หัวใจนักพูดอธิบายตอนที่2 จบ


7.เรื่องราวให้กระชับ


การพูดจะน่าสนใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เนื้อเรื่อง หรือการเรียบเรียง ก็เป็นอีกประเด็น เรื่องที่จะพูดต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หรือกำลังอยู่ในความสนใจของสังคม หรือถ้าถูกกำหนดหัวข้อมาให้ก็ควรหามุกสอดแทรกเข้าไปเป็นจังหวะๆ เรื่องที่พูดต้องไม่ยาวเยิ่นเย้อ น่าเบื่อ หรือไม่สั้นเกินไปจนไม่ได้ใจความ

แต่ควรเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาสาระครบถ้วนและมีมุกตลกขบขันแทรก และสรุปจบให้ลงตัวและสมบูรณ์ที่สุด


8 .ตาให้จับที่ผู้ฟัง


การพูดโดยทั่วไป ผู้พูดจะอยู่บนเวทีที่มีความสูงกว่าผู้ฟังอยู่เสมอ ผู้พูดที่ดีต้องใช้สายตากวาดไปให้ทั่ว ซ้ายที ขวาที แล้วหยุดอยู่ตรงกลาง แล้วกวาดสายตาอีกรอบทำเช่นนี้ไปเรื่อยให้เป็นธรรมชาติ ระวังการ

กวาดสายตา ต้องให้หน้าไปด้วย อย่าสอดสายตาไปอย่างเดียวหน้าไม่ไปมันจะทำให้ เสียบุคคลิกทำให้สายตาดู รอกแร็ก ขาดความน่าเชื่อถือ และอย่าจ้องตาผู้ฟังหรือหยุดสายตาไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งนานๆ ผู้พูดควรมองผู้ฟังบริเวณหน้าผาก เพราะเป็นระดับสายตาที่ผู้ฟังจะมองขึ้นมาเห็นเรามองเขาได้ระดับพอดีกัน


9.  เสียงดังแต่พอดี


น้ำเสียงเป็นหัวใจสำคัญของการพูด นักพูดที่ดีต้องรู้จักศิลปะ การใช้เสียง เสียงพูด ต้องไม่เบาเกินไป ต้องไม่ดังเกินไป และต้องไม่ตระโกน ใส่ผู้ฟัง

แต่เราควรใช้เสียงเพื่อสื่อเนื้อเรื่องที่เราพูดนั้นออกมาให้เห็นภาพ เช่น เล็ก ใหญ่ น่ากลัว น่าเกลียด เหล่านี้คืออารมณ์ที่เราต้องใส่เข้าไปในน้ำเสียงเพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพพจน์

น้ำเสียงต้องมีสูง มีต่ำ ตามอารมณ์ของเรื่องที่พูด เป็นจังหวะจะโคน เหมือนเสียงดนตรี ถ้ามีระดับเสียงเดียว ก็ไม่น่ารับฟัง  เสียงพูดก็เช่นกัน ต้องมีผ่อนสั้นผ่อนยาว ลากเลื้อยไปตามอารมณ์ของเนื้อหาที่พูด น้ำเสียงต้องไม่ราบเรียบเป็นโทนเดียว


10. อย่าให้มีเอ้ออ้า



ในทางการพูดจะมีคำขยะอยู่หลายคำซึ่งวงการเราเลี่ยงที่จะใช้ หนึ่งในนั้นคือ คำว่า เอ้อ อ้า เพราะมันแสดงออกให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่า ผู้พูดไม่มีความรู้ในเรื่องที่พูด ไม่มีความจัดเจน ไม่เข้าใจ ไม่พรั่งพรูในการพูด พูดไปแล้วก็หยุด เอ้อ อ้าตลอดเส้นทางมันสะดุดตลอด ทำให้การพูดนั้นล้มเหลว ตกม้าตายขาดความน่าเชื่อถือ ผู้พูดที่ดีต้องหลีกเลี่ยง คำพวกนี้ ด้วยการเตรียมตัวและซ้อมให้ดี



11. ดูเวลา ให้พอครบ


ในการพูดแต่ละครั้งจะถูกกำหนดไว้ด้วยหัวข้อ และเวลา เวลาคือความรับผิดชอบของผู้พูดต้องรับผิดชอบบนเวที ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องมาให้พอดีกับเวลา และพูดให้มีข้อสรุปจบลงให้ได้ในเวลาที่ได้มา เพราะถ้าเราพูดไม่มีที่ลงก็เหมือนเครื่องบินที่หาสนามลงไม่ได้ ในขณะที่พิธีกรบนเวทีกำลังรอไมค์อยู่ ในขณะผู้ฟังรอคำสรุปอยู่ ในที่สุดก็จะกดดันตัวเองทำให้หาที่ลงไม่ได้ และเกินเวลา วิทยากรคนอื่นไป ทำให้ผู้พูดเสียภาพลักษณ์ และเสียหาย


