Nonplay .. บันทึก ความเรียง เรื่องของ หนังสือ ศิลปะ ดนตรี กับข้าว ธรรมะ ฯลฯ

 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
21 กรกฏาคม 2549
 

โศกเศร้าอาดูรของเชลโล่ (3)

หน้าแรก ชายลังเล Webblog -->ดัชนี "แว่วเสียงดนตรี"


บทความก่อนหน้านี้ โศกเศร้าอาดูรของเชลโล่ (2)


ปกซีดี Janos Starker เป็นนักเชลโล่อีกคนที่มีชื่อเสียง ในแผ่นนี้เป็นแผ่นของ Mercury Living Record ซึ่งให้สุ้มเสียงที่ถูกใจผมมาก ฟังกับเครื่องเสียงราคาถูกๆของผมยังให้เสียงดี ถ้าได้ฟังกับชุดดีๆ คงได้บรรยากาศ

ชูมานน์ ว่ากันว่า ก่อนจะหลุดล่วงสู่ความไร้สติสัมปชัญญะ บางบทเศร้าเขาบรรยายผ่านเชลโล่คอนแชร์โต (Op 129) หรือกระทั่งงาน 5 ชิ้น เปียโน-เชลโล่ (Op 102) ซึ่งถือเป็น popular style ในบท langsam ก็ไม่วายเว้นระบายความเหงาบางๆและหวามไหว คล้ายรำพึงถึงความไม่แน่แท้แห่งชีวิต แต่ก็ไม่สามารถก้าวพ้นมันไปได้ ทั้ง 5 เพลงนั้นเป็นการบรรเลงระหว่างเปียโนกับเชลโล่ เป็นบทเพลงสั้นๆกินเวลาประมาณ 2-5 นาที ท่วงทำนอง ไพเราะ สวยงาม เน้นถึงห้วงอารมณ์โดยเฉพาะเสียงอันเงียบขรึม เจือความเศร้าของเชลโล่เป็นสำคัญ เพลงที่ 2 langsam นั้นครั้งหนึ่งผมฟังแผ่นที่บรรเลงโดย Pablo Casals พร้อมทั้งอ่านประวัติที่เข้มข้น โดดเดี่ยว ของเขา ผมรู้สึกคิดไปว่าเพลงชุดนี้ จะมากจะน้อย น่าจะแทนความเป็นตัวของตัวเองของพาโบล้ พูดได้ว่า เห็นภาพของชายร่างเล็กคนหนึ่ง ในความเป็นนักเชลโล่ ความอ่อนไหวของศิลปินแต่ก็ยืนหยัดเป็นตัวของตัวเอง ต่อต้านเผด็จการ ลึกซึ้งในดุริยางค์ศิลป์ แต่ก็มากด้วยความรู้สึก สัมพันธภาพ นั้นคือ Pablo Casals

ชูมานน์ประพันธ์เชลโล่คอนแชร์โต้ Op.129 ที่เต็มไปด้วยอารมณ์โศกเศร้า ก่อนที่เขาเองจะวิกลจริต ล่วงหล่นสู่หุบเหวแห่งการไร้สติสัมปชัญญะ และเคยพยายามกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย

รัคมานินออฟ คีตกวีผู้มีความโศกเศร้าเป็นนิจเล่า ใช่ต้องการระบายอารมณ์กับบทเพลงด้วยเชลโล่หรือไม่? เป็นที่รู้กันว่าหลังที่เปียโนคอนแชร์โต้หมายเลข 1 ของเขาได้รับการพรีเมียร์ เขาถูกวิจารณ์อย่างหนัก การสูญเสียความมั่นใจ นั้นเป็นความแตกร้าวประการหนึ่งหรือไม่? และผลของมันอาจจะฝังลึกเป็นประสบการณ์แห่งความเจ็บช้ำ รัคมานินออฟ ผู้ทรนง ศิลปินหน้าตายที่ไม่ยอมให้ใครแก้ไขสกอร์ของเขาเอง แม้แต่สมัยเป็นนักเรียนดนตรีก็ไม่ยอมให้ครูแก้ไขงานประพันธ์ของเขา การยืนหยัดเป็นตัวของตัวเองก็มีวันปวดร้าว!! หรือนี่จึงเป็นที่มาของข้อสรุปที่ว่า คีตกวียุคโรแมนติกระบายอารมณ์ลงในบทเพลงของเขา??

ในบทเพลง Cello Sonata in G minor, Op. 19 เป็นคอนแชร์โต้ 4 ท่อน แม้ว่ากำหนดความเร็วในจังหวะ allegro ถึง 3 ท่อน แต่ดูเหมือนจะออกไปทางช้า เศร้า และเต็มไปด้วยอารมณ์มากกว่า ทุกๆท่อน เชลโล่เฝ้าแต่ระบายความเศร้าออกมาในสำเนียง ถ้าหากเป็นการรำพึงรำพันนั่นคงเป็นการพิร่ำพิไรของคนเศร้าผู้มิรู้จักวางวายแล้ว

ใช่แต่ผู้ประพันธ์หลายคนที่มีชีวิตอยู่ด้วยความเศร้า กระทั่งเจ็บป่วยทางจิตใจ.. ผู้บรรเลงเองก็ไม่น้อยเช่นกันที่มีชีวิตในบทคล้ายคลึงกัน... พวกเขาเป็นเช่นเชลโล่ตัวหนึ่งหรือไม่??

ชั่วระยะเวลาที่พาโบล้ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส ใช่เปี่ยมด้วยความสุขหรือ?? การยึดมั่นหลักการบางคราวก็ต้องแลกกับความเจ็บช้ำบางประการ และบางทีก็อาจจะเข้าใจได้ว่าทำไมพาโบล้ที่มีพรสวรรค์ด้านการบรรเลงเชลโล่ ยิ่งเปล่งประกายผ่านบทเพลงที่เขาบรรเลง หรือว่าเขาระบายความรู้สึกนั้นผ่านเชลโล่

แม้ว่าในงานปราเด้ส์เฟสติวัลที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อนพ้องนักบรรเลงระดับ Virtuoso มากหน้าจะยินดีอย่างยิ่งที่จะได้บรรเลงกับพาโบล้ แต่ใครจะบอกได้ว่านั้นกลบอารมณ์โหยหาบ้านเกิดของคนพลัดถิ่น ของคนที่มีบ้านเกิดแต่ไม่สามารถข่มความรู้สึกของตนเองให้กลับไปเยี่ยมเยียน เช่นเดียวกับความรู้สึกของนายผี ‘ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ นำรักจากห้วงดวงใจของข้านี้ไปบอกเขานำนา ให้เมืองไทยรู้ว่าไม่นานลูกที่จากมาจะไปซบหน้ากับอกแม่เอย.’ ใช่ว่าเสียงจากเชลโล่ของพาโบล้จะแทนสื่อส่งความรู้สึกนั้นกลับสู่บ้านเกิดหรือไม่

อา.. โศกเศร้าอาดูรของเชลโล่..



Create Date : 21 กรกฎาคม 2549
Last Update : 28 กรกฎาคม 2549 15:59:01 น. 1 comments
Counter : 515 Pageviews.  
 
 
 
 
ชอบเสียงเชลโล่มากค่ะ มันดูอบอุ่น แม้เพลงเศร้าก็เถอะ ไม่รู้สิคะ ^^
 
 

โดย: BEI IP: 61.7.134.242 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:18:57:39 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

ยามครับ
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยามครับ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com