<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
26 มิถุนายน 2549
 

บทความของ ดร.โกร่ง.. วีรพงษ์ รามางกูร


ขออนุญาต เก็บตก
บทความของ ดร.โกร่ง.. วีรพงษ์ รามางกูร
จาก คอลัมน์คนเดินตรอก
เรื่อง คนไทย กับประชาธิปไตย บางช่วงบางตอนมาให้อ่าน

เป็นเรื่องความเห็นของเพื่อนชาวอเมริกัน
ที่เป็นอาจารย์สอนวิชารัฐศาสตร์ที่อเมริกา
ที่ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับเหตุการณ์การเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2549
มาให้อ่านกันค่ะ...ยาวหน่อย แต่น่าสนใจ

ข้อแรก

เขาตั้งข้อสังเกตคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยที่เป็นคนชั้นกลาง และคนในระดับสูง
รวมทั้งปัญญาชน ครูบาอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย
ที่สะท้อนออกมาจากปฏิกิริยาต่อกระแสทางความคิดทางการเมือง
ยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้นำทางความคิดในระบอบประชาธิปไตย

สังเกตได้จากกระแสความคิดที่ไม่เชื่อขบวนการทางการเมืองประชาธิปไตย
เช่น ขบวนการทางกฎหมาย
ขบวนการตัดสินข้อขัดแย้งต่างๆ โดยองค์กรอิสระ
ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง .....
ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรต่างๆ
หากการชี้ขาดขององค์กรต่างๆ ตัดสินไม่ตรงกับความคิดเห็นของตน..........

ข้อที่สอง

คนไทยมีอารมณ์ทางการเมืองรุนแรงไม่แพ้ประเทศทางตะวันตก
แต่คนทางตะวันตกนั้นจะดำเนินการตามกรอบของระบบกฎหมายในกรอบของรัฐธรรมนูญ
แต่คนไทยระดับสูงและระดับกลางให้ความสำคัญกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายของตนน้อยมาก
จะสังเกตได้จากการรายงานหรือความคิดเห็นที่ออกมาผ่านสื่อมวลชน
การเรียกร้องบีบบังคับเป็นไปในทิศทางนอกกรอบรัฐธรรมนูญ
นอกระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง..........

แท้จริงลึกๆ ในใจของคนที่มีการศึกษา
แม้กระทั่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และกฎหมาย
ยังนิยมระบบอำนาจนิยม
การยึดอำนาจรัฐโดยไม่ผ่านขบวนการตามระบอบประชาธิปไตย
ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำขบวนการชุมนุมกระทำการเสมือนว่าตนได้ยึดอำนาจรัฐสำเร็จแล้ว
สามารถออกคำสั่งให้รัฐบาลก็ดี องค์กรอิสระต่างๆ
กระทำการหรือตัดสินไปตามทิศทางที่ตนต้องการ
ฟังดูเหมือนกับการออกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว
คล้ายกับเป็นการยึดอำนาจรัฐได้สำเร็จแล้ว....
เพียงแต่ไม่ใช่การยึดอำนาจรัฐโดยกองทัพ

ถ้าเป็นประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยหยั่งรากลึกแล้ว ประชาชนจะไม่ยอมรับการออกคำสั่งอย่างนี้

จะยอมรับเฉพาะการชุมนุมเรียกร้องแสดงความคิดเห็นอย่างสงบ
เพื่อให้รัฐบาลหรือรัฐสภาดำเนินการให้ตามกรอบของรัฐธรรมนูญและขบวนการยุติธรรม อันเป็นสถาบันที่เขายอมรับนับถือว่าเมื่อเรื่องถึงรัฐบาล ถึงรัฐสภา และสถาบันยุติธรรมแล้ว
ก็เป็นอันยุติ ..........
แต่ของเราไม่เป็นเช่นนั้น
อาจจะเป็นเพราะประวัติศาสตร์การเมืองของเรามีปฏิวัติรัฐประหารบ่อย
ยกเลิกและร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อยู่เรื่อยๆ
รัฐธรรมนูญและระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขบวนการประชาธิปไตย
จึงไม่มีใครสนใจให้ความสำคัญ ให้ความเคารพ
เหมือนกับยุโรปหรืออเมริกา........

