Nonplay .. บันทึก ความเรียง เรื่องของ หนังสือ ศิลปะ ดนตรี กับข้าว ธรรมะ ฯลฯ

 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 กรกฏาคม 2549
 

ชม piano recital/ ฟัง piano music (3)

หน้าแรก ชายลังเล Webblog --> ดัชนี "แว่วเสียงดนตรี"


บทความก่อนหน้านี้ ชม piano recital/ ฟัง piano music (2)



การฟังเปียโนโซนาต้าให้ไพเราะนั้น ต้องเข้าใจถึงงานเพลงและวิธีการแต่งเพลงของคีตกวีก่อน ตรงนี้อีกแล้วครับ ถ้าหากสนใจรายละเอียดลึกๆต้องอ่านการเรียบเรียงของคุณ ลุดวิก ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับโซนาต้าไว้เยอะทีเดียว โดยสรุปแล้ว ในงานเพลงคลาสสิก ดนตรีในรูปแบบโซนาต้า จะมีการเริ่มต้น บทแนะนำ แล้วก็ค่อยนำเข้าสู่เรื่องราว อธิบายรายละเอียด หลังจากนั้นก็จะแตกแยกย่อยรายละเอียดออกไป เสร็จแล้วจึงขมวดปมกลับมาเป็นการสรุปทิ้งท้าย นำผู้ฟังเข้าสู่ไคลแม๊กซ์ อีกที การฟังเลยต้องใช้อารมณ์ในการตามชิ้นงาน เรียกว่าต้องฟังกันให้ครบทั้ง 3 ท่อน ถึงจะได้อรรถรส

อย่าว่างั้นงี้เลยครับ หลักการน่ะพอทราบ แต่เวลาฟังจริงๆ มีหลายเพลงเลยที่ผมฟังแล้วก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน รู้แต่ว่าไพเราะ แต่ยังจับสาระที่คีตกวีเขาแทรกไว้ในเพลงไม่ได้ บางทีการฟังเพลงจะเอาจริงเอาจังมากก็ไม่ได้ ขอเพียงฟังแล้วผ่อนคลาย มีความสุข หรือบางครั้ง มีจินตนาการบ้างก็ถือว่าดีแล้วครับ

ฟังงานพวกเปียโนโซนาต้า (หรืองานเพลงคลาสสิกอื่นๆ) ต้องมีสมาธิ ผมชอบฟังตอนกลางคืน ในบรรยากาศเงียบๆ สบายใจ ค่อยๆฟังจับอารมณ์เพลงไปเรื่อย อาจจะเลือกที่หมายเลขใด หมายเลขหนึ่ง แล้วฟังให้ครบทั้ง 3 ท่อน

การชมการแสดงสดทำให้เห็นลีลาการบรรเลงเปียโนของนักดนตรี ตรงนี้ก็เป็นอีกอรรถรสหนึ่งของการชมดนตรี งานนี้ผมซื้อตั๋วไว้นานแล้ว ได้ตำแหน่งที่นั่งที่คิดว่าดีมากสำหรับการชมทีเดียว คือ นั่งฝั่งซ้ายแต่แถบตรงกลาง ทำให้เห็นลีลาการแสดงของนักดนตรีได้ชัดเจน

แต่การฟังเครื่องเสียงกับการดูคอนเสิร์ตก็คนละอย่างกันนะครับ การฟังจากเครื่องเสียงนั้น โดยเฉพาะถ้าหากปิดไฟทั้งหมด เราจะมุ่งเน้นไปที่เสียงที่ได้ยินอย่างเต็มที่ ประสาทจะไม่ถูกแยกแยะ ถ้าหากดื่มด่ำกับรสของดนตรี ก็จะเต็มที่ แต่ถ้าหากชมการแสดงสด เราอาจจะมุ่งฟังคนเล่น หรือดูคนเล่นทำให้ความสามารถในการฟังลดลง

นักเปียโนรับเชิญ คนถัดมา ลีลา ศักดิ์เจริญ นำเสนอเพลงของ คีตกวีที่ได้ชื่อว่าเศร้าโศกเป็นนิจ รัคมานินออฟ กับบทเพลง Prelude in G-Sharp minor Op. 32 No. 12 บทเพลงเพรลูดนั้น มีที่มาจากการเป็นดนตรีสำหรับ “นำ” เข้าสู่ดนตรีประกอบเรื่องราว แต่ว่าทั้งรัคมานินออฟและโชแปง ต่างก็มีเพรลูดที่ไม่ได้นำเข้าสู่ดนตรีชิ้นหลักหรือเรื่องราวใดๆ คือ มีเพรลูดให้ฟังเฉยๆ อย่างรัคมานินออฟ ประพันธ์ เปียโนโซนาต้าเพียง 2 หมายเลข แต่มีผลงานด้านเพรลูดถึง 13 หมายเลข ในจำนวนนี้มีหลายหมายเลขได้ไพเราะ แผ่นคลาสสิกประเภท “เพื่อการพักผ่อน for relaxing” มักมีงานเพรลูดของรัคมานินออฟเสมอ

อีกชิ้นงานหนึ่งที่ ลีลา นำมาแสดงคือ Etudes-tableaux ของ รัคมานินออฟเช่นกัน รัดมานินออฟเขียนบทเพลง Etude ซึ่งเป็นบทเพลงเปียโนสำหรับการฝึกหัดเทคนิคการเล่นเปียโนอย่างใดอย่างหนึ่ง ไว้หลายหมายเลข แต่ละหมายเลขนั้น ในด้านของผู้เล่นเอง ต้องใช้เทคนิคเพื่อการฝึกปรือ ในด้านของผู้ฟังเอง งาน Etude หลายๆงานมีความไพเราะ – แต่ Etude ที่ไพเราะ และได้รับความนิยมที่สุด ไม่น่าจะพ้นไปจากงานของโชแปง

