"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
23 พฤศจิกายน 2558
 
All Blogs
 
ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย

 

ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์
       Tokyo University of Foreign Studies



จุดล่อแหลม

        ทุกครั้งที่กลับเมืองไทย ถ้า 3 ทุ่มแล้วยังไม่ถึงบ้าน คุณแม่จะโทร.ตาม และผมก็ต้องถามเรื่อยมาตั้งแต่อายุยังไม่สามสิบ จนเกือบจะสี่สิบเข้าไปทุกทีว่า “อีกไม่กี่ปีก็จะขึ้นเลขสี่แล้ว ยังโทร.ตามอีกเหรอแม่”

        คุณแม่ตอบว่า “ถ้าอยู่ญี่ปุ่นไม่โทร.หรอก แต่อยู่กรุงเทพฯ แม่เป็นห่วง”
        “อยู่ไกลถึงโตเกียวไม่เป็นห่วง แต่อยู่เมืองไทยนี่กลับเป็นห่วง”
        “ก็ใช่สิ ไปไหนมาไหนในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยจะปลอดภัย” คุณแม่ให้เหตุผล

       ผมไม่แน่ใจว่าคุณแม่รู้ข้อมูลทางสังคม หรืออะไรทำนองนั้นเกี่ยวกับญี่ปุ่นหรือไม่ แต่เมื่อตอบมาแบบนี้ ผมตีความว่าคุณแม่คิดว่าญี่ปุ่น หรือในกรณีของผมก็คือกรุงโตเกียว ปลอดภัยกว่ากรุงเทพฯ

       อันที่จริง สภาพสังคมในญี่ปุ่นเท่าที่ผ่านมาก็ไม่ห่างไกลจากสิ่งที่คุณแม่เชื่อเท่าไร คนญี่ปุ่นเองก็คิดว่าประเทศนี้อยู่ได้อย่างอุ่นใจ ไม่ว่าจะลืมของหรือทำกระเป๋าสตางค์หล่นที่ไหน ประเดี๋ยวก็ได้คืน

ระบบการเดินทางก็ปลอดภัยสูง ดูเหมือนคนที่จะก่ออันตรายต่อผู้อื่นมีไม่มาก สภาพชีวิตประจำวันโดยรวมค่อนข้างปลอดจากอาชญากรรม ซึ่งในจุดนี้สถิติก็ชี้ออกมาในแนวนั้นเหมือนกันว่า อัตราอาชญากรรมในญี่ปุ่นลดลงมาเรื่อยๆ ในระยะประมาณ 10 ปีนี้

       คุณแม่คงเข้าใจถูกในจุดนั้น แต่ปัจจุบันภัยไม่ได้มีแค่จากภายใน ซึ่งผมก็ไม่ค่อยกล้าอธิบายละเอียด เพราะกลัวว่าคุณแม่จะเป็นห่วงลูกชายขึ้นมาทั้งตอนอยู่ในและนอกเมืองไทยจนต้องโทร.ตามข้ามประเทศทุกวัน เอาเป็นว่าจะพยายามระวังตัวให้ดีขึ้นครับ

       ความปลอดภัยในญี่ปุ่นที่ผู้คนเคยชินมานานปีอาจกลายเป็นเรื่องเก่าไปแล้วในวันนี้ เพราะภัยใหม่กำลังส่อเค้าคุกคามญี่ปุ่นอยู่ และผู้คนก็รู้สึกได้ชัดเจนขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากเกิดเหตุโจมตีก่อการร้ายหลายจุดในกรุงปารีส ญี่ปุ่นจะชะล่าใจไม่ได้อีกแล้ว

เพราะถูกกลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามเอาปูนหมายหัวไว้เหมือนกัน จึงกลายเป็นว่าภัยที่เคยดูเหมือนไกลตัวได้ทำให้คนญี่ปุ่นมากมายเดินไประแวงไปแม้เคยเชื่อมั่นมาตลอดว่านอกจากแผ่นดินไหวที่ทำให้เสียขวัญเป็นระยะแล้วก็ไม่น่าจะมีภัยอันใด ทว่าภัยก่อการร้ายป้องกันได้ยากและมักเกิดขึ้นอย่างเหนือความคาดหมายไม่ต่างจากแผ่นดินไหว

       นอกจากเหตุการณ์ศุกร์สิบสามแล้ว เมื่อมองย้อนกลับไปในระยะใกล้ๆ ก็จะพบว่าวันที่ 12 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในกรุงเบรุตเมืองหลวงของเลบานอน, วันที่ 31 ตุลาคม เครื่องบินโดยสารของรัสเซียถูกก่อการร้ายจนตก และย้อนไปเมื่อช่วงต้นปีนี้ในเดือนมกราคม

