Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
6 พฤษภาคม 2551
 
All Blogs
 

ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ในชีวิตจริง



....

สุพรรณบุรีเป็นแหล่งศิลปิน



     สุพรรณบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ เคยเป็นเส้นทางเดินทัพ ของพม่าที่จะยกทัพเข้ามาจากทางด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในครั้งที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง ที่มีชื่อตามพงศาวดารว่า "กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์อุดมพระราชนิเวศน์มหาสถาน" สืบต่อยาวนานถึง 417 ปี จนถึงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

ส่วนดินแดนแถบนี้ ที่เรียกว่าเมืองสุพรรณฯ มักเป็นเส้นทางผ่านของพม่า มาทำศึกกับกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าเดินทัพผ่านมาทีไรก็จะต้องย่ำยี ฆ่าฟัน หรือกวาดต้อนผู้คนเอาไปเป็นเชลยสงคราม และปล้นเอาทรัพย์สิน ทำลายบ้านเรือน วัดวาอารามไปตลอดเส้นทาง วัดวาอารามส่วนใหญ่ มักเป็นวัดร้าง ไม่ใหญ่โต เพราะถูกพม่า เผ่าผลาญ จนไม่เหลือซาก
ปัจจุบันได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ไปหลายวัดแล้ว แต่ก็ยังเหลือร่องรอยว่ามีวัดร้างอยู่หลายวัดอยู่ คนแถวนี้ จึงต้องคอยระแวดระวัง อพยพ หลบภัยพม่า ตลอดเวลา จึงทำให้เป็นชุมชนที่ไม่หนาแน่นมากนัก บ้านเรือนพักอาศัยอยู่ห่างไกลกัน สิ่งปลูกสร้าง บ้านพักอาศัยจึงค่อนข้างมีขนาดเล็กขนาดใหญ่จึงไม่ใคร่มีให้เห็น

     ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดบรรดาศิลปินด้านเพลงมากมาย เช่น ครูสุรพล สมบัตเจริญ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ ขวัญจิต ศรีประจันต์ พุ่มพวง ดวงจันทร์ แม้กระทั่ง แอ๊ด คาราบาว ขวัญใจวัยรุ่นเพื่อชีวิต





     ตามตำนานชาวบ้านในย่านนี้ จะต้องมีการสัญจรไปมากันอยู่เป็นประจำ เพราะจะต้องเดินทางด้วยเท้า มีศาลาให้พักเหนื่อย มีที่ตักน้ำไว้ดื่มแก้กระหายระหว่างเดินทาง และเมื่อผู้สัญจรมาพบปะกัน ณ ศาลาที่พักริมทาง ก็มักจะมีเรื่องราวต่างๆมาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องนิทานบ้าง เป็นเรื่องราวในตำบลของแต่ละคนบ้าง และสำหรับผู้ที่มีพรสวรรค์ และมีความสามารถพูดเป็นภาษากวี หรือเสภา ก็จะแต่งเป็นท่วงทำนอง ขับขาน เป็นการฆ่าเวลา และสนุกสนาน เพลิดเพลิน เลยแต่งเป็นเสภาบ้าง เป็นเพลงอีแซวบ้างต่างๆนานา


     ชาวบ้านส่วนใหญ่มักประกอบการหาเลี้ยงชีพ ด้วยการ ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู สัตว์เลี้ยงประจำบ้าน ก็เห็นจะมี ควาย และ วัว เป็นหลัก เพราะ สามารถเป็นพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ด้วยการเทียมเกวียน ใช้ในการช่วยไถ คราด นวด ข้าว และการคมนาคมขนส่ง และอื่นๆ อาชีพหลักคือการ ทำนา จับสัตว์น้ำ ผู้คนในย่านนี้มักจะชอบการร้องรำ ทำเพลง ในยามว่างจากการ เก็บเกี่ยว ยิ่งงานบวช มีกลองยาว แห่นาค ได้บุญและสนุกสนาน มีคนเสียงดีมากมาย
งานแต่ง ก็จะมีเครื่องสายบรรเลง มีเพลงเพราะๆ จังหวัดไหนอยากได้วงเล่นงานต่างๆ ต้องมาที่สุพรรณบุรี แม้กระทั่ง ตาของภรรยาครูแจ้ง ก็มีวงปี่พาทย์ และก็สอนให้ บรรดา ลูกๆหลานๆ เป็นนักร้อง เป็นนักดนตรีในวงจนเป็นกันหมด


     ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ครูขับคำหอม ก็เป็นหนึ่ง ในตำนานศิลปินพื้นบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากดินแดนนักร้อง ลูกทุ่งที่ต้อง ผ่านการหล่อหลอม บ่มเพาะ จิตวิญญาณ ของ การ เห่ ขับ กรับ ร้อง ในท่ามกลาง ศิลปินพื้นถิ่น ที่มีการถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และโดยสายเลือด รายล้อมด้วยสิ่งแวดวงล้อมรอบตัว ที่เต็มไปด้วยบรรดาเหล่าศิลปินพื้นบ้าน มาตั้งแต่เริ่มเกิดลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็จะได้ยินเสียงปี่พาทย์ทุกเช้า



* ครูแจ้ง คล้ายสีทอง เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 ณ บ้านตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรชายคนเดียว ของนาย หวัน และนางเพี้ยน คล้ายสีทอง มีพี่น้อง ท้องเดียวกันทั้งหมด 4 คน คือ
1. นางทองหล่อ ขาวเกตุ
2. นางฉลวย คงศิริ
3. นายแจ้ง คล้ายสีทอง
4. นางอร่าม จันทร์หอมกุล


     ครอบครัวของ ครูแจ้ง เป้นครอบครัวศิลปินโดยแท้ เนื่องจากคุณตา เป็นนักสวดโบราณ(สวดคฤหัสถ์) บิดาแสดงโขน พากย์โขน และเป็นตลกโขนที่มีชื่อเสียงในคณะโขนวัดดอนกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาเป็นนักร้องเพลงไทยเดิม และแม่เพลงพื้นบ้านผู้มีน้ำเสียงไพเราะยิ่งคนหนึ่ง ครูแจ้งจึงมีความผูกพันกับเสียงดนตรีไทยอย่างแน่นแฟ้น ด้วยติดตาม บิดา มารดา ไปตามงานต่างๆ เข้ารับการศึกษา อยู่ที่โรงเรียนวัดโบสถ์ดอนลำแพน ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จนจบชั้น ประถมปีที่ 4 อันเป็นชั้นสูงสุดในขณะนั้น


ชีวิตครอบครัว

*


ครูแจ้งฯ สมรสกับนางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ บุตรีของกำนันสนิท โพธิหิรัญ กับนางลำจียก โพธิหิรัญ มี บุตร ธิดา ทั้งสิ้น จำนวน 6 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 4 คน ได้แก่

นางสาวคะนึงนิจ คล้ายสีทอง
นางสาวเพ็ญพรรณ คล้ายสีทอง
นายสาธิต คล้ายสีทอง
นางสาวขณิษฐา คล้ายสีทอง
นายประทีป คล้ายสีทอง
นางสาววัลภา คล้ายสีทอง












     ปัจจุบัน ครูแจ้ง อาศัยอยู่บ้านไม้ 2 ชั้น อยู่ที่ 108 หมู่ 12 ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ รายล้อมไปด้วยต้นไม้รอบบ้าน และทิวแถวต้นไม้ เขียวครึ้ม ที่ดูเงียบสงบ ตลอดสองฝั่ง แม่น้ำท่าจีนที่ไหลเอื่อย ริมฝั่งของแม่น้ำ เต็มไปด้วยแพลูกบวบที่ชาวบ้าน ทำไว้เลี้ยงผักบุ้ง ผักกระเฉก ที่ชาวบ้านปลูกไว้ขาย และกินเอง ส่วนในแม่น้ำ ก็อุดมไปด้วย ปลา ต่างๆมากมาย ทั้งปลา ชะโด ปลาช่อน ปลาสวาย ปลาดุก ปลาฉลาด ปลานิล ปลาไน ปลาแรด และปลาที่ขึ้นชื่อ ที่เชื่อว่า มีแต่เฉพาะ ที่อำเภอบางประม้า ก็คือปลาม้า และปลาอื่นๆมากมาย รวมทั้งจระเข้ สองฝั่งของแม่น้ำ มองไปจนสุดลูกหูลูกตาเต็มไปด้วย ต้นไม้ สีเขียวครึ้ม เป็นสายเลือดสายชีวิต ของคนสุพรรณฯ มาตั้งแต่โบราณ ครั้งที่สุพรรณเคยเป็นเมืองหลวง ที่เรียกว่า “เมืองสุพรรณภูมิ”


การใช้ชีวิตตามแบบวิถีชีวิตในชนบท




ชุมชนสมัยสมัยก่อนไม่หนาแน่น บ้านส่วนใหญ่อยู่ห่างๆกัน รอบบ้านเต็มไปด้วย ต้นไม้ใบหญ้า ธรรมชาติยังมี ความอุดมสมบูรณ์ มีการปลูกโสน ชาวย่านนั้น อยู่กันอย่างสงบ เรียบง่าย ย่าจะทำไร่อ้อย ไร่เผือก ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว พืช ผัก ผลไม้กินอย่างอุดมสมบูรณ์ ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องออกไปตลาด
เมื่อก่อน สมัยที่ยังอยุ่กันที่สุพรรณฯ ยังไม่ได้ย้ายออกไปทำงานที่กรุงเทพฯ มีบ่อปลา 2 บ่อ ปีหนึ่งๆ สามารถวิดบ่อได้ 2 ครั้ง ได้ปลาขายได้เงินเป็นหมื่น สมัยที่ทองยังราคาบาทละ 800

