|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม ๓ : สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม - ศิรัสพล
สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว สำหรับวันนี้จะทำการเล่าถึงประสบการณ์ปฏิบัติธรรมวาระต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว ผู้สนใจที่ยังไม่ได้อ่านสามารถอ่านย้อนหลังได้ที่ ประสบการณ์ปฏิบัติธรรม ๒ : ผจญโอปปาติกะ(ผีห้องเช่า) (//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=siratsapon&group=3) หวังว่าเมื่อได้อ่านจบแล้วจะให้ข้อคิดไม่มากก็น้อยครับ......
หลังจากที่ผมได้ประสบพบเจอกับเหตุการณ์อันเรียกว่าน่าสะพรึงกลัวในคราวที่แล้ว จึงทำให้ได้รู้ว่าตัวเองนั้น ยังมีสภาพจิตใจไม่ก้าวหน้าอะไรเลย จิตใจยังมีความหวั่นไหว หวาดกลัวต่อสิ่งที่ได้พบเจออยู่นั่นเอง ทั้งๆ ที่แต่เดิมตอนยังไม่พบเจอกับเหตุการณ์ ผมได้มีความคิด และมีความมั่นใจว่า เรานี้แน่ เรานี่ไม่หวั่นไหว เรานี่บรรลุแล้ว เพราะเนื่องจากว่าฌานอะไรก็ผ่านมาแล้ว การดำเนินชีวิตในประจำวันก็โกรธยาก ใจนิ่งสงบ สุขุม สบายอยู่ได้ตลอดทั้งวัน (แต่ก็ไม่ทุกวัน)
ซึ่งจริงๆ แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเมื่อมาพบเจอของจริงเข้าจังๆ อย่างที่ไม่คาดฝัน หรือไม่ทันตั้งตัวมาก่อนนั่นแหละ ถึงได้รู้ มันเป็นเครื่องทดสอบและพิสูจน์ความก้าวหน้าได้ดีที่สุดสำหรับผม ผลลัพธ์จึงออกมาว่า ความคิดความมั่นใจต่างๆ ที่เคยมีมันไม่ใช่อะไรเลย เป็นเพียงความหลงตัวเอง อันมาจากอำนาจแห่งโมหะครอบงำเท่านั้น
เหตุการณ์ในครั้งนั้นจึงทำให้ได้ข้อคิดประการหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรม ที่จะรู้แน่ชัดว่าก้าวหน้าจริงๆ แท้หรือไม่แค่ไหน ก็จะต้องวัดกันเมื่อได้พบเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือไม่คาดคิดอันรุนแรง ไม่ได้เตรียมใจไว้ก่อน ทั้งที่เป็นเรื่องดีและเรื่องไม่ดีนั่นแหละถึงจะวัดได้จริงๆ หากผู้นั้นไม่หวั่นไหว ใจสงบนิ่ง สามารถจัดการปัญหาต่างๆ โดยไม่ใช้อารมณ์เปี่ยมไปด้วยสติปัญญาอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และเหตุปัจจัยได้ ผู้นั้นนั่นแหละถือว่าก้าวหน้า เข้าถึงสภาวธรรมอันเป็นโลกุตรธรรมจริงๆ แล้วไม่มากก็น้อยอย่างไม่ต้องสงสัย หรือไปเที่ยวหา เที่ยวไปพิสูจน์ ถามจากใครที่ไหนเลย....
ต่อมาหลังจากผมเสร็จโครงการพัฒนาโปรแกรมที่สายสี่กรุงเทพฯ ผมได้ย้ายกลับมาประจำที่สาขาต่างจังหวัดที่มีโรงงานผลิตจักรยาน อยู่ที่ ต.เขาคลุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ผมได้เช่าห้องพักอยู่คนเดียว คนอื่นๆ ก็จะพักกันคนละที่แยกย้ายกัน บางคนเขาก็เป็นคนราชบุรีเหมือนกัน ก็จะพักที่บ้าน แต่พอมาทำงานทุกคนก็จะมาทำงานร่วมกันเหมือนเดิม
