|
....เย็นศิระ เพราะพระบริบาล....
โดย ผู้จัดการรายวัน 22 มีนาคม 2548 09:09 น.

 ไฟแผงหน้าปัดติดพรึบ ใบพัดหน้าเครื่องบินปอร์ตเตอร์หมุนเร็วจนครางหึ่งๆ "อู่ตะเภาไลต์นิ่ง
.ทรีเอฟซิกซ์ทีน
รีเควสต์นัมเบอร์วัน ทู-ทรี
" "รันเวย์เคลียร์!" นักบินขยับเข็มขัด กางแผนที่กับข้อมูลการบินบนตัก เขาตรวจเช็กสภาพทั่วไปครั้งสุดท้าย แล้วแท็กซี่เครื่องไปยังรันเวย์ ดึงคันบังคับไปข้างหน้า วันนี้เขาทะยานสู่ท้องฟ้าพร้อมทีม Rainmaker อีกครั้ง ท่ามกลางอากาศร้อนแล้ง ปฏิบัติการ "ฝนหลวง" เริ่มต้นขึ้นแล้ว

เมื่อกำหนดพิกัดเป้าหมายได้แล้ว พวกเขาจะรีบขึ้นสู่ท้องฟ้าทันที มีนาคม 2548... สนามบินอู่ตะเภา ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก หลายวันที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ลงข่าวภัยแล้งที่แผ่ปกคลุมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกษตรกรปีนี้เรียกว่าเลวร้ายและหนักหนากว่าทุกปีที่ผ่านมา เพราะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีก่อน คำกล่าวของ สุนทร ริ้วเหลือง อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า "ภาพรวมขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง 71 จังหวัด 696 อำเภอ 61 กิ่งอำเภอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 11,058,902 คน โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบภัยแล้งสูงสุดคิดเป็น 79.03% ของพื้นที่ รองลงมาคือภาคตะวันออก 64.31% ..ทั่วประเทศมีพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด 60.19% " (มติชนรายวัน 20 มี.ค.2548) คงบอกอะไรได้บ้าง
ทุกเช้าจะมีการประชุมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ เพื่อกำหนดแผนงานขึ้นบิน ซึ่งคอมพิวเตอร์ก็มีส่วนช่วยในการปฏิบัติงานได้มากทีเดียว
และตอนนี้ดูเหมือนความหวังทั้งมวลในการแก้ปัญหามุ่งมาที่ปฏิบัติการ "ฝนหลวง"

"ตอนนี้นักบินและเจ้าหน้าที่อ่อนล้าเหมือนกันเพราะหนักมาตลอด" เสียงของ ทวี กาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออก ผุดขึ้นมาย้ำเตือน เมื่อเรามองนักบินกับเจ้าหน้าที่ทำฝนหลวงฝ่ายต่างๆ ซึ่งตอนนี้เตรียมพร้อมทั้งวันเป็นสิ่งยืนยันภัยแล้งรุนแรงขณะนี้ได้ดีไม่แพ้ภาพจากทีวี

วันนี้ พวกเขาตื่นแต่เช้าเตรียมวางแผนทำงานที่ตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งถูกแปลงเป็นสำนักงานและห้องวางแผนการบินเล็กๆ ขณะที่ข้างตู้ รถตรวจอากาศฝนหลวงจอดสงบนิ่งเพื่อสนับสนุนข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่ได้จากบอลลูนตรวจอากาศซึ่งถูกปล่อยไปแต่เช้ามืด โดยมีโปรแกรมซอนด์ทูและคอมพิวเตอร์ประมวลผลไฮเทคแสดงออกมาเป็นค่าต่างๆ อย่างละเอียดเกี่ยวกับสภาพอากาศที่ความสูงระดับต่างๆ