สภาพแวดล้อมมีส่วนช่วยให้คนสนใจด้วย ที่สุพรรณบุรี จะแวดล้อมด้วยเสียงดนตรีไทยตลอดเวลา มีหลายปัจจัยที่จะทำให้คนชอบได้ คือต้องชอบ ต้องรัก มีคนสนับสนุนและมีพรสวรรค์



ตำนานรักของ "ครูแจ้ง”



     ไม่ต่างจาก ตำนานรักของชายหนุ่มหญิงสาวหลายๆคู่ในสมัยก่อน ที่ พ่อ แม่ของฝ่ายหญิง จะกีดกันฝ่ายชาย มิยอมให้รักกัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะ ฝ่ายชาย ฐานะความเป็นอยู่ด้อยกว่าฝ่ายหญิง หรือจะเป็นเพราะ ฝ่ายชายไม่เอาถ่าน เอาแต่กินเหล้าเมายา งานการไม่ทำ หรือ ด้วยอื่นใดก็แล้วแต่ สมัยนั้น ถ้า ชาย หญิง รักกันจริง ก็มักจะ แหกม่านประเพณี หอบผ้าหอบผ่อน พากันหนี จน พ่อ แม่ฝ่ายหญิง โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ แบกปืนออกมาไล่ยิง สนั่นลั่นทุ่ง และหลังจาก นั้น พอว่าที่พ่อตา แม่ยายหายโกรธ คิดถึงลูกสาวแล้ว ก็จะกลับ มาขอขมาลาโทษ มาให้พ่อ แม่ฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย ผูกข้อไม้ข้อมือ ไม่ต่างจาก รายอื่นๆ ตำนานรักของ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ก็เช่นกัน ใช้สูตร “รักกันหนา พาลูกสาวหัวหน้าวงหนี” แล้วกลับมาขอขมา ลาโทษ กำนันสนิท และแม่ลำเจียก และก็กลับมาใช้ชีวิต ครอบครัว เฉกเช่น สามี ภริยา จนลูก 6 คนมาจนถึงทุกวันนี้

คุณบุญนะฯ ภริยา ครูแจ้งฯ เธอ มีมารดาชื่อนางลำเจียก โพธิ์หิรัญ เป็นนักร้องเจ้าของวงฯ เป็นครูสอนในโรงเรียนประชาบาล พ่อเป็นกำนันชื่อ สนิท ชาวบ้านเรียกว่า “กำนันหนิท”ส่วน ครูแจ้ง เป็นเด็กข้างบ้านพ่อเสียตั้งแต่ “ครูแจ้ง” อายุยังไม่ถึงขวบ พ่อของกำนันสนิท ซึ่งเป็นครูสอนหนังสือ โรงเรียนประชาบาล ได้ขอมาเลี้ยงเพราะเห็นว่า มีแววตั้งแต่เด็ก ตอนอายุประมาณ 7-8 ขวบ อยู่บ้านก็ไม่มีอะไรทำ ก็เลยฝากให้ไปอยู่ด้วย ตอนแรกก็ยังไปๆมาๆ ไม่ได้อยู่ประจำ ต่อมาภายหลัง เลยมาอยู่เป็นเด็กในบ้าน ช่วยทำงานทุกอย่าง และก็เรียนเรื่อง การร้อง รำ ทำเพลง ไปด้วย



     บรรดาลูกๆ ของ”ครูแจ้ง” ที่พอที่จะมีแววเจริญตามรอยตาม”ครูแจ้ง”ได้ ก็เห็นจะมีลูกสาวอยู่คนหนึ่งที่เรียนจบด้าน คีตศิลป์ไทย จากวิทยาลัยนาฏศิลป์ ตอนนี้ทำงานประจำอยู่ที่วงดุริยางค์ทหารเรือ ในตำแหน่งนักร้องประจำวง ร้องเพลงในแบบ “สุนทราภรณ์” และก็สามารถขับเสภาได้
ครูแจ้งไม่อยากให้ภรรยาเรียน และร้องเสภาเพราะเห็นว่า หน้าที่ภริยาควรจะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน คอยดูแล ลูก หลาน ดูแลสามี และ ดูแลกิจการบ้านช่อง จะเหมาะสมกว่า เพราะจะได้ไม่ต้อง ตระเวน ไปมา ปล่อยให้เป็นเรื่องของ “ครูแจ้ง” คนเดียวก็พอ


การเข้ารับรับราชการ

     เมื่ออายุ 17 ปี ติดตาม นายสนิท โพธิหิรัญ บุตรเขยของครูแคล้ว เข้าทำงานที่กองยกบัตร สะพานแดง บางซื่อ กรุงเทพมหานคร รับเงินเดือนพอเลี้ยงตัวเองไปได้

เมื่ออายุ 21 ปี ได้เข้ารับราชการทหาร ประจำหน่วยเสนารักษ์

พ.ศ.2508 “ครูแจ้ง เข้าราชราชการ ในตำแหน่ง คีตศิลป์จัตวา หรือตำแหน่ง ขับร้องเพลงไทย แผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร



     ช่วงที่ครูแจ้งรับราชการใหม่ๆ เงินเดือน 3 พันบาทก็พออยู่ได้ ไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากภริยาทำของกินและขายข้าวเหนียวปิ้งตั้งวางแผงขาย แถว "วัดครุใน ตลาดพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" อยู่ได้ไม่เดือดร้อน ตอนนั้นเช่าบ้านอยู่แถวปากน้ำ สมุทรปราการ ขายของ 2 รอบ เช้ากับเย็น ตื่นตี 5 ติดไฟย่างตอนตี 5 ครึ่ง แม่ค้าที่ขายในโรงงานมารับ ของขายก็ห่อมาจากบ้าน นับว่าทำกันเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ลูกๆต่างก็ช่วยกัน ช่วงเวลานั้นมีเงินเก็บเป็นแสน มีเงินก็ซื้อทองเก็บไว้ เก็บได้เกือบประมาณ 30 บาททีเดียว ที่เหลือก็เก็บสะสมจนสามารถซื้อที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านหลังนี้ได้

ระยะที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม กำลังคึกคะนอง ครูแจ้งชอบเลี้ยงเหล้า เพื่อนฝูงเป็นประจำ จนบางครั้งก็พลอยทำให้เสียงานเสียการ ขาดงานบ่อยๆเริ่มเป็นหนี้เป็นสิน จนเจ้าหนี้มาตามหักเงินเดือนที่กรมศิลป์ ช่วงนี้พี่ต้องไปทำงานและกลับบ้านพร้อมกับครูแจ้งทุกวัน





     ช่วงชีวิตในขณะที่รับราชการครูแจ้งฯ มีภารกิจที่รัฐบาลได้ส่งไปทำงานเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศ และบางครั้งก็ได้มีโอกาสเดินทางไปปักกิ่ง ในสมัยที่หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปแลกเปลี่ยน ศิลปวัฒนธรรม กับประเทศจีน ที่นั่น ได้ไปร้องโขน ร้องละครโชว์


เส้นทางสู่ดนตรีไทยและการร้อง

     เมื่อ ครูแจ้งอายุได้ 11 ปี บิดาถึงแก่กรรม นายแคล้ว คล้ายจินดา ครูดนตรีไทย เจ้าของวงดนตรีปี่พาทย์ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้มาขอตัว ครูแจ้ง จากมารดา ให้ไปหัดดนตรีไทย ฆ้องวง เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ เด็กชายแจ้งได้เริ่มหัดอย่างจริงจัง โดยบรรเลงเพลงสาธุการและเพลงอื่นๆ และในไม่ช้าก็สามารถออกงานไปพร้อมกับ วงได้ทุกครั้ง
ต่อมา ในวงดนตรีของ ครูแคล้ว ขาดนักร้อง เด็กชายแจ้งจึงมีโอกาสได้เริ่มฝึกหัดขับร้องเพลงกับ ครูเฉลิม คล้ายจินดา ซึ่งเป็นบุตรชายของครูแคล้ว โดยเริ่มจากเพลง 2 ชั้น และเพลงตับราชาธิราช (ตอนสมิงพระรามหนี) จนกระทั่งครูแจ้งขับร้องได้อย่างคล่องแคล่ว และได้เป็นนักร้องวงดนตรีของครูแคล้ว ครูแจ้งได้รู้จักกับ นักดนตรีเอกของบ้านดุริยประณีต คือ นายสืบสุด ดุริยประณีต และ จ.ส.อ.สมชาย ดุริยประณีต ทั้งสองคนนี้มาช่วยงานในวงดนตรีของครูแคล้วอยู่เสมอ และภายหลังได้รับการชักชวนจากนายสืบสุด ดุริยประณีตให้เป็นนักดนตรีวงดุริยประณีตต่อมา

     ในช่วงที่ครูแจ้งอยู่วงดนตรีดุริยประณีตนั้น ซึ่งตรงกับสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้แสดงลิเก โดยเปลี่ยนชื่อเป็น นาฏดนตรี มีการแสดงสดส่งกระจายเสียงตามวิทยุต่างๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ลิเกหลายคณะได้ใช้วงปี่พาทย์บ้านบางลำพูในการบรรเลง ต่อมาครูแจ้งก็ได้เลื่อนเป็นนายวง และเป็นคนตีระนาดเอกเอง ส่วนใหญ่จะแสดงประจำสถานีวิทยุที่กรมการรักษาดินแดง

     และเมื่อคณะลิเกขาดตัวแสดงตัวใดตัวหนึ่ง ก็มักจะให้ครูแจ้งแสดงแทน ซึ่งครูแจ้งสามารถแสดงได้ดีในทุกตัวแสดง จนบางคณะต้องติดต่อให้ครูแจ้งแสดงเป็นพระเอก โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า "อรุณ คล้ายสีทอง"

     ในยุคแรกๆของสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม วงดนตรีดุริยประณีตได้มีโอกาสบรรเลงดนตรีไทยอยู่เป็นประจำ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ครูแจ้งได้มีโอกาสสวมบทและร้องเพลง "บุหลันเถา" แทนตัวจริง เฉพาะในตอนสองชั้นและชั้นเดียว ปรากฏว่าศิลปินผู้ใหญ่ที่นั่งฟังอยู๋ด้วย ได้กล่าวชมน้ำเสียงของครูแจ้ง แต่ก็ได้แนะนำให้ปรับปรุงวิธีการร้องและลีลาการร้องในบางช่วง ครูแจ้งจึงได้มีโอกาาสเรียนวิชาการขับร้องกับ ครูสุดา เขียววิจิตร

     โดยเพลงแรกที่ฝีกร้องก็คือเพลง "เขมรราชบุรีสามชั้น" ต่อจากนั้นก็ได้มีการต่อเพลงอื่นๆอีกหลายเพลง จนสามารถนำไปร้องเข้ากับวงดนตรีในงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และมีความไพเราะ

     พ.ศ.2506 ครูแจังได้ขี้นประกวดขับร้องเพลงไทย และการบรรเลงเครื่องสาย โดยใช้ชื่อว่า นายอภัย คล้ายสีทอง และได้รับรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องฝ่ายชาย


     สำหรับการขับและขยับกรับเสภา มีครูโชติ ดุริยประณึต เป็นผู้ฝึกหัดให้ โดยเริ่มตั้งแต่วิธีการจับไม้กรับเสภา ซึ่งมีอยู๋ 4 อัน หริอ 2 คู่ โดยถือไว้ข้างละ 1 คู่ โดยขยับตั้งแต่เสียงสั้นไปหาเสียงยาว เสียงสั้นคือเสียงก๊อก แก๊บ เสียงยาวคือเสียงกรอ ขยับจนคล่องดีแล้ว จึงตึเสียงกร้อ แกร้ (เสียงกรอ) ต่อจากนั้นก็หัดตีไม้สกัดสั้น ได้แก่เสียงแกร้ แก๊บ และไม้สกัดยาวคือเสียงกร้อ แกร้ กร้อ แกร้ แก๊บ ใช้สลับตอนหมดช่วงของการขับเสภาและในระหว่างขับ ส่วนไม้กรอใช้สำหรับขับครวญเสียงโหยไห้ และใกล้หมดช่วงของการขับเสภา แต่ยังไม่ทันได้ต่อไม้เสภาอื่นๆ ครูโชติฯ ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน และต่อมาครูแจ้งได้เรียนขยับกรับกับอาจารย์มนตรี ตราโมท ครูดนตรีไทยที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง จนภายหลังได้รับการยกย่องว่า "เสียงดี ตีกรับอร่อย"


     บุคคลที่ครูแจ้งให้การเคารพยกย่องมากท่านหนึ่งก็คือ อาจารย์เสรี หวังในธรรม ผู้ให้การสนับสนุนและแนะนำวิธีการร้องต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน






บทขับเสภาที่ต้องใช้เป็นประจำ

     เพลงหลักๆที่มีชื่อเสียง ก็จะหาละคร “ขุนช้าง ขุนแผน” ครูแจ้งจะร้องเอง ขับเสภาเองหมด แต่ก็อยากทำ แต่ค่าตัวนักแสดงแพงมาก อยากทำออกมาเป็นซีดี แต่ค่าใช้จ่ายสูงและกลัวจะถูกก๊อปปี้ด้วย

     ครั้งหนึ่งมีงานที่ “ตำหนัก ติยาลัย” อยุธยา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จรับแขกต่างประเทศ มีอยู่ครั้งหนึ่ง สมเด็จฯได้ทรงจัดให้มีการเห่เรือ และสมเด็จฯ ทรงลงมาปล่อยปลาตอนเที่ยงคืน และก็มีการปล่อยโคมลอย ครูแจ้งฯต้องไปถวายงานต่อหน้าพระที่นั่งให้สมเด็จฯท่านเกือบทุกวัน ตอนนั้นเพิ่งกลับมาอยู่บ้านที่สองพี่น้อง หลังนี้ ใหม่ๆ หลังเสด็จกลับ ประมาณ ตี 3 ต้องเดินทางกลับมาเอารถของตัวเองที่กรมศิลป์ฯ การเดินทางกลับบ้าน

ในช่วงเวลานั้นอันตรายมาก ไม่มีไฟส่องทางถนนจะมืดมาก ไหนจะแคบอีกเพราะมีเพียงสองเลน สองข้างทางก็เป็นคลองชลประทาน ถนนเป็นถนนดำ รถสวนมาต้องขับกันช้าๆ เพราะมองไม่เห็นกัน ฝนตกหนัก ลมแรง มองอะไรไม่เห็น เวลารถสวนกัน พอมาถึงโรงเรียนบรรหาร 5 มีไฟส่องสว่าง ยางแตกพอดี โชคดีที่ยางมาแตกที่ตรงนี้ ไม่งั้นก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เพราะในรถก็ไม่มีเครื่องมือสักชิ้น มืดก็มืด อันตรายก็อันตราย โชคดีเผอิญมีรถสิบล้อจอดรอฝน เลยถามหาร้านปะยาง กว่าจะกลับถึงบ้าน นอนได้ก็สว่างพอดี






ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินของประชาชน บางทีก็เหนื่อย

     เมื่อเร็วๆนี้ ไปรับงานวัดที่จ.กาญจนบุรี ด้วยความเกรงใจพระ จึงรับงาน แค่ 5,000 บาท เนื่องจากพระโทรมาขอร้องให้ช่วยงานบุญ ของวัด ขอให้ไป งานนี้มีการประกวดนักร้องลูกทุ่งโดยให้ครูแจ้ง เป็นกรรมการตัดสิน พี่ไม่ได้สอบถามรายละเอียดเรื่องเส้นทาง ปรากฏว่าหลงทาง เข้าป่า เข้าดง ไปซะไกล ระยาทางไกลมาก ออกจากบ้าน 4 โมงเย็นถึงวัดเอาตอนทุ่มครึ่ง งานเกือบเลิกซะแล้ว ด้วยความสงสารพระที่จะหาเงินเข้าวัด ก็เลยไม่อยากรับเงินงานนี้ ถือโอกาส ช่วยทางวัดทำบุญไปด้วย

ครั้งที่ไปงานมรดกโลกที่อยุธยา ช่วงนั้น ครูแจ้ง ยังไม่ได้เกษียณ ต้องไป ขับเสภา 5 คืนติดต่อกัน แต่ก็ลำบากเรื่องการเดินทาง เพราะเลิกงานดึกๆประมาณ ตี 2 กว่าจะถึงบ้านทุกวันและก็ต้องเดินทางจากบ้าน ไปอีกในตอนเช้า แต่เมื่อนึกถึงว่า เป็นการถวายงานสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ก็เกิดความภาคภูมิใจ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง



     ในการรับงานส่วนใหญ่ พี่จะต้องเป็นคนรับงานเอง รับงานขับเสภาทั่วไป ในพิธีต่างๆ ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานศพ หลังจากนั้นก็เลยไม่ได้ขายของ รับงานเสภาให้ครูแจ้ง นางบุญนะ ศรีภริยา คู่ชีวิตของครูแจ้ง ย้อนอดีต สมัยที่ ครูแจ้ง เริ่มรับราชการ สังกัดกรมศิลปากร ใหม่ๆ
ช่วงนี้ตอนนี้งานก็น้อยลง เพราะงดงานรื่นเริง (พระพี่นางฯ) งานน้อยลงบ้าง วันสงกรานต์ทุกปี จะต้องมีงานขับเสภาประจำที่ เสรีเซ็นเตอร์ เป็นงานอนุรักษ์วัฒนธรรม ในวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี แต่ปีนี้เลื่อนเป็นวันที่ 14 เมษายน

นางบุญนะฯ ศรีภริยาของครูแจ้งหวลนึกถึงภาพเก่าๆที่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับเหตุการณ์ในชีวิตการทำงานด้าน คีตะศิลป์ ของช่างขับคำหอม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วค่อยๆ ลำดับ ความ ให้ “สนามหลวง”ฟัง ส่วนครูแจ้งนั่งยิ้มอือออ อยู่ข้างๆ บางทีก็ หัวร่อ หือๆ



ปัจจุบัน ครูแจ้ง ยังมีภารกิจที่ต้องสอนหนังสือในสถาบันการศึกษาหลายๆแห่ง

     “ครูแจ้ง” จึงรับหน้าที่สอนหนังสือให้กับวิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันราชภัฎต่างๆ ในวิชา "คีตศิลป์” หลายแห่งเป็นประจำ เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และจิตวิญญาณด้านคีตศิลป์ ให้อนุชนรุ่นหลัง แล้วก็จะมีนักศึกษาที่จะต้องทำวิทยานิพนธ์ ด้านคีตศิลป์ สอนเรื่องการใช้ภาษาไทย วรรณคดี และเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง(โดยเป็นวิชาที่ครูแจ้งสอนสอนประจำ) และด้วยไม่สะดวกในเรื่องของเวลา เพราะต้องออกงานในสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ อยู่เป็นประจำ จึงไม่เปิดสอนพิเศษ


การขับเสภาจะสามารถจัดได้กับงานทุกประเภทหรือไม่?

