" The man who does not read a good books has no advantage over the man who can't read them. " -- Mark Twain
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
+++++ เมื่อสื่อกลายเป็นสินค้า และถูกใช้ครอบงำสังคม +++++

ท่ามกลางเหตุการณ์ความวุ่นวายต่างๆนานาที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง สื่อต่างพยายามบิดเบือนข้อมูลเพื่อผลประโยชน์แก่ตนเอง หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นประโยชน์ในการที่ทำให้ เข้าใจถึงบทบาท และอิทธิพลของสื่อ รวมทั้งตระหนักถึงการเปิดรับข้อมูล ข่าวสารจากสื่อให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ไม่ถูกครอบงำ ชักจูงหรือตกอยู่ในกับดักวังวนที่วางไว้จากสื่อใดสื่อหนึ่ง..



หนังสือ สื่อมวลชนบนเส้นทางทุนนิยม ชี้ให้เห็นถึงการที่คนกลุ่มหนึ่ง ( บริษัทธุรกิจการสื่อสารขนาดใหญ่ ทั้งที่ควบรวมกิจการและไม่ควบรวม ) ที่มีอำนาจในการกำหนด ข่าวสารไปสู่ประชาชน และใช้อำนาจที่มีอยู่นั้น ไปควบคุม ครอบงำ(Dominate) ชักจูงทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของคนในสังคมให้เป็นไปตามที่คนกลุ่มนี้ต้องการ

อ.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา กล่าวไว้ในหนังสือ " ฐานันดรที่สี่ " ว่า
" สำหรับสังคมไทยสมัยใหม่ ในขณะที่สื่อมวลชนจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ อันตรายประการหนึ่งก็คือ สื่อมวลชนอาจจะตอบสนองต่อผลประโยชน์ที่แคบๆ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ส่วนกว้างกว่าออกไปได้ ดังนั้น เราจึงปล่อยให้พัฒนาการของสื่อมวลชนดำเนินไปอย่างอิสระ และไร้การตรวจสอบที่รอบรู้ไม่ได้ ทว่าหากว่าเราต้องการสื่อมวลชนที่ดียิ่งขึ้น เราจะต้องมีประชาชนที่มีความรู้เท่าทันสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้น "

----------


เมื่อหันกลับมามองดูสถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคสมัยที่เรียกกันอย่างภาคภูมิใจว่า ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสามารถทำให้มีช่องทางในการรับรู้ข่าวสารได้มากขึ้น กว้างไกลขึ้น และรวดเร็วขึ้น รวมทั้งสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่(ดูเหมือนว่า)เป็นจริงมากยิ่งขึ้น แต่เมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ว่า ข้อมูลข่าวสารที่เราได้รับนั้น ไม่ได้เพิ่มขึ้นในแง่ของคุณภาพเลย มีแต่เพิ่มในส่วนของปริมาณรายการ ที่หยิบเอาประเด็นเดิมพูดวนไปเวียนมา หาความแตกต่างได้ยาก โดยที่ขาดการวิพากษ์อย่างเจาะลึกในข่าวสารนั้นๆ เป็นเพียงการนำเสนอเพียงเปลือกนอกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ปัญหาหนึ่งที่กำลังลุกลามไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยคือ การที่บริษัทธุรกิจการสื่อสารขนาดใหญ่ เข้ามาผูกขาดสื่อ เกิด “ จักรวรรดินิยมสื่อ ( Media Imperialism ) “ ขึ้น คือ สื่อที่มีการรวมอำนาจของการสื่อสารทุกรูปแบบ ผสานเข้ากับทุน ทำให้มีอำนาจในการกำหนดข่าวสารไปสู่ประชาชน และใช้อำนาจที่มีอยู่นั้นเพื่อครอบงำ ( Dominate) ชักจูงความรู้สึกนึกคิด จิตสำนึก ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ของคนในสังคมให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ หรือเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองและพวกพ้อง เช่น เครือเนชั่น ที่มีทั้งธุรกิจหนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ เวปไซต์ ล่าสุดเข้าไปนั่งคุมมีอำนาจในการจัดผังรายการ ในสื่อสาธารณะ TPBS รวมไปถึงสื่อในเครือ ผู้จัดการด้วย