สารเคมีที่ถูกจัดเตรียมบนภาคพื้นดิน  9 โมงเช้า ห้อง Brief
การประชุมนักวิชาการ นักบิน หัวหน้าคนบดสารเคมีเริ่มขึ้น หลังทุกคนแจ้งความพร้อมของฝ่ายตน ดูข้อมูล ปัจจัยพื้นฐาน และกำหนดพื้นที่เป้าหมายเรียบร้อยแล้ว รถยนต์สามคันก็ถูกสตาร์ทเพื่อส่งนักบิน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่โปรย และสารเคมีหลายสิบถุงไปยังเครื่องบินที่จอดสงบนิ่งบนลาน ปอร์ตเตอร์ 3 ลำครางกระหึ่ม แล้วเริ่มต้นแท็กซี่ไปยังรันเวย์
กัปตันวิโรจน์ ราษฎร์เจริญ นักบินประจำเครื่องลำที่สองดันคันบังคับไปข้างหน้า เจ้าปอร์ตเตอร์ของเขาตามจ่าฝูงเข้ารันเวย์อย่างกระชั้นชิด แล้วยกตัวขึ้นสู่อากาศด้วยความเร็วสูง
สารเคมีที่ถูกจัดเตรียมบนภาคพื้นดิน น่านฟ้าเป้าหมายวันนี้อยู่เหนือเทือกเขางวงช้างของจังหวัดระยอง ที่ซึ่งลมตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นสื่อนำพาก้อนเมฆที่พวกเขากำลังจะไปเร่งปฏิกิริยา ให้กลายเป็นฝนหลวงไปตกยังพื้นที่แถบบ้านปลวกแดงและนิคมพัฒนาได้
"ขับเครื่องบนอากาศหนักกว่าขับรถบนพื้นหลายเท่า แต่เป็นระเบียบกว่าบนถนน" กัปตันไพโรจน์ กาญจนไพร นักบินเครื่องที่สามผู้เคยร่วมงานกับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ( ผู้นำพระราชดำริริเริ่มฝนหลวงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปฏิบัติ) บอกกับเราก่อนแท็กซี่เครื่องไปยังรันเวย์ เจ้าหน้าที่บดสารเคมีเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ปิดทองหลังพระ โดยเฉลี่ยทุกๆ วันพวกเขาต้องทำงานยกสารเหล่านี้ถึง 6 ตัน เราเห็นรูปธรรม เมื่อฝูงบินไปเจอเมฆฝนซึ่งมีสภาพอากาศภายในแปรปรวนกลุ่มหนึ่งเข้าอย่างจัง "พี่ครับ ผมขอขึ้นไปที่ 7,000 ฟุต" กัปตันวิโรจน์วิทยุไปยังลีดเดอร์ ขณะที่เครื่องเกิดอาการตกหลุมอากาศเป็นระยะ แต่เขาก็ดูสงบนิ่งด้วยเป็นเรื่องธรรมดา ก่อนพยายามขึ้นเหนือเมฆ และเท่าที่เราจำได้ ด้านขวามือคืออ่าวไทยที่ท้องฟ้าใสแจ๋ว
"โอเค! ถ้าไม่ไหวเบี่ยงออกเหนือทะเลเลย" เสียงตอบกลับจากผู้ฝูงสุธรรม ปันโนปกรณ์
"แล้วเจอกันที่ 7,500 ฟุตครับ"
กัปตันวิโรจน์กล่าว ก่อนดึงสติ๊กพาเครื่องไต่ระดับ 7,000 ฟุต สำหรับทีม Rainmaker เหตุการณ์แยกฝูงเกิดขึ้นบ่อยเพราะการทำฝนหลวงบางครั้งด้วยวิธีการทำให้นักบินต้องทำสิ่งขัดกับหลักนิรภัยคือการพุ่งสู่ก้อนเมฆ เพราะโดยหลักการเครื่องบินจะต้องเลี่ยงการบินเช่นนี้ เนื่องจากในเมฆจะมีกระแสอากาศ Up & Down Stream หรือเทอร์บูแลนซ์ตลอดเวลา และสิ่งนี้ทำให้เกิดการ "ตกหลุมอากาศ" ได้
กัปตันวิโรจน์ ราษฎร์เจริญ กำลังนำเครื่องแท็กซี่ไปยังรันเวย์
 "เราขึ้นไปต้องรับผิดชอบชีวิตของทุกคน ขึ้นเท่าไรลงเท่านั้น ความเสี่ยงอยู่ที่นักบินว่าชำนาญขนาดไหน เท้าพ้นพื้นก็อยู่ที่การตัดสินใจ บางทีเห็นฟ้าแลบก็ต้องทำ เราพยายามเสี่ยงน้อยที่สุด เรื่องจะบินลุยแทร่ดๆ ไปในเมฆฝนฟ้าคะนองเราไม่ทำ จะดูสภาพการณ์ว่าแบบไหนเหมาะที่สุด
แต่ถ้ามีการร้องขอเราก็เข้า แต่มั่นใจได้ครับ นักบินเองชำนาญอยู่พอสมควร" ผู้ฝูงตอบข้อสงสัยในการปฏิบัติการสุดหวาดเสียว กัปตันไพโรจน์ เล่าถึงสภาพอากาศวันนี้ว่า "อากาศปิดแบบวันนี้บินยาก ปีกตัวเองบางทีก็ไม่เห็น เราบินตามเครื่องวัด บางทีนักบินอาจหลง เพราะไม่เชื่อเครื่องวัดที่บอกว่าเอียงซ้าย ความรู้สึกจะตรงข้ามคล้ายเอียงขวามากกว่า ถ้าเราดึงคันบังคับตรงข้ามเครื่องก็หล่น นี่เรียกว่า Vertico หลงสภาพ"