     เสภาสามารถขับได้ทุกงาน ใช้ขับได้ทั้งงานมงคล และอวหมงคล ตั้งแต่งานวันเกิด งานโกนจุก งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส งานฉลองต่างๆ จนถึงงานตอนตายคืองานศพนั่นแหละ ซึ่งก็ ต้องแต่งหรือนำบทขับเสภาในวรรณคดี ที่มีอยู่แล้ว นำเอามาใช้ขับให้เหมาะกับงานนั้นๆ
เช่น ถ้างานศพ ก็จะบอกถึงคุณความดี ประวัติต่างๆ ของผู้ตาย





ผลงานด้านการใช้ภาษาดีเด่น


     ตอนแรกได้รับรางวัลดีเด่นในด้าน การอนุรักษ์ภาษาไทยจากสมเด็จพระเทพฯ ความสามารถด้านนี้ ก็เพราะการที่ได้เป็นลูกศิษย์ก้นกุฎิอยู่บ้านตา จึงได้มีโอกาส ฝึกด้านการใช้ภาษา และการเปล่งเสียงมาตั้งแต่เด็กๆ





ช่วงที่ มล.ปิ่น มาลากุลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันคล้ายวันเกิดของท่านทุกๆปี ครูแจ้งมีหน้าที่ต้องไปอ่านบทกลอนของ มล.ปิ่นให้ท่านฟัง ที่ หออัครศิลปิน ท่านมักจะชอบเล่าเรื่องต่างๆให้ครูแจ้งฟัง

อาหารโปรดของครูแจ้ง


อาหารที่ ครูแจ้ง โปรดปรานมากที่สุด คือ น้ำพริกปลาร้า ผักบุ้งดิบ ซึ่งส่วนมาก ศรีภริยา จะเป็นผู้ปรุง ให้ทาน เอง ส่วนเครื่องปรุง ก็ จะมี ดังนี้

“ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด (พวกปรุงเครื่องแกง) พริกขี้หนูสด คั่วให้มันหอม แล้วก็โขลก รากผักชีซอยให้ละเอียด ต้มแล้วก็กรองแต่น้ำ เอาให้ข้น หอมแดง กระเทียม เผา ตำกับพริกที่คั่ว
น้ำส้มมะขาม พอเปรี้ยว รสจะไม่จัดมาก ปรุงรส ให้น้ำมันข้นๆ”

     ส่วนอาหารทางเหนือที่ชอบมาก ก็เห็นจะได้แก่ “แกงกระด้าง” ที่เขาเอากระดูกหมูที่มาเคี่ยวจนเป็นไข แล้วแช่เย็นเป็นไข จะเรียกว่า เป็นอาหาร ประจำฤดูหนาวกิน ซึ่งรสชาติ อร่อยมาก ซึ่งสามารถจะปรุงรสตามใจชอบ โดยใช้เครื่องปรุง
ช่วงที่ ครูแจ้งไปอยู่เชียงใหม่เป็นเดือนๆ ชอบกินก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย ร้าน “นาย ตี๋”มาก แกจะไปกินแถวกำแพงดิน นั่งรถกรมฯ ไป-กลับ พอครูกลับไปอีกซัก 4-5 วัน ลูกน้องที่ไปด้วยในคราวนั้น ได้ไปขอเป็นลูกจ้างร้านนี้อยู่ 3 ปี เพราะอยากได้สูตร หลังจากนั้นเคยไปขายที่กรมศิลปากร ขายไม่นาน ก็หมด เพราะอร่อยมาก

แกชอบกิน ร้าน “ฮง” แถว นพวงศ์ เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ไปนั่งร้านนั้นประจำ เพราะอร่อยมาก เค้าว่าน้ำส้มของร้านนี้ใส่กัญชา ใครไปกิน ก็บอกอว่าอร่อยมาก ครูบอกถ้าไม่ใส่ ไม่อร่อย แต่ใส่แล้วต้องทานเลย ถึงจะอร่อยและดี

ครูแจ้งยังได้เคยไปทำผัดเผ็ดปลาไหล ที่บ้านดุริยประณีต บางลำพู ให้พระองค์เจ้าเฉลิมพลเสวย พระองค์ท่านชมว่าอร่อยมาก เสด็จพระองค์ชายกลาง จะมีเหล้าจีน จะมีกระติกเล็ก มีแก้วเล็กๆอยู่ข้างใน ท่านจะโปรดกับข้าวที่ครูแจ้งทำ

     เวลาพูดคุยกะท่านกบ และท่านอ้วน โดยมากก็จะใช้ราชาศัพท์นั่นแหละ


ท่านอ้วน ท่านกบ ก็ให้ความสนิทสนมกับครูแจ้งเป็นอย่างดี จะเรียก “ครูแจ้ง” เพราะท่านกบสร้างดนตรีให้สมเด็จพระเทพฯ ให้ครูแจ้งไปตรวจมาตรงไหนดี หรือไม่ดี

ศิลปินมักมีอารมณ์ขันเสมอ


     สมัยก่อนสะพานพุทธฯ ช่วงที่แม่น้ำเจ้าพระยาลดระดับลงมากๆ โป๊ะก็แขวนลอยตัวอยู่สูง ผู้หญิงที่นุ่งกระโปรงสั้นๆ เวลาก้าวลงเรือข้ามฟาก ก็จะต้องยกเท้าก้าวสูงช่วงขึ้นโป๊ะ หนุ่มๆในสมัยนั้น มักจะแอบดู จน ครูสุรพล สมบัติเจริญ นำไปแต่งเป็นเพลง ร้องล้อเลียน โด่งดังในยุคนั้น


ซึ่งครูแจ้งเองก็เช่นกัน มักจะมีเรื่องเล่า ฮาขำกลิ้งให้เพื่อนๆฟังอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย่านนี้ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ โบร่ำโบราณ ที่เคยถูกกองทัพพม่าเดินทัพผ่านเข้ามา เพื่อเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านชาวช่องต้องทิ้งบ้านเรือน และฝังทรัพย์สมบัติไว้ใต้ดินจำนวนมากมาย อีกทั้งพระประธานทองคำ ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกพม่าฆ่าตาย วิญญาณก็เลยล่องลอย เฝ้าทรัพย์สมบัติใต้ดินนั่นแหละ

     จึงมักจะมีตำนานที่เกี่ยวกับตายายเฝ้าทรัพย์สมบัติใต้ดิน ทั้งเรื่องที่ประสบด้วยตนเอง และเรื่องที่ปู่ย่าตาทวดประสบและเล่าให้ฟังเยอะแยะ



*


เรื่องเล่า...เขาแจ้ง




     สมัยที่ทำงานอยู่กรมศิลป์ใหม่ๆ พวกกระเทยมักมาชอบหนุ่มๆในกรมศิลป์ ทำไปทำมาพวกนี้เลยพาลเอาโรคเอดส์มาแพร่ รู้สึกว่าจะติดโรคเอดส์ตายเป็นรายแรกๆ ซึ่งเป็นรุ่นน้องครูแจ้งประมาณ 10 ปี


การพูดของครูแจ้ง จะมีจังหวะจะโคน เพราะจะค่อยๆพูด เป็นคนอารมณ์อ่อนไหว ต้องพยายามควบคุมตัวเอง สมัยก่อนครูแจ้งก็ใจร้อน เคยด่าอธิบดีสมคิดมาก่อน
ผู้ใหญ่สมัยนั้น อ.คึกฤทธิ์ ท่านสอนกฏหมายที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่านไม่เคยถือตัว

ปราชญ์คนแรกของไทย คือ รัชกาลที่ 6 (ในความคิดของครูแจ้ง ) หม่อมคึกฤทธิ์ด้วย

*อธิบดีธนิต อยู่โพธิ์ เมื่อได้เห็น แวว แห่งความสามารถ ของครูแจ้งฯ จึงได้ชักชวน ครูแจ้งฯ ให้เข้ามารับราชการ ที่กรมศิลปากร และเมื่อเวลาท่านไปราชการที่ใด ท่านก็จะเอาทั้งอาจารย์ เสรีฯ และครูแจ้งไปไหนมาไหนด้วยตลอดกันตลอดไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทย หรือจะเป็นต่างประเทศ

ครูแจ้งเคยทำละครร่วมกันกับ ครูส.อาสนจินดา ส่วนพระเอกจะเป็น ชรินทร์ นันทนาคร ส่วนว่าถ้าเป็นบทเข้าพระเข้านาง ก็จะเป็นหน้าที่ของ ชรินทร์ฯ แต่ถ้าเป็นบทตอนเวลาออกรบ ครู ส.จะออกรบแทน

เคยแนะนำ ครู ส.อาสนจินดา ถึง ละครที่สร้าง ก็เคยแนะนำ ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ให้ร้องละครเรื่อง "ผู้ชนะสิบทิศ" ให้ อาจารย์ เสรี ว่าเวลาร้องละครผู้ชนะสิบทิศ ควรจะร้องให้น้อยหน่อย พูดมากหน่อย แนะนำและให้คิดบทพูดเอาเอง แทนที่จะเป็นการท่องบท ตั้งแต่วันนั้นจนถึงปัจจุบัน เลยมีบทพูดมากกว่าร้อง

จริงๆ อ.เสรี จะเป็นคนดื้อ ไม่ฟังใคร แต่ครูแจ้งจะพูดเฉยๆ จะเชื่อหรือไม่เชี่อก็แล้วแต่ แต่ก็ทำให้คนดูละครชอบมาก

ชุมชนสมัยโบราณ จะอยู่กับด้วยความสงบ เกรงใจกัน ให้เกียรติกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน มีอะไรก็จะช่วยกันคนละไม้คนละมือ ที่เรียกกันว่า “การลงแขก” แต่มาสมัยนี้ เปลี่ยนแปลงไป อย่างมากมาย ต่างคนต่างอยู่ ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กันเท่าไร เปิดวิทยุ เครื่องเสียงดังสนั่น เครื่องขยายเสียงที่เปิดจะมี ก็มีแค่เป็นงานบุญ งานวัด และจะไม่เปิดดังเกินไป เพลงที่เปิดส่วนใหญ่ก็จะมีแต่เพลง สุนทรภรณ์ ครูก้าน แก้วสุพรรณ สมยศ ทัศนพันธุ์ ชาญ เย็นแข เท่านั้น ประเภทเพลง ฝรั่ง เพลง ดังจี๊ดจ๊าด ไม่มี ครูแจ้งฯ ย้อนภาพในอดีต ให้ “สนามหลวง “ฟัง เสมือนเป็นภาพที่ชัดเจนในความทรงจำ


โปรแกรมงานขับเสภาของครูแจ้ง


● วันเสาร์ที่ 24 พค เวลา 19.00 น. ตรง ครูแจ้งร้องโขนของกรมศิลปากร ที่ วัดไร่ขิง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม ในงานศพพระครูฯ
● วันที่ 29 พฤษภาคม ครูแจ้ง ขับเสภางานฉลองรับโล่ ของ อาคาร บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้ง เขตตลิ่งชัน
● วันที่ 3-4 มิ.ย. หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ (สมเด็จพระเทพฯ เสด็จ)
● วันที่ 5 มิย เวลา 18.00 น. ขับเสภาหน้าพระที่นั่ง งาน"การแสดงดนตรีไทย ครูอาวุโสชายแห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถนนพระราม 9 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธาน เนื่องในโอกาส ทรงเจริญพระชนมายุ ๕๓ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ (มีการซ้อมวันที่ 3 มิถุนายน เวลา 10.00 น )

(( เบอร์ติดต่อ ครูแจ้ง(บุญนะฯ ภริยาครู) 08-1299-6638 ))

------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง

● รวมผลงาน “ครูแจ้ง คล้ายสีทอง” โปรแกรมวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม เพื่อเสนอชื่อ นายแจ้ง คล้ายสีทอง (ครูแจ้ง) เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษา โปรแกรมวิชาภาษาไทย จากสถาบันราชภัฏนครปฐม ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2542
● จากการสนทนา พูดคุย กับ นายแจ้ง และนางบุญนะ คล้ายสีทอง ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2551
● นายกรณ์ ฟูสวัสดิ์สถาพร เป็นผู้สนทนา รวบรวมและเรียบเรียง
● น.ส.จุฑามาศ เป็นผู้ถอดบทการสนทนา และ postup blogmaster




เสภาตอน "ขึ้นเรือนขุนช้าง" โดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง...คลิก




"ขอเชิญติดตามตอนต่อไป "สนามหลวง"จะนำมาเล่าสู่ให้ท่านฟัง"



*แจ้ง คล้ายสีทอง ครูผู้มากอารมณ์ขัน เยาวภาพวัย 73

สุทธาสินี จิตรกรรมไทย - เรื่อง สุรินทร์ มุขศรี - ภาพ


"เอาสิ! มันจะยากอะไรล่ะ" "แจ้ง คล้ายสีทอง" ตบเข่าดังฉาด ทำหน้าตาขึงขัง ก่อนยิ้มกว้างอย่างอารมณ์ดี เมื่อถูกร้องขอให้ขับเสภา

แล้วเสียงขับเสภาคู่เคียงไปกับเสียงขยับกรับก็ดังก้องไปทั่วคุ้งน้ำ

น้ำเสียงครูแจ้งดุดันแข็งกร้าวเมื่อขับบทเหี้ยมหาญ ถึงบทรักก็ทอดเสียงอ่อนโยน เข้าบทโศกน้ำเสียงก็เปลี่ยนเป็นเศร้าสร้อย..กระทบใจผู้ฟังไม่น้อย

สมกับเป็นนักขับเสภามือหนึ่งของไทย!!

ครูแจ้งเป็นชาวสุพรรณโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2478 ที่ อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เติบโตมากับเพลงพื้นบ้านเมืองสุพรรณฯ

"ตาฉันเป็นพ่อเพลง..เก่งมาก ลุงป้าน้าอาอยู่แถวนี้ก็พ่อเพลงแม่เพลง เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย ฉันก็ได้ยินเรื่อยมา" ครูแจ้งเล่า

ฝึกฝนดนตรีไทยตั้งแต่เด็ก ย่างเข้าวัยรุ่นอายุได้ราว 16-17 ปี ครูแจ้งก็เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร

ที่กรุงเทพฯ ครูแจ้งผ่านการเคี่ยวกรำด้านการขับร้องเข้าขั้นเข้มข้นจากครูดนตรีไทยหลายท่าน รวมถึงฝึกการขับเสภา ลูกคอ เนื้อเสียง และน้ำเสียงดีจนหลายคนติดอกติดใจ กระทั่งได้รับการเรียกขานว่า "ช่างขับคำหอม"

ทุ่มเทให้กับวงการดนตรีไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องมาตลอดหลายสิบปี ครูแจ้งก็ได้รับการยกย่องให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ" สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) เมื่อปี 2538

ถึงตอนนี้ ครูแจ้งในวัย 73 ยังคงมีความสุขกับสิ่งที่รักอย่างการขับเสภา และใช้ชีวิตอยู่กับ "บุญนะ คล้ายสีทอง" คู่ชีวิตที่พบรักกันตั้งแต่ครั้งเป็นวัยรุ่น

"อบอุ่นด้วยลูกๆ หลานๆ ที่บ้านริมแม่น้ำท่าจีน..ถิ่นฐานบ้านเกิดที่ครูแจ้งคุ้นเคย ขณะที่ในเมืองหลวงช่างวุ่นวายและสถานการณ์การเมืองที่อึมครึม"

- ชีวิตวัยเด็กของครู?

เกิดที่นี่แหละ มีพี่น้อง 4 คน ฉันเป็นคนที่ 3 เป็นผู้ชายคนเดียว พี่สาวชื่อทองหล่อ, ฉลวย น้องสาวชื่ออร่าม มีครูแจ้งที่ชื่อไม่เหมือนใคร แม่เล่าว่าตอนพระอาทิตย์พ้นดวงก็ตกฟากพอดี พ่อเลยตั้งชื่อลูกว่าแจ้ง

พ่อฉันเสียตั้งแต่เล็กๆ..ก็จนน่ะสิ ไปเป็นเด็กวัดอยู่วัดโบสถ์ดอนลำแพนแถวบ้าน เรียนหนังสือโรงเรียนวัดจนจบ ป.4 ครูแคล้ว คล้ายจินดา บ้านอยู่ฝั่งขะโน้น (ชี้มือไปอีกฝั่งของแม่น้ำท่าจีน) เห็นฉันชอบดนตรี เลยมาขอแม่ฉันอยากให้ฉันไปเรียนดนตรี เขาเห็นเวลามีปี่พาทย์ ฉันจะนั่งหลังวงดูเขาตีบรรเลง พอกลับบ้านก็หากะลามาทำเป็นวงฆ้องเคาะไปเรื่อย

ฉันเลยไปอยู่กับครูแคล้วตอนอายุ 11

- เรียนปี่พาทย์เป็นอย่างไรบ้าง

เรียนกับครูเฉลิม คล้ายจินดา ลูกชายครูแคล้ว เรียนดนตรี เรียนร้องเพลงไทยเดิม กลางวันข้ามกลับบ้านมาทำนา พอกลางคืนมีงานก็ข้ามกลับบ้านครูแคล้ว ไม่ได้เล่นเฉพาะในสุพรรณฯ นครชัยศรีก็ไป

วงปี่พาทย์ครูแคล้วเป็นที่รู้จักของคนเยอะ ฉันเป็นนักร้องของวง ขึ้นไปอีกทีก็นักร้องรุ่นใหญ่เลย รุ่นแม่ยายฉัน (หัวเราะ) ร้องเพลงสมัยนั้นค่าตัว 6 สลึง ผู้ใหญ่ได้ 2 บาท แต่ฉันได้รางวัลด้วย คนแก่เห็นเขาก็บอก "เออ ไอ้นี่ร้องเพลงดี เอาไปบาทนึง" เสร็จงานแล้วบางคืนได้ตั้ง 30-40 บาท สมัยนั้นทองบาทละ 600 ดูสิ..ฉันได้รางวัลเยอะไหมล่ะ (หัวเราะ)

เพลงติดปากมีเยอะ แต่มีเพลงที่คนเขาบอกว่าต้องครูแจ้งร้องเท่านั้นถึงจะเพราะ อย่างเพลง "แสนเสนาะ" เพลง "แสนสุดสวาท" เขาบอกว่าใครร้องเพราะเท่าครูแจ้งเป็นไม่มี (ยิ้ม)

อู้ย..ตอนนั้นวัยรุ่น เขาเรียกเด็กข้างถนน ฉันเป็นปี่พาทย์ ร้องเพลงเก่ง บางทีออกไปกับเพื่อน 4-5 คน เชียร์รำวงกันมันไปเลย (หัวเราะ)

- ทำไมถึงเข้ากรุงเทพฯ

ทำนาแล้วล้มๆ ลุกๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง นาไม่ต้องเช่า วัวก็ไม่ต้องเช่า แต่ฝนไม่ตก นา 5-6 ไร่จะได้ข้าวสักเกวียนครึ่งเกวียนก็ยากเต็มทน อายุได้ 16 เข้า กทม. ทำงานในคลังแสง กองยกกระบัตร มีโอกาสต่อเพลง "ต้นวรเชษฐ์" กับครูดนตรี แต่ต่อได้ท่อนเดียว พออายุสัก 20 ก็ไปเป็นทหารอีก 1 ปี 6 เดือน แถวๆ ราบ 11 ทำให้ห่างจากปี่พาทย์ไปเป็นปีๆ