ชายญี่ปุ่น 2 คนถูกจับเป็นตัวประกันโดยกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม หลังจากตัวประกันชาวญี่ปุ่น 2 คนถูกสังหารไป ความตื่นตัวของคนญี่ปุ่นเรื่องภัยก่อการร้ายดูเหมือนซาลงไปมาก

จนกระทั่งเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นที่ปารีสเมื่อคืนวันที่ 13 พฤศจิกายนขึ้นมา ผู้คนในญี่ปุ่นถึงได้ผวาอีกครั้งและหันมาถามกันว่า “มีความเป็นไปได้ไหมที่ญี่ปุ่นจะประสบเหตุก่อการร้ายในกรุงโตเกียว?” 


ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
ตัวประกันชาวญี่ปุ่นถูกกลุ่มรัฐอิสลามจับสังหารเมื่อต้นปี 2558


กระแสคำตอบที่ปรากฏคือ “เป็นไปได้” เหตุผลง่ายๆ คือ เพราะ

1) กลุ่มรัฐอิสลามประกาศชัดว่าญี่ปุ่นเป็นศัตรู,

2) ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับความสนใจ หากก่อการร้ายที่ญี่ปุ่น ย่อมเป็นที่จับตาไปทั่วโลกตรงตามเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย,

3) ญี่ปุ่นจัดงานใหญ่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะในอีกไม่กี่ปีก็จะมีโตเกียวโอลิมปิก 2020 เป็นต้น

       สถานที่ล่อแหลมที่ใครๆ พากันคาดเดาว่าอาจตกเป็นเหยื่อ เช่น รถไฟชิงกันเซ็ง ระบบรถไฟใต้ดิน เครื่องบิน หรือแม้แต่โตเกียวดิสนีย์แลนด์ซึ่งมีภาพลักษณ์ของอเมริกาติดอยู่

แต่บางคนก็มองว่าเหตุก่อการร้ายในกรุงโตเกียวเป็นไปได้ แต่ความเป็นไปได้นั้นต่ำ เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศเกาะ การเข้าหรือการหลบหนีต้องทำผ่านทางเครื่องบิน และในญี่ปุ่นมีคนเชื้อสายอาหรับน้อย



ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
สถานีรถไฟในญี่ปุ่นมักมีคนเนืองแน่น (ภาพจาก //www.asahi.com)


ไม่ว่าความเป็นไปได้จะต่ำหรือสูง แต่ในเมื่อไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปได้นั้น จากนี้ต่อไปทั้งผู้ที่อยู่ในประเทศและเดินทางไปต่างประเทศก็ต้องระวังตัวให้มากขึ้น...รวมทั้งผมด้วย

       จากสายตาของผมที่ประเมินสภาพทั่วไปในชีวิตประจำวันพบว่า ถ้าเหตุก่อการร้ายเกิดขึ้นในกรุงโตเกียวละก็ ผู้เคราะห์ร้ายคงมีมากกว่าที่ปารีสแน่ เพราะความหนาแน่นของคนในโตเกียวนี่สุดจะบรรยาย

โดยเฉพาะรถไฟในชั่วโมงเร่งด่วนเช้า-เย็น หรือตามสถานีใหญ่ๆ พื้นที่บางจุดก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะป้องกัน ยกตัวอย่างเช่น รถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งสายโทไกโดมีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 42,000 คน

ด้วยจำนวนคนขนาดนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตรวจสอบ หรือสถานีรถไฟใจกลางเมืองอย่างชินจุกุซึ่งมีผู้โดยสารรถไฟเจอาร์เฉลี่ยวันละประมาณ 750,000 คนและเดินกันขวักไขว่ตลอดเวลาคงตรวจสอบกันไม่ไหว

 ในเมืองใหญ่ที่มีคนพลุกพล่านอย่างกรุงโตเกียวนี่ถือว่าป้องกันยาก อะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ คงต้องทำใจ หวังพึ่งงานข่าวกรองและการตรวจคนเข้าเมืองต่อไป


ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
หน้าสถานีชินจุกุมีคนพลุกพล่านตลอดวัน


ตอนนี้ คนญี่ปุ่นรู้ตัวแล้วว่ากลายเป็นศัตรูกับกลุ่มรัฐอิสลามหลังจากถูกระบุชื่ออย่างชัดเจนเมื่อครั้งที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจับคนญี่ปุ่น 2 คนเป็นตัวประกันและประกาศผ่านคลิปวิดีทัศน์เป็นภาษาอังกฤษ ความว่า

เพราะผู้นำญี่ปุ่นตัดสินใจร่วมขบวนการปราบปรามกลุ่มรัฐอิสลาม ต่อไปไม่ว่าคนญี่ปุ่นถูกพบที่ไหนก็จะตกเป็นเหยื่อ “So let the nightmare for Japan begin—และฝันร้ายสำหรับญี่ปุ่นจะเริ่มต้น”

สิ่งที่ถูกชี้ว่าเป็นสาเหตุทำให้คนญี่ปุ่นติดร่างแหการตกเป็นเป้าหมายคือ คำกล่าวของนายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะเมื่อวันที่ 17 มกราคม ระหว่างการเยือนอียิปต์ที่ว่า

“การมอบความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยตลอดจนผู้อพยพจากอิรักและซีเรียนั้นจะดำเนินไปเพื่อสนับสนุนตุรกีและเลบานอน ในการยับยั้งภัยคุกคามที่กลุ่มรัฐอิสลามก่อ

และผมขอให้คำมั่นว่าจะมอบการสนับสนุนมูลค่ารวมประมาณ 200 ล้านเยนแก่เหล่าประเทศใกล้เคียงที่ต่อสู้กับกลุ่มรัฐอิสลาม เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่อง”

ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
ผู้นำญี่ปุ่นให้คำมั่นที่อียิปต์ มอบเงินสนับสนุนปราบปรามกลุ่มรัฐอิสลาม


ต่อมานิตยสาร Dabiq (ดาบิก) ของกลุ่มรัฐอิสลามฉบับที่ 11 เดือนสิงหาคมปีนี้ ระบุชื่อญี่ปุ่นซ้ำอีกว่าเป็น 1 ในประเทศที่ร่วม “The Crusader Coalition—พันธมิตรผู้ทำสงครามศาสนา” ในอิรักและซีเรีย และล่าสุดเกิดการชี้ประเด็นขึ้นมาในญี่ปุ่นเองอีกด้วยว่า

ชุดกฎหมายความมั่นคงของญี่ปุ่นจะเป็นการชักศึกเข้าบ้าน บางคนโยงความเสี่ยงของการเผชิญเหตุก่อการร้ายเข้ากับกฎหมายนี้ซึ่งเพิ่งผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 กันยายนออกมาอย่างทุลักทุเล

กฎหมายกับการก่อการร้ายเกี่ยวพันกันจริงหรือไม่นั้นยังเถียงกันไม่เลิกแม้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่สรุปได้ในเบื้องต้นคือ ความปลอดภัยในกรุงโตเกียวเริ่มสั่นคลอน


ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
นิตยสาร Dabiq ของกลุ่มรัฐอิสลาม

ชักศึกเข้าบ้าน?

        กฎหมายความมั่นคงของญี่ปุ่นมีอะไรนักหนา ถึงได้กลายเป็นที่จับตามองของโลก และถูกต่อต้านจากผู้คน ล่าสุดยังถูกมองว่าเป็นสาเหตุกระตุ้นเจตนาก่อการร้ายในญี่ปุ่นอีกด้วย

       การพิจารณาเรื่องกฎหมายความมั่นคงที่กลายเป็นประเด็นร้อน คงต้องมองย้อนไปถึงรัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นฉบับปัจจุบันที่เริ่มใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

       เมื่อสงครามสิ้นสุดแล้ว ญี่ปุ่นมีรัฐธรรมนูญฉบับเดียวเท่านั้น (ไม่เหมือนไทยซึ่งมีเกิน 10 ฉบับ) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นฉบับสันติภาพ เพราะมีมาตรา 9 ที่ระบุว่าญี่ปุ่นจะละซึ่งสิทธิการทำสงครามตลอดกาล แต่ก็มาตรา 9 อีกเช่นกันที่เป็นประเด็นถกเถียงกันมาตลอดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้อความในมาตรา 9 แปลจากภาษาญี่ปุ่นได้ดังนี้

มาตรา 9 ด้วยความมุ่งหมายอย่างจริงใจในสันติภาพระหว่างประเทศโดยยึดความเที่ยงธรรมและความสงบเรียบร้อยเป็นพื้นฐาน ประชาชนญี่ปุ่นละซึ่งสงครามตลอดกาลในฐานะสิทธิสูงสุดแห่งชาติ และละซึ่งการคุกคามด้วยกำลังหรือการใช้กำลังแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศ

       เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในวรรคก่อน จะไม่ดำรงไว้ซึ่งกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ตลอดจนกำลังรบอื่นใด จะไม่ยอมรับสิทธิการมีส่วนร่วมในการสู้รบของประเทศ


        ถ้าทำความเข้าใจจากมาตรา 9 จะพบว่าประเทศนี้คือผู้ใฝ่สันติโดยแท้ ตามรัฐธรรมนูญ ญี่ปุ่นต้องไม่มีกองทัพ ดังนั้นคำว่า military—กองทัพ หรือ ทหาร จึงไม่มีที่ใช้กับญี่ปุ่นปัจจุบัน มีแต่คำว่า Self-defense Force ซึ่งแปลว่า “กองกำลังป้องกันตนเอง”

และเมื่อเอ่ยถึงผู้ที่เป็นสมาชิกของกองกำลังนี้จะเรียกว่า “เจ้าหน้าที่” เพราะญี่ปุ่นไม่มีทหาร หรือแม้แต่กระทรวงที่เกี่ยวกับด้านนี้ คำแปลที่ถูกต้องก็คือ “กระทรวงการป้องกันประเทศ” ไม่ใช่กระทรวงกลาโหม

นี่คือสิ่งที่อยู่ในข่ายความรู้สามัญของผู้ที่ติดตามข่าวสารการเมืองระหว่างประเทศ สรุปว่าญี่ปุ่นต้องรักสันติ และกองกำลังป้องกันตนเองจะบุกใครไม่ได้ ต้องตั้งรับ หรือพูดให้ชัดกว่านี้ก็คือ ต้องรอให้ถูกยิงเสียก่อน ถึงจะยิงกลับได้

ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น


ญี่ปุ่นมีกฎหมายหลายฉบับสำหรับการป้องกันตนเองอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อเกิดความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ในโลก เช่น จีนดำเนินกิจกรรมทางทะเลมากขึ้นในลักษณะที่ตีความได้ว่าเป็นการขยายแสนยานุภาพทางทหาร เกิดข้อพิพาทด้านอาณาเขต และเกิดการก่อการร้ายตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ญี่ปุ่นจึงเห็นว่าควรปรับกฎหมายด้านนี้

       ก่อนที่รัฐสภาญี่ปุ่นจะผ่านความเห็นชอบร่างกฎหมายความมั่นคงออกมา เกิดกระแสต่อต้านหลายระลอกและมีการออกมาชุมนุมต่อต้านเป็นระยะๆ เพราะคนจำนวนไม่น้อยมองว่ากฎหมายนี้เปิดทางให้ญี่ปุ่นทำสงคราม บางคนมองว่าขัดรัฐธรรมนูญ และบางคนเรียกด้วยคำว่า “กฎหมายสงคราม”

       กฎหมายนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกอย่างเป็นทางการว่า “เฮวะอันเซ็นโฮเซ” (平和安全法制; Hēwa-anzenhōsē)แปลเป็นไทยว่า “ชุดกฎหมายสันติภาพและความมั่นคง” (คำว่า “เฮวะ” แปลว่า สันติภาพ, “อันเซ็น” แปลว่า ความมั่นคงหรือความปลอดภัย, และ “โฮเซ” แปลว่า ชุด/ระบบ กฎหมาย)

ดังที่ชื่อบอกอยู่แล้ว นี่คือ “ชุด” จึงประกอบด้วยกฎหมายหลายฉบับ โครงสร้างใหญ่ของชุดประกอบด้วยกฎหมายหลัก 2 ฉบับคือ

1) กฎหมายเตรียมการเพื่อชุดกฎหมายสันติภาพและความมั่นคง ซึ่งมีกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องอีก 10 ฉบับ เช่น ว่าด้วยกองกำลังระหว่างประเทศ การลำเลียงขนส่งทางทะเล การรับมือสถานการณ์ เป็นต้น เหล่านี้เป็นกฎหมายที่มีอยู่ก่อนแล้วและมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมบางส่วนในครั้งนี้

2) กฎหมายส่งเสริมสันติภาพระหว่างประเทศ นี่คือกฎหมายฉบับใหม่ 1 ฉบับที่เพิ่มขึ้น

       รวมกันได้ 11 ฉบับ เป็นชุดกฎหมายใหญ่ สื่อมวลชนเรียกง่ายๆ ว่ากฎหมายความมั่นคง รายละเอียดของกฎหมายนั้นมีมาก สำหรับท่านที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นที่จัดทำไว้
       ภาษาอังกฤษ :
//www.mofa.go.jp/files/000080671.pdf
       ภาษาญี่ปุ่น : //www.cas.go.jp/jp/gaiyou/jimu/housei_seibi.html

