|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
28 ธันวาคม 2550
|
|
|
|
วิเคราะห์ระบบป้องันภัยทางอากาศแบบเอส-300แบบถึงแก่น ตอนที่1
Almaz S-300P/PT/PS/PMU/PMU-1/PMU-2 Almaz S-400 Triumf Almaz S-400M Samoderzhets
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-อากาศแบบ อัลมาสเอส-300พี/พีที/พีเอ็มยู/พีเอ็มยู1/พีเอ็มยู-2 อัลมาสเอส-400 ไทรอัมฟ์ อัลมาสเอส-400เอ็ม ซาโมเดอเซทส์
by Dr Carlo Kopp Translated by ICY_nominee/ICY_CMU (โดยได้รับการอนุญาตจาก Dr Carlo Kopp) © 2003, 2006, 2007 Carlo Kopp
คำนำ ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ตระกูลเอส-300พี/เอส-400 เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและถูกใช้อย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีต้นกำเนิดจาก กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศของสหภาพโซเวียตเดิม (Voyska Protivovozdushnaya Oborona- Voyska PVO) และได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนมีประสิทธิภาพสูงอย่างในปัจจุบัน กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน(People Liberation Army-PLA) เป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดรองจากกองทัพของประเทศผู้ผลิตอย่างวอยส์กาพีวีโอ (ซึ่งรวมกับกองทัพอากาศรัสเซียในปี1998) ระบบเอส-300พี/เอส-400 มักถูกเรียกเล่นๆ(แบบเดียวกับอาวุธของรัสเซียแบบอื่น) ว่า รัสเซียนแพทริออท แต่จริงๆแล้ว ส่วนสำคัญในระบบหลายๆส่วน มีความสามารถสูงกว่าระบบแพทริออทของสหรัฐอเมริกามาก และในรุ่นหลังๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขนย้ายและความสามารถในการอยู่รอด มากขึ้น และเมื่อเปิดตัวเรดาร์เฟสอาเรย์แบบ 64N6 บิ๊กเบิร์ด ซึ่งมีความสามารถเทียบได้กับเรดาร์เฟสอาเรย์ชื่อดังแบบSPY-1 AEGIS system ในรูปลักษณ์ของระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเคลื่อนที่ได้ ในมุมมองของออสเตรเลีย(ดร.คาร์โล ผู้เขียนบทความนี้ เคยเป็นนักบินในกองทัพอากาศออสเตรเลีย : ผู้แปล) การวางกำลังของระบบป้องกันภัยทางอากาศแบบเอส-300พี/เอส-400อย่างกว้างขวางในภูมิภาคนี้ ดูแล้วน่าจะเป็นปัญหามาก เนื่องจากอาวุธระบบนี้ สามารถวางกำลัง เคลื่อนย้าย ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีอัตราการอยู่รอดสูง และระบบนี้ยังมีประสิทธิภาพสูงมาก ยากต่อการทำลาย/ต่อต้าน กองทัพอากาศสหรัฐฯ จึงมีแผนที่จะนำเครื่องบินขับไล่ล่องหนแบบเอฟ-22 มาใช้ต่อกรกับระบบนี้ มันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่จะบอกว่า ไม่มีเอฟ-18ลำไหน แบบไหน หรือ แม้กระทั่ง เอฟ-35 ที่ได้รับการออกแบบให้เจาะระบบป้องกันแบบนี้ได้ และถึงแม้พยายาม เครื่องบินเหล่านี้ก็มีอัตราการรอดตายไม่ต่างจากเครื่องบินที่เก่ากว่ามากนัก เนื้อหาในบทความนี้จะกล่าวถึงคุณลักษณะของระบบนี้ โดยใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท และ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