ก้อนเมฆเป้าหมาย
หลังจากเด้งขึ้นๆ ลงๆ ในหลุมอากาศอยู่สักพัก ปอร์ตเตอร์ของเราก็พบเครื่องอีกสองลำที่จุดนัดหมายความสูง 7,500 ฟุต เวลานี้เรียกได้ว่าพวกเขาบินด้วยสัญชาตญาณ ความชำนาญและเครื่องวัดโดยแท้จริง ปราศจากเวสเซอร์เรดาร์ ที่แม้จะสแตนด์บายไว้ก็ไม่มีอะไรปรากฏที่จอ(เสีย)
กัปตันทั้งสามลำบอกว่าถ้าได้เครื่องใหม่จะปลอดภัยและอุ่นใจกับทีมงานมากกว่านี้ "ตอนนี้ไม่มีเลย ถ้ามีจะรู้ว่าเมฆหนาไม่หนา มันจะมีแถบสีบอกว่าควรหลบทางไหน" เสถียร แสนสิงห์ นักวิชาการบนเครื่องลำแรก มองเมฆสองก้อนที่ก่อตัวใกล้กันอย่างสนใจ ก่อนส่งเสียงผ่านเฮดโฟนว่า นั่นคือเป้าหมาย และขณะนี้จากการคำนวณสภาพลมและทิศทางสามารถเริ่มงานได้ทันที หลังจากพบเป้าหมายแล้ว เครื่องปอร์ตเตอร์ก็แปรขบวนเข้าโจมตีก้อนเมฆ
"ขอตำแหน่งพี่ด้วยครับ" กัปตันวิโรจน์กล่าว ก่อนทวนตำแหน่งและตกลงทิศทางกับทุกลำ "Start Mission"
"รับทราบ"
ฝูงบินจัดฟอร์เมชั่น แล้วแยกย้ายปฏิบัติงานทันที

ถึงตรงนี้ คนโปรยสารที่ห้องข้างหลังเปิดปากถุงแล้วหย่อนสารเคมีสูตร 8 ซึ่งถูกออกแบบสำหรับปฏิบัติการในเมฆอุ่น (สูงไม่เกินหมื่นฟุต) มีสารแคลเซี่ยมคลอไรด์ (Cacl2) ลงช่องปล่อย การบินครั้งนี้ไม่ต้องทำขั้นตอนแรกคือ "ก่อกวน" สามารถเริ่มขั้นตอนที่สองคือ "เลี้ยงให้อ้วน" ได้ทันที เพราะเมฆก่อตัวขึ้นเองอยู่แล้ว ในหลวงของเราทรงพระราชทานวิธีการไว้ในตำราฝนหลวงหลายข้อ แต่โดยสรุป พระองค์ทรงแยกเป็นสามขั้นตอน (ไม่รวมเทคนิคพิเศษที่เพิ่มเข้าไปภายหลังอย่างซูเปอร์แซนด์วิช) คือ