12. สรุปจบให้จับใจ


การสรุปจบ คือสิ่งที่ผู้พูดต้องพึงระวังให้ดี ถึงแม้เราจะเริ่มต้นมาดีตลอด แต่ถ้าสรุปจบด้วยคำว่า แค่นี้ครับ แค่นี้ค่ะ วงการพูดเราถือว่าผู้พูดนั้นตกม้าตายตอนจบ การสรุปจบก็เช่นเดียวกับการเริ่มต้นพูดคือดึงดูดใจผู้พูดให้มาหาเราก่อน เมื่อดึงคนฟังมาได้ ฉากสุดท้ายต้องสรุปเนื้อหาลงให้ประทับใจผู้ฟัง โดยสำนวนหรือคำคมดีๆ ที่มีเนื้อหาเข้ากับเรื่องที่เราพูดมาหรือเราคิดขึ้นมาเองก็ได้แต่ต้องสอดคล้องกันกับเนื้อหาที่พูดมาทั้งหมดด้วย


13. จากไปให้คิดถึง


ป็นขั้นตอนสุดท้ายทั้งหมดที่เราเริ่มพูดมา ว่าคนฟังจะจดจำเราในฐานะวิทยากรผู้พูดได้หรือไม่ หรือจะล้มเหลว ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการที่เราพูดมาตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ถ้าผู้ฟังประทับใจเรา นั้นบ่งบอกว่าชื่อเสียงของผู้พูดจะถูกบรรจุเข้าไว้ในกล่องความจำของผู้ฟังเรียบร้อย การพูดครั้งต่อๆไป จึงเป็นเครดิตของผู้พูดเองที่สร้างไว้ในการพูดแต่ละครั้ง จงนำหัวใจผู้ฟังกลับไปให้ได้ทุกครั้งที่ลงจากเวที


........................................................................................................................................................


หมายเหตุ ..


ข้อพึงปฏิบัติ และพึงระวังทุกครั้งที่ขึ้นพูด 


1. ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมก่อนขึ้นพูด เพราะจะทำให้เลอขณะพูด


2. ก่อนพูดเมื่อขึ้นถึงเวทีแล้ว ให้เช็คไมค์ด้วยการใช้นิ้วเคาะไมค์เบาๆ ว่าไมค์ไม่มีปัญหา


3. ปรับเสาไมค์ให้มีความเหมาะสมกับปากเราขณะพูด อย่าให้ไมค์บังหน้า ไมค์ควรอยู่ห่างจากปากประมาณ 1 คืบ  ถ้าเป็นคอนเดนเซอร์ไมค์ และ 7-10 เซ็นติเมตรถ้าเป็นไดนามิคไมค์


4. ก่อนพูดอย่างอื่น ต้องแสดงสีหน้ายิ้มแย้มก่อนทุกครั้งเป็นการเปิดเวทีเปิดทาง เปิดใจผู้ฟัง


5. ทุกครั้งที่นำคำพูดหรือคำคมใครมากล่าวในการพูด ต้องระบุชื่อ หรืออ้างชื่อผู้ที่เป็นเจ้าของคำพูดหรือคำคมนั้นเสมอ เป็นมายาท เป็นการให้เกียรติ และเป็นการขออนุญาตเจ้าของงานลิขสิทธิ์นั้น  เช่น


เติ้งเสี่ยวผิงกล่าวว่า อย่าไปสนใจว่าแมวมันจะมีสีอะไรขอให้มันจับหนูได้ก็พอ


หรือ พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ กล่าวว่า ก่อนพูด เราเป็นนายคำพูด แต่หลังพูดคำพูดเป็นนายเรา เป็นต้น


6. มือควรวางไว้ลำตัวขณะพูด ควรใช้มือประกอบการพูดเพื่อให้เห็นภาพ หรืออธิบายคำพูดเป็นบางครั้งเท่านั้นอย่าใช้มือพร่ำเพรื่อ แต่สื่อความหมายไม่ได้ และอย่าใช้มือชี้หน้าผู้ฟัง เป็นอันขาด เพราะเป็นการผิดมารยาทการพูดอย่างรุนแรง



......................................................................................................................................................


คำอธิบายทั้งหมด ไม่ได้คัดลอกมาจากหนังสือหรือข้อเขียนจากที่ใด แต่ผู้เขียนเขียนขึ้นจากประสบการณ์และความรู้ที่ครูบาอาจารย์ได้ถ่ายทอดมา ส่วนหัวใจนักพูดเป็นลิขสิทธิ์ของ พล.ต.ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ต้องกราบอนุญาตท่านที่จะนำมาเผยแพร่และอธิบายความเพื่อเป็นวิทยาทานแด่นักพูดรุ่นน้องต่อไป


กังวาล  ทองเนตร


ผู้ที่สนใจจะเข้ารับการฝึกอบรมทางการพูด ติดต่อได้ที่  สมาคม ฝึกการพูดแห่งประเทศไทย อาคารสยามคอนโดมิเนียมชั้นบนสุด สี่แยก อ.ส.ม.ท. ถนนพระราม 9 กรุงเทพ ได้ทุกวัน




Create Date : 14 มิถุนายน 2555
Last Update : 14 มิถุนายน 2555 18:04:53 น.
Counter : 642 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thongnetra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29