Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
21 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
ประวัติ "เพลงตับ" และฟัง "ตับวิวาห์พระสมุทร" โดย "ครูแจ้ง คล้ายสีทอง"

คลิกฟัง..ตับวิวาห์พระสมุทร โดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง





รู้จักเพลงตับจาก 4 แนวทาง

ปราโมทย์ ด่านประดิษฐ์

     แนวทางที่จะกล่าวในการทำความรู้จักกับเพลงตับ เป็นเรื่องที่สามารถศึกษาเพลงตับได้จากการอ่านและวิเคราะห์ โดยเสนอแนวทางไว้ 4 ประเด็น ได้แก่ ประวัติความเป็นมา การจัดประเภท หน้าที่ความสำคัญและการวิเคราะห์เพลงตับ การศึกษาเพลงไทยปกติเป็นหน้าที่เบื้องต้นทั้งผู้ฟังและผู้บรรเลง แม้จะมีความมุ่งหมายเฉพาะที่แตกต่างกันแต่มีจุดประสงค์บางอย่างร่วมกัน สามารถรับรสจากการบรรเลงและฟังได้ ถ้าแบ่งเพลงไทยออกเป็นเพลงบรรเลงและเพลงรับ- ร้อง เพลงตับสามารถอธิบายถึงได้ทั้ง 2 ประเภท ก่อนการบรรเลงนักดนตรีทั้งไทยและเทศจะมีข้อตกลงที่คล้ายกันคือ การลำดับบทเพลงระหว่างการแสดง โดยอาจนัดหมายหรือลำดับตาม พิธีกรรมก็ตาม เรื่องการนัดหมายลำดับเพลงที่บรรเลงนี้ยังเป็นเหตุผลหนึ่ง ของการเกิดเพลงตับที่จะกล่าวถึงโดยจะอธิบายแนวทางการทำความรู้จักเพลงตับดังนี้

1. ความเป็นมาของเพลงตับ

     เพราะขาดการบันทึกความเป็นมาของไทยเก่า ๆ ส่วนใหญ่จึงไม่ทราบที่มาอีกทั้งนักดนตรีก็ถ่อมตน สังเกตจากผู้ประพันธ์ อาจเกรงว่าจะถูกตำหนิจากครูผู้ใหญ่ บางท่านเกรงว่าเพลงของตนไม่ไพเราะจึงนำออกมาทดสอบก่อน แต่หลังจากเพลงเป็นที่นิยมกลับไม่ได้ถามหรือไม่มีโอกาส สอบถามว่าเป็นผลงานของครูใด ชนรุ่นหลังจึงรู้จักความเป็นมาของเพลงน้อยนัก แต่บทเพลงระยะหลังมีประวัติสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ท่านใดเป็นผู้ประพันธ์ ประพันธ์ขึ้นด้วยเหตุผลใดใช้ในโอกาสใด มักมีผู้รวบรวมไว้เป็นหลักฐานไว้เสมอ

     เพลงตับในยุคเก่าก็ไม่ทราบความเป็นมาที่ชัดเจนเช่นกัน โดยนิยมตอบอธิบายว่าเป็นบทเพลงที่สืบต่อมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา (ทำไมไม่เป็นกรุงสุโขทัยหรือกรุงอื่นๆ) โดยแต่ละบทเพลงมีความเกี่ยวพันธ์กับประเพณี พิธีกรรม การแสดง บุคคลและจุดประสงค์อื่นๆ การที่ผู้บรรเลงสามารถรู้ถึงความเป็นมาและเจตนาของบทเพลงได้ ย่อมเข้าใจและสามารถถ่ายทอดได้ตามเจตนา เพื่อให้ผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวได้สมบูรณ์ถูกต้องตามเจตนามากยิ่งขึ้น บทเพลงที่ใช้บรรเลงอย่างเดียวกับเพลงมีร้องประกอบ เป็นที่เข้าใจกันเมื่อบรรเลงประกอบพิธีกรรมกับมหรสพ ดนตรีจะใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาอาการของตัวละครและใช้เพลงเบ็ดเตล็ดรับรองเป็นการบรรยายเนื้อเรื่องประกอบ เพลงเบ็ดเตล็ด ที่นำมาร้องนี้มีที่มาจากเพลงชุดอย่างเพลง มโหรี เพลงเรื่อง และเพลงตับ ในปัจจุบันก็ได้รับการสืบทอดและประพันธ์เพิ่มเติมมาจากเพลงชุดต่างๆ ในอดีตทั้งที่สืบทอดมาโดยตรงและปรุงขึ้นใหม่ ดังจะอธิบายความเป็นมาของเพลงตับดังนี้

1. เกี่ยวข้องกับการแสดง

     ความเป็นมาอันเนื่องจากการแสดงมหรสพต่าง ๆ นี้ น่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญของเพลงตับ เพราะว่า บทเพลงส่วนใหญ่ผูกพันธ์กับพิธีกรรมและการแสดงดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อนักแสดงและนักดนตรีร่วมแสดงก็จะเรียกว่าละคร โขน ฯลฯ การแสดงย่อมมีนักแสดงควบคู่กับการบรรเลงประกอบกันไป ความเป็นตับเรื่องอยู่ตรงที่ว่า นักดนตรีนำเพลงที่บรรเลงประกอบละครเดี่ยวๆ โดยไม่มีตัวละครแสดงประกอบ แต่บทร้องและดนตรียังคงเล่าเรื่องละครนั้นๆ อยู่ ผู้ฟังต้องพอรู้เรื่องราวมาก่อนและใช้การนึกภาพตามจินตนาการประกอบการฟังเพลง จึงเรียกการบรรเลงว่าเป็นตับเรื่องตามชื่อเรื่องที่ดำเนินอยู่