"ล้อเล่นกับท้องฟ้า ขอฝนกับเทวดา" "ก่อกวน" ซึ่งเป็นการสร้างแกนให้เกิดเมฆ โดยอาศัยผงเกลือแป้ง ซึ่งทำในสภาวะที่ความชื้นเหมาะสม ส่วนขั้น "เลี้ยงให้อ้วน" คือการใช้สารเคมีประเภทต่างๆ ช่วยเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำในเมฆทำให้เมฆฝนมีความหนาแน่นมากขึ้น และขั้นสุดท้ายคือ "โจมตี" ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่เสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานมากที่สุด เพราะจะต้องเข้าไปโปรยสารเคมีเพิ่มปริมาณการตกของฝนถึงในเมฆที่มีกระแสอากาศแปรปรวน

การโปรยสารเคมีเพื่อ "เลี้ยงให้อ้วน" ตรงหน้าเราตอนนี้ไม่ใช่การโชว์บินผาดแผลงของเครื่องรบ แต่เป็นการบินผาดโผนเสี่ยงภัยปล่อยสารเคมีทำฝนหลวงเพื่อประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำข้างล่างอย่างหนักที่พวกเขาทำกันอย่างสุดฝีมือเพื่อเหนี่ยวนำน้ำบนท้องฟ้าลงมาสู่ดิน เรียกว่าขอน้ำแบบเผชิญหน้ากับเทวดาอย่างใกล้ชิด แน่นอน ทุกคนไม่อยากตกสวรรค์
การขึ้นแต่ละครั้งนอกจากต้องคิดถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญแล้ว ยังใช้งบประมาณหลายหมื่นบาท การตัดสินใจเข้าปฏิบัติการกับเมฆก้อนหนึ่งจึงผ่านการคิดคำนวณจากประสบการณ์ และหลักวิชาการอย่างรอบคอบที่สุด "ก่อนหน้าที่มีเครื่องตก เป็นเรื่องอากาศและประสบการณ์นักบินที่เข้ามาปฏิบัติการใหม่ยังไม่คุ้นกับงานแบบนี้ เพราะบินเข้าเมฆ มีเกาะหมู่ ซึ่งยาก เป็นแบบเดียวกับที่โชว์กันในงาน" ผู้ฝูงเอ่ย "ฝนจะตกไม่ตกอยู่ที่สภาพอากาศว่าชื้นแค่ไหน การเปลี่ยนแปลงมีตลอดครับ ล้อเล่นกับธรรมชาติมันยาก ช่วงนี้ทำฝนประสบความสำเร็จน้อยเนื่องจากความชื้นต่ำ จากระดับพื้นถึงความสูง 6,000 ฟุต มี 60% แต่เลยขึ้นไปอีกมี 20% แบบนี้ความชื้นที่จะไปประกอบกับกลุ่มเมฆมันมีน้อยมาก" เสถียรบอกกับเรา