ข้อที่สาม

การเมืองและธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกันมานานแล้ว
ในสมัยก่อนตอนที่โลกมีสงครามเย็น
ประเทศไทยก็มีรัฐบาลที่ตั้งโดยทหาร
คณะรัฐมนตรีส่วนมากมาจากระบบราชการ เป็นบุคคลที่มีประวัติชื่อเสียงดี
แต่ทหารก็ให้การอุปถัมภ์แก่พ่อค้านายทุนในการที่จะได้การผูกขาด
เพื่อแสวงหากำไรจากการผูกขาด
หรือที่ภาษาเศรษฐศาสตร์ อดัม สมิธ
เรียกว่า "ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ" หรือ "economic rent" .....

ส่วนผู้นำทางทหารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ไม่มีธุรกิจของครอบครัว
อย่างมากก็ไปนั่งเป็นประธานธนาคาร หรือธุรกิจใหญ่ๆ
ทุกเช้าพ่อค้านายทุนก็ไปนั่งเฝ้าบันไดบ้าน.. สังคมรับได้
พ่อค้าตระกูลเก่าๆ ก็เริ่มมาอย่างนั้น
รุ่นลูกหลานอาจไม่เคยเห็น เพราะกำลังไปเรียนหนังสืออยู่เมืองนอก

ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไป
ระบบการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตยแบบเปิด
ประชาชนผู้ออกเสียงลงคะแนนกลับเป็นฝ่ายเรียกร้องเงินทอง
เรียกร้องให้ช่วยเหลืออุปถัมภ์ในรูปแบบต่างๆ

นายทุนพ่อค้าแทนที่จะต้องเข้าไปซูฮก เค้าเต๋า ผู้มีอำนาจ
ก็รวมตัวกันตั้งพรรคส่งลูกหลานลงสมัครรับเลือกตั้งเสียเอง
ตระกูลนายทุนเก่าจึงยอมรับได้.........

สมาชิกสภาผู้แทนจึงเต็มไปด้วยชนชั้นพ่อค้านายทุนทั้งในส่วนกลางและต่างจังหวัด
แทบจะไม่มีลูกหลานชนชั้นอื่นเลย กว่าร้อยละ 90 เป็นคนไทยเชื้อสายพ่อต้านายทุนทั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรม พฤติกรรมทางการเมืองจึงเปลี่ยนไป ค่านิยมและคุณค่าทางการเมืองก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว.. แต่ก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น...ตัดสินรวดเร็วมากขึ้น ไม่ "เชื่องช้า" แบบเก่า
ข้าราชการถูกจี้ให้ทำงานเร็วขึ้น มิฉะนั้นจะถูกย้าย
ภาพลักษณ์ของผู้นำก็เปลี่ยนไป.. คนไทยไม่คุ้นเคย

คนไทยจึงอยู่ในช่วงสับสน
ในหมู่ข้าราชการย่อมไม่ชอบใจแน่ เพราะปลัดกระทรวงเป็นที่พึ่งอย่างเดิมไม่ได้แล้ว .........
รัฐมนตรีเข้ามาตัดสินใจไล่จี้งานเอง

ส่วนคนร่ำรวยตระกูลเก่าก็ยังรับนักการเมืองและผู้นำรุ่นใหม่ไม่ได้
เพราะยังติดกับผู้นำและรัฐบาลที่อ่อนแอ ผสมกันหลายพรรค
พูดจามีมารยาท ไม่อหังการ
ยังยอมรับการเป็นรัฐบาลที่มาจากชนชั้นพ่อค้าซึ่งเป็นชนชั้นเดียวกับตนไม่ได้

เหตุการณ์ที่ผ่านมา
ถ้าทหารปฏิวัติรัฐประหาร
ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ขับไล่รัฐบาลออกไป ใช้อำนาจปฏิวัติยึดทรัพย์นักการเมือง
คนในกรุงเทพฯจะยินดีปรีดา .........

แล้วอีกปีหนึ่งก็ชุมนุมขับไล่รัฐบาลกันใหม่
ข้อที่สี่

คนไทยชั้นสูงยังยึดถือที่ตัวบุคคลมากกว่าระบบ
ซึ่งขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตย

เมื่อไม่ชอบหรือเกลียดชังเสียแล้ว ก็ไม่คำนึงถึงระบบ
จะทำอย่างใดก็ได้ขอให้บุคคลผู้นั้นพ้นๆ ไป
ถ้าจะอยู่ต่ออีกสักวันหนึ่งก็เหมือนบ้านเมืองจะล่มสลาย.......

