ประโยชน์ของชา
ประโยชน์ของชาทางการแพทย์

ชาทั่วไป

ผลต่อลําไส้ ชาเขียว ชาอูลอง และชาดํา ล้วนสามารถระงับอาการท้องเสีย และลําไส้อักเสบได้ ซึ่งคิดว่าฤทธิ์ดังกล่าวมาจาก tannin ในใบชา ซึ่งต่อต้านจุลินทรีย์
การต้านการอักเสบและการติดเชื้อ Polyphenol ในชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เซลล์ที่มีการ อักเสบจะสร้าง Oxidant เช่น superoxide anion radicals ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น hydrogen peroxide โดย superoxide dismutase เป็นต้น ภายในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil นั้น hydrogen peroxide และ chloride จะถูกเปลี่ยนเป็น hypochlorous acid โดย myeloperoxidase เพื่อทําลายเชื้อแบคทีเรีย Superoxide anion สามารถทําปฏิกิริยากับ nitric oxide ได้เป็น peroxynitrite ซึ่งเป็น nitrating และ oxidizing agent ที่สําคัญ โดยที่
Hypochlorous acid และ peroxynitrite ต่างทําปฏิกิริยากับกรดอะมิโน ชนิดไทโรซิน ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ สถาบันอาหาร โทร. 02-886-8088 ต่อ 316 //www.nfi.or.th (Tyrosine) ณ บริเวณที่เกิดการอักเสบ ดังนั้นโปลีฟีนอลจึงช่วยลดปริมาณของ Reactive
oxygen species และ Reactive nitrogen species รอบๆ บริเวณที่เกิดการอักเสบ
การป้องกันฟันผุ Polyphenol ในชา ป้องกันฟันผุได้ โดยการยับยั้งการเกาะติดฟันของ Streptococcus mutans และ Streptococcus sobbrinus โดยการยับยั้ง glycosyl transferase activity ทําให้ ขัดขวางการสร้าง glucan ซึ่งปกติแล้ว sucrose จากอาหารที่รับประทานเข้าไป เมื่อทําปฏิกิริยากับ glucosyl transferase จะได้ glucan ซึ่งเป็นสารเหนียว glucan จะเกาะติด แน่นที่ฟัน ตัวเชื้อเองก็สามารถสร้าง glucan binding lectin ซึ่งจะทําให้เซลล์มาเกาะติดมาก ขึ้น ระหว่างที่มีกระบวนการสร้างและสลาย จะมีการสร้างกรดซึ่งทําลายเคลือบฟัน เป็นสาเหตุให้ฟันผุ ชาป้องกันฟันผุโดยทําให้ระดับกรดที่ tooth enamel ลดลง ดังนั้นอาหารหรือนที่มี green tea extract ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 0.1 ช่วยทําให้สุขภาพช่องปากดี และ EGCG มีคุณสมบัติระงับกลิ่นจึงช่วยทําให้ลมหายใจสดชื่น
ชาเขียว

การยับยั้งและป้องกันมะเร็ง
การลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
การเพิ่ม insulin activity
การป้องกันเบาหวาน
การช่วยให้น้ำหนักลดลง
การป้องกันความผิดปกติของผิวหนัง
การป้องกันโรค Parkinson และ Alzheimer
การกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
การมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
การป้องกันฟันผุ
ผลข้างเคียงและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

Polyphenol ในชาทําปฏิกิริยากับเหล็ก เกิดสารประกอบที่ไม่ละลายน้ำทําให้ยับยั้งการดูดซึมของเหล็กในลําไส้ ควรให้ชาและเหล็กแยกกัน ดังนั้นการดื่มชาควรดื่มระหว่างมื้อดีกว่าดื่มพร้อมอาหาร การกิน ยาเม็ดเหล็กเพื่อบํารุงก็ไม่ควรกินพร้อมกับน้ำชา ควรใช้น้ำเปล่า Quercetin และ EGCG ปริมาณ 10 M ป้องกัน DNA จาก 25 M ได้ แต่ถ้าใช้ ความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเป็น 100 M สามารถทําลาย DNA ได้ ชายังมีคาเฟอีน ดังนั้นคนที่ไวต่อคาเฟอีนอาจต้องระวัง ส่วนหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรจํากัด ปริมาณการดื่มชาด้วย เพราะสารในชาจะขับออกทางน้ำนมทําให้ทารกที่ดุดนมมารดา อาจนอนหลับผิด ปกติและเกิดภาวะโลหิตจางได้ ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารจะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ อาหารมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วผู้ที่รับประทานยา aspirin, warfarin, clopidogrel เป็นประจํา ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดและการเกาะกันของเกล็ดเลือด

