการเรียนยาวนานขึ้น เรียนหนัก โดยเฉพาะเมื่อใกล้เวลาจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็จะต้องเตรียมตัวหนักขึ้น

       อัตราการเรียนต่อมหาวิทยาลัยหลังจบ ม.6 ของคนญี่ปุ่น จากผลการสำรวจของปี 2558 คือ 55.4% ถ้ารวมวิทยาลัยระยะสั้นด้วย อัตราจะสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 56.4% การสอบแข่งขันคือจุดที่ถูกวิจารณ์มากจุดหนึ่งในการศึกษาของญี่ปุ่น

ระดับผลการเรียนใน ม.ปลาย ไม่ได้ถูกนำไปคำนวณในการสอบเข้าด้วย เด็กจำนวนมากทุ่มเทให้แก่การเรียนกวดวิชา ทำให้เกิดความเครียดและเป็นภาระทางเศรษฐกิจต่อครอบครัว

       การเข้ามหาวิทยาลัยคือบันไดสำคัญขั้นหนึ่ง สำหรับชีวิตคนญี่ปุ่นจำนวนมาก และชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย ก็แทบจะกำหนดชีวิตการทำงานของคนญี่ปุ่นไปทั้งชีวิต มหาวิทยาลัยชั้นนำ มีอัตราการแข่งขันกันสอบเข้าดุเดือดทุกปี

อย่างมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น โตเกียว เกียวโต โอซะกะ ฮิโตะสึบะชิ หรือมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น วาเซดะ เคโอ โจจิ ค่านิยมแบบนี้มีผลต่อการเรียนของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นมาก


มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย

เป็นที่ทราบกันว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น แข่งขันกันสูง ข้อสอบยาก และต้องสอบหลายวิชา มีทั้งข้อสอบกลางและข้อสอบเฉพาะ ที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจัดสอบเพิ่ม

ข้อสอบกลางคือการสอบเก็บคะแนนพร้อมกันทั่วประเทศ ประมาณกลางเดือนมกราคม และให้นักเรียนนำคะแนนไปยื่น ต่อมหาวิทยาลัยที่เปิดรับตามเกณฑ์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ (แห่งชาติและท้องถิ่น)

ส่วนข้อสอบเฉพาะคือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเองต่างหาก ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งแต่ละคณะมักออกข้อสอบเป็นเอกเทศ จึงมีแนวโน้มว่าจำนวนวิชาของการสอบก็จะเพิ่มตามจำนวนมหาวิทยาลัย และจำนวนคณะที่นักเรียนเลือก บางคนอาจต้องสอบถึง 10 กว่าวิชาถ้าเลือกหลายที่เผื่อพลาด

       เด็กญี่ปุ่นที่หน้าดำคร่ำเครียดเรียนกันอย่างหนักรู้สึกอย่างไร ผมคงอธิบายแทนได้ยาก เอาเป็นว่า ขอนำตัวอย่างข้อสอบเก่าในปีการศึกษาหนึ่งมาให้ช่วยพิจารณา แล้วช่วยกันตัดสินว่าคำพูดของคนญี่ปุ่นที่ว่า “นรกแห่งการสอบเข้า” เป็นความจริงแค่ไหน


มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยโตเกียว

ก่อนอื่น ลองทำข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์โลก (แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นไทย) สำหรับการสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยริกเกียว (นพพรในเรื่อง “ข้างหลังภาพ” ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้)

จากนั้นลองดูข้อสอบภาษาอังกฤษของที่อื่น แล้วจะทราบว่ากว่าจะได้เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่น นักเรียนต้องอึดขนาดไหน [1]

จงเติมคำลงในช่องที่เว้นไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้องมาเติมในข้อที่มีตัวเลขกำกับ (ประวัติศาสตร์โลก ม.ริกเกียว)

       ในศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาพัฒนาประเทศตามแนวทางเฉพาะของตนเอง และประสบความสำเร็จอย่างสูงเนื่องจากมีที่ดินที่ยังไม่ได้พัฒนาเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลอยู่ทางตะวันตก ในปี(1)..........หลังจากที่ซื้อ...................จากฝรั่งเศสแล้ว ปี (2)..........ก็ซื้อฟลอริดาจากสเปน ปี(3)..........ผนวกเทกซัสซึ่งเป็นของเม็กซิโก และปี(4)..........ซื้ออะแลสกาจากรัสเซีย นอกจากนี้ ในการทำสงครามกับเม็กซิโกเมื่อปี 1846 – 48 ได้ครอบครองแคลิฟอร์เนีย ปี(5)............ได้ครอบครองออริกอนจากการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ ปี(6)............หลังจากที่เริ่มเกิดการตื่นทอง ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้าไปในแคลิฟอร์เนีย

        1 a. 1801 b. 1802 c. 1803 d. 1804
        2 a. 1818 b. 1819 c. 1820 d. 1821
        3 a. 1845 b. 1846 c. 1847 d. 1848
        4 a. 1864 b. 1865 c. 1866 d. 1867
        5 a. 1845 b. 1846 c. 1847 d. 1848
        6 a. 1844 b. 1846 c. 1848 d. 1850

จงเลือกข้อที่เติมแล้วทำให้ประโยคผิดหลักไวยากรณ์ (คณะนิติศาสตร์ ม.วาเซดะ)

       1. The picnic will be cancelled if it ( ).
        A. is raining B. looks likely to rain C. rains
       D. starts raining E. will rain

       2. During my visit I ( ) to go to Hiroshima to visit the Peace Memorial.
        A. am hoping B. have hoped C. hope
       D. hoped E. was hoping

       3. The weather forecast said that it ( ) snow tomorrow.
        A. may B. might C. mustn’t
       D. probably won’t  E. will probably

จงเลือกข้อที่ตำแหน่งเน้นเสียงหนักที่สุดต่างจากคำอื่น (คณะนิติศาสตร์ ม.เคโอ)
       (1) 1 attorney 2 solicitor 3 barrister 4 legitimate
       (2) 1 assembly 2 parliament 3 cabinet 4 bureaucrat
       (3) 1 manuscript 2 seniority 3 substitute 4 corporate

       จะเห็นได้ว่าเนื้อหาบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ต้องท่องจำล้วนๆ โดยส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยต่อต้านการสอนแบบให้จำ เพราะถ้าไม่จำอะไรเป็นพื้นฐานบ้างเลย ย่อมไม่เกิดความคิดต่อยอด แต่ถ้าให้จำตัวเลขมากๆ

อย่างเช่นการจำปีที่เกิดเหตุการณ์โน้นเหตุการณ์นี้ นี่ก็น่าเห็นใจผู้เข้าสอบอยู่เหมือนกัน ทว่าถ้ามองในมุมที่ว่า นี่คือการออกข้อสอบเพื่อขจัดคนออก ก็พอจะเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ออกข้อสอบ และดูเหมือนนักเรียนญี่ปุ่นก็ยอมรับสภาพเพราะถือว่าเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

       ผมเล่าสิ่งที่ได้พบเห็นในฐานะคนต่างชาติผู้มีโอกาสสัมผัสการศึกษาของญี่ปุ่นในบางแง่มุม ซึ่งอาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ก็หวังว่าคงจะมีบางสิ่งบางอย่างเป็นแนวทางให้เราได้นำไปคิดต่อตามความเหมาะสมในสังคมไทย

สิ่งไหนดีเราก็นำมาประยุกต์ใช้ แต่สิ่งไหนไม่เหมาะก็ขอให้ถือเป็นตัวอย่างเตือนใจว่าอย่าได้ทำตาม



มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยวาเซดะ


มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเคโอ


มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเคโอ


มุมลึกของการศึกษาญี่ปุ่น (4) : สอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยริกเกียว

หมายเหตุ :
       เฉลยคำตอบ
       ประวัติศาสตร์โลก ม.ริกเกียว : 1) c /ลุยเซียนา , 2) b, 3) a, 4) d, 5) b, 6) c
       ภาษาอังกฤษ ม.วาเซดะ : 1) E , 2) B, 3) C
       ภาษาอังกฤษ ม. เคโอ : 1) 3, 2) 1, 3) 2

       

ขอบคุณ MGR Online  

ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์

มาฆวารสิริสวัสดิ์ค่ะ    




Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2559 13:46:39 น. 0 comments
Counter : 978 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.