สถานที่ที่ผมพักอาศัยนั้น จะเป็นห้องพักเรียงติดกันอยู่หลายห้อง ข้างหลังตึกแถวจะเป็นทุ่งหญ้าทุ่งนา และป่า ถัดจากป่าก็จะเป็นภูเขา เรียกว่าชนบทสุดๆ ห่างไกลจากตัวเมืองประมาณ ๖๐ กม.ได้ ห้องที่ผมพักจะมีขนาดไม่กว้างนัก แต่ก็ไม่แคบนัก ประมาณเท่ารถหกล้อเล็กๆ คันหนึ่งเห็นจะได้ กิจวัตรประจำวันของผมก็เช่นเดิม คือ นั่งสมาธิ แต่เนื่องด้วยจิตใจยังตกจากเหตุการณ์ที่พบเจอมา จึงได้คิดว่า สิ่งที่ปฏิบัติอยู่นี้ไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่ทางที่ถูก ผมคิดเช่นนั้น จึงได้เลิกวิธีการเดิมเสีย "พุท-โธ" อะไรไม่เอาแล้ว (ซึ่งตรงนี้เองเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตก็ว่าได้ แต่ยังไม่บอกว่าตัดสินใจถูกหรือว่าผิด) จึงได้ไปหาหนังสือมาอ่าน เริ่มศึกษาหนังสือวิธีการใหม่ๆ วิธีปฏิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อานาปานสติของท่านพุทธทาส, การถอดจิต, การเพ่งกสิณ, มโนมยิทธิ, การบริกรรมด้วยคาถาและลูกประคำ ฯลฯ
ช่วงเวลาในการค้นหาวิธีการปฏิบัติของผมนั้น ได้ผ่านล่วงเลยไปเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งช่วงนี้ การปฏิบัติเป็นไปแบบทำๆ หยุดๆ คือ ปฏิบัติวิธีนี้ไปสักพักไม่กี่ครั้ง หรือไม่กี่วัน ก็นำอีกวิธีมาทำ บางทีครั้งเดียวกันนั่นแหละบริกรรมด้วยนับลมหายใจอยู่ ก็เปลี่ยนแทรกด้วยบริกรรมแบบพุท-โธ หรือท่องคาถาบ้าง การปฏิบัติตีรวนปนเปกัน หลายสำนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่บังเกิดผลดีอะไรเลย ก็บังเกิดความก้าวหน้าบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่ในใจ ปฏิบัติไปก็ยังมีความลังเล ยังคิดว่าวิธีการเหล่านี้ไม่น่าจะใช่วิธีที่ถูกต้องอยู่เช่นเดิม จึงเลิกฝึกเสียกลางคันทั้งสิ้น แต่ก็ยังไม่หยุดเลิกหาวิธีการใหม่ๆ จนในที่สุดก็ได้ไปสะดุดเอาวิธีการ "สติปัฏฐานสี่ จากหนังสือหัวใจกรรมฐาน" ซึ่งเป็นการปฏิบัติสายพม่าโดยพระญาณโปนิกเถระ ผมจึงได้เริ่มศึกษา และนำมาปฏิบัติอย่างจริงๆ จัง อยู่ระยะเวลาหนึ่ง....

(ภาพนี้เป็นภาพหนังสือเล่มใหม่ เล่มเดิมหายไป แต่เนื้อหาเหมือนเดิมครับ)
วิธีการ "สติปัฏฐานสี่" แบบพม่านี้ หรือที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันในชื่อว่า "พอง-ยุบ" ผมได้อ่านตัวอย่างประวัติของท่าน "อู นารทะ" ก็เกิดศรัทธา เล่าคร่าวๆ ดังนี้
Create Date : 01 ธันวาคม 2552 |
|
4 comments |
Last Update : 3 ธันวาคม 2552 10:33:44 น. |
Counter : 760 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: ศิรัสพล 1 ธันวาคม 2552 8:53:14 น. |
|
|
|
| |
โดย: ศิรัสพล 1 ธันวาคม 2552 8:54:13 น. |
|
|
|
| |
โดย: ต้อง IP: 203.155.80.98 1 ธันวาคม 2552 13:43:55 น. |
|
|
|
| |
โดย: ิNIGPO IP: 222.123.250.226 12 มกราคม 2553 19:27:29 น. |
|
|
|
|
|
|
จำนวนผู้เข้าชมบล็อก : คน
จำนวนผู้เข้าชมทั้งหมด :
คน
|
|
|
|
|
|
|
เมื่อต้นศตวรรษนี้เอง ภิกษุชาวพม่า ชื่อว่า อู นารทะ (U Narada) ซึ่งเป็นผู้มีใจโน้มน้อมมุ่งมั่น เพื่อการแจ้งสัจจะในคำสอนตามที่ได้ศึกษามา ได้กระตือรือร้นในการค้นคว้าแสวงหาวิธีปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งจะสามารถให้บรรลุได้โดยตรงถึงจุดมุ่งหมายสูงสุด โดยไม่มีเครื่องเหนี่ยวรั้งรุ่มราม ปราศจากสิ่งประกอบจุกจิกปลีกย่อยทั้งหลาย ท่านท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ พบอาจารย์หลายท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเข้มงวด แต่ก็ไม่ได้รับคำแนะนำที่น่าพอใจ ขณะที่ยังคงแสวงหาอยู่ก็พบถ้ำ ๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นถ้ำที่ฝึกกรรมฐานที่มีชื่อเสี่ยงแห่งหนึ่ง ณ ภูเขาซาแกง (Sagaing) ในตอนเหนือของประะเทศพม่า และพบพระภิกษุรูปหนึ่งผู้มีชื่อเสียงร่ำลือกันว่าเป็นผู้เข้าถึงอริยมรรค ซึ่งเที่ยงต่อการที่จะได้บรรลุความหลุดพ้นขั้นสูงสุดอย่างแน่นอน เมื่อพระคุณเจ้า อู นารทะ ตั้งคำถามต่อท่าน ท่านก็ย้อนถามกลับมาว่า "ทำไมท่านจึงไปแสวงหาภายนอกคำสอนของพระบรมครู สติปัฏฐานทางสายเดียว พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงสอนไว้หรือ"