ปริมาณการบริโภคที่เหมาะสม

ปริมาณใบชาที่ชงต่อถ้วย ชนิดของใบชา อุณหภูมิน้ำร้อน เวลาที่แช่อยู่ในปั้นชา หรือโถน้ำร้อน ล้วนมีอิทธิพลต่อปริมาณของ Catechin ที่คนเราจะได้รับจากการดื่มชา การชงชา gunpowder 1 กรัม ต่อน้ำร้อน 100 มิลลิลิตร จะพบ catechin 70 มิลลิกรัม และ flavonols 4 มิลลิกรัม Fujiki และคณะ เสนอ แนะว่าการดื่มชาเขียว 10 ถ้วยต่อวันจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่คนเอเชียส่วนใหญ่ดื่มชาเพียง 3 ถ้วย
ต่อวัน โดยใช้ชา 1 - 2 ช้อนชาต่อถ้วย แช่น้ำร้อนนาน 3 นาที จะได้ polyphenol 240 - 320 มิลลิกรัม หรือ EGCG 100 - 200 มิลลิกรัม และควรดื่มในช่วงระหว่างมื้ออาหาร จะให้ผลดีกว่าดื่มพร้อมมื้ออาหารหรือ ดื่มหลังอาหาร ซึ่งบางคนอาจต้องรับประทานยาหลังอาหาร จึงอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสาระสําคัญ ในชาเขียว สําหรับชาเขียวที่เป็นเครื่องดื่มสําเร็จรูปที่จําหน่ายนั้น มิได้ระบุปริมาณใบชาที่แท้จริง แต่จาก การชิมรสและสังเกตสี พอจะประมาณได้ว่าใบชาที่ใช้ต้องน้อยและเจือจางมาก มีรายงานว่าน้ำชาที่ชงมีโปลีฟีนอล 40 % ของ dry matter ซึ่งชามี dry matter เพียง 0.35 % ดังนั้นการจะหวังพึ่งสรรพคุณ Polyphenol คงจะเป็นไปไม่ได้การเติมน้ำตาลและคาเฟอีนลงในน้ำชาเขียวก็คงไม่ต่างไปจากเครื่องดื่มสําเร็จรูปอื่นๆ ถ้าจะดื่มเพื่อดับกระหายนานๆ ครั้งได้ ไม่ควรจําเจซ้ำซากบ่อยๆ

ตารางที่ 1 ส่วนประกอบของน้ำชาที่ชง (Tea infusions) in % of dry matter


Green tea %
Black tea %
Polyphenols


Catechins
30
9
Theaflavins
…..
4
Simple polyphenols
2
3
Flavonols
2
1
Others
6
23
Nitrogenous compounds
Caffeine
3
3
Other methylxanthines
<1
<1
Theanine
3
3
Amino acids
3
3
Peptides, proteins
6
6
Organic acids
(oxalic, malic, citric, isocitric, succinic acids)>
2
2
Sugars
7
7
Other carbohydrates
4
4
Lipids
3
3
Potassium
5
5
Other minerals/ash
5
5
Aroma
trace
trace
Harbowy and Balentine, Crit. Rev. Plant Sci 1977, 16:415 (dry matter content 0.35%)

ตารางที่ 2 แสดงองค์ประกอบของใบชา

ใบชาสด ประกอบด้วย
75-78%
(Dry matter 22-25%)
ใบชาแห้งมีสารอินทรีย์
93-96%
สารอนินทรีย์
4-7%
สารอินทรีย์ ได้แก่
โปรตีน 20-30%
กรดอะมิโน
1-4% (Theanine)
อัลคาลอยด์
3-5% (Caffeine)
โปลีฟีนอล
20-35% (Catechin)
คาร์โบไฮเดรต
20-25% (Polysaccharide)
กรดอินทรีย์
3% (Oxalic,malic,citric)
ไขมัน
8%
เม็ดสี
1%
สารประกอบกลิ่น
0.005-0.03%
วิตามิน
0.6-1% (ADEKB2C)
สารอนินทรีย์ ได้แก่ โปตัสเซียม
1.76%
แคลเซียม
0.41%
ฟอสฟอรัส
0.32%
แมกนีเซียม
0.22%
เหล็ก
0.15%
แมงกานีส
0.12%
ซัลเฟอร์
0.088%
อลูมิเนียม
0.069%
โซเดียม
0.03%
ซิลิกอน
0.024%
สังกะสี
0.003%
ทองแดง 0.002%
เป็นต้น






ข้อมูลจาก //www.gmwebsite.com



Create Date : 09 สิงหาคม 2552
Last Update : 9 สิงหาคม 2552 0:10:20 น.
Counter : 617 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog