รักนะ.....จุ๊บๆ
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
30 ธันวาคม 2550

วิเคราะห์ระบบป้องันภัยทางอากาศแบบเอส-300แบบถึงแก่น ตอนที่3

Almaz S-300PS/PM / SA-10B Grumble B
Самоходный Зенитный Ракетный Комплекс С-300ПС/ПM
อัลมาส เอส-300 พีเอส/พีเอ็ม/เอสเอ-10บี กรัมเบิ้ล บี

ในขณะที่ทางฝั่งอเมริกา มีการพัฒนาทางสงครามอิเล็กทรอนิคส์และการกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศมากขึ้น อย่าง EF-111A ราเวน และ F-4G ไวลด์วีเซิล เป็นสิ่งกระตุ้นให้มีการพัฒนาระบบเอส-300พีทีเดิม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อต่อกรกับบ.ข้างต้น ในปี1982 กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศของสหภาพโซเวียต ได้เปิดตัวระบบเอส-300พีทีรุ่นปรับปรุง ซึ่งเป็นระบบอัตตาจรเต็มตัว ในชื่อ S-300PS (P- PVO, S - Samochodnyy/อัตตาจร) นาโต้เรียกมันว่า เอสเอ-10บี กรัมเบิ้ลบี



30N6 Flap Lid B



5P85SU TEL


S-300PS ได้นำเอาเรดาร์แบบ30N6 แฟลปลิดและแท่นยิงแบบ5P85 ย้ายจากรถพ่วง มาติดตั้งบนรถบรรทุกแบบ MAZ-7910 ซึ่งทำให้แท่นยิงสามารถพร้อมยิงได้ใน5นาที และสามารถหลบหนีจากเครื่องบินไวลด์วีเซิลของสหรัฐฯได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังได้นำลูกจรวดแบบใหม่ ที่พัฒนาจากแบบ5V55 2แบบ ได้แก่ 5V55KD และ 5V55R ซึ่งมีระยะยิง 29และ 56ไมล์ทะเลตามลำดับ ซึ่งนำวิถีด้วยระบบ TVM(Track-Via-Missiles:ติดตามผ่านมิสไซล์ หมายถึง ในลูกจรวดมีภาครับเรดาร์อยู่ จะรับสัญญาณเรดาร์จากเรดาร์ควบคุมการยิง และวิ่งเข้าหาตามเป้าหมายที่เรดาร์ภาคพื้นล็อคไว้ แต่ลูกจรวดจะไม่สามารถควบคุมทิศทางเป้าหมายได้เอง ลูกจรวดจะส่งข้อมูลของเป้าที่ลูกจรวดเองจับได้ส่งกลับมายังภาคพื้นดินผ่านทางดาต้าลิงค์ และ ทางภาคพื้นดินจะเป็นคนกำหนดเส้นทางการบินของจรวดตลอดเวลา ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือ รบกวนได้ยาก ข้อมูลของเป้าหมายเช่นความเร็ว ทิศทาง ความสูงของเป้าหมายจะแม่นยำมากกว่าข้อมูลที่เรดาร์จากภาคพื้นได้รับเพราะภาครับของลูกจรวดนั้นอยู่ใกล้กว่าทางภาคพื้นดินนั่นเอง อีกทั้งการคำนวณจากคอมพิวเตอร์ของภาคพื้นดิน ทำให้ลูกจรวด “ฉลาด”มากขึ้นเนื่องจากไม่โดนจำกัดด้วยขนาดเหมือนคอมพิวเตอร์ในลูกจรวด อีกทั้งยังได้เปรียบกว่าระบบแอคทีฟโฮมมิ่งเนื่องจากเรดาร์ภาคพื้น ทนต่อชาฟฟ์/แจมเมอร์ ได้มากกว่าเรดาร์ในลูกจรวดอีกด้วย –ผู้แปล)