2. การฝึกซ้อมรวมกลุ่ม

     การฝึกซ้อมดนตรีโดยทั่วไปมีความมุ่งหมายหลักเพื่อความชำนาญเฉพาะบุคคลและหมู่คณะ ผู้ฝึกซ้อมมากก็สามารถจดจำบทเพลงได้แม่นยำ ยิ่งซ้อมยิ่งเพิ่มความรู้ความสามารถเป็นบันไดส่งผลให้เกิดความชำนาญในที่สุด มักเรียกกันในคณะที่มีความพร้อมว่า “รู้กัน หรือ รู้ใจกัน” ผลจากการฝึกซ้อมจนเกิดความชำนาญ จนรู้ใจหรือการปรับวงนี่เอง เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เกิดเพลงเป็นชุดๆ บางท่านเรียกว่า “เย็บเล่ม” กล่าวคือผลของการฝึกซ้อมและนัดหมายกัน นำเพลงที่ 1 มาต่อเพลงที่ 2 หรือ 3 หรือเพลงอะไรต่อไป ประการแรกอาจเพื่อความคล่องตัวในการฝึกซ้อม ต่อมาก็นำชุดที่ใช้ในการฝึกมาบรรเลงจริงในงาน เรียกชื่อเพลงแรกเป็นหลักหรืออาจตั้งชื่อใหม่ การเรียงเพลงเป็นชุดแบบนี้ จึงเป็นหนึ่งในที่มาของเพลงตับ โดยเฉพาะตับเพลง เพราะบทเพลงที่นำมาเชื่อมต่อย่อมต้องใช้ลีลาทำนองในลักษณะเดียวกัน

3. โอกาสการบรรเลง

     การฝึกหรือเรียนวิชาด้านทักษะยิ่งใช้การปฏิบัติหรือฝึกบ่อยๆ ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งความชำนาญ เมื่อนักดนตรีไปบรรเลงในงานหรือพิธีเดียวกันย่อมมีโอกาสบรรเลงบทเพลงลักษณะเดียวกันเนื่องจากมีเวลาในช่วงที่ใกล้เคียงกันนี้เอง เป็นเหตุให้เกิดการนัดหมายเตรียมบทเพลงต่อไปหรือบทเพลงโชว์ ซึ่งเพลงชุดอย่างเพลงตับที่สนุกสนานก็เป็นประเภทหนึ่งที่ถูกหยิบขึ้นมาเรียบเรียงขึ้น เพื่อใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยจะเรียกชื่อเพลงตับตามที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสมทั้งตับเรื่องและตับเพลง


2. ประเภทของเพลงตับ

     จากความเป็นมาของกลุ่มเพลงประกอบกับเอกสาร และการกล่าวถึงของครูอาจารย์ที่เขียนก่อน ท่านได้กล่าวถึงเพลงตับว่าเป็น การรวมเพลงชุด หรือนำเอาเพลงหลายๆ เพลงมาร้องหรือบรรเลงติดต่อกัน ซึ่งแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของทำนองและเนื้อเรื่องสามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ 2 ประเภทอันได้แก่ ตับเรื่องและตับเพลง โดยแต่ละประเภทมีลักษณะดังนี้
เพลงประกอบภาพยนตร์

     1. ตับเรื่อง คือ ชุดเพลงที่ยึดถือเอาเนื้อร้องเป็นหลัก โดยมากนำบทมาจากนิทาน โขน ละคร เมื่อฟังเนื้อร้องต่อๆ กันทุกเพลงแล้วสามารถทราบเป็นเรื่องเป็นราวที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เช่น ตับนางลอย ตับนาคบาศ ตับพรหมาสตร์ เป็นต้น

ตับนเรศวรชนช้าง เป็นตับในเรื่องรามเกียรติ์ มีสองทางด้วยกัน ทางหนึ่งประกอบด้วยนเรศวรชนช้าง อุปราชขาดคอช้าง พุทรากระแทก เชิงตระกอน นางร่ำและพระรามเป่าสังข์ อีกทางหนึ่งประกอบด้วย นเรศวรชนช้าง สร้อยเพลง ฝรั่งเร็ว เพลงโอ้ร่ายและเพลงกระบอก

ตัวอย่าง เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย หรือตับนางลอย จากบทร้องท่านผู้อ่านสังเกตได้ว่าบทร้องเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกัน แต่บทเพลงที่บรรเลงประกอบ กลับมีลีลาทำนองที่ต่างกัน เน้นประกอบอากัปกิริยาตามบทละคร ดังนั้นตับนางลอย จึงเป็นตับเรื่องเริ่มบรรเลงจาก เพลงวาตามอย่างละครออกตัวเมื่อจบเพลงวาแล้วจึงเริ่มบรรเลงรับร้อง เพลงอื่นต่อไป

ยานี
เมื่อนั้น องค์ท้าวทศพักตร์ยักษา
แลเห็นเบญจกายแปลงมา ได้อย่างสีดาไม่คลาดคลาย
แย้มยิ้มพริ้มพักตร์พยักตรัส แม้นหลายตัดศึกสมอารมณ์หมาย
เมืองมารจะเป็นสุขสนุกสบาย เจ้าเร่งผันผายไปให้ทันการ
เชิดฉิ่ง ร้องรับปี่พาทย์
เมื่อนั้น เลื่อนลดลงจากเวหา
ออกจากปราสาทรัตน์ชัชวาล เหาะข้ามชลธารผ่านมา
ต่อยหม้อ
ครั้งถึงเหมติรันบรรพต เลื่อนลดลงจากเวหา
หลุดยืนอยู่ฝั่งคงคา กัลยาจำแลงแปลงอินทรีย์
ฯลฯ