ยุทธศาสตร์ระบบอัลมาส เอส-300พี/เอส-400 (เอสเอ-10/เอสเอ-20)และ อานเทีย เอส-300วี (เอสเอ-12) ถูกสร้างขึ้นมาจากบทเรียนของระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ ในช่วงสงครามเวียดนามและสงครามยม-คิปปูร์ ซึ่งเป็นยุคของอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศซีรี่ส์เลขตัวเดียว อย่าง เอส-75/เอสเอ-2, เอส-125/เอสเอ-3 และ 3เอ็ม9/เอสเอ-6 ซึ่งถูกทำลายเสียหายอย่างมากโดยกองทัพอากาศสหรัฐและอิสราเอล ซึ่งทั้ง เอส-300พี (เอสเอ-10)และ อานเทีย เอส-300วี (เอสเอ-12) ต่างถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการป้องกันภัยทางอากาศที่มีการรบหนาแน่น(ถ้าเกิดสงครามจริง)ในสงครามเย็นทางยุโรปตอนกลาง โดยทั้ง 2ระบบนี้ ถูกออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีแบบเท่าไหร่เท่ากันในช่วงท้ายของสงครามเย็น แต่อย่างไรก็ตามแม้สหภาพโซเวียตจะล่มสลายไป ระบบทั้ง2ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับประโยชน์จากการเปิดรับเทคโนโลยีของทางตะวันตกเช่นการวิเคราะห์อาวุธของทางตะวันตก หรือแม้แต่นำเข้าระบบคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าของทางตะวันตกมาช่วยในการออกแบบ ในปัจจุบันถ้าจะวัดกันตัวต่อตัว ระบบทางตะวันตกที่พอจะเทียบได้กับทั้ง2นี้คงมีแต่ระบบแพทริออทแพค-3 เท่านั้นที่ดูจะพอสู้ได้
สหรัฐอเมริกาเคยแสดงความวิตกกังวลว่า เซอร์เบียและอิรักจะมีระบบทั้ง2อยู่ ซึ่งถ้ามีจริงคงจะส่งผลกระทบต่อ ปฏิบัติการทางอากาศใน Operation Allied Force ในเซอร์เบีย และOperation Iraqi Freedom ในอิรัก อย่างแน่แท้ เนื่องจากทั้ง2ระบบ มีความสามารถในการทำลายสูง เรดาร์ที่มีกำลังสูง เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันการก่อกวนได้ดี ซึ่งจะทำให้ทั้ง2ปฏิบัติการคงทำอะไรไม่สะดวกนัก เพราะต้องเพ่งเล็งไปกับปฏิบัติการกดดันระบบป้องกันภัยทางอากาศมากขึ้น และมีผลให้อาจจะมีความยืดเยื้อ และ เปลี่ยนหน้าตาของปฏิบัตการทั้งหมดไปเลยก็ได้ และศัตรูเก่าของสหรัฐฯอย่างอิหร่านและเกาหลีเหนือ ซึ่งมีข่าวว่ามีระบบทั้ง2นี้ในครอบครอง คงจะทำให้สหรัฐฯปวดหัวได้ไม่น้อย เนื่องจากทั้ง2ระบบมีประสิทธิภาพที่สูงมากนั่นเอง ทำให้ต้องมีการเร่งการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบบี-2 และเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-22 ออกมาโดยเร็วเพราะทั้ง2เป็นอาวุธสำคัญในการต่อต้านระบบทั้ง2นี้ ซึ่งบ.ทั้ง2แบบ มีมาตรการป้องกันที่คล้ายๆกันคือ ระบบล่องหนในหลายคลื่นความถี่ และ ระบบตรวจจับคลื่นเรดาร์ความไวสูงผนวกกับ ข้อมูลข่าวกรองแบบเกือบเรียลไทม์ กล่าวถึงบ.ที่ไม่มีคุณลักษณะล่องหน หรือ มีการลดหน้าตัดคลื่นเรดาร์(อาร์ซีเอส) หรือ มีคุณลักษณะล่องหนแบบจำกัด อย่างเอฟ-15อี ,เอฟ-16ซี,เอฟ-18อี/เอฟ,เอฟ-35,ยูโรไฟเตอร์ไต้ฝุ่น ซึ่งทำการโจมตีในเพดานบินสูง-กลาง จะต้องมีความเสี่ยงสูงเมื่อพบกับ2ระบบนี้ แต่ถ้าจะให้เพิ่มโอกาสรอด คงต้องใช้ยุทธวิธี บินเจาะด้วยความเร็วสูงที่เพดานบินต่ำ ใช้ภูมิประเทศในการกำบังตัว ซึ่งต้องอาศัยเรดาร์เกาะภูมิประเทศผนวกด้วยระบบข้อมูลข่าวกรองแบบเกือบเรียลไทม์ และระบบก่อกวนขั้นสูงและอาวุธปล่อยพิสัยไกลหรืออาวุธแบบสแตนด์ออฟ ซึ่งกองทัพอากาศออสเตรเลียมีบ.