พาเมฆไปในทิศทางที่คำนวณ การทำงานครั้งนี้จะสำเร็จหรือไม่ ขึ้นกับลมว่าจะพัด
ตอนนี้ภาพเครื่องบินปล่อยหางสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีน้ำเงินเข้มปรากฏต่อสายตา ลำหนึ่งมุดบริเวณไหล่เมฆอย่างน่าตื่นตา อีกลำหนึ่งก็โปรยสารเคมีที่ฐานเมฆระดับ 7,000 ฟุต คราวนี้พวกเขากำลังจับเมฆสองก้อนรวมตัวกันแล้ว "เลี้ยงให้อ้วน"
กัปตันไพโรจน์บอกว่า ท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ เขาสามารถพาทีมทำงานฝนหลวงไปได้ทุกจุดถ้าสภาพเครื่องอำนวย "เรามีการปรับเป้าหมายตลอด เพราะต้องการกลุ่มเมฆที่ได้ผลที่สุด นักบินมีหน้าที่พาไป คนที่บอกว่านักบินไปไม่ถึงที่หมายนั้นไม่มีทางครับ เรายินดีไปตามที่หมาย คนที่พูดว่านักบินไปไม่ตรงเป้าหมายนั้น อาจเพราะฟังจากชาวบ้านที่เห็นว่าเขาอาศัยอยู่ตรงนี้ เขาขอฝนแต่ไม่เห็นนักบินมาทำ ซึ่งมีปัจจัยเนื่องมาจากทิศทางลม ความเร็วลม เราจะไปทำเหนือลมครับ เขาไม่เห็นเลยคิดไปอย่างนั้น" สารเคมีหมด ในที่สุดเสียง "Mission Complete" ก็ดังขึ้นในหูฟัง เครื่องปอร์ตเตอร์สามลำบินมาเกาะกลุ่มอีกครั้งและมุ่งหน้ากลับฐาน "ช่วงเมื่อกี้เราแค่เลี้ยงให้อ้วน เร่งปฏิกิริยาเมฆให้มารวมตัวกันมากขึ้น เดี๋ยวการโจมตีอาจจะมีอีกช่วงหนึ่งตอนบ่าย..ภารกิจของวันจะจบเมื่อเราส่งข้อมูลไปถวายพระองค์ท่านที่หัวหินครับ" เสถียรกล่าว

บรรยากาศขณะปฏิบัติการ ทั้งสามลำกลับสู่ฐาน และจู่ๆ ฝนก็เทลงมาพร้อมรอยยิ้มของทุกคนในทีมเมื่อก้าวลงจากเครื่อง เสถียร บอกว่าตามหลักวิชาการ "ตกลงมานี่แค่หล่อเย็นนะครับ ระดับน้ำผิวดินใต้ดินตอนนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก" นั่นหมายถึงภารกิจของพวกเขาในช่วงแล้งนี้ยังไม่จบลงง่ายๆ
"ภารกิจการทำฝนหลวงทั่วประเทศขณะนี้มีการจัดตั้งฐานระดับภาคคือ เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ตะวันออก เป็น 5 ศูนย์หลัก สำหรับภาคตะวันออกเป้าหมายเรามี 8 จังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว" ทวี กาญจนา เล่าขอบเขตงานของศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงฯ ภาคตะวันออก ก่อนเล่าแผนการในอนาคต "ปกติเรามีการตั้งฐาน 3 จุด คือที่หลักคือ สนามบินอู่ตะเภา ระยอง สนามบินท่าใหม่ จันทบุรี มีระยะทำงาน 15 ก.พ. ถึงกลางเดือนพ.ค.. ที่กำหนดไว้ดังนี้เพราะเดือน พ.ค. จะเข้าฤดูฝนของภาคตะวันออกตอนล่าง คาดว่าไม้ผลจะมีน้ำพอต่อการโตแล้วและบางส่วนเก็บเกี่ยว เราจะย้ายฐานทั้งจันทบุรี ระยองไปที่วัฒนานคร สระแก้วเป็นฐานที่สาม เพื่อทำฝนช่วยพืชไร่ในส่วนของภาคตะวันออกตอนบน" ปัจจุบันศูนย์ฯ มีเครื่องบินในระดับเพียงพอคือเครื่อง CN235 2 เครื่องยนต์ บรรทุกได้ 2,000 กก. ต่อเที่ยวบิน 1 ลำ อีก 4 ลำ เป็น ปอร์ตเตอร์ เครื่องยนต์เดียว บรรทุกได้ 500 กก. ต่อเที่ยวบิน เรื่องขาดอุปกรณ์จึงไม่ใช่ปัญหา