ตอนนั้นยังไม่คิดถึงดนตรีปี่พาทย์ เพราะยังไม่เอาจริงเอาจัง ร้องเล่นๆ เท่านั้น แต่ทำปี่พาทย์วิทยุด้วย

ตอนเป็นทหารก็วิ่งเข้าวิ่งออกบ้านดุริยประณีต ไปช่วยงานเขาบ้าง แหม..เห็นเขาร้องเพลงกันเพราะ ฉันอยากร้องบ้างแต่ไม่กล้าขอเขาต่อเพลง เพราะเป็นคนไม่กล้าขอเรียนอะไรกับใครเขา นอกจากเขาบอกให้เราถึงเอา

ที่อยากร้องเพลงเพราะคิดว่าเสียงยังดีอยู่ เพลงสุนทราภรณ์ เพลงครูสง่า อารัมภีร์ ฉันร้องได้หมด ร้องเล่นๆ ไปเรื่อย

- อะไรที่ทำให้ครูแจ้งได้ร้องเพลงอีกครั้ง

มีอยู่วันหนึ่งนั่งกินเหล้าอยู่บ้านดุริยประณีต ฉันร้องเพลงบุหลั่น 2 ชั้น ชั้นเดียว มีครูผู้ใหญ่นั่งฟังกันเต็ม ครูโชติ ดุริยประณีต ได้ยินเข้าก็บอกว่า "แจ้งเสียงดี ฉันจะปั้นแจ้งนี่ล่ะ" แล้วครูโชติก็ให้ครูเชื่อม (เชื่อม ดุริยประณีต) ต่อเพลงให้ร้อง

รุ่งขึ้นฉันเอาดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้ครูเชื่อม ครูให้ต่อเพลงเขมรราชบุรี ท่อน "ชะรอยกรรมจำพราก" ท่อนเดียวร้องอยู่เกือบเดือน (หัวเราะ) พอได้แล้วค่อยไปอีกหน่อย ทั้งเพลงใช้เวลาเดือนกว่า เพราะถ้าร้องไม่ได้อารมณ์ ครูไม่ต่อเพลงให้

ได้มา 4-5 เพลง ก็มีคนส่งฉันเข้าประกวดร้องเพลงของสถานีวิทยุ ว.ป.ถ. ใช้ชื่อว่า "อภัย" เข้าไปอัดเสียงอยู่ 2 หน 4 เพลง ให้กรรมการฟังเสียง เคาะเป๊งต้องร้องให้ตรงเสียง ผิดเสียงไม่ได้ โดนตัดคะแนน ครั้งนั้นฉันได้ที่ 1

นักร้องอีกคนที่แข่งเขาเสียงสูงปรี๊ด ความจริงนักร้องถ้าร้องเสียงสูงต้องสูงให้สุด ลงต้องลงให้ถึงสุดถึงจะครบขบวน บางคนร้องกลางๆ สูงก็ไม่สูง ต่ำก็ไม่ต่ำ เหมือนน้ำเอ่อเต็มตลิ่ง ล้นก็ไม่ล้น ลงก็ไม่ลง ฉันชอบคุณชรินทร์ (นันทนาคร) เพราะคุณชรินทร์ร้องสูงร้องต่ำ

พอได้ที่ 1 ฉันพุ่งแรงเลย ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ มาติดต่อฉันให้ไปเข้าวงดนตรี ฉันจะไปแล้วแต่พอครูโชติรู้เข้าก็บอกว่าอย่าไป

- ครูแจ้งร้องเพลงลูกทุ่งไหม

ฉันไม่ร้องเพลงลูกทุ่ง ไม่ใช่ทำไม่ดี แต่ไม่ชอบ

วันก่อนเขาให้ไปเป็นกรรมการประกวดเพลงลูกทุ่ง ทั้งที่ฉันไม่ร้องเพลงลูกทุ่ง ฉันเลยขอร้องเพลงด้วย เดี๋ยวจะหาว่าขับแต่เสภา ก็ขึ้นไปร้องเพลงลูกกรุง (หัวเราะ) เพลง "สาวนครชัยศรี" ครูชาลี อินทรวิจิตร แต่งไว้ ภาษาสวยมาก แต่งให้เกียรติลูกผู้หญิง

- เข้าทำงานที่กรมศิลปากรได้อย่างไร

ครูโชติฝากฉันไว้กับท่านอธิบดี ธนิต อยู่โพธิ์

ฉันไม่รู้สึกอะไรตอนที่ครูโชติไม่ให้ไปอยู่วงเพลงไทยสากล เพราะเชื่อฟังครู ครูบอกว่าถ้าไปก็ร้องได้แต่เพลงเถา ร้องส่งปี่พาทย์ไม่ได้อะไร ถ้าอยู่กรมศิลป์จะได้หมดทั้ง โขน ละคร ฟ้อน รำ เห่ ขับ กล่อม แล้วฉันก็ได้ตำแหน่งนักร้องเพลงไทย

อยู่ที่กรมศิลป์มีแต่ครูชั้นหนึ่งทั้งนั้น มีทั้งครูที่สอนฉันมาก่อน และยังมีครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ครูท้วม ประสิทธิกุล ครูนิภา อภัยวงศ์ ครูสงัด ยมะคุปต์ ครูเสรี หวังในธรรม

เข้าไปต้องฝึกหมดทุกอย่าง แต่ไม่ต้องเก่งหมด เพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกด้าน

- เน้นขับเสภาหรือยัง

เน้นสิ แต่กว่าจะขับอย่างจริงจังก็อายุประมาณ 30

ฉันเรียนกับครูโชติ ครูสงัด ครูมนตรี (มนตรี ตราโมท) ฟังเทปครูเหนี่ยว กับครูหลวงเสียงเสนาะกรรณขับเสภา คอยจำเทคนิคไว้ ไปบ้านครูเจือ ขันธมาลา ฟังครูเจือบอกไม้กรับ ฟังครูหมื่นขับคำหวานขับเสภา

ครูหมื่นขับคำหวานท่านขับเสภาตลก ครูหลวงเสียงเสนาะกรรณจะขับเสภาเพราะหวานหู บทเข้าพระเข้านางต้องครูหลวงเสียงฯ ส่วนครูเหนี่ยวขับแบบนักเลง กระโชกโฮกฮาก เป็นบทหยิ่งผยอง

- ครูแจ้งมีแบบการขับของตัวเองไหม

ต้องดูบท ฉันจะเอาของครูแต่ละท่านมาใช้ให้ถูกจุด อย่างร้องถึงคำว่า "แหวกม่าน" ต้องทำเสียงจินตนาการว่าค่อยๆ แหวกม่าน ไม่ใช่พรวดพราดแหวกม่าน นางตกใจตายกันพอดี (หัวเราะ)

การขับเสภาเป็นเรื่องของการใช้เสียงแสดงอารมณ์บอกเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้น ฉันเคยขับเสภาตอน "กำเนิดพลายงาม" ขับเสร็จหันไปดูคนฟัง ปรากฏว่านั่งร้องไห้กันหลายคน นั่นคือการขับเสภาไปกระทบใจเขา

ฉันเคยร้องเอาเนื้อความเป็นใหญ่ สัมผัสลดน้อยลงไป แต่ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ท่านบอกว่า ไม่ได้ ไม่งั้นคนไทยจะมีกลอนทำไม ต้องอ่านให้สัมผัสถึงจะเป็นกลอน ถ้าเอาเนื้อความเป็นใหญ่เขียนร้อยแก้วเสียก็หมดเรื่อง

ต้องเอาสัมผัสเป็นตัวตั้ง ความอยู่ทีหลัง

- ใช้บทอะไรในการขับเสภา

เอามาจากวรรณคดีทั้งนั้น ต้องอ่านวรรณคดีทุกเรื่อง ไม่มีเรื่องไหนไม่เคยอ่าน หรือพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็นำมาขับเสภาได้ บางครั้งก็มีแต่งบทเสภาขึ้นใหม่

ฉันร้องได้ทุกบทนั่นแหละ

- กรับคู่ใจ?

หูย..ตั้งแต่สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม โน่น เผลอๆ จะก่อนหน้านั้นเสียด้วย (หัวเราะ) ได้มาจากเพื่อน

เขาค้นกันเยอะเรื่องไม้ที่เอามาทำกรับ มาตายที่ไม้ชิงชันกันหมด เพราะไม้ชิงชันให้เสียงกังวาน เลือกที่ต้นโต แก่ได้ที่ แล้วเอาไม้มาเผาจนกว่าไม้จะไม่ไหม้ เสร็จแล้วเอาไม้มาผ่า..อย่าเลื่อย ถึงขั้นตอนเหลาต้องเหลาให้ดี ต้องเทียบเสียงให้เข้ากับระนาดลูกที่ 2

ครูโชติเคยเล่าให้ฟังว่า ถ้าตีกรับตอนกลางวันแสกๆ แล้วเขียดร้องรับ แสดงว่าฝีมือเข้าขั้น ฉันเลยลองตีกรับดู อู้หู..ตีได้สักประเดี๋ยว เขียดร้องรับกันระงม เคยคิดว่าถ้ากรับหายคงต้องเลิกหากิน (หัวเราะ)

เวลาขับเสภาต้องให้ได้อารมณ์ความรู้สึก ขยับกรับก็ต้องให้ได้อารมณ์ด้วย

- คนรุ่นนี้กับการขับเสภา?