ที่เหมาะสมอยู่1แบบคือเอฟ-111 ซึ่งถ้าใช้ดีๆจะสามารถอยู่รอดต่อระบบทั้ง2นี้ได้มากกว่าเครื่องบินแบบอื่นในกองทัพอากาศ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่กองทัพอากาศเยอรมันได้ทำการติดตั้งเรดาร์เกาะภูมิประเทศให้กับบ.แบบ ทอร์นาโดอีซีอาร์ ไวลด์วีเซิล เพื่อการต่อต้านอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ เอส-300พี และ เอส-300วี ซึ่งติดตั้งในประเทศใกล้ๆ อย่างรัสเซีย
ระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศ เอส-300พีและ เอส-300วี นอกจากประสิทธิภาพของมันแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่น่าจับตาคือ ความง่ายในการใช้งาน ทั้งสองระบบ สามารถใช้งานได้โดยทหารเกณฑ์ของสหภาพโซเวียต ซึ่งการนำไปบรรจุใช้งานตามหน่วยนั้นอาจะใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน ในการพร้อมรบ แต่ถ้าหากประเทศที่สั่งซื้ออยากให้ใช้งานได้เร็วๆ แค่เพียงสั่งให้เจ้าหน้าที่จากรัสเซียไปทำงานชั่วคราว ก็พร้อมรบได้ภายในไม่เดือนหรือสองเดือน
ทั้งสองระบบนี้ได้รับการบรรจุเข้าประจำการในยุค80 ซึ่งนับเป็นเจเนอเรชั่นแรกของอาวุธปล่อยระบบนี้ ซึ่งในปัจจุบันพัฒนามาเป็นเจเนอเรชั่นที่3-4แล้ว แต่ยังอยู่บนพื้นฐานเดียวกับเจเนอเรชั่นแรก คือ ทนทาน และง่ายต่อการใช้งาน การมาถึงของระบบ S-300P และ S-300Vทำให้ยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียเปลี่ยนไป ถึงแม้ทั้งสองระบบนี้จะไม่ได้อยู่ยงคงกระพัน แต่อย่างน้อยถ้าจะทำลายมันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ทรัพยากรทั้งเงินและคนมาก และยังเสี่ยงต่อการสูญเสียทั้งเครื่องบินและนักบิน ระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบนี้มีข้อได้เปรียบกว่าเครื่องบินตรงที่ ต้องการการดูแลที่น้อยกว่า ความคุ้มค่าต่อดอลลาร์ที่จ่ายไปสูงกว่าอีกทั้งยังต้องการทรัพยากรมนุษย์น้อยกว่า แต่การที่ขายไม่ค่อยจะออกนั้น อาจจะเนื่องมาจากการตลาดสุดห่วยของทางรัสเซียเอง
วิธีการที่จะต่อต้านระบบ S-300P และ S-300V สหรัฐฯได้วางแผนดังนี้ ใช้เอฟ-22ติดอาวุธปล่อยอากาศ-พื้นแบบสแตนด์ออฟ(น่าจะเป็นJASSM-ผู้แปล) ซึ่งสนับสนุนด้วยเครื่องบินสงครามอิเล็คทรอนิคส์อย่างบี-52เอช ติดกระเปาะแจมเมอร์กำลังสูง พร้อมด้วยเครื่องบินสนับสนุนอีกสารพัดแบบอย่างเช่น อาร์ซี-135 ซี/ดับบลิว อี-8ซี หรือ เครื่องบินใหม่อย่างอี-10 เอ็มซี2เอ สิ่งสำคัญที่สุดคือข้อมูลข่าวกรองแบบทันเหตุการณ์ เพื่อระบุเป้าหมายโดยใช้ระบบอาวุธแบบสแตนด์ออฟ แต่การใช้UAV ในการสนับสนุนนั้นคงไม่เข้าท่า เนื่องจากระบบระบบ S-300P และ S-300V สามารถต่อต้านUAVเหล่านี้อย่างไม่ยากเย็น (หรืออาจจะโดนระบบที่คอยสนับสนุนอย่าง Tor-M1 สอย-ผู้แปล)