การบินเข้าสู่ก้อนเมฆคือสิ่งที่พวกเขาต้องทำ แต่เรากลับพบว่าขณะที่ที่อื่นขาดนักวิชาการมาก ที่นี่นอกจากนักวิชาการแล้วยังขาดคนบดสาร เจ้าหน้าที่พูดตรงกันว่า "เรื่องเจ้าหน้าที่ถ้ามองในด้านการทำงานให้ทันไม่พอ พูดตรงๆ อย่างคนบดโปรยสารเคมีตอนนี้มีอยู่ 10 คน ถ้าขึ้นฟ้าไปหมด ซีเอ็น 6 คน ปอร์ตเตอร์อีก 4 คน (ลำละคน) กำลังภาคพื้นดินจะไม่มีในการเตียมสารเคมีกรณีต้องบินต่อเนื่อง ต้อง 15 คนเป็นอย่างน้อยถึงทำงานได้ทั้งข้างบนและล่าง บางทีเราเตรียมสูตรขึ้นไปพอจะเปลี่ยนสูตรไม่ทัน เพราะไม่มีข้างล่างเตรียม ตอนนี้หนึ่งวันทำงาน 7 ชม. สำหรับนักบิน นักบินโหลด คนทำงานโหลดไปหมด" สองคล้องกับ ผอ. ศูนย์อย่างคุณทวี ที่บอกว่า "สมมติคนโปรย 6 คน ไม่ได้โปรยอย่างเดียว เริ่มตั้งแต่บดสารแล้วยกขึ้นรถ ถ่ายเข้าเครื่อง เทบนฟ้า เทียบแล้วบดสารเคมี 2 ตัน เขาต้องยก 3 ครั้ง สรุป 6 ตัน!" "รัฐให้จ้างพนักงานราชการได้แต่เรื่องช้ามาก ป่านนี้ผมยังไม่มีคนงาน คนบดปัจจุบันอายุ 50 ขึ้นทั้งนั้น เหนื่อยมากครับ นอนไม่ต้องกินยานอนหลับกันแล้ว ส่วนหนึ่งผมต้องขอจากทางจังหวัด ผู้ว่าฯ ท่านก็จัดคนมาช่วย คนที่ไม่ชำนาญก็เป็นปัญหาเหมือนกัน การโปรยสารเคมีต้องอาศัยประสบการณ์ครับ จริงๆ ใครก็โปรยได้ แต่การสื่อสารและโปรยให้มีประสิทธิภาพมันยาก คนที่มีประสบการณ์ เขาจะรู้จังหวะดีกว่า" ผอ.ศูนย์กล่าว ส่วนการทำงานเชิงรุกนั้น "ตอนนี้ผมแจกเบอร์ผมเลยครับ เป็นสายตรงสู่ ผอ.ศูนย์ฝนหลวงภาคตะวันออก"
ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรภาคอีสานผ่านพื้นที่แห้งแล้ง ทรงทอดพระเนตรที่ฟ้าแล้วมีพระราชดำริว่า "
เงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี้ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องทำฝนก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้" โครงการ "ฝนหลวง" จากน้ำพระทัยของพระองค์จึงเกิดขึ้น

