|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
13 มกราคม 2550
|
|
|
|
ระบบ AIP :ภาคประวัติ
ถาม: ทำไมต้องมีระบบAIP ??
ตอบ: เพราะเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า (หรือที่ใช้เชื้อเพลิงอื่น ยกเว้นนิวเคลียร์)ไม่ต้องการโผล่มาบนผิวน้ำบ่อยๆนะซี
นับแต่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์เรือดำน้ำ ประสิทธิภาพการอยู่ใต้น้ำ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงขีดจำกัด
ในปี1911 เรืออู ของเยอรมันที่ชื่อ อู-9 สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นระยะ80ไมล์ ด้วยความเร็ว5นอต(หรือราวๆ16ชั่วโมง) หลังจากนั้น33ปี ในปี1944 เรืออู XXI สามรถดำได้ระยะทาง 365ไมล์ ด้วยความเร็ว5นอต (หรือราวๆ3วัน) ในปัจจุบัน เรือชั้นกิโล และเรือชั้นอกอสต้า90บี สามารถดำได้ระยะทาง 400ไมล์ด้วยความเร็ว3.5นอต(หรือราวๆ5วัน) ซึ่งนับว่าสั้นมาก
ต่อไปนี้จะเป็นการแสดงถึงวิวัฒนาการของระบบAIP
ยุคแรก
ในยุคแรกนั้นจะใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เป็นหลัก
ในยุค1930s, Dr. Helmuth Walter แห่งGermaniawerft, ได้วางรากฐานแห่งเครื่องยนต์ของเรือดำน้ำยุคใหม่ โดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ใน Walter's system, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เก็บไว้ในเรือ จะถูกแยกส่วนออกโดยใช้สารพวกเปอร์แมงกาเนต(ด่างทับทิม)เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อผลิต ไอน้ำ และออกซิเจนตามสมการ
2 H2O2--------- ความร้อน(1765 F) สารเปอร์แมงกาเนต 2H2O + O2
ในห้องแห่งความลับเอ้ย!!ห้องปฏิกิริยาน้ำมันดีเซลจะถูกฉีดเข้าไป, ซึ่งจะถูกเผาเพื่อผลิตไอน้ำและก๊าซร้อนจัดซึ่งจะไปหมุนเทอร์ไบน์ซึ่งจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเพลาใบพัดส่วนความร้อนและไอเสียจะถูกปล่อยออกนอกเรือ อีตาวอลเตอร์แกมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ความเร็วของเรือไม่ใช่เพื่อให้เรืออยู่ใต้น้ำได้นานขึ้น แล้วก็จริงๆด้วย เรือดำน้ำต้นแบบลำแรกของแกชื่อ V80, มีความเร็ว28.1นอตใต้น้ำ ซึ่งทดสอบในปี1940 ซึ่งในขณะนั้นเรือดำน้ำมีความเร็วสูงสุดไม่เกิน10นอตใต้น้ำ แต่เรือV80ก็มีระวางขับน้ำแค่76ตัน ยาว22เมตรเท่านั้น มันจึงถูกใช้เป็นเพียงเรือทดสอบด้านพลศาสตร์และการควบคุมพาหนะความเร็วสูงใต้น้ำ หลังจากสงคราม Kriegsmarine ก็ขยายต้นแบบของพ่อคุณวอลเตอร์(ที่แอบไปขายผักที่ท็อปส์ซุปเปอร์มาเก็ต) ให้สามารถใช้ปฏิบัติการได้จริง และได้สร้างเรือไทป์XVIIB ขึ้น 7ลำ ซึ่งสร้างเสร็จก่อนเยอรมันจะแพ้สงครามได้ไม่เท่าไร อย่างไรก็ตามไม่มีคนเคยเห็นตัวเป็นๆของมันในสงครามซักกะที ซึ่งเจ้าไทป์XVIIB มีระวางขับน้ำ300ตัน มี2เทอร์ไบน์ที่ให้กำลัง2500แรงม้า
แต่ยังไม่เข็ด555 ยังมีแผนการสร้าง เรือแบบนี้ที่ใหญ่กว่าเดิม เพื่อการปฏิบัติการในย่านน้ำลึกซึ่งแบบขยายนี้จะมีระวางขับน้ำ800ตันชื่อไทป์XXVI และ1600ตันที่ชื่อ ไทป์XVIII
ซึ่งเจ้าไทป์XVIII ถูกยกเลิกไปเนื่องจากสงครามและการขาดการส่งกำลังบำรุงที่เป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ แต่เจ้าไทป์XVIII ก็ถูกดัดแปลงเป็นเรือไทป์XXI Electro-Boat ซึ่งมีแบตเตอรี่ที่ใหญ่กว่า สามารถทำความเร็วได้ 17นอต เป็นเวลา90นาที สิ่งประดิษฐ์นี้มีผลกระทบต่อ ดีไซน์ ของเรือดำน้ำธรรมดา ในยุคสงครามเย็นเป็นอันมาก
ยุคหลังสงครามโลก
ในช่วงสงครามเย็น บางประเทศเริ่มที่จะใช้ประโยชน์จากแบบของ ดร.วอลเตอร์ รางวัลแห่งสงครามของเมกาและอังกฤษ คือการได้รับ เรือไทป์XVIIB ชื่อ U-1406 และU-1407 และดร.วอลเตอร์เอง ก็เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษ โดยทำงานกับบ.วิคเกอร์ส และได้ออกแบบเรือดำน้ำที่ได้รับการปรับปรุงจากแบบเดิม นั่นคือเรือ HMS Explorer และ HMS Excalibur ซึ่งได้รับแรงอิทธิพลด้านการออกแบบจากเรือไทป์XXVI ซึ่งเป็นเรือที่บรรลุเป้าหมายคือความเร็วใต้น้ำสูงซึ่งทั้ง2ลำปลดประจำการในยุค1960
ส่วนพี่ใหญ่โซเวียต ไม่ชอบอีตาวอลเตอร์มั๊ง เลยจับเอาระบบ ดีเซลวงจรปิด บนพื้นฐานของเยอรมันที่ชื่อ ระบบKrieslauf และเรือทดลองลำแรกคือเรือ ชั้นQuebec(ปี1956) ใช้ออกซิเจนเหลว เพื่อใช้ในการจุดระเบิดของระบบเครื่องยนต์ดีเซลวงจรปิด เรือลำนี้มี3ใบพัด ถูกผลิตมาทั้งหมด30ลำในช่วง1953-1957 แต่ความปลอดภัยนี่.......ลูกเรือดำน้ำชั้นนี้ต่างเรียกมันว่าไฟแช็กซึ่งสามารถ ไฟลุก ระเบิด ได้ตลอดเวลา ตามมาตรฐานโซเวียต (- -) ทั้งหมดถูกปลดประจำการในช่วงแรกของทศวรษที่70
แต่อย่างไรก็ตามระบบAIPยุคแรกไม่สามารถตอบสนองความต้องการเรือที่ใหญ่มากๆได้รวมทั้งเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ที่พัฒนาขึ้นกำลังมาแรง และยุคของเรือดำน้ำนิวเคลียร์เริ่มต้นเมื่อเรือUSS Nautilus ออกปฏิบัติการในปี1955
ปัจจุบัน ระบบAIP ได้มีการปัดฝุ่นและนำมาใช้อย่างจริงจังอีกครั้งเพราะประสบการ์ณที่ไม่ดีของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ทีทั้งเสียงดัง ก่อมลพิษ และค่าบำรุงรักษาที่มหาศาล
Create Date : 13 มกราคม 2550 |
|
0 comments |
Last Update : 13 มกราคม 2550 21:29:11 น. |
Counter : 2018 Pageviews. |
|
|
|
| |
|
|
icy_CMU |
|
|
|
|