<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 มิถุนายน 2549
 

++ตอบจดหมายเรื่อง ปรส. ++

++ตอบจดหมายเรื่อง ปรส. ++โดย ดุสิต ศิริวรรณ
**บทความดีๆจาก หนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ คิดระหว่างวัน ประจำวันที่ 31/5/2549
โดย ดุสิต ศิริวรรณ


++ ตอบจดหมายเรื่อง ปรส.++

ผมได้รับจดหมายของคุณปวีณา ตันสมบุญ ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2549 ส่งไปที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และผมได้เก็บจดหมายเอาไว้นานพอสมควร โดยจะหาจังหวะที่จะตอบจดหมายของคุณปวีณาให้กระจ่างชัด ตามที่ได้ขอให้ผมเขียนเล่าเรื่อง ปรส. (องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน) อย่างย่อๆ ในคอลัมน์ “คิดระหว่างวัน”

คุณปวีณาได้ให้เหตุผลว่า มีประชาชนอีกหลายคนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับ ปรส. ว่า เกิดขึ้นสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัยชุดที่ 2 หรือสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กันแน่ ? เพราะจากคำให้สัมภาษณ์ของนักการเมืองบางคนทำให้เกิดความสับสน อีกทั้งคุณปวีณาได้ไปหาซื้อหนังสือ “ฉีกหน้ากาก ปรส.” จากแผงหนังสือหลายที่ ก็ได้รับคำตอบว่า “หมดแผง” ไปตั้งนานแล้ว

คอลัมน์ของผมวันนี้ จึงขอสนองตอบต่อข้อเสนอแนะของคุณปวีณา ที่อยากจะให้ผมเล่าเรื่อง ปรส.อย่างย่อๆ พอเป็นสังเขป โดยจะขอเริ่มที่ปลายสมัยรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ภายหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจการเงินครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ตราพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 เป็นผลให้มีการจัดตั้ง “องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน” โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ

1. แก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
2. ช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ
และ 3. ชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้

แต่ยังไม่ทันที่ปรส. จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นนี้ ก็ปรากฏว่า รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ก็เกิดอาการ “ใจเสาะ” ลาออกจากความเป็นรัฐบาลเอาดื้อๆ โดยไม่บอกกล่าวกับพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลในขณะนั้นแต่อย่างใด จึงเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่ต้องไปดูดเอา “กลุ่มงูเห่า” จากพรรคประชากรไทย มาอย่างหน้าตาเฉย โดยที่หัวหน้าพรรคประชากรไทยขณะนั้นคือ นายสมัคร สุนทรเวช ไม่ประสงค์จะเข้าร่วมรัฐบาลด้วย ถึงแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะให้แกนนำของพรรคไปงอนง้อถึงหน้าบ้านนายสมัครเป็นเวลานานหลายชั่วโมงก็ตาม นายสมัคร ก็ไม่เกิดอาการใจอ่อนแต่ประการใด

เมื่อนายชวน หลีกภัย จัดตั้งรัฐบาลอย่างทุลักทุเลได้แล้ว ก็เข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังจากการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ก็เป็นผลทำให้ ปรส. เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนในช่วงเวลาที่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินเป็นสมัยที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2540 จนถึงต้นปี 2544 โดยมีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ผู้บริหาร ปรส. หลายคน ได้ทำอะไรไว้เป็น “ตราบาป” ให้กับประชาชนชาวไทยตาดำๆ และเป็นภาระให้กับประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ต้องไปชดใช้หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินแทนความเสียหายที่ ปรส. ได้ก่อขึ้น เป็นจำนวนกว่า 6 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลนายชวนชุดนั้น ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใดทั้งสิ้น

เมื่อประชาชนทั้งประเทศ ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว จะได้รู้เช่นเห็นชาติกันเสียทีว่า ไอ้พวกนักการเมืองหน้าไหนบ้าง ? ที่มันดีแต่ใช้วาทกรรม แต่ไม่ยอมรับผิดชอบใดๆ ในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชาติบ้านเมืองของเรา

จากคุณ : วิสัยทัศน์






 

Create Date : 03 มิถุนายน 2549
0 comments
Last Update : 3 มิถุนายน 2549 12:43:38 น.
Counter : 495 Pageviews.

 

~ Passer By ~
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ~ Passer By ~'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com