การบินเข้าสู่ก้อนเมฆต้องใช้ความชำนาญของนักบินสูงมาก พ.ศ.2548
ครึ่งศตวรรษผ่านไป กษัตริย์พระองค์เดียวกันยังทรงงานหนัก ทั้งยังมีพระมหากรุณาธิคุณดูแลประชาชนด้วยโครงการนี้ดุจ 50 ปีก่อน ด้วยการยอมลำบากพระวรกายเสด็จลงบัญชาการฝนหลวงด้วยพระองค์เอง และด้วยจริยาวัตรเช่นนี้ ทำให้คนที่ทำงานทั่วประเทศไม่เคยหมดพลังใจ กัปตันไพโรจน์บอกเราว่า "ที่มาทำโครงการในหลวง เพราะผมเคยทำงานกับท่าน ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ มาก่อน เป็นความสุข เราช่วยเหลือคนเดือดร้อน ให้ประชาชน นี่คือโครงการเพื่อความสุขราษฎรของพระเจ้าอยู่หัว" เขารำลึกว่า "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์เสียไป 6 ปีแล้วครับ ท่านเป็นคนมุ่งมั่น ขยัน อยากรู้ ทดลองหลายเรื่องเกี่ยวกับโครงการหลวง ตัวท่านผ่าตัดตั้งแต่อกไปถึงท้องน้อย มือท่านก็โดนระเบิด เหลือ 2 นิ้ว ใส่ถุงมือ ท่านเป็นคู่คิดของพระเจ้าอยู่หัว ตอนนั้นผมเป็นนักบินกองบินตำรวจ โครงการฝนหลวงผมทำมาตั้งแต่เริ่มต้นวิจัย เครื่องที่บินนั่นก็ชาวไร่อ้อยจังหวัดกาญจนบุรีซื้อให้ เครื่องปอร์ตเตอร์ 1609 ยังบินได้ครับ เรายังอนุรักษ์ไว้ที่กองบินตำรวจ"

ภารกิจการโปรยสารเคมี "ตั้งแต่วิเคราะห์อากาศจนถึงขั้นโจมตีกว่าจะได้ฝนเหนื่อยมาก ผมเองก็รับฟังความทุกข์ของเกษตรกรที่กำลังล้มละลายมามาก อยากบอกว่านี่เป็นโครงการที่เกิดจากความห่วงใยของในหลวงท่าน ที่เราทุ่มเทกันไม่ว่านักวิชาการ นักบิน เจ้าหน้าที่โปรยสาร มีเป้าหมายเดียวกันคือให้ฝนตก ให้พื้นที่เกษตรรอดจากความเสียหาย เราภูมิใจที่ได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท สองสิ่งนี้เราชาวฝนหลวงสำนึกและตระหนักมาโดยตลอด" ผอ.ทวี กล่าว ส่วนนักวิชาการ นักบินได้บอกกับเราว่า "เราเห็นฝนตกก็มีความสุขครับ แม้บางทีแม่ค้าบางท่านอาจจะไม่ชอบบ้างก็ตาม เขาบอกเห็นเครื่องบินแล้วน้ำตาไหลเลย" กัปตันไพโรจน์กล่าวติดตลก บางทีเราหวังว่าภาพการทรงงานของ "พ่อหลวง" ภาพการทำงานของ Rainmaker ทั่วประเทศแบบไม่หยุดพักในช่วงนี้ จะเตือนสติซีอีโอบางคนที่อ้างว่าเวลานี้ไม่มีอำนาจสั่งการ แล้วหนีไปเที่ยวได้ดี

ส่วนหนึ่งของทีมปฏิบัติการ Rainmaker จากซ้าย ผู้ฝูงสุธรรม ปันโนปกรณ์ , กัปตันไพโรจน์ กาญจนไพร , กัปตันวิโรจน์ ราษฏร์เจริญ และเสถียร แสนสิงห์ เราหวังว่าภาพนี้จะคอยเตือนคนไทย ว่าท่ามกลางแผ่นดินร้อนระอุ
มุมหนึ่งที่วังไกลกังวล หัวหิน "พ่อหลวง" กำลังทรงงาน
 และเหนือขึ้นไป 7,000 ฟุต บนท้องฟ้า เหล่า "อัศวิน" ของพระองค์กำลังทำหน้าที่เพื่อประชาชนคนไทยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
*ขอขอบคุณท่านหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการฝนหลวงฯ คุณทรง กลิ่นประทุม ในการให้ข้อมูลพื้นฐานและภาพรวมของการทำฝนหลวงในประเทศไทย