การเข้ามาของบริษัทธุรกิจจะมีผลทำให้ สื่อกลายเป็นสินค้า เมื่อสื่อตกอยู่ภายใต้อำนาจทุน ก็จะถูกกำหนดโดยผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคในที่นี้ไม่ไช่ประชาชน เพราะผู้บริโภคเป็นเพียงกลุ่มของปัจเจกเท่านั้น จึงได้แต่รับสื่อเป็นกรณีๆไป ไม่ได้ใช้สื่อเพื่อเป็นพื้นที่ต่อรอง มุ่งแต่จะหาประโยชน์เพื่อตนเอง เช่น เพื่อความบันเทิงจากสื่อเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงไม่มีพลัง ทำได้เพียงรับสิ่งที่ผู้อื่นนำเสนอมาไปวันๆเท่านั้น นี่จึงทำให้คนในสังคมจึงดูเหมือนว่า มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการเลือกรับข่าวสาร แต่แท้จริงแล้วหาได้มีเสรีภาพอย่างแท้จริงไม่ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกนำมาเสนอนั้น ล้วนถูกกลั่นกรองและผ่านการตรวจสอบ จากผู้มีอำนาจ(Gateway)อยู่ก่อนแล้วทั้งสิ้น

ดังนั้นสื่อเอง แทนที่จะเสนอข่าวที่คำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) กลับเล่นคำพลิกแพลงเป็น “ The public interest is what interest public “ กล่าวคือ นำเสนอสิ่งที่ประชาชนสนใจ แล้วอ้างว่าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทำให้เราจึงได้เห็นข่าวพระราชสำนัก gossip ดารา รวมถึง นายก สมัคร ความเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร แทบทุกวัน ล่าสุดก็ต้อง ฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก

กลับกันในกรณีของชาวบ้านที่อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่รวมตัวกันคัดค้าน ต่อต้านโรงถลุงเหล็ก ของเครือ สหวิริยา สื่อกระแสหลักก็ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงชั้นดี ด้วยการนำเสนอแต่แง่ที่เป็นประโยชน์ โดยไม่ยอมนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกร้องให้ตรวจสอบ เช่นการก่อให้เกิดมลพิษในชุมชน รวมถึงระบบนิเวศวิทยา และความสวยงามของธรรมชาติบริเวณหาดแม่ลำพึงที่จะต้องสูญเสียไป มิพักต้องเอ่ยถึงกรณีเขื่อนปากมูล เรื่องปัญหาน้ำท่วมที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงของจีน รวมถึงปัญหาระดับประเทศอย่างกรณีการผูกขาดท่อก๊าซ ปตท. ทุกวันนี้ชาวบ้านก็ยังเรียกร้องอยู่ แต่สื่อไม่สนใจที่จะนำมาลงเป็นข่าวให้ประชาชนได้รับรู้ อาจเป็นเพราะเป็นข่าวที่ขายยากจึงไม่สนใจ หรืออาจเป็นเพราะเงินบังตาทำให้ไม่เห็นความทุกข์ร้อนของชาวบ้านที่เกิดขึ้น สื่อต้องกลับมาถามตัวเองว่า ได้ทำหน้าที่ในการเสนอข่าวที่รอบด้านแล้วหรือยัง? ไม่ใช่โยนความรับผิดชอบโดยการบอกว่า เป็นหน้าที่ของคนรุ่นต่อไป

----------


นับวันการผูกขาดสื่อ (Media Monopoly )จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยอาศัยการประสานกันระหว่างบทบาทของเทคโนโลยี การตลาด และนโยบายการเมือง มาเป็นปัจจัยหนุน การที่มีบริษัทสื่อขนาดใหญ่เพียงไม่กี่ราย ที่มีอำนาจในการกำหนดควบคุมทิศทางข้อมูลข่าวสารของผู้คนในสังคม เป็นเรื่องที่น่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะก่อให้เกิดการขาดความหลากหลายทางความคิดเห็นในสังคม การลิดรอนสิทธิในการใช้สื่อ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนเป็นการควบคุมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น รวมทั้งจะนำไปสู่การครอบงำความคิดเชิงวัฒนธรรม ( Culture Hegemony ) ที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบัน เช่น แนวคิดลัทธิชาตินิยม (เป็นคนไทยหรือเปล่า ?) ลัทธิกษัตริย์นิยม รวมถึงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

กระบวนการครอบงำความคิด( War of Position )ทางสังคม น่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะไม่ปรากฎผลเด่นชัดอย่างรวดเร็ว แต่จะค่อยๆเกาะกิน ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ของผู้คนในสังคมที่เสพสื่อนั้นไปเรื่อยๆ จนเมื่อสังคมมีความเห็นร่วมกันในการยึดหลักความเชื่อนี้ ก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่ยากจะล้มล้างได้

