|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
นมแม่
ขอบคุณ คุณจีน สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เก็บไว้อ่านค่ะ
1. เบบี๋แรกเกิด จะมีอาหารสะสมมาจากท้องแม่ สามารถอยู่ได้โดยไม่กินอะไรเลยเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ถ้านมแม่ยังไม่มาให้ดูดกระตุ้นเรื่อยๆ ทุก 2 ชม. ไม่ต้องล่กรีบชงนมให้หม่ำก็ได้จ้า 2. ขนาดเต้า บึ้มไม่บึ้มไม่เกี่ยวกับปริมาณน้ำนม.... นมบึ้มๆ ส่วนใหญ่คือ FAT!!! 3. ถ้านมคัดจนไม่ไหว บรรเทาด้วยการใช้กาบกะหล่ำปลีรองไว้ด้านในเสื้อใน กะหล่ำปลีมีสารช่วยลดการอักเสบ ลดการสร้างน้ำนม ช่วยได้จริงๆ นะ เจ๋งกว่าประคบร้อนเย็นอีกล่ะขอบอก! 4. แม่สามารถดื่มชากาแฟ วันละแก้วโอเคนะ ไม่อันตราย อาหารเผ็ดก็หม่ำได้แต่อย่าเผ็ดเกินไปเดี๋ยวลูกแสบตรูด ยกเว้นอาหารที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นภูมิแพ้ 5 ชนิดคือ นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล ถั่วลิสง 5. รู้มั้ยว่าในเต้าหู้แผ่นมีแคลเซียมมากกว่านมวัว แม่ให้นม ฉะนั้นแม่ท้องควรกินเต้าหู้ๆๆๆๆ 6. แม่ที่โด๊ปนมวัวเยอะ อาจมีนมวัวรั่วมาสู่เบบี๋ได้ ควรงดกินนมวัวตั้งแต่ท้องระยะ 3 เดือนสุดท้ายเลยนะจร้า 7. เบบี๋ที่ดูดนมจากเต้าไม่ได้ เช่นแม่หัวนมแตก ต้องป้อนด้วยการจิบจากแก้วยา หลอดฉีดยา หรือช้อนเท่านั้น ห้ามใช้ขวดนมในเด็กอายุไม่ถึง 1 เดือนเพราะจะทำให้สับสนการดูดเต้าและขวด 8. เบบี๋อายุครบ 1 เดือนครึ่งควรเริ่มหัดให้กินนมจากขวด เพื่อไม่ให้ติดเต้า แม่ก็จะได้เตรียมตัวไปทำงานได้ในเดือนที่ 3 สบายๆ 9. วิธีอุ้มให้เบบี๋ดูด ลำตัวต้องตะแคงเสมอ ไม่ใช่นอนหงายบิดแต่หัวเข้าดูดนมนะจ๊ะ 10. การดูดนมผิดวิธีจะทำให้หัวนมแตกได้ การดูดนมที่ถูกคืองับเข้าไปให้มิดลานนมให้ปากคุณลูกบานเหมือนปากปลา 11. ถ้าหัวนมแตก ช่วยได้โดยบีบน้ำนมทาหัวนมแล้วพัดให้แห้งไม่ต้องล้างออก (อันนี้ช่วยได้จริงนะ ลองมาแล้ว เวิร์คค่า!!!)ระยะที่ให้นมลูกห้ามฟอกสบู่ที่หัวนมเพราะจะทำให้ผิวบริเวณนั้นแห้ง เป็นแผลได้ง่าย ให้ล้างน้ำเปล่าก็พอ 12. กินนมแม่ ไม่ต้องกินน้ำตาม เพราะในนมแม่มีสารเคลือบในปากเพื่อไม่ให้ติดเชื้ออยู่ และปริมาณน้ำในนมแม่มีอยู่ถึง 80% แก้กระหายไปในตัวเรียบร้อยแล้วค่ะ 13. เบบี๋ที่กินนมแม่จะมีอึสีเหลืองเสมอ... เพราะธาตุเหล็กที่มาพร้อมนมแม่ย่อยหมดไปได้กำลังดีไม่มีตกค้างในลำไส้ (ธาตุเหล็กทำให้อึกมีสีเข้ม) ในนมผสมจะมีธาตุเหล็กที่มากเกินไป อาจจะตกค้างในลำไส้เป็นอาหารของจุลินทรีย์ในกรณีติดเชื้อท้องร่วงได้ 14. นมแม่สามารถเทสะสมในช่องธรรมดาได้ 24 ชั่วโมงแล้วแช่ จะสะดวกกว่าปั๊มแช่ ปั๊มแช่ทุกครั้ง 15. ที่ปั๊มนมก็ไม่ต้องปั๊มล้าง ปั๊มล้างทุกครั้ง... สามารถปั๊มเสร็จแล้วใส่ทัพเปอร์แวร์แช่ฟรีซไว้ได้เพื่อพร้อมใช้ครั้งต่อไปได้จ้า วันนึงล้าง นึ่งครั้งเดียวก็พอแระ 16. การเก็บนมควรแยกฟรีซเป็นถุงแบบพอกินใน 1 มื้อเช่น 3 ออนซ์ 4 ออนซ์ 17. ช่องฟรีซตู้เย็น 1 ประตูเก็บนมได้ 1 เดือน, 2 ประตูเก็บนมได้ 3 เดือน, ตู้แช่ไอติมได้ 6 เดือน - 1 ปี 18. นมที่ฟรีซไว้จะแยกชั้น ไขมัน และน้ำ ไม่ต้องตกใจคิดว่านมเสียถ้าเห็นมีชั้นไขมันเหลืองๆ อยู่ด้านบนของนมที่แช่ 19. ระยะเวลาการให้นมหลัง 2 เดือนควรปรับให้เป็นเวลา + ปริมาณต่ออายุเช่น 2 เดือน = 3 ออนซ์/3ชั่วโมง, 3 เดือน = 4 ออนซ์/4 ชั่วโมง จะทำให้แม่สามารถจัดแบ่งเวลาเพื่อเตรียมตัวไปทำงานได้สะดวกขึ้น 20. นมที่ฟรีซไว้ ก่อนใช้งานให้ย้ายลงมาชั้นธรรมดาเพื่อให้ละลายก่อนอุ่นในน้ำดีที่สุด 21. ห้ามเทนมใส่ในภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะแร่ธาตุในนมจะไปเกาะทำให้หมดคุณค่า ให้อุ่นทั้งถุงหรือขวดนั่นแหละ 22. นมที่ฟรีซไว้สามารถละลายแล้วเตรียมรอกินได้ประมาณ 4 ชั่วโมงที่อุณหูมิห้อง และ 24 ชั่วโมงที่ช่องแช่ธรรมดา แต่ห้ามนำไปฟรีซใหม่อีกครั้ง 23. ควรดื้อๆๆๆๆๆ กับปู่ย่าตายายที่พยายามจะให้เลี้ยงด้วยนมชง หนักแน่นเข้าไว้แล้วจะประสบความสำเร็จเด้อค่า
Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550 |
|
3 comments |
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2550 8:02:37 น. |
Counter : 528 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: แม่เดียร์ (anadiar ) 7 พฤศจิกายน 2550 17:58:43 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เราก้อให้ลูกทานนมแม่เหมือนกันคะ แต่ทานได้ แค่ 5 เดือน เราดันป่วยหนัก ลูกเลยไม่ได้ทานนม จากนั้นก้อเลยหย่านมไปเลยคะ