อู นารทะ จับเอาคำให้นัยนี้แล้ว ก็กลับไปศึกษาในพระสูตรอีกครั้งหนึ่งพร้อมทั้งคำอธิบายที่สืบกันมา พิจารณาใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง ในที่สุดท่านก็สามารถเข้าใจลักษณะสำคัญของพระสูตร ผลสำเร็จที่ได้จากการปฏิบัติทำให้ท่านมั่นใจว่า ตัวท่านได้พบสิ่งที่แสวงหาแล้ว เป็นวิธีการที่ชัดเจนและได้ผลในการฝึกจิตเพื่อการรู้แจ้งอย่างสูงสุด จากประสบการณ์ของท่านเอง ท่านก็พัฒนาหลักการและรายละเอียดในการปฏิบัติ ซึ่งใช้เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ที่เจริญรอยตามท่าน ไม่ว่าจะเป็นศิษย์ของท่านโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม
เพื่อการตั้งชื่อวิธีการฝึกที่พระคุณเจ้า อู นารทะ นำมาปฏิบัติ โดยเอาหลักการของสติปัฏฐานมาใช้ได้อย่างชัดเจนจำเพาะและลงถึงตัวหลักแท้ ๆ เราขอเสนอให้เรียกวิธีนี้ว่า "วิธีสติปัฏฐานแบบพม่า" ซึ่งมิได้หมายความว่าเป็นการประดิษฐ์ขึ้นของชาวพม่า แต่เพราะเหตุว่าในประเทศพม่า การปฏิบัติตามแบบโบราณได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาปฏิบัติกันอย่างได้ผล และเข้มแข็งจริงจัง...ที่มาจากหนังสือหัวใจกรรมฐาน
**********************
เพียงเท่านี้ ผมได้อ่านประวัติของท่านก็เกิดศรัทธา จึงได้คิดว่าลองดูสักตั้งหนึ่ง และได้พยายามศึกษาวิธีการ และนำมาปฏิบัติตามในหนังสือบอกทุกประการ โดยกำหนดเดินจงกรม ๑ ชั่วโมงครึ่ง นั่งสมาธิ ๑ ชั่วโมงครึ่งในช่วงเช้า และทำแบบเดียวกันในตอนเย็นหลังเลิกงาน ซึ่งรวมแล้วก็จะเป็นเดินจงกรม-นั่งสมาธิวันละ ๖ ชั่วโมงด้วยกัน เท่านั้นยังไม่พอ ผมยังทำการถือศีล ๘ รักษาศีล ๘ ทุกวัน ระหว่างวันก็พยายามรักษาจิตของตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งในห้องจะไม่มีพวกเตียง ฟูก ทีวี ตู้เย็น หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ มีแต่มอเตอร์ไซท์คู่ใจ ที่ใช้ขี่ไปทำงานกับของใช้จำเป็นอื่นๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในระหว่างนั้นการปฏิบัติของผมก็จะเป็นไปอย่างนี้ ก้าวหน้าอย่างไม่รู้ตัว...
จนอยู่มาวันหนึ่ง ผู้จัดการของผม เขาลาออกจากที่ทำงาน ไปทำธุรกิจของเขาเอง ก็จะมีการไปเลี้ยงส่งกันตอนเย็นสุดสัปดาห์ ผมเองก็รักษาศีล ๘ อยู่ แต่ก็ไปด้วยเพราะเลี่ยงไม่ได้จริงๆ แต่นึกในใจว่าไปก็จะกินแต่น้ำผลไม้ จะไม่กินอาหารอะไร พอไปถึงก็เป็นที่แปลกประหลาดของคนอื่นๆ เขากินกัน แต่เราไม่กิน เมื่อมีใครถาม เราก็บอกเขาตรงๆ ว่าเราถือศีล ๘ เขาก็หัวเราะ หรือไม่ก็ทำสายตาเหมือนกับว่าเราเพี้ยนๆ (ผมคิดเอง) เขาคะยั้นคะยอแค่ไหนผมก็ไม่กิน แต่เพื่อรักษาน้ำใจก็ขอกินน้ำผลไม้แล้วกัน แต่น้ำผลไม้ไม่มี มีแต่น้ำส้มที่เป็นน้ำอัดลม ผมก็คิดว่าคงจะไม่เป็นไร คงจะจัดเป็นน้ำปานะได้ ก็กินไป โดยไม่รู้เลยว่านั่นแหละที่เป็นจุดที่ทำให้เกิดเรื่องขึ้น.....