แต่ก่อนฉันต้องเรียนขับเสภาอย่างละเอียด อักษรอย่างนี้ คำอย่างนี้ ต้องใช้อารมณ์อย่างไร ขับเสภาแบบไหน ขับได้กี่อย่าง แต่เดี๋ยวนี้คนขับไม่รู้ก็ขับส่งเดช วรรณคดีมีอารมณ์ของเขาอยู่ ต้องตีให้ออก

ถามถึงคนรุ่นนี้กับการขับเสภาหรือ..ฉันคิดว่าการขับเสภาไม่หายไปหรอก เขาเรียนกันเยอะไป แต่เรียนไม่ละเอียด เป็นแค่พอผ่าน จะเรียนจริงจังหายากเต็มทน อีกอย่างหาคนส่งเสริมการขับเสภาไม่ค่อยมี ศิลปินไทยจะแย่เอาคราวนี้

ที่ว่ากันว่าขับทำนองเสนาะ ตอนนี้ฉันเห็นว่าได้แต่ขับทำนอง ส่วนความเสนาะหาได้ยากเหลือเกิน

- งานที่ครูแจ้งประทับใจมากที่สุด

งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เข้าไปขับเสภาถวายหน้าพระที่นั่ง และเคยเข้าไปขับเสภาถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ อีกหลายครั้งที่พระตำหนักสิริยาลัย

งานระดับชาติ ต้อนรับพระราชอาคันตุกะฉันก็ประทับใจ

- กิจวัตรประจำวันของครูแจ้ง?

เช้าๆ มานั่งกินกาแฟที่นี่ (ศาลาริมน้ำ) ขนมปังหมูแฮม 2 แผ่น น้ำชาสักแก้ว ตกค่ำเข้านอน ตื่นอีกที 3-4 ทุ่ม หลับอีกครั้งก็ตี 4-5

ฉันมีสอนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณบุรี บางครั้งก็มีคนเชิญไปให้ความรู้ครูภาษาไทยที่อื่น กลับบ้านว่างๆ มานั่งเล่นศาลาริมน้ำ ตกปลาไปเรื่อย ปลาจะกินเบ็ดไม่กินเบ็ดเรื่องของมัน (หัวเราะ)

- สุขภาพ?

ไม่เป็นอะไร มีแต่หัวเข่าซ้ายไม่ค่อยดี กดลงไปแล้วเจ็บจี๊ดๆ ส่วนเสียง..ตอนนี้อายุเยอะแล้วเสียงชักแย่ ต้องเพลาๆ การกินเหล้า (หัวเราะ) แต่ฉันไม่เคยดูแลเสียงเป็นพิเศษเลย

โดยรวมก็มีความสุขดีตามอัตภาพ (ยิ้ม)

Credit : มติชนออนไลน์ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11068 หน้า 17





ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ถึงแก่กรรมแล้ว ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน





     ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2538 สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์) ซึ่งกลับมานอนพักรักษาตัว และทำกายภาพบำบัดจากอาการอัมพฤกษ์ที่บ้าน หลังจากต้องเข้าโรงพยาบาลด่วน เนื่องมาจากโรคเส้นเลือดในสมองตีบด้านขวาเฉียบพลัน ทำให้ร่างกายซีกซ้ายอ่อนแรง แขนและขาไม่สามารถใช้การได้นั้น

     ครูแจ้งได้ถึงแก่กรรมแล้วด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ในวันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2552 ประมาณเวลา 12.20 น. ที่โรงพยาบาลศิริราช

     ตั้งอภิธรรมศพ ที่ศาลาสมเด็จพระนเรศวร วัดป่าเลไลย์ อำเภอ เมือง จังหวัด สุพรรรณบุรี หลังจากนั้นทำพิธีเก็บศพ เพื่อรอกำหนดการพระราชทานเพลิงศพต่อไปสนามหลวงจะนำมาแจ้งอีกครั้ง

กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง (ศิลปินแห่งชาติ)




     ขอแสดงความขอบคุณแทนเจ้าภาพ สำหรับท่านที่เข้ามาแสดงความอาลัยรักต่อ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง มา ณ ที่นี้


H O M E




 

Create Date : 06 พฤษภาคม 2551
31 comments
Last Update : 2 กันยายน 2552 22:27:04 น.
Counter : 5482 Pageviews.

 

ขอมอบตัวเป็นศิษย์เรียนขับเสภากับครูแจ้งได้หรือเปล่าครับ
ผมเป็นคนที่ฝึกอ่านออกเสียงเสภาอยู่ตอนนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจะขับเสภาให้ถูกต้องและเพราะครับ

 

โดย: พิชัย ไชยเดช IP: 114.128.20.169 7 กุมภาพันธ์ 2552 12:27:50 น.  

 

ตอนนี้ คร฿แจ้ง นอนป่าย ที่ รพ.ศิริรราช ห้อง 407 ชั้น 4 ตึก 72 ปี ครับ หากสนใจ ครูแจ้งคงไม่ขัดข้อง แต่คงต้องรอท่าน ออกจาก รพ.ก่อน ครับ

 

โดย: kunkorn IP: 58.9.112.173 8 กุมภาพันธ์ 2552 21:05:09 น.  

 

ผมเรียนขับร้องมาสามปีแล้ว
ผมจะมาสอบที่ ก ท ม
ไม่รู้ว่าจะได้ไหมผมยากให้ครูช่วยร้องให้ฟังน่อยเสภา
ขุนช้างขุนแผน

 

โดย: นายเอกพล ศิริทอง IP: 125.24.18.219 27 กุมภาพันธ์ 2552 17:36:11 น.  

 

ตอนนี้ครูแจ้งต้องพักฟื้นหลังจากที่ไม่สบายนะคะ คืบหน้าอย่างไร จะมาแจ้งค่ะ

 

โดย: jenifaae 27 กุมภาพันธ์ 2552 23:10:07 น.  

 

ต่ามที่ คุณ เอกพล ศิริทอง IP: 125.24.18.219 commkent เข้ามาเมื่อ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2552 ผมไปเยี่ยมครูแจ้ง ที่ รพ.ศิริราช ตึก 72 ปี และได้เล่าให้ฟังถึง ความประสงค์แล้ว ท่านไม่ขัดข้อง แต่ขอให้หายเป้นปกติก่อน แล้วจะแจ้งให้ทราบ

 

โดย: Kunkorn IP: 202.176.66.38 2 มีนาคม 2552 21:13:23 น.  

 

ขอให้ครูแจ้งหายจากการป่วยไวๆนะครับ
ลูกศิษของคุณครูดวงเดือน นามนัย โรงเรียนหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ยังดำรงชีพอยู่

 

โดย: ฉลิมชัย เปลี่ยนประดับ IP: 119.42.72.108 10 มีนาคม 2552 11:08:33 น.  

 

ผมเป็นรุ่นหลานเสภาครูแจ้งครับ
ครูผมชื่อพิษณุพงษ์ เป็นศิษย์เอกครูแจ้ง
คู่กะ ครูสมปอง (ธนกฤต)
ประเดี๋ยวคงได้ไปไหว้ท่านแนะ่ครับ

 

โดย: วรนาถ IP: 125.26.88.250 28 มีนาคม 2552 18:12:39 น.  

 

ผมต้องการซื้อซีดีของครูแจ้งครับ จะเอาไปสอนเด็กๆที่จังหวัดพะเยา กรุณาติดต่อกลับมาที่085-811-7105 ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: วรวุฒ สุวพันธ์ IP: 192.168.1.104, 58.8.163.74 21 พฤษภาคม 2552 13:08:07 น.  

 

ต้องการซื้อ cd ของครูแจ้ง หาซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ
ชอบตอบด้วยค่ะ
koonma22@gmail.com

 

โดย: มา IP: 58.9.149.92 3 มิถุนายน 2552 11:19:31 น.  

 

คุณ มา koonma22@gmail.com และท่านที่สนใจที่จะสั่งซื้อ cd ครูแจ้ง กรุณาติดต่อโดยตรงกับ พี่บุญนะ คล้ายสีทอง ภริยาของครูแจ้งฯ ได้เลยครับ

 

โดย: kunkorn IP: 58.9.110.28 3 มิถุนายน 2552 19:58:50 น.  

 

ครูแจ้งเสียแล้วนะครับ

เช้าวันนี้เอง

บำเพ็ญกุศลศพที่บ้านเกิดครับ

 

โดย: ธัช มั่นต่อการ กรมศิลปากร IP: 203.146.196.18 16 มิถุนายน 2552 13:09:58 น.  

 

ข่าวครูแจ้งถึงแก่กรมม พร้อมรายละเอียดงานอภิธรรมศพจะมาแจ้งให้ทราบต่อไปนะคะ
อ่านได้ที่ ข่าวครูแจ้งถึงแก่กรรม

ขอบคุณข้อมูลและกลอนเพราะๆ จะนำไปติดที่ศาลาในงานของครูแจ้งค่ะ

 

โดย: jenifaae 16 มิถุนายน 2552 14:14:28 น.  

 

ครูแจ้ง คล้ายสีทอง

ครู..แห่งเสียงแห่งศักดิ์นักเพลงไทย
แจ้ง..แห่งใจแห่งจิตนิมิตศิลป์
คล้าย..เสียงเทพแห่งไทยในแผ่นดิน
สีทอง..ถิ่นสุพรรณอนันตกาล
สัจภูมิ ละออ-ร้อยเรียง

 

โดย: สัจภูมิ ละออ IP: 203.154.73.2 16 มิถุนายน 2552 16:15:27 น.  

 

บทกลอนสำนวนแรก
ตกคำว่า สี หน้าคำว่า สีทอง ขออภัยและ
อนุญาตส่งสำนวนแก้ไขมาให้ครับ
ฝากผู้ดูแลระบบ ลบสำนวนแรกด้วยนะครับ

 

โดย: สัจภูมิ ละออ IP: 203.154.73.2 16 มิถุนายน 2552 16:21:14 น.  