เพลงเมดเล่

     2. ตับเพลง คือ ชุดเพลงที่ถือเอาทำนองเพลงเป็นหลัก หรือเป็นเพลงที่มีสำเนียงแบบเดียวกันส่วนเนื้อร้องเป็นเพียงส่วนเสริมประกอบทำนองเพลงเท่านั้นมิได้ติดต่อเป็นเรื่องราวกล่าวคือ ตับเพลงมีลักษณะตรงข้ามกับตับเรื่อง ตัวอย่างเช่น ตับนางนาค ตับลมพัดชายเขา ตับต้นเพลงฉิ่ง ตับเพลงยาวประเภทนี้มักอยู่ในชุดมโหรีหรือตับสำหรับบรรเลงด้วยวงมโหรี มีบรรเลงรับร้องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ร้องส่งเนื้อร้องมักนำมาจากบทละคร อิเหนา ราชาธิราช ขุนช้างขุนแผน เป็นต้น ในแต่ละตับมีบทเพลงต่างๆ ประกอบกันเช่น

     ตับมโหรีนางนาค ประกอบด้วย นางนาค พัดชา ลีลากระทุ่ม กราวมอญ และโล้ ต่อมาขยายเป็นสามชั้น
ตับมโหรีนางกราย ประกอบด้วย นางกราย นางเยื้อง นาคเกี้ยวพระสุเมรุ (นางเกี้ยว ) พระรามตามกวาง พระรามคืนนคร และพระรามเดินดง
ตับมโหรีนางไห้ ประกอบด้วย นางไห้ ชมทะเล ลมพัดชายเขา คำหวานและเบ้าหลุด เป็นต้น

     นอกจากนี้สมัยที่เพลงไทยเฟื่องฟูยังได้เกิดตับที่เข้าเงื่อนไขทั้งสองข้อ หลายท่านเรียกว่า ตับผสม กล่าวคือมีทำนอง สำเนียงเช่นเดียวกัน และมีเนื้อเรื่องต่อเนื่องกัน เรียกใหม่ว่า “ตับประสม” ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์เพลงตับสั้นๆ ขึ้นเพื่อประกอบภาพนิ่งที่ใช้คนจริงเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2437 ได้แก่ เรื่องสามก๊กตอน จูล่งค้นหาเมียเล่าปี่ เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามหนีเมีย เรื่องนิทราชาคริต ตอนแต่งงานอาบูหะซัน เรื่องนางซินเดอริลา ตอนแต่งตัวไปงานเต้นรำ เรื่องขอมดำดิน เรื่อง อุณรุท ตอนศุภลักษณ์อุ้มสม และเรื่องพระลอ ทั้งหมด 8 เรื่อง โดยทรงดัดแปลงมาจากบทของเก่าที่เจ้าพระยาเทเวศ์วงศ์วิรัตน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) เคยเล่นไว้ จะสังเกตได้ว่าเป็นตับที่มาจากเรื่องละคร และยังมีลีลาอันเป็นสำเนียงภาษาเดียวกันด้วย

     ตัวอย่างตับนิทราชาคริต จากลิลิตเรื่องนิทราชาคริต ประกอบตอนแต่งงาน อาบูหะซันแต่งงานประกอบด้วยเพลง แขกกล่อมเจ้า แขกถอนสายบัว แขกหนัง แขกต่อยหม้อ แขกเจ้าเซ็น และพราหมณ์ดีดน้ำเต้า บางท่านเรียกว่า ตับอีแมน ตามชื่อตัวละคร

     เพลงตับจึงเกิดขึ้นในลักษณะเป็นชุดหรือกลุ่มเพลง โดยถือเอาบทร้องและทำนองเพลงที่สัมพันธ์กันเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท และในเพลงเดียวกันเพลงหนึ่งๆ อาจจะใช้บรรเลงได้มากกว่าหนึ่งตับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้รวบรวม และจุดมุ่งหมายนี้เป็นเหตุให้เกิดตับชุดใหม่ ๆ ขึ้น ทั้งที่ได้รับความนิยมและเป็นตับเฉพาะกิจเมื่อบรรเลงในพิธีนั้นแล้วก็ลืมเลือนกันไป

     3. ความสำคัญและหน้าที่

การศึกษาถึงความสำคัญของบทเพลงนั้น ท่านที่เพิ่งเริ่มสนใจอาจยังไม่เข้าใจหรือเห็นความสำคัญ การที่บทเพลงหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะได้รับการยกย่องให้มีความสำคัญได้ สิ่งนั้นมักก่อประโยชน์หรือมีหน้าที่ไว้แล้ว ต่อมาภายหลังได้รับการยกย่องจากบุคคลรุ่นหลัง และสิ่งใดที่ถูกให้ความสำคัญก็ไม่เคยเรียกร้องหรือต้องการสิ่งใดๆ ดังนั้นในการอธิบายความสำคัญจึงเป็นการกล่าวถึงหน้าที่อันประโยชน์ที่เกิดขึ้น

     ความสำคัญของเพลงตับบางครั้งอาจถูกเพลงเถาบดบังไป เนื่องจากเป็นเพลงที่เกิดภายหลังแต่ทั้งนี้เพลงเถาหลายเพลงต่าง ก็มีที่มาจากเพลงตับ แล้วเพลงตับมีความสำคัญอย่างไร ในฐานะของผู้ฟังเพลงก็อาจกล่าวว่าเพลงตับที่เป็นเรื่องทำให้ผู้ฟังรับรู้เรื่องราว เหมือนเช่นการฟังละครวิทยุ ที่ได้ยินแต่เสียงแต่ไม่มีภาพดูบางท่านว่าไปในทางลบกล่าวว่าตับเรื่องเกิดจาก นักดนตรีแยกวงกับพวกละคร คือ ไปบรรเลงกันเฉพาะนักดนตรีไม่มีรำ ก็เอาเพลงที่ร้องบรรเลงประกอบรำไปใช้หรืออีกนัยหนึ่งอาจนำไปซ้อมในงานก็เป็นได้