ข้อกล่าวหาบางอย่าง แม้จะรู้ว่าไม่ได้ผิดกฎหมายก็พร้อมจะเชื่อ
และข้อกล่าวหาบางข้อที่กล่าวหาว่าฝ่ายตรงกันข้ามทำผิดกฎหมาย
ก็ไม่สนใจที่จะติดตามให้ได้ข้อมูลลึกเพื่อที่จะสามารถเอาผิดได้ตามกฎหมาย
คนกลุ่มนี้ไม่ได้สนใจแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิด
เวลารักทุกอย่างก็ถูกไปหมด........
เวลาเกลียดเวลาไม่ชอบทุกอย่างก็ผิดหมด

เป็นสังคมแบบไฟไหม้ฟาง

ข้อที่ห้า

สังคมชั้นสูงและชั้นกลางมีแนวโน้มที่จะเชื่อข่าวลือมากกว่าข่าวจริง หลายเรื่องถ้าหยุดคิดแล้วก็จะไม่เชื่อ
แต่คนไทยชอบเชื่อข่าวลือที่ถูกใจตัว ข่าวจริงที่ไม่ถูกใจตัวจะไม่ยอมเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวร้ายและข่าวโจมตีกัน......

สื่อมวลชนซึ่งเข้าใจจิตวิทยาเช่นว่านี้
ก็ถือโอกาสกระพือข่าวลือเพื่อประโยชน์ทางการค้า เพิ่มยอดขายหนังสือพิมพ์......
แล้วผู้จัดรายการวิทยุ ก็เอาข่าวหนังสือพิมพ์ไปอ่าน
และขยายข่าวลือต่อ...........

สื่อมวลชนไทยนั้นมีอิสระเสรีภาพมากที่สุดในโลก
แม้จะเทียบกับอเมริกาหรือยุโรป ไม่ถูกควบคุมโดยใครเลย
ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือสมาคมวิชาชีพของตนเอง
ผู้คนแม้แต่รัฐมนตรีข้าราชการผู้ใหญ่ นักธุรกิจล้วนแต่เกรงกลัวและเกรงใจ
นักข่าวเด็กๆ อายุ 20-30 ปี สามารถนัดพบรัฐมนตรี
ปลัดกระทรวง อธิบดี นายธนาคาร นักธุรกิจใหญ่ๆได้ เพราะไม่มีใครอยากขัดใจสื่อมวลชน...........

ผู้ที่เสียหายจากการลงข่าวที่จริงและไม่จริง
หรือจริงเพียงครึ่งเดียว มักจะต้องทำเฉยเสีย .....
หากทำอะไรไปและยิ่งเป็นผู้มีอำนาจก็จะถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงสื่อมวลชน
แม้กระทั่งการใช้สิทธิตามกฎหมายฟ้องร้องทางศาลถูกกล่าวหาว่าแทรกแซงปิดกั้นสื่อมวลชนทันที
ซึ่งสื่อมวลชนในประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่มีอภิสิทธิขนาดนี้........

การที่สื่อมวลชนไทยมีอิสระเสรีภาพและอภิสิทธิสูงมากอย่างนี้
ประเทศไทยจึงเป็นที่สื่อมวลชนต่างๆทั่วโลก
ส่งนักข่าวเด็กๆ นักข่าวมือใหม่มาฝึกงานก่อนจะรับเข้าบรรจุ
เพราะถ้ามาอยู่เมืองไทยแล้วยังทำข่าวไม่ได้ก็จะไม่ได้รับการบรรจุ
เพราะสังคมไทยเปิดกว้างอย่างที่สุด และสื่อมวลชนมีอภิสิทธิสูงที่สุดในโลกแล้ว........