วิธีการนำวิถีต่างจากเดิมจึงต้องการเรดาร์แบบใหม่ เพราะฉะนั้นจึงมีการปรับปรุงเรดาร์แฟลปลิด เป็นรุ่น บี ซึ่งเปลี่ยนจากเรดาร์ควบคุมการยิง(engagement radar)เป็นเรดาร์กำหนดเป้าหมายและนำวิถี Radiolokator Podsvieta i Navedeniya (RPN - Illumination and Guidance Radar) ซึ่งเรดาร์แฟลปลิดบี สามารถต่อตีเป้าหมายได้พร้อมกัน6เป้าหมาย นำวิถีจรวดได้2ลูกต่อ1เป้าหมาย ในมุม90องศาด้านหน้าเรดาร์ ซึ่งเทียบได้กับเรดาร์แบบSPY-1 Aegis




5P85DU TEL



นอกจากการปรับปรุงด้านเรดาร์และลูกจรวดแล้ว ตัวแท่นยิงก็มีการปรับปรุงเช่นกัน โดยรถบรรทุกแบบ MAZ-7910 ได้รับการดัดแปลงเพื่อเป็นแท่นยิง ซึ่งมี2รุ่นคือ 5P85S ซึ่งมีเคบินเก็บของขนาดใหญ่และ 5P85D ซึ่งเป็นรถเสริมทำหน้าที่เป็นแท่นยิงหรือรถบรรทุกลูกจรวดสำรอง ทั้งคู่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าแบบ5S18/19 และรถบัญชาการเคลื่อนที่แบบ54K6 ทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานรถบรรทุกแบบMAZ-7910 เหมือนกัน ใน1กองร้อยของเอส-300พีเอส จะประกอบไปด้วย แท่ยิงเคลื่อนที่แบบ 5P85S 1คัน แท่นยิงเคลื่อนที่/รถบรรทุกจรวดแบบ 5P85D 2คัน และรถเรดาร์เคลื่อนที่แบบ5N63S ติดตั้งเรดาร์30N6 Flap Lid B 1คัน


ทั้งหมดทั้งปวงนี้ทำให้ระบบเอส-300พีเอส มีขีดความสามารถเทียบเท่าระบบMIM-104แพทริออตทุกด้าน แต่ได้เปรียบตรงที่ อ่อนตัวมากกว่า เคลื่อนที่ได้ดีกว่า และมีความสามารถในการต่อต้านเป้าหมายที่บินต่ำได้ดีกว่าโดยใช้เรดาร์แบบ ทินชิลด์ และแคลมเชลล์ติดตั้งบนเสาแบบพับเก็บได้





 

Create Date : 30 ธันวาคม 2550
3 comments
Last Update : 30 ธันวาคม 2550 19:49:16 น.
Counter : 1286 Pageviews.

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...



คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...




คุณพี่ไม่สบายตัวร้อนหรือเปล่าค่ะ เป็นอะไรมากป่าว


ปีใหม่จะมีญาติเก่ามาหามีพระ (พะ โล้) ยังค่ะพี่ จะได้อุ่นใจ


เนี๊ยะ ๆ ที่ถามนะเป็นห่วงนะ คริ คริ

 

โดย: นางน่อยน้อย 30 ธันวาคม 2550 20:44:10 น.  

 

อยู่มาทั้งปีไม่อัพมาขยันอัพ 3 วันสุดท้ายของปีองค์ลงเหรอค๊า

 

โดย: นางน่อยน้อย 30 ธันวาคม 2550 20:45:43 น.  

 

เมกะโปรเจ็คท์เลยต้องรอเวลาไงจ๊ะ 555 แบบว่าว่างอ่ะนะ

 

โดย: icy_CMU 30 ธันวาคม 2550 21:59:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


icy_CMU
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชีวิตนี้ตรูจะได้ไปเที่ยวกะเค้ามั่งมั๊ยหว่า
[Add icy_CMU's blog to your web]

MY VIP Friend