     นักดนตรีบางส่วนนิยมนำเพลงตับในชุดต่างๆ เป็นเพลงพื้นฐานในการฝึกฝีมือทดสอบกำลัง ฝึกการดำเนินกลอนคิดทางให้สอดคล้องกันไป เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากภูมิปัญญาของครูดนตรีไทยที่คิดนำมาร้อยเรียงกัน เวลานำไปบรรเลงจะได้ต่อเนื่องไม่ต้องมาคิดเพลงบรรเลงต่อกันบ่อยๆ ความคล่องตัวในการบรรเลงดังกล่าวถือเป็นคลังปัญญา คลังความรู้ที่นักดนตรีได้รับรู้ท่วงทำนอง สำนวนที่แตกต่าง ได้จากเพลงในแต่ละชุดแต่ละตับ

     นอกจากนี้การฝึกเพลงตับยังช่วยในเรื่องของการดำเนินทำนอง ด้านการดำเนินกลอนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดเชื่อมต่อขึ้นลงระหว่างท่อนและบทเพลง ทำนองที่ใช้ต้องมีทำนองที่เหมาะสมกับทำนองต่อไป ทำนองที่จบลงและทำนองขึ้นแต่ละเพลง สำหรับเพลงใหม่จะต้องมีความสัมพันธ์กัน ทั้งด้านระดับเสียงและลีลาทำนอง ดังจะพบว่าบทเพลงหลายเพลงนิยมขึ้นเท่าก่อน และลงเสียงหลักซึ่งมักจะเป็นเสียงเดียวกับเสียงที่ขึ้น กล่าวคือ ขึ้นเสียงใดก็ลงเสียงนั้น การขึ้นและลงระดับเสียงเดียวกันจะมีผลต่อการฟังทำให้การฟังราบลื่นไม่กระโดดไปมา

     ถึงอย่างไรก็ตามผู้ฟังและผู้บรรเลงต่างทำหน้าที่เพื่อให้บทเพลงดำรงอยู่ อาจไม่ได้คำนึงถึงประเด็นเล็กน้อยที่กล่าวมา แต่บทเพลงจะสร้างความสำคัญหรือดังเองไม่ได้ หากมิได้รับการยกย่องหรือความสนใจทั้งจากผู้บรรเลงและผู้ฟัง ที่ต่างก็สร้างหน้าที่และความสำคัญให้บทเพลงโดยมิรู้ตัว

หน้าที่ของเพลงตับ

     ตามที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของเพลงตับมาแล้ว หน้าที่จึงเป็นข้อพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของเพลงตับ ดังจะอธิบายตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ประกอบมหรสพ

     หน้าที่ของเพลงตับในประเด็นนี้ถือว่าสำคัญมาก เนื่องจากนักแสดงและนักดนตรีนั้นอยู่คู่กันการเกิดขึ้นของตับเรื่อง ต่างก็ใช้ประกอบการแสดงทั้งละคร โขน หนัง เป็นต้น เมื่อนักดนตรีนำเพลงที่บรรเลงประกอบนั้นไปใช้โดยที่ไม่ได้มีตัวแสดงหรือตัวละครไปด้วย การดูละครพร้อมการฟังเพลง จึงเหลือเพียงการฟังอย่างเดียว เรียกเป็นเพลงตับตามชื่อเรื่อง กล่าวคือ ร้องและบรรเลงเป็นเรื่องราวติดต่อกัน

2. ประกอบพิธีกรรม

     หน้าที่ของดนตรีมักถูกจัดเป็นกลุ่มประกอบไม่โดดเด่นเช่นโขนละคร การบรรเลงดนตรีจึงไม่เรียกเป็นแสดงซึ่งหมายถึงทำให้ดู แต่การบรรเลงดนตรีสามารถรับรู้ได้โดยประสาทหู ดังนั้นการบรรเลงหรือประโคมดนตรีที่นอกจากคู่กับการแสดงแล้ว การประโคมประกอบพิธีกรรมก็ทำให้ดนตรีมีความสำคัญขึ้นมาด้วย และพิธีกรรมนี้เองที่เป็นเหตุผลหนึ่งของการบรรเลงเพลงตับ
พิธีกรรมมีความสัมพันธ์กับเพลงตับนั้น อาจไม่คุ้นเคย แต่ความเป็นจริงแล้ว พิธีกรรมหรืองานพิธี ย่อมมีดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอยู่แล้ว โดยมากบทเพลงที่ถูกหยิบยกมากล่าวถึงจะเป็นสำคัญเฉพาะช่วง

     อย่างเช่น เพลงสาธุการก็ใช้ระหว่างจุดธูปเทียน ส่วนเพลงตับต่างทั้งตับเรื่องและตับเพลง ก็ถูกนำมาบรรเลงเช่นกัน เนื่องจากเดิมที่ของเพลงตับมีภาพที่ติดกับการแสดงและสำหรับเจ้านาย จึงไม่ค่อยถูกกล่าวถึงในระดับสามัญชน แต่ในความเป็นจริงเพลงตับต่างๆ ถูกนำมาประโคมและมิได้มีการกำหนดเฉพาะลงไปว่าจะต้องบรรเลงในเวลาใดเป็นพิเศษ กล่าวคือ เมื่อสามารถหาโอกาสเวลาที่สมควรกับความสั้นยาวของตับนั้นๆ ก็สามารถนำมาบรรเลงได้

     การนำเพลงตับมาบรรเลงในระหว่างพิธีกรรมนี้มิได้หมายถึงในขณะกระทำพิธีหนึ่งพิธีโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการนำมาบรรเลงในระหว่างพักหรือรอเวลา ที่จะมีพิธีกรรมอื่นต่อไป ยิ่งก่อนที่จะมีเพลงเถาด้วยแล้ว การบรรเลงเพลงเกร็ดต่างๆ ถูกเรียงร้อยเป็นสำรับไว้ภายในหมู่คณะหรือครูเดียวกัน เมื่อได้เวลาก็จะนำเพลงชุดนั้นมาบรรเลง โดยไม่ได้คำนึงถึงความต่อเนื่องของบทร้องหากแต่มุ่งบรรเลง ด้วยมีความมุ่งหมายที่แฝงไว้เพื่อการฝึกซ้อมระหว่างงานและเป็นการรอพิธีกรรม ในช่วงว่างจากพิธีกรรมนี้ผู้มาร่วมงานส่วนหนึ่งอาจนั่งสนทนาพร้อมกับฟังดนตรีไปด้วยหรืออาจไม่สนใจฟัง