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยและรัฐบาลทหาร
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล พล.อ.เกรียงศักดิ์ รัฐบาล พล.อ.เปรม รัฐบาลคุณอานันท์
รัฐบาลคุณบรรหารและคุณชวน หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาเป็นต้นมา
ไม่มีทางเป็นรัฐบาลเผด็จการได้เลย .......
เป็นได้แต่รูปแบบ...เนื้อหาเป็นไม่ได้

แต่ผลเสียก็มี....
เพราะหลายคนหลายครั้งก็ถูกหนังสือพิมพ์ละเมิดสิทธิเสรีภาพ
แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ หรือไม่กล้าแม้แต่การใช้สิทธิตามกฎหมายทางศาล...
ข้อที่หก

เพื่อนผมค่อนข้างผิดหวังนักวิชาการ ครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
รวมทั้งสมาคมทนายความ และผู้ที่มีวิชาชีพทางกฎหมายและรัฐศาสตร์
ซึ่งในประเทศอื่นจะเป็นผู้ที่เรียกร้อง
ให้ประชาชนยืนหยัดในหลักของการปกครองในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
ปัญญาชนไทยทางด้านนี้กลับชี้นำให้สังคมละทิ้งหลักการปกครองตามกฎหมาย
โดยการอ้างจริยธรรมบ้าง... ความชอบธรรมบ้าง.........

หลักความชอบธรรมตามกฎหมายนั้นเป็นหลักที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร
มีสถาบันซึ่งจะชี้ขาดเป็นที่ยุติของปัญหาความขัดแย้งได้เป็นรูปธรรม
เนื้อหาของกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ดี
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ดี
ปกติก็จะสะท้อนจริยธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณีของระบอบการปกครองอยู่แล้ว
แต่การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระบอบการปกครอง
รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ก็เท่ากับเป็นการเรียกร้องบีบบังคับตามอำเภอใจ.......

ส่วนหลักความชอบธรรมที่อ้าง "จริยธรรม"
ที่เกินกว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ประเพณีขนบธรรมเนียม
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น
เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม เลื่อนลอย ไม่แน่นอน
เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน
เช่น ชั้นสูง ชั้นกลาง มีมาตรฐาน จริยธรรมอย่างหนึ่ง
ชั้นล่างอย่างหนึ่ง ....

เปลี่ยนแปลงไปตามภูมิภาค ภาคใต้ว่าอย่าง ภาคเหนือ ภาคอีสานว่าอย่าง
และเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น ปี 2547 ว่าอย่าง ปี 2549 ว่าอย่าง
ต่อไปปี 2550 อาจจะว่าอีกอย่างก็ได้
การตัดสินความชอบธรรมบนพื้นฐานของ"จริยธรรม"จึงเลื่อนลอย
ไม่เหมือนความชอบธรรมที่อยู่บนพื้นฐานของ "ระบบ" "หลักการ" และ "กฎหมาย"
ซึ่งเป็นรูปธรรม อ้างอิงได้

ถ้าระบบและหลักการควรจะเปลี่ยนเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
กฎหมายก็เปลี่ยนได้ตามขบวนการ
แต่ระหว่างที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ก็ต้องใช้ความชอบธรรมบนพื้นฐานของกฎหมายที่ยังใช้บังคับอยู่.........

ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเพราะว่า เรามีรัฐบาลทหาร
ที่มีทหารเป็นนายกรัฐมนตรีเองหรือมีนายกรัฐมนตรีที่ทหารแต่งตั้ง
ซึ่งไม่มีความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ
หรือตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข

หรือบางครั้งจะชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ
แต่ก็เป็นรัฐธรรมนูญที่คณะปฏิวัติหรือสภาร่างรัฐธรมนูญที่คณะทหารตั้งขึ้นมา
การต่อต้านจึงต้องต่อต้านนอกรอบของรัฐธรรมนูญ
โดยอ้างความไม่ชอบธรรมของระบอบหรือระบบได้ชัดเจน ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคน ภูมิภาค และกาลเวลาในโลกสมัยใหม่

แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมาเที่ยวนี้ไม่เหมือนกัน
เป็นการอ้างความไม่ชอบธรรมที่ไม่ใช่ความชอบธรรมของระบอบหรือที่มาของรัฐบาล
แต่การอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" ซึ่งเลื่อนลอย

ถ้าทำได้สำเร็จก็จะเป็นความเสียหายต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระยะยาวอย่างยิ่ง

ข้อที่เจ็ด

เพื่อนอเมริกันตัวแสบของผมยังแสดงความผิดหวังต่อพรรคการเมืองของไทย
ทั้งพรรคการเมืองที่เก่าแก่ พรรคที่เก่ากลาง พรรคที่กลางเก่ากลางใหม่
พรรคการเมืองควรจะเป็นสถาบันที่เป็นผู้นำทางความคิด เผยแพร่ปรัชญา จิตสำนึก และปฏิบัติตนเป็นนักประชาธิปไตย