แล้วก็มาถึงรายการสำคัญ เจ้าของงาน Piano Recital ในงานนี้ ยศพล คุณะวิภากร ซึ่งเลือกเอางานของบราห์มส Klavierstuck ( Piano piece) มาเล่น ไม่ผิดหวังเลยครับ ทั้งเทคนิค วิธีการเล่น รวมไปถึงอารมณ์ของเพลง บราห์มสเป็นหนึ่งในคีตกวีที่ยิ่งใหญ่ของโลก งาน Op.118 ที่นำมายศพลนำมาเล่นครั้งนี้ ประกอบด้วย Intermezzo 4 หมายเลข , Ballade 1 หมายเลข , Romanze 1 หมายเลข ไพเราะ สุขุม นุ่มลึก สมกับที่เป็นงานของบราห์มส , Op 118 เป็นงานท้ายของบราห์มสแล้ว ว่ากันว่า บราห์มส ผ่านประสบการณ์การแต่งเพลงมามากพอ แล้วก็ผลิตผลงานเยี่ยมๆในชุดท้ายๆนี่มากทีเดียว โดยเฉพาะงานประเภท Intermezzo ซึ่งจริงๆเป็นงานประเภท popular music แต่บราห์มส์ ก็ทำงานออกมาได้ไพเราะ

งานของบราห์มสที่มีชื่อเสียงคือ ซิมโฟนี ,คอนแชร์โต้ แต่จริงๆแล้วบราห์มสก็แต่ง piano work ไว้มากพอสมควร โดยเฉพาะในลำดับสุดท้าย เช่น Op.117 , Op.118 ซึ่งเป็นงานเปียโน (piano piece) พวก intermezzo , ballade พวกนั้น ไดรับการยอมรับว่าเป็นงานที่สุขุม ลึกซึ้ง

ทิ้งท้าย ฟัง piano music
บทความนี้อาจจะยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด เพราะหลักๆแล้วจะพูดถึง piano recital ทีผมได้ไปดูมา :-) ที่จริง ถ้าหากฟังดนตรีคลาสสิก ประเภทเดี่ยวเปียโน นั้นก็จะพบว่า ประเภทของงานจำแนกออกได้หลากหลาย ของโชแปง งานเดี่ยวเปียโนก็มีตั้ง 4-5 ประเภทไปแล้ว (เป็นคนเดียวที่ทำงานได้หลากหลาย แต่ก็เน้นเปียโนอย่างเดียว)

piano sonata ที่พูดถึง จะหาฟังได้ง่ายที่สุด แต่ sonata ก็ไม่ใช่เพลงที่ฟังง่ายที่สุด เพราะโซนาต้ามีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน นับแต่ยุคบาโร๊ค จึงมีแบบแผน รูปแบบการประพันธ์มากมาย ตัวอย่างเช่น มี 3 ท่อน ท่อนแรกกับท่อนหลังอาจจะฟังยาก เหลือแต่ท่อนกลางที่ฟังง่ายๆ เพราะ สำหรับการฟังเพื่อการพักผ่อนหรือสุนทรีย์ บางทีฟังแต่ท่อนช้าๆ ที่มีคำกำหนดจังหวะว่า andante, adagio , largo นั้นจะไปกันได้กับอารมณ์ที่สุด

ขอแนะนำเว็บไซต์รายการเพลง 100 เพลงคลาสสิกเปียโนที่ควรหามาฟัง (ในการสำรวจ เขาบอกว่า เพลงเหล่านี้ บางคนต้องตายแน่ๆ ถ้าไม่ได้ฟัง 5555 อะไรมันจะขนาดนั้น) ให้สังเกตลำดับที่ 1-20 ครับ จะเห็นรายการ piano music ที่หลากหลาย ทั้ง sonata , impromptu , fantasia ,polonaise, nocturne , ballade ,etude เหล่านี้เป็นการบรรเลงเปียโนเดี่ยวในรูปแบบต่างๆทั้งสิ้น



ระหว่างมาแก้ไขเอกสารในช่วงสุดท้ายนี้ ผมนั่งฟัง moment musicaux D780 ของชูเบิร์ต นี่เป็นอีกประเภทหนึ่งของงานบรรเลงเปียโนคลาสสิก ฟังด้วยความรู้สึกว่าไพเราะมากกว่าจะเอาจริงจัง ..

บางเวลาเราก็เครียดเกินไปใช่มั้ยครับ?? ฟังดนตรีเบาๆ สบายๆ ผ่อนคลายดีกว่า


Create Date : 18 กรกฎาคม 2549
Last Update : 19 กรกฎาคม 2549 8:00:45 น. 2 comments
Counter : 835 Pageviews.  
 
 
 
 


แวะมาอ่านข้อมูลค่ะ


 
 

โดย: renton_renton วันที่: 19 กรกฎาคม 2549 เวลา:19:56:09 น.  

 
 
 
เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอย่างข้าพเจ้ายิ่งนัก ... น้อมคารวะ
 
 

โดย: มดส้มจ่อย (มดส้มจ่อย ) วันที่: 26 มกราคม 2551 เวลา:17:40:44 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ยามครับ
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยามครับ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com