     แต่ถึงอย่างไรดนตรีจะหยุดนานไม่ได้เพราะเดี๋ยวจะมีเสียงเรียกร้อง ผู้เขียนเคยร่วมงานทั้งเป็นผู้บรรเลงและนั่งฟังในพิธีกรรม ผู้ร่วมงานมักจะเริ่มคุยระหว่างที่ดนตรีบรรเลงและจะหยุดคุยมองซ้ายขวากันเมื่อดนตรีหยุด เข้าใจว่าเป็นการพักเสียงและดูว่าจะมีพิธีใดต่อหรือไม่ เหตุที่มีผู้ฟังอยู่บ้างนี่เองวงดนตรีที่มีความพร้อมจะนำบทเพลงที่เตรียมมาออกบรรเลงอวด แต่ถ้าไม่ได้เตรียมหรือเตรียมน้อยก็นิยมนำเพลงหากินหรือเพลงที่บรรเลงอยู่เป็นประจำมาบรรเลงในช่วงนั้นๆ และช่วงนี้เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่เพลงตับจะถูกนำเสนอ
ดังนั้นมีพิธีกรรมเพลงตับจะถูกนำมาเสนอเพื่อบรรเลงรอพิธีกรรม หรือค่าเวลา เป็นการฝึกซ้อมนอกสถานที่และเป็นการบรรเลงอวดความสามารถเฉพาะของวงดนตรีได้ด้วย เพราะหากไม่มีพิธีกรรมแล้วจะหาโอกาสบรรเลงหรือรวมตัวกันยาก ยิ่งมิได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องอย่างการจัดประกวดหรือโอกาสพิเศษอื่นด้วยแล้วเรียกได้ว่าไม่ได้ยินเสียงฝึกซ้อมกันเลย

3. คลังความรู้ด้านเนื้อและทำนองเพลงไทย

     เพลงตับเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักดนตรีว่า ผู้ที่รู้เพลงมากหรือได้เพลงตับมากเปรียบได้กับธนาคารเคลื่อนที่ สามารถนำเพลบงตับที่ลำดับอยู่ในตับต่างๆ มาใช้ในโอกาสที่ต้องการอาทิ ครูดนตรีหลายท่านใช้ความรู้จักเพลงตับในการรนำทำนองไปขยายและตัดลงเป็นเพลงเถากันอย่างมากมาย หรืออาจนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่เพื่อโอกาสพิเศษก็เป็นได้ ผู้ที่รู้เพลงมากย่อมที่จะเข้าใจและเลือกใช้ได้ไม่จนเพลง นอกจากเพลงตับจะเป็นคลังความรู้ทางดนตรีแล้ว เพลงเรื่องก็เป็นคลังปัญญาที่สำคัญเช่นกัน

4. ฝึกทักษะและไหวพริบการบรรเลง

     ระหว่างการรอเวลา นักดนตรีอาจเบื่อหน่ายจากผู้ฟังที่ไม่ได้ให้ความสนใจ อาจเบื่อบทเพลงเดิม หรือบางทีอาจหมดเพลงแล้ว การรอเวลาจึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมในการนำเพลงที่ได้รับการต่อใหม่นำมาบรรเลงหรือฝึกซ้อมแบบซ้อมจริง อีกนัยหนึ่งตับที่มีความยาวหรือมีการดำเนินทางเก็บด้วยแล้วยังเป็นการฝึกซ้อมเพื่อเพิ่มพูนกำลังสติปัญญาของนักดนตรีอีกด้วย

     จะเห็นได้ว่าเพลงตับมีหน้าที่เพื่อการบรรเลงโดยทั่วไปแล้ว ยังมีหน้าที่แฝงในด้านการบรรเลงระหว่างรอประกอบพิธีกรรม คลังปัญญาเป็นการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับเพลงไทยและเป็นการฝึกทักษะการบรรเลงที่ใช้การซ้อมจากสนามจริงเป็นเวทีที่ดีอีกด้วย

4.การวิเคราะห์เพลงตับวิเคราะห์

     การวิเคราะห์เพลงตับ อาจฟังดูยากไป แต่ถ้าเรียกว่าการทำความเข้าใจก่อนน่าจะง่ายแก่การเรียน การวิเคราะห์ก็เป็นรูปแบบของการทำความเข้าใจบทเพลงไทย โดยผู้เรียนสามารถทำความรู้จักได้จากประวัติความเป็นมาโดยทั่วไปแล้วเสริมด้วย บทร้อง ทำนอง จุดเชื่อมต่างๆ และลีลาการบรรเลง ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เมื่อนำมาแยกแยะให้รู้จักบทเพลงมากยิ่งขึ้นโดยอธิบายต่อไป

1. ด้านบทร้อง ผู้ฟังหรือผู้ศึกษานอกจากจะทราบถึงความเป็นไปตามท้องเรื่องแล้วยังทำให้ทราบถึงความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ระหว่างกันอาทิ ด้านอารมณ์เพลง บทร้องที่นำมาเรียงร้อยมักมีเนื้อหาในลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น โศกเศร้า เหงา รัก บทร้องที่นำมาก็อยู่ในลักษณะเดียวกัน

     ตัวอย่างตับลมพัดชายเขา เพลงลมพัดชายเขา จากพระราชนิพนธ์ เรื่องอิเหนา เนื้อความกล่าวถึงธรรมชาติของป่ารอบๆ ที่ตื่นขึ้นแล้วถวิลหาหญิงคนรัก ส่วนเพลงแขกมอญบางช้าง ชายก็รำพึงถึงหญิงคนรักที่ได้ทุ่มเทให้แต่ก็มิได้อยู่ด้วยกัน เพลงลมหวน ก็เป็นการคิดถึงคนรักเช่นเดียวกับเพลงเหราเล่นน้ำ
เพลง ลมพัดชายเขา
เวลาดึกเดือนตกนกร้อง ระวังไพรไก่ก้องกระชั้นขัน
เสียงเหว่าเร้าเรียกหากัน ฟังหวั่นว่าเสียงทรามวัย
พระลุกขึ้นเหลียวชะแง้หา เจ้าตามมาร้องเรียกหรือไฉน
ลมชายรวยรสสุมาลัย หอมกลิ่นเหมือนสะไบบังอร
(พระราชนิพนธ์ เรื่องอิเหนา)
เพลงแขกมอญบางช้าง
อนิจจาเจ้าวันทองน้องพี่ยา พี่จำหน้าเนื้อน้องได้ทุกแห่ง
นิจจาช่างกระไรมาแปลกแปลง เอามือคลำแล้วยังแคลงอยู่คลับคลา
เจ้าลืมนอนซ่อนพุ่มกระทุ่มต่ำ เด็ดใบบอนซ้อนน้ำที่ไร่ฝ้าย
พี่เคี้ยวหมากเจ้าอยากพี่ยังคาย แขนซ้ายคอดแล้วเพราะหนุนนอน
(เสภาขุนช้างขุนแผน)
ฯลฯ

2. ด้านทำนอง เป็นที่ทราบกันแล้วว่าเพลงตับเป็นการนำทำนองเพลงมาประติดประต่อกันทุกๆ เพลงจะมีลักษณะเช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้ลีลาที่นำมานั้นจะต้องมีระดับเสียงและสำนวนอย่างเดียวกันด้วย ผู้นำมาบรรเลงต่อกันผูกขึ้นใหม่จะต้องเข้าใจหลักการนี้ ด้านการวิเคราะห์ทำนอง
เพลงโดยความเป็นจริงมีรายละเอียดในการอธิบายมา ผู้อ่านควรรู้จักเพลงตับมาก่อนจึงจะเป็นการดี แต่คงละไว้โอกาสต่อไป สำหรับการอธิบายครั้งนี้จะชี้ให้เห็นถึงทำนองที่สอดคล้องสัมพันธ์กันในตับ โดยจะยกสำนวนที่เกี่ยวข้องในบางประเด็นมาเป็นตัวอย่าง

ตัวอย่างตับลมพัดชายเขา ถ้าศึกษาทำนองที่คล้ายหรือเหมือนกันก็จะพบว่ามีทำนองที่ใช้บ่อยๆ เช่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่มีทำนองเหมือนหรือใกล้เคียงกันดังนี้


     โดยสรุปการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้านทำนองของเพลงตับจะมีความสัมพันธ์กันในประเด็นดังนี้คือ มีระดับเสียง สำเนียงเดียวกันและ มีลีลาจังหวะหรือสำนวนที่สำนวนที่สอดคล้องกัน โดยจะไล่เรียงเพลงตามความเหมาะสมของทำนองและการเชื่อมต่อระหว่างเพลง

3. จุดเชื่อมต่อต่างๆ ในประเด็นนี้เป็นประเด็นเรื่องย่อยต่อจากเรื่องวทำนองเพลงแต่ยกมาเพื่อให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเน้นเรื่องทำนองขึ้นและลงจบ กับจุดเชื่อมต่อท่อนเพลงและระหว่างบทเพลง ตลอดจนการรับ–ส่งร้อง ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์การบรรเลงเพลงตับคงพอนึกภาพออก แต่ท่อนหรือระหว่างบทเพลงมีบางบทเพลงอย่างเช่น เพลงเชิด รัว เป็นต้น ซึ่งทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่บรรเลงค่อนข้างใช้บ่อย ทั้งเดี่ยวๆ และต่อเพลงอื่น อาจมากกว่า 3 ครั้ง ดังนั้นการนำเพลงและทำนองมาใช้ ปรับแปลงทำนองบางส่วน (เปลี่ยนทาง) จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สนใจควรศึกษาและทำความเข้าใจประกอบการฟัง ดังเช่น การขึ้นต้นและลงจบตับ (โดยมากผู้บรรเลงนำขึ้นและลงเพลงจะมีบทบาทมากกว่าเครื่องอื่น)

     การขึ้นและลง ถือเป็นจุดที่เด่นมากของเพลง เพราะเป็นการเตรียมและดึงความสนใจ ทั้งผู้ฟังและผู้บรรเลง ผู้ขึ้นจะต้องมั่นใจและพร้อมที่จะบรรเลงเสมอ โดยมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงดังนี้

