~* ชีวิตง่ายๆ สบายๆ ที่ไม่ได้สบายเสมอไป
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
2 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร

วันนี้ (2 ก.ย.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ความว่า

ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตามที่ปรากฎว่า ได้มีกลุ่มบุคคลที่ดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยภายในประเทศ ทั้งจะไม่ส่งผลดีต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ยุติโดยเร็ว

อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายรัฐมนตรีจึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน 2551

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี


และคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 194/2551 เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบหมายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครแล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 2 และวรรค 4 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ให้ผู้บัญชาการทหารบก รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แม่ทัพภาคที่1 เป็นรองหัวหน้าผู้รับผิดชอบการในแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน มีอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดไว้ ในพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ดังนี้

1.บังคับบัญชาและสั่งการ ส่วนราชการและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการณ์ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

2.ดำเนินการอื่นๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด หรือมอบหมาย ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 2กันยายน 2551


คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 195/2551 เรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครแล้วนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 7 วรรค 3 และมาตรา 15 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

1.ให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานเฉพาะในเขตที่พื้นที่ที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามพระราชกำหนดดังกล่าว และกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ เท่าที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานให้สถานการณ์ยุติลง

2.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เว้นแต่การใช้อำนาจสอบสวนต้องเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 3 เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มียศตั้งแต่ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี เจ้าหน้าที่ฝ่ายตำรวจ มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 2 กันยายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี


ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครแล้วนั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติโดยเร็ว ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายมากขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการ เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้

1.ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือกระทำการใดเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

2.ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือการทำให้แพร่หลาย ซึ่งหนังสือพิมพ์สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศิลธรรมอันดีของประชาชนในทั่วราชอาณาจักร

3.ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไข ในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ตามที่หัวหน้ารับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด

4.ห้ามใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด

5.ให้อพยพออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด

ในการนี้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อหนดหรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ตามที่เห็นสมควร เพื่อไม่ให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน เกินสมควรแกเหตุก็ได้ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศณ วันที่ 2 กันยายน 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี


Create Date : 02 กันยายน 2551
Last Update : 2 กันยายน 2551 8:22:26 น. 0 comments
Counter : 476 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PongMoji
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Friends' blogs
[Add PongMoji's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.