 

ทราบข่าวว่าครูแจ้งสิ้นแล้วก็น้ำตาไหลทันที ภาพวันที่ไปสัมภาษณ์ครูแจ้งยังแจ่มชัดอยู่เลยค่ะ

คุณป้าบุญนะแจ้งว่า สวดพระอภิธรรมศพครูแจ้งที่วัดป่าเลไลยก์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 7 คืน ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 17 มิถุนายน เริ่มสวดเวลา19.00น. ค่ะ

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของครูแจ้งค่ะ

 

โดย: สุทธาสินี IP: 58.137.7.101 16 มิถุนายน 2552 17:00:58 น.  

 

ฉายสยาม
กริกกรัก...กร้อแกร้...กระแสเสียง
สรรพสำเนียงปลุกประเลงเป็นเพลงหวาน
เสียงของพ่อช่างหอมซึ้งตรึงดวงมาน
ขยับกรับขับขานสะท้านทรวง
โอ้ว่าดวงดาริการะย้าระยิบ
พร่างพริบแวมวอมในอ้อมสรวง
คือดวงรัตน์เฉิดฉวีมณีดวง
ลับล่วงกลับวะวับวะแวววาม
กลับสว่างกระจ่างแจ้งสำแดงสังคีต
เปี่ยมประณีตเปล่งประกายฉายสยาม
ลาลับแต่เพียงร่างยังพร่างนาม
“แจ้ง” นิยาม “คล้ายสีทอง” ก้องเกริกไกร
ให้เสภาสถาพรกระฉ่อนโชติ
เรืองโรจน์คู่ดินฟ้าทุกคราสมัย
เปี่ยมปีติตระการกานท์ซ่านซึ้งใจ
เสริมสร้างประชาไทยสู่สุนทรีย์

๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒
ธนกฤต อกนิษฐ์ธาดา
แต่งในนามของครอบครัว ครูแจ้ง คล้ายสีทอง
พร้อมด้วยคณะศิษย์

 

โดย: kitawannakamma@yahoo.com IP: 115.67.24.156 17 มิถุนายน 2552 1:02:27 น.  

 

ด้วยความอาลัย...ครูแจ้ง คล้ายสีทอง
เสียงขยับกรับ เสียงขับเสภา
ยังจำจับใจค่ะ

 

โดย: นัทธ์ 17 มิถุนายน 2552 7:07:30 น.  

 

ครูเคยขับสำเนียงเสียงเสภา
ยากจะหาใครเปรียบเทียบสอง
แต่นี้ไปเสียงที่เคยเอ่ยลำลอง
สิ้นทำนองเสียงทิพย์มาลาจากไกล
สิ้นแล้วเสียงกรับขยับขย่อน
ใจรอนรอนหลั่งน้ำตาพาโหยไห้
ครูลาลับดับแดนไปแสนไกล
จะหาใครเหมือนดั่งครูมิรู้เลย
ด้วยจิตคารวะขอใช้กลอนนี้กราบลาแทบเท้าคุณครู
ด้วยกตัญญู เสียใจ อาลัยอย่างสุดซึ้ง

 

โดย: สรยุตต์ จุลปานนท์ IP: 192.168.1.116, 117.47.112.180 17 มิถุนายน 2552 12:24:36 น.  

 

ด้วยความเคารพรัก ครูแจ้ง จากใจ แท้จริง ณ วันนี้ เวลานี้ สิ่งที่ทำใด้และถ้ามีโอกาสทำ คือทำบุญใส่บาตร นั่งสมาธิ อุทิศ ส่วนบุญส่วนกุศล ส่งให้ครู หากบุญกุศลที่ได้มุ่งมั่น ตั้งใจ ไว้ จงสำเร็จ สำริดผล ถึงครูด้วยเถิด

 

โดย: บัณฑิต คีรีรมย์ IP: 203.146.196.18 17 มิถุนายน 2552 13:50:41 น.  

 

ขอแสดงความอาลัยคุณครูแจ้ง คล้ายสีทอง อย่างสุดซึ้ง ขอให้ดวงปฏิสนธิวิญญาณของท่านไปสู่สุขติภูมิด้วยเถิด
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ราตรี โถวรุ่งเรือง

 

โดย: thow2506@gmail.com IP: 124.157.249.14 18 มิถุนายน 2552 13:01:36 น.  

 

ชื่นชมความสามารถ ของครูแจ้งมากค่ะ เสียงขับเสภาของครูซึ้งกินใจทุกบท ทุกตอนค่ะ
เสียใจ และ เสียดาย ที่ต้องสูญเสียบุคคนที่มีความสามารถของคนไทยไปค่ะ

 

โดย: ดารากร เกตุมณี IP: 124.157.218.95 18 มิถุนายน 2552 15:31:28 น.  

 

เสียใจเสียดาย น้ำตาใหล ได้แต่ฟังเสียงขับเสภาด้วยอาลัย ถึงไม่ใช่ศิษย์ก็รักเคารพดังเหมือนครู
เพราะเคยหวังไว้อยากเป็นศิษย์ครูแจ้ง คล้ายสีทอง

 

โดย: ขอเป็นศิษย์ครู IP: 125.26.64.70 18 มิถุนายน 2552 23:18:47 น.  

 

ขอแสดงความเสียใจด้วยนะครับกับครูแจ้ง ผมก็ชื่นชอบ และหลงใหลในน้ำเสียงของท่านคนหนึ่งเหมือมกัน ขอให้ท่านครูแจ้งไปสู่สัมปรายภพใหม่ที่ดีด้วยเทอญ ด้วยความเคารพและอาลัย จาก ปี่พาทย์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย

 

โดย: สถาพร ชูพันธ์ IP: 117.47.7.238 20 มิถุนายน 2552 13:06:35 น.  

 

ดิฉันขอกราบแสดงความเสียใจกับครอบครอบของครูแจ้ง คล้ายสีทอง
ท่านขับเสภาได้ไพเราะมากค่ะ รู้สึกเสียใจที่สูญเสียท่านไป จะหาใครเทียบเทียมเสมือนท่านคงไม่มีอีกแล้ว
ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สัมปรายภพในสุขติภูมิ
อันสุขสงบและงดงามด้วยเถิด
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

 

โดย: ชบา สุวัฒน์เมฆินทร์ IP: 61.7.169.32 20 มิถุนายน 2552 22:50:09 น.  

 

ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของท่าน และเสียดายศิลปินแห่งชาติที่มากด้วยความสามารถ
ขอให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สัมปรายภพในสุขติภูมิ
อันสุขสงบและงดงามด้วยเถิด
ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
ครูละม่อม ศรีโยธา สพท.ขอนแก่นเขต 1

 

โดย: ครูละม่อม ศรีโยธา สพท.ขอนแก่นเขต 1 IP: 192.168.1.254, 61.7.167.2 21 กรกฎาคม 2552 12:48:40 น.  

 

ขอขอบพระคุณครูแจ้ง คล้ายสีทองนะคะ
ที่กรุณาสั่งสอนคนรุ่นหลังบางคน
อาทิ อาจารย์ ธนกฤต อกนิษฐ์ธาดา เป็นต้น
ทำให้วัฒนธรรมไทยอันล้ำค่ายังคงอยู่มา
จนถึงรุ่นของพวกเด็ก"พนมอดุลวิทยา"
ในโอกาสนี้พวกได้แต่งกลอนเพื่อเป็นการ
ไว้อาลัยแด่พ่ครูของพวกเรา
สักวา
สักวาอันสัตว์โลกวิโยกค์จาก
ต้องพลัดพรากจากไปให้อาศัลย์
จะเสียใจไปใยทุกคืนวัน
รือจากกันคือการบาดจิตใจ
ร่วมไว้อาลัย จากกล่มคนรักศิลปะวรรณกรรม
รร.พนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา
1 สิงหาคม 2552

 

โดย: นร.พนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา" IP: 124.157.231.64 1 สิงหาคม 2552 14:21:22 น.  

 

ขอบพระคุณ ครุแจ้ง คล้าสีทอง ที่กรุณาสืบทอดเอกลักณ์ไทยมาจนทุกวันนี้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นค่า

 

โดย: อ้อน IP: 119.42.124.172 22 ธันวาคม 2552 8:58:54 น.  

 

เสียใจด้วยจริงๆ พบ คุย และจากกัน ฝากไว้แต่ฝีมือลายมือ
เป็นศิษย์ลุงแคล้ว คล้ายจินดา ว่าไงว่าท้องนี้มีเลือดศิลปินอยู่ด้วย ลุงกร่างก็รูปหล่อ ตีปี่พาทย์ดังไปทั่ว จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่ว
ที่นึกได้ สายนี้มี ตาวอน ตากล่อม ตาอิ่ม กำนันชม คล้ายจินดา ส่วนผู้หญิงมียายเอี่ยม แต่งงานกับตาแก้ว ภมรพล และยายบุญ แต่งกับ ตาบุญ ภมรพล ศิลปินจากลำน้ำแม่น้ำท่าจีน

 

โดย: สะพายเขียว IP: 202.28.52.221 6 มกราคม 2553 14:20:56 น.  

 

รักและระลึกถึงครูคนนี้เสมอ ศิษย์

 

โดย: ณัฐฏ์ IP: 115.67.108.26 16 มีนาคม 2553 13:43:59 น.  

 

ชื่นชอบผลงานของ ครูแจ้งอยากเป็นศิษย์ ขอไว้อาลัยไว้นะที่นี้

 

โดย: ณัฐฏ์ ณ้ฐพล ปจ. IP: 115.67.108.26 16 มีนาคม 2553 13:50:29 น.  

 

ไพเราะมาก

 

โดย: โด่ IP: 113.53.156.106 16 พฤษภาคม 2553 9:35:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.