----------


ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกครอบงำในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือถูกมอมเมาด้วยรายการบันเทิง ซึ่งมีอิทธิพลในการควบคุมความตื่นตัวในการเรียนรู้ของเราได้ สื่ออิสระ หรือ สื่อทางเลือก (Alternative Media ) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเป็นช่องทางเสนอข่าวที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากสังคม หรือเป็นพื้นที่ให้คนชายขอบที่ไม่มีพื้นที่ในสื่อกระแสหลัก ได้มีโอกาสเข้าถึงสื่อมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้สังคมหลุดพ้นจากแนวคิดที่สื่อกระแสหลักพยายามผลักดันให้ต้องเลือกระหว่าง 2 ขั้ว เพื่อง่ายต่อการขายข่าว เปิดพื้นที่ให้คนที่อยู่ตรงกลางได้แสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อสร้างความเป็นธรรม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในขณะเดียวกัน ประชาชนผู้รับสารเองก็จะต้องพัฒนาให้รู้เท่าทันสื่อต่างๆ เพื่อให้สื่อเห็นความสำคัญที่จะต้องพัฒนาคุณภาพงานของตนอยู่ตลอดเวลา..


Create Date : 28 สิงหาคม 2551
Last Update : 28 สิงหาคม 2551 6:26:27 น. 6 comments
Counter : 2175 Pageviews.

 
มาทักทายแล้วก้อชวนไปฮาที่บล็อกจ้า
ขยันอัพบล็อกต่อไปน๊าเอาใจช่วย


โดย: พลังชีวิต วันที่: 28 สิงหาคม 2551 เวลา:8:33:47 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ

ใช่ละครับ ลูกศิษย์ อ.สดศรีครับ


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 28 สิงหาคม 2551 เวลา:13:34:43 น.  

 
จริง ๆ เศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตร์ชุมชน เป็นแนวคิดของคอมมิวนิสต์wไทยครับ แต่พอตอนนี้กลายเป็นพระราชดำริก็เลยมีคนน้อมรับกันอย่างดี (ที่ไม่น่าเชื่อคือ พวกทหารก็เอากับเขาด้วย!!!!) ซึ่งหากเป็นในตอนนั้น (ยุค 2490) มีสิทธิโดนจับขังคุกในข้อหากบฏและไม่จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (และกองทัพ) อย่างเดียว!!!


โดย: โน คอมมูหน่อย IP: 118.172.29.159 วันที่: 28 สิงหาคม 2551 เวลา:18:08:27 น.  

 
^
^
^

ประเด็นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี่ คุยกันได้อีกยาวเลยครับ ... แหะๆ ๆ


โดย: Tentty วันที่: 28 สิงหาคม 2551 เวลา:21:35:30 น.  

 
ขอบคุณเหลือเกินที่เข้ามากระตุกต่อมเบ๊อะเบลอ

พอคุณพูดว่า อ่านหนุ่มหน่ายคัมภีร์ ดิฉันอยากกริ๊ดตัวเองเลย เพราะขายหน้ามาก ที่ใส่ภาพ เรื่องครึ่งรักครึ่งใคร่ของคุณสุจิตต์ แต่ชวนให้นิสิตนักศึกษารุ่นพี่อ่านเรื่อง เพราะดิฉันเบลอ...เอาไปไขว้กะเรื่องหนุ่มหน่ายคัมภีร์ซะแล้วค่ะ
เรื่องที่ชอบมากคือเรื่องกิจกรรมรับน้อง ในหนุ่มหน่ายคัมภีร์ นายทองปน หรือนายทองจันทร์นะคะ ช่วยคนแก่หน่อย
นี่ไปรื้อค้นตู้หนังสือจะหาเรื่องนี้ให้ได้ พักใหญ่จนปวดคอเคล็ด ไม่เจอ เดาเอาว่าลูกๆ เอาไปอ่านสมัยที่เขาเป็นนิสิตนักศึกษากัน แล้วพอแต่งงานแยกบ้านกันไป คงอยู่บ้านใครสักคน
ขอบคุณค่ะ ที่ได้คุยกัน


โดย: วันจัน วันที่: 29 สิงหาคม 2551 เวลา:21:37:04 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อคิด
อยากบอกเพียงว่า ตนเองชอบผลงานของ ดร.บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา มากๆ ท่านเขียนอะไรก็ถูกใจไปหมด สั้นๆ กระทัดรัด แต่คุณค่าทางความคิดเป็นสากล คงทน ถาวร
ไม่มีใครเหมือน


โดย: ระลิล อ๋อ IP: 61.90.163.77 วันที่: 5 กันยายน 2551 เวลา:18:41:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Petrus85
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




I am a fallible human creature.

Friends' blogs
[Add Petrus85's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.