แต่สำหรับเครื่องบินที่ไม่มีคุณลักษณะล่องหน คงยากที่จะรอดถ้าต้องเจอกับทั้ง2ระบบนี้ เนื่องจากระบบECM ที่ติดตั้งมากับเครื่องบินนั้นไม่เพียงพอ หรือแม้กระทั่งกระเปาะแจมเมอร์โดยทั่วไปก็อาจจะไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องเป็นกระเปาะแจมเมอร์ที่มีกำลังส่งสูงมากพอที่จะรบกวนเรดาร์กำลังสูงของ ระบบ S-300P และ S-300Vได้ อีกทั้งระบบECCM ของทั้ง2ระบบนี้ มีประสิทธิภาพสูงมาก ทำให้การรบกวนยิ่งเป็นไปได้ยากอีก แล้วเอฟ-35ล่ะ? เอฟ-35 เป็นเครื่องบินที่มีหน้าตัดเรดาร์(RCS)ด้านหน้าเล็กมากพอที่จะเล็ดรอดเรดาร์ของระบบ S-300P และ S-300V ได้หากใช้กลยุทธ์บินต่ำ แล้วบินด้วยความเร็วสูง คอยอัพเดทข้อมูลข่าวกรอง และ ติดตั้งอาวุธปล่อยสแตนด์ออฟที่มีหน้าตัดเรดาร์ต่ำ แต่ มีโอกาสได้เพียงครั้งเดียว เนื่องจากหน้าตัดเรดาร์ด้านท้ายเครื่องนั้น ใหญ่กว่าด้านหน้ามาก นักบินคงไม่สนุกแน่หากจะต้องวิ่งหนีจรวดนำวิถีความเร็วไฮเปอร์โซนิคที่หนัก3000ปอนด์ที่ตามก้นอยู่ เพียงเพราะตนพลาดในการทำลายฐานปล่อยในการโจมตีเพียงครั้งเดียวของตน อีกทั้งการบินด้วยความเร็วสูงในเพดานบินต่ำยังทำให้อายุการใช้งานของตัวเครื่องลดลงอีกด้วย
เครื่องบินในทางตะวันตกในปัจจุบันที่พอจะทำหน้าที่อันเสี่ยงนี้(ไม่นับเอฟ-22และเอฟ-35)คงมีแต่เอฟ-15อี ทอร์นาโด และเอฟ-111 ที่ติดตั้งกระเปาะแลนเทิร์น TFR(Terrain following radar)และระบบสงครามอิเล็คทรอนิคส์ขั้นสูง จุดอ่อนเดียวของระบบ S-300P และS-300V คือระดับเส้นขอบฟ้า(ระดับที่เรดาร์สามารถตรวจจับเป้าหมายที่ใกล้พื้นดินได้ไกลที่สุด-ผู้แปล) ที่ค่อนข้างใกล้ แต่แก้ปัญหาได้โดยการติดตั้งบนเสาสูงแบบพับเก็บได้ แต่นั่นก็ทำให้ คุณลักษณะการเคลื่อนที่ได้ลดลงมาก (ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดแข็งของระบบนี้) แนวคิดที่จะยิงอาวุธปล่อยแบบครุยส์หรืออาวุธปล่อยต่อต้านการแพร่คลื่นเรดาร์หรืออาวุธปล่อยแบบสแตนด์ออฟ อาวุธปล่อยเหล่านั้นต้องมีหน้าตัดเรดาร์ที่ต่ำมาก เนื่องจากจะต้องเข้าใกล้เป้าหมายให้มากพอเพราะรัสเซียได้วางระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบTor-M1(SA-15 Gaunlet)ไว้ป้องกันระบบ S-300P และ S-300V เหล่านี้อยู่แล้ว โดยสรุปการที่จะเอาชนะระบบ S-300P และ S-300V ได้จะต้องมีทรัพยากรที่มากพอในการจัดหามาตรการต่อต้านระบบทั้ง2นี้ โดยเฉพาะออสเตรเลียหากต้องการที่จะปฏิบัติการในภูมิภาคนี้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องแลเห็นความสำคัญของระบบทั้ง2นี้ต่อสมดุลในภูมิภาค
ภาพบน:ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี 5V28E / SA-5 Gammon
Create Date : 28 ธันวาคม 2550 |
|
4 comments |
Last Update : 30 ธันวาคม 2550 19:53:41 น. |
Counter : 3837 Pageviews. |
|
|
|
| |
โดย: เอ่อเอ๋อ IP: 125.24.136.34 9 มกราคม 2551 20:25:25 น. |
|
|
|
| |
โดย: ชาญชัย IP: 171.99.0.93 29 พฤษภาคม 2556 11:18:27 น. |
|
|
|
| |
โดย: MAX SNIPER 007. IP: 182.232.244.184 11 กรกฎาคม 2561 10:06:20 น. |
|
|
|
| |
|
|
icy_CMU |
|
|
|
|
โพสคนเดียวเดี๋ยวเหงาแย่เลย
อัพปีละครั้งสองครั้งเลยต้องตื่นมาเจิม