ส่วนหนึ่งของทีมปฏิบัติการ Rainmaker จากซ้าย ผู้ฝูงสุธรรม ปันโนปกรณ์ , กัปตันไพโรจน์ กาญจนไพร , กัปตันวิโรจน์ ราษฎร์เจริญ **ขอจงทรงพระเจริญ อยู่เป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยตลอดไปด้วยเทอญ**
Create Date : 23 มีนาคม 2548 |
Last Update : 23 มีนาคม 2548 18:35:50 น. |
|
40 comments
|
Counter : 3383 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: MDA วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:11:34:19 น. |
|
|
|
โดย: อยู่ไกลบ้าน วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:13:53:43 น. |
|
|
|
โดย: กีวี่สีฟ้า (กีวี่สีฟ้า ) วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:13:59:42 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ .. ไม่ได้ล๊อคอินค๊ะะ (ไร้หัวใจ ) วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:15:22:21 น. |
|
|
|
โดย: เชอเบทส้ม วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:15:59:57 น. |
|
|
|
โดย: nanus (nanus ) วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:01:14 น. |
|
|
|
โดย: webhero (webhero ) วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:05:12 น. |
|
|
|
โดย: หัวใจสีม่วง วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:15:11 น. |
|
|
|
โดย: เหวียนสีเทียนจุ้น IP: 202.12.97.118 วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:19:10 น. |
|
|
|
โดย: น.ส.มารร้าย วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:35:24 น. |
|
|
|
โดย: prncess วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:36:51 น. |
|
|
|
โดย: นางมารร้าย วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:16:41:52 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ...ไม่ได้ล๊อคอินค่ะ IP: 203.151.140.117 วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:18:58:09 น. |
|
|
|
โดย: รักดี วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:19:03:30 น. |
|
|
|
โดย: rebel วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:19:08:00 น. |
|
|
|
โดย: มัชฌิมา วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:20:04:33 น. |
|
|
|
โดย: ภูมิใจที่เป็นคนไทยได้พระบรมโพธิสมภารของในหลวง (กุหลาบหนามแหลม ) วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:20:05:59 น. |
|
|
|
โดย: มะนิก วันที่: 23 มีนาคม 2548 เวลา:21:46:55 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ วันที่: 24 มีนาคม 2548 เวลา:7:07:27 น. |
|
|
|
โดย: แม่มดน้อย23 วันที่: 24 มีนาคม 2548 เวลา:9:10:42 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ .. ไม่ได้ล๊อคอินค๊ะะ IP: 203.147.50.146 วันที่: 24 มีนาคม 2548 เวลา:11:06:47 น. |
|
|
|
โดย: กีวี่สีฟ้า วันที่: 25 มีนาคม 2548 เวลา:2:37:38 น. |
|
|
|
โดย: Nessa วันที่: 25 มีนาคม 2548 เวลา:17:54:03 น. |
|
|
|
โดย: อยู่ไกลบ้าน วันที่: 26 มีนาคม 2548 เวลา:9:45:06 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ .. ไม่ได้ล๊อคอินค่ะ IP: 203.147.50.146 วันที่: 26 มีนาคม 2548 เวลา:15:02:47 น. |
|
|
|
โดย: nanus (nanus ) วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:9:20:03 น. |
|
|
|
โดย: ไร้หัวใจ .. ไม่ได้ล๊อคอินค๊ะะ IP: 203.147.50.146 วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:14:19:11 น. |
|
|
|
โดย: อยู่ไกลบ้าน IP: 210.18.17.50 วันที่: 28 มีนาคม 2548 เวลา:21:50:10 น. |
|
|
|
โดย: แม่โกลเด้นฯ วันที่: 29 มีนาคม 2548 เวลา:18:45:14 น. |
|
|
|
โดย: เรารักในหลวง IP: 203.153.175.119 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:08:57 น. |
|
|
|
โดย: มัทนา IP: 117.47.78.161 วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:8:42:52 น. |
|
|
|
โดย: วิว IP: 112.142.22.249 วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:14:41:34 น. |
|
|
|
โดย: หมอก IP: 125.26.72.35 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:21:25:44 น. |
|
|
|
โดย: หมอก IP: 125.26.72.35 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:21:37:10 น. |
|
|
|
|
|
|
|