แต่วิกฤตการณ์การเมืองครั้งนี้
ผู้นำพรรคการเมืองกลับไปร่วมเรียกร้องให้มีการละเมิดรัฐธรรมนูญ
ละเมิดกฎหมาย ละเมิดข้อเท็จจริง รวมทั้งปฏิเสธขบวนการรัฐสภา
ปฏิเสธขบวนการให้กลับไปสู่การตัดสินใจของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง
โดยอ้างว่าขบวนการเลือกตั้งนั้นไม่ชอบธรรม ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
ปฏิเสธกรรมการเลือกตั้ง รวมทั้งคว่ำบาตรการเลือกตั้ง

ที่เหลือเชื่อก็คือสื่อมวลชน
ซึ่งควรจะเป็นสถาบันที่ต่อต้านการปฏิเสธขบวนการประชาธิปไตย กลับไปเห็นด้วยและสนับสนุน
..........

ปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเป็นการสร้างประเพณี
และวัฒนธรรมที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย ระบอบรัฐสภา
การเรียกร้องกดดันทั้งหมดที่ผ่านมาเป็นการเรียกรองและกดดันใ
ห้มีการดำเนินการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเลย

และที่แปลก "นักประชาธิปไตย" ทั้งหลายกลับรับได้
ไม่ตะขิดตะขวงใจเลย
..........

ข้อที่แปด

การกดดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
โดยอ้างความไม่ชอบธรรมบนพื้นฐานของ "จริยธรรม" นั้น
เป็นอันตรายที่สามารถสร้างความแตกแยกในสังคม
เพราะมาตรฐานของจริยธรรมของผู้คน ต่างหมู่เหล่าต่างภูมิภาคจะต่างกัน
ไม่เหมือนความชอบธรรมที่ตั้งอยู่บนรากฐานของรัฐธรรมนูญ กฎหมายและระบบ
เพราะกฎหมายและระบบมีอันเดียว
....
อย่างมากก็อาจจะตีความแตกต่างกันเท่านั้น
และยุติได้โดยการยอมรับการตัดสินขององค์กรที่มีอำนาจหน้าที่

ข้อที่เก้า

เพื่อนผมเคยตั้งข้อสังเกตว่า
การเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบมีสองพรรคใหญ่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
ได้พัฒนาไปเร็วมาก...

แต่ตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจเสียแล้ว
เพราะความไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภาของพรรคการเมือง
ของปัญญาชน ของครูบาอาจารย์
รวมทั้งสื่อมวลชนที่เป็นกระแสหลักของประเทศที่จะเป็นผู้นำทางความคิด..........

ที่เห็นชัดก็คือ ยังชอบระบบการเมืองที่เละๆ
มีรัฐบาลที่อ่อนแอ คอยเอาใจคนโน้นคนนี้
อ่อนน้อมถ่อมตน พูดจามีคารมคมคาย
จะมีผลงานหรือไม่ก็ไม่เป็นไร
ชอบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ
ไม่ต้องทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
..........

ข้อที่สิบ เพื่อนผมเคยตั้งข้อสังเกตว่าการเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบมีสองพรรคใหญ่ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้พัฒนาไปเร็วมาก แต่ตอนนี้ชักจะไม่แน่ใจเสียแล้ว เพราะความไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภาของพรรคการเมือง ของปัญญาชน ของครูบาอาจารย์ รวมทั้งสื่อมวลชนที่เป็นกระแสหลักของประเทศที่จะเป็นผู้นำทางความคิด

ที่เห็นชัดก็คือยังชอบระบบการเมืองที่เละๆ มีรัฐบาลที่อ่อนแอ คอยเอาใจคนโน้นคนนี้ อ่อนน้อมถ่อมตนพูดจามีคารมคมคาย จะมีผลงานหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ชอบที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยๆ ไม่ต้องทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันคุยกับเพื่อนอเมริกันเที่ยวนี้ผมรีบตัดบทแล้วรีบลากลับก่อนเขาจะพูดจบ

จากคุณ : นางสาวหมอนทอง





 

Create Date : 26 มิถุนายน 2549
0 comments
Last Update : 26 มิถุนายน 2549 14:30:29 น.
Counter : 734 Pageviews.

 

~ Passer By ~
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ~ Passer By ~'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com