1. ผู้ขึ้น – ลงเพลงต้องใช้ท่าทีสง่างาม และเลือกใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมดึงดูดความสนใจ
2. การขึ้นแต่ละครั้ง ถ้าเป็นเพลงเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ควรปรับแนวหรือเปลี่ยนกลอนการขึ้นให้แปลกไปจากเดิมบ้าง ส่วนการลงถ้ามีการลงแบบบังคับทางก็ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเพราะการขึ้นต้องการที่ดึงดูดผู้ฟังเท่านั้น
3. ถ้ามีร้องมาก่อนบรรเลง อาจขึ้นท้ายเพลงที่ร้องนั้นก่อน แล้วจึงร้อง – รับตามปกติ การขึ้นท้ายเพลงหรือบรรเลงก่อนหนึ่งเที่ยวจะเป็นการขึ้นเสียงให้ผู้ร้องและเป็นการเตรียมตัว ทั้งผู้บรรเลงและผู้ฟังด้วยการเชื่อมต่อระหว่างท่อนเพลง
4. ในกรณีที่เพลงมีสำนวนเดียวกันต้องเปลี่ยนลีลา หรือเปลี่ยนกลอน เพื่อความงดงามในการต่อเชื่อมอันแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถในการดำเนินกลอนของผู้บรรเลง และเป็นการบอกเตือนผู้ร่วมแสดงด้วยว่าจะมีการต่อเพลงหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใด
5. รักษาจังหวะหรือแนวการบรรเลง เพราะระหว่างท่อนอาจจะเป็นการส่งหรือรับร้องได้และใช้ระดับความเร็วที่เหมาะสม ผู้บรรเลงต้องเข้าใจและไม่ลืมว่าการขึ้นเพลงใหม่นิยมถอนหรือลดความเร็วลง แต่ถ้าเป็นการปรับวงมาด้วยกันก็ไม่จำเป็น
6. ความพร้อมเพรียงของผู้ร่วมบรรเลง มีส่วนสำคัญในการต่อเชื่อมเป็นอย่างมากเพราะจะเป็นการนำพาเรือให้มีแรงเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด

4. แนวการบรรเลงเพลงตับ

     เรื่องแนวทางการบรรเลงนี้มีผู้อธิบายในประเด็นต่างๆ กันอยู่หลายประเด็น โดยทั่วไปจะหมายถึงการควบคุมการบรรเลงสำหรับดนตรี แนวทางการบรรเลงจะขึ้นปัจจัยหลายประการได้แก่ ประเภทวงดนตรี ขีดความสามารถหรือความพร้อมของผู้บรรเลง ธรรมชาติของเพลงที่นำมาบรรเลง โอกาสหรือผู้ฟังและความมุ่งหมายของการบรรเลงเป็นประเด็นสุดท้าย ดังนั้นแนวทางการใช้หรือเลือกลีลาการบรรเลงถ้าเป็นวงที่มีการปรับหรือฝึกซ้อมมาย่อมมีความพร้อม แต่วงที่ไม่รู้จักหรือไม่เคยบรรเลงร่วมกันนี้ เป็นเรื่องสนุกและเกร็ดของการบรรเลงดนตรี ด้วยต้องตีความสามารถของผู้บรรเลงร่วมวงเท่ากับผู้ฟังไว้ก่อน

     สำหรับแนวการบรรเลงเพลงประเภทเพลงตับ ถ้าเป็นตับเรื่องซึ่งมักจะเป็นวงปี่พาทย์ทำการบรรเลงลีลาของบทเพลงจะเป็นตัวกำหนดแนวการบรรเลงอยู่แล้ว ด้วยมีเพลงปกติและเพลงหน้าปี่พาทย์ที่จะบอกลีลาอารมณ์อยู่แล้ว ส่วนตับเพลงมีความหลากหลายอยู่มากเช่นกัน ด้วยมีสำนวนเพลงเฉพาะตับไม่เหมือนกัน บางตับก็มีสำเนียงภาษาด้วยลีลาที่ทำการบรรเลงจึงต้องทำความรู้จักให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยการดำเนินกลอนในบทเพลง เช่น

ตับจู่ล่ง (สำเนียงจีน) ลีลาอาจจะกระโดกกระเดกบ้าง ถ้าเป็นตับเพลงฉิ่ง ตับลมพัดชายเขา ลีลาที่ใช้ควรจะเป็นการเน้นการดำเนินทำนอง ที่แสดงถึงความรุ่มลึกในการใช้เครื่องมากกว่าการใช้เทคนิคที่ความโลดโผน
ตัวอย่างการดำเนินกลอน ขึ้น


     นอกจากการศึกษาวิเคราะห์ทั้ง 4 แนวทางแล้ว ผู้สนใจอาจไม่รู้ว่าแล้วจะเริ่มเรียนเพลงตับกันอย่างไร ในตอนท้ายนี้จึงได้กล่าวถึงเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้นำไปใช้ต่อดังนี้

1. เริ่มลงมือหัดเพลงใดเพลงหนึ่งก่อน และเลือกหัดที่ละเครื่องดนตรีให้เป็นก่อน

2. ศึกษาเพลงตับที่มีเพลงจำนวนน้อยหรือสั้น ๆ ถ้าเป็นด้านการขับร้องแม้นความยาวของบทร้องจะเท่า ๆ กันแต่ทำนองการร้องจะไม่เท่ากัน ก็ให้เลือกทำนองดนตรีที่สั้น ๆ เพื่อการจดจำง่ายเอาไว้ก่อนหลังจากที่เริ่มชำนาญแล้วจึงเลือกเพลงที่ยากขึ้นต่อไป สำหรับผู้เขียนขอแนะนำตับต้นเพลงฉิ่งเป็นเพลงเริ่มสำหรับผู้ฝึกเครื่องสาย(หมายถึงผู้ที่จะหัดอย่างจริงจัง) เพราะบทเพลงใช้การดำเนินทำนองแบบเก็บเน้นการดำเนินกลอน ผู้เรียนจะได้ทางที่เหมาะสมกับการฝึกหัดใช้มือหรือตำแหน่งการใช้นิ้วไปในตัว

3. เริ่มด้วยการฟัง โดยฟังที่ละตับแล้วขยายเป็นหลาย ๆ ประเภทหรือให้หลากหลาย จะได้เป็นการสั่งสมทำนองเพลง เอาไว้ใช้ในโอกาสต่อไป ควรเริ่มฟังเมื่อมีโอกาสและการหาโอกาสสัมผัสเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเริ่มต้นที่ดีของการศึกษาดนตรี

4. หาโอกาสบรรเลงและฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ การบรรเลงและฝึกซ้อมบ่อยๆ ย่อมจะทำให้ผู้บรรเลงเกิดทักษะและมีความชำนาญมากยิ่งขึ้น การฝึกมักเริ่มจากปฏิบัติตามโดยจดจำ แล้วนำปฏิบัติจนเข้าใจหรือขึ้นใจ หลังจากนั้นจึงค่อยหาวิธีการที่เป็นของตนเองในการบรรเลง นับเป็นวิธีการใช้ความคิดทางปัญญาที่สำคัญ

5. ฝึกหัดแต่งบทร้อง หรือคัดเลือกบทร้องแล้วนำทำนองเพลงต่างๆ มาใส่เพื่อการขับร้องเฉพาะในวงของตนเอง เป็นอีกตับเรื่องหนึ่งก็ได้ โดยเฉพาะคำร้องอาจบรรยายให้เป็นเรื่องราวปัจจุบัน ผู้ฟังสามารถเข้าได้ในเวลาอันสั้น ทำให้ผู้ฟังรับรู้ได้เร็วขึ้นและอาจหันมาสนใจกัน หรือถ้ามีความสามารถมากอาจนำทำนองมาต่อกันขึ้นเป็นตับใหม่ก็ได้

วิธีการต่างๆ เหล่านี้สามารถเป็นจุดเริ่มต้นในการหัดหรือเริ่มเรียนเพลงตับได้ โดยไม่ต้องช่างใจหรือคิดตัดสินใจเลือกเพลงโน้นเพลงนี้จนมากความ ถ้าอยากก็รีบหัดเลยแล้วประเด็นอื่นๆ จะติดตามมาให้ท่านได้ตัดสินใจกันอีกครั้งหนึ่ง

     หลังจากที่ได้ฝึกหัดและมีความสามารถแล้ว อาจมีปัญหาที่ติดตามมาด้วยคือ เวทีการแสดงโอกาสในการบรรเลง ผู้สอน เครื่องดนตรี การสอน การวิเคราะห์และความรักที่ต้องการสืบทอด สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ต้องการขยายผลให้สืบเนื่อง แล้วต่อจะทำอะไรกับเพลงตับต่อไป

     การจรรโลงไว้ซึ่งมรดกของชาติ วิธีที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือ ศึกษาและปฏิบัติอย่างถูกต้อง ถูกวิธี การสัมมนา การเขียนและการอธิบาย อาจไม่ก่อให้เกิดผลต่อเนื่องไปหากมิได้ลงมือปฏิบัติอย่างผลงานอันเป็นมรดกยิ่งต้องลงมือปฏิบัติให้เกิดรูปธรรมอย่างผลงานเพลงตับเป็นต้น ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการกระตุ้นให้เห็นถึงลักษณะและความสำคัญของเพลงตับเท่านั้น ถึงอย่างไรก็มีวิธีการรับรู้เพลงตับได้ ในฐานะผู้ฟังทั่วไปการศึกษาก่อนฟังอย่างตั้งใจ ถ้าชอบก็บอกความสุขต่อให้เพื่อนๆ ได้รับความรู้สึกเหล่านั้นบ้าง แต่ถ้าอาจจะลงมือบรรเลงเองเพื่อถ่ายทอดความงามให้ดำรงอยู่ก็สามารถกระทำได้ แต่อย่างรีบร้อนหรือเร่งรัดเกินไป


เอกสารอ้างอิง

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย (ฉบับปรับปรุงแก้ไข). ขอนแก่น :
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2536.
ณรงค์ชัย ปิฎกรัช. สารานุกรมเพลงไทย. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์, 2542.
บุญสืบ บุญเกิด. ฆ้องวงใหญ่และบทเพลงบรรเลง. ภาควิชาดนตรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2542.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (บรรณาธิการ) ใน ประชุมบทมโหรี มีบทมโหรีเก่าและพระราชนิพนธ์
ฉบับรวบรวมพิมพ์ครั้งแรก. เรือนแก้วการพิมพ์ : กรุงเทพฯ, 2542.


ขอขอบคุณ
ที่มา :
www.surinindex.com


กลับไปหน้าหลัก



Create Date : 21 มิถุนายน 2551
Last Update : 18 พฤษภาคม 2556 10:20:15 น. 6 comments
Counter : 13775 Pageviews.

 
แวะมาเยือนครับ
ยังอ่านไม่จบ อิอิ
ง่วงซะก่อน ขอรับ

๐ วันเสาร์ เว้าสั่น เคลิ้ม......แซมโคลง
เย็นค่ำ ยำเค้น โยง............คู่ย้ำ
เรียงคำ ร่ำเคียง โรง,..........คราวหล่น
คืนสุข คลุกชื่น ล้ำ.............อิ่มโอ้สวัสดี ๚ะ๛

19.39
21/06/51
บ้านโคลงผวน


โดย: คนสาธารณะ วันที่: 22 มิถุนายน 2551 เวลา:0:07:09 น.  

 
อยากได้ที่เป็นบทละครน่ะค่ะ เรื่อง วิวาห์พระสมุทร


โดย: หญิง IP: 125.25.186.89 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:9:29:53 น.  

 
อยากได้กลอนขับเสภาให้คนที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน 51 นี้ ถ้าได้ภายในวันที่ 12 นี้ได้มั้ยคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: ช.กานต์ IP: 61.7.135.225 วันที่: 9 กันยายน 2551 เวลา:12:22:40 น.  

 
ท่านท้งสองขับร้องไพเราะมาก


โดย: สมพร ทับสิน IP: 125.26.32.198 วันที่: 22 เมษายน 2553 เวลา:14:43:15 น.  

 
ผมขอประวัติ

ตับนางลอย โหมโรงม้ารำหน่อยคับ

ต้องส่งครูคับ



โดย: benz IP: 58.9.200.169 วันที่: 3 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:01:36 น.  

 
เพราะ


โดย: ชลลี่ IP: 101.51.37.4 วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:16:53:14 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.