       สำหรับประเด็นหลักๆ ที่เป็นความเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างได้ดังนี้คือ

ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย

        ตามเนื้อหานี้ กฎหมายบัญญัติว่าญี่ปุ่นจะใช้กำลังได้ก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขครบ 3 ประการ คือ

1) เกิดการโจมตีญี่ปุ่นด้วยอาวุธ หรือเกิดการโจมตีประเทศอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับญี่ปุ่น โดยส่งผลเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดและปรากฏเป็นอันตรายชัดแจ้งในอันที่จะละเมิดสิทธิต่อชีวิต เสรีภาพ และการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขของประชาชนญี่ปุ่น

(การใช้กำลังต้องเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิป้องกันประเทศร่วมกับพันธมิตรของญี่ปุ่น),

2) เมื่อไม่มีวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมในการขจัดการโจมตี รับประกันความอยู่รอดของญี่ปุ่น และพิทักษ์ประชาชนญี่ปุ่น,

3) การใช้กำลังควรจะน้อยที่สุดโดยจำกัดอยู่ในขอบข่ายที่จำเป็น

       คำถามที่เกิดขึ้นบ่อยๆ คือ “แล้วญี่ปุ่นทำสงครามได้ไหม?” เช่น ในกรณีที่สหรัฐอเมริกาทำสงครามกับประเทศอื่น และมาขอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย

       ต้องยอมรับตรงๆ ว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและรัฐธรรมนูญ เป็นประชาชนที่ติดตามข่าวและทำความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะตีความอย่างละเอียดหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีหลักการ และสิ่งที่บอกได้แน่ๆ คือ

มีประชาชนญี่ปุ่นอีกมากที่ยังไม่เข้าใจชัดเจนว่ากฎหมายนี้คืออะไรและตีความกันไปต่างๆ นานา สำหรับคำถามข้างต้น ถ้าคิดง่ายๆ ตามตัวอักษร คำตอบคือ “ไม่ได้”

หรือสมมุติว่าอเมริกาส่อเค้าว่าจะแพ้ ญี่ปุ่นก็ยังใช้กำลังไม่ได้ตราบใดที่ความเป็นไปของอเมริกาไม่ส่งผลใหญ่หลวงต่อสวัสดิภาพของญี่ปุ่นและไม่เป็นภัยคุกคามต่อญี่ปุ่นโดยตรง

       แต่อย่างในกรณีที่ชาวญี่ปุ่นถูกจับเป็นตัวประกันในต่างประเทศ ด้วยกฎหมายใหม่ แทนที่กองกำลังป้องกันตนเองจะคุมเชิงอย่างเดียว (เพื่อรอขนส่ง) ทั้งๆ ที่เห็นตัวประกันตัวเป็นๆ อยู่ตรงหน้า ต่อไปก็จะทำได้มากกว่านั้นเพื่อช่วยชีวิตออกมา

ญี่ปุ่นกับภัยก่อการร้าย
การชุมนุมต่อต้าน “ชุดกฎหมายสันติภาพและความมั่นคง” (ภาพจาก //www.asahi.com)


มาถึงตรงนี้ เรื่องที่ว่ากฎหมายชุดนี้เป็น “สันติภาพ” หรือ “สงคราม” คงต้องยกให้เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่ถ้าพูดถึงประเด็นที่ว่ากฎหมายนี้จะเป็นการชักศึกเข้าบ้าน ทำให้ญี่ปุ่นเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายมากขึ้นหรือไม่?

โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าอาจจะมีความเชื่อมโยงกันบ้าง แต่ก็ห่างไกลมาก ถ้าจะเกิดการก่อการร้าย คงไม่ใช่เพราะกฎหมายชุดนี้ แต่คงเพราะญี่ปุ่นเป็นพวกเดียวกันกับอเมริกามากกว่า

       และถ้าผมอธิบายทั้งหมดนี้ให้คุณแม่ฟัง กลับเมื่อไทยคราวหน้า เชื่อแน่ว่าคุณแม่จะกำชับให้นั่งการบินไทยแทนสายการบินของญี่ปุ่นเป็นแน่

ขอบคุณ MGR Online  

ดร.โฆษิต ทิพย์เทียมพงษ์

จันทรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ    




Create Date : 23 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 23 พฤศจิกายน 2558 9:05:10 น. 0 comments
Counter : 642 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.