|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการช็อปปิ้งห้าข้อ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ไม่อยากเป็นเบาหวาน (ตอนที่ 1)
เคล็ดลับการช็อปปิ้งห้าข้อ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ไม่อยากเป็นเบาหวาน
การเลือกหาอาหารที่มีประโยชน์ และความรู้สำคัญที่จำเป็นสำหรับการลุยตลาด หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อจัดการกับโรคเบาหวาน
โดย ไมค์ อาดัมส์
บทนำ
การเลือกช็อปปิ้งอาหารและวัตถุดิบที่ปลอดภัยต่อโรคเบาหวาน เป็นประสบการณ์ที่ท้าทายมาก เพราะทุกวันนี้ มีอาหารจำนวนนับไม่ถ้วนในร้าน ที่ไม่เพียงแต่เพิ่มอัตราเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน และทำให้อาการเบาหวานแย่ลง แต่เป็นต้นเหตุของโรคเสียเอง ผลิตภัณฑ์บางชนิดเหล่านี้กลับเป็นที่นิยมมากๆ ซึ่งมันมีทั้งน้ำตาลจำนวนมาก คาร์โบไฮเดรทบริสุทธิ์ และธัญพืชผ่านกรรมวิธี และที่ยิ่งแย่ที่สุดก็คือ อาหารเหล่านี้ทำตลาดพุ่งเป้าไปหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งส่วนประกอบของมันมีแต่จะไปทำให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดแย่ลงๆ และเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นมาอีก ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยเบาหวาน คุณไม่อาจเชื่อข้อความที่ระบุบนฉลากได้อีกต่อไป
รายงานฉบับนี้ เขียนขึ้นเพื่อช่วยนำทางให้คุณรอดจากดงระเบิดแห่งอาหารสำเร็จรูป และให้ข้อมูลสำหรับคุณในการเลือกซื้อ เพื่อที่จะจัดการกับเบาหวานไม่ให้กำเริบ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ข้อมูลนี้อาจจะสามารถช่วยให้อาการของโรคกลับดีขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง (ประเภทหนึ่งคือเบาหวานจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่พอ ประเภทที่สอง คือเบาหวานจากเนื้อเยื่อร่างกายดื้อ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน) การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 70% ของผู้ป่วยอาการกลับดีขึ้นโดยไม่ต้องฉีดอินซูลิน เพียงแค่ผู้ป่วยเหล่านั้นเปลี่ยนวิธีการเลือกรับประทานอาหารเท่านั้น
และในที่สุด ผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่สอง สามารถย้อนกลับขบวนการ การดำเนินไปของโรคได้ การย้อนกระบวนการดังกล่าวทำได้โดยเริ่มต้นจากอาหารและโภชนาการ และส่วนที่เสริมอีกส่วนหนึ่งก็คือ การออกกำลังกายอย่างถูกวิธี ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในรายงานนี้ ซึ่งเราจะโฟกัสไปยังเรื่องของการเลือกซื้อ เลือกรับประทานอาหารที่จะย้อนกลับกระบวนการดำเนินไปของโรค หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ช่วยให้สามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เคล็ดลับข้อที่หนึ่ง หลีกเลี่ยงส่วนผสมที่เพิ่มอัตราเสี่ยงเบาหวาน
เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการที่จะควบคุม หรือย้อนกลับกระบวนการของโรค คุณจำเป็นต้องรู้ชื่อของส่วนผสมต่างๆ ที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น high-fructose corn syrup (ไฮฟรุคโตสคอร์นไซรัพ น้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงจากข้าวโพด) ตัวนี้คือน้ำตาลสกัดบริสุทธิ์มาก ผลิตจากข้าวโพด และถึงแม้ว่าชื่อมันจะดูเหมือนว่าดีต่อสุขภาพ เพราะว่าทำจากข้าวโพด ซึ่งดูเหมือนจะสกัดมาอย่างดีจากข้าวโพด แต่มันคือน้ำตาลและแคลอรี่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักที่ให้ความหวานในเครื่องดื่มและอาหารเช้าซีรีล คุณสามารถพบมันได้ในซอสสำหรับพาสต้า และซอสมะเขือเทศ ปกติแล้วจะหาซอสดังกล่าวที่ไม่มีน้ำเชื่อมข้าวโพดเป็นส่วนประกอบได้ยากมากๆ
ส่วนผสมอีกรายการหนึ่งคือ sucrose (ซูโครส) หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ น้ำตาลทราย เป็นน้ำตาลที่ใช้ทั่วไป และทุกคนก็ทราบดีว่าจะต้องไม่มีน้ำตาลนี้ในอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน เพราะว่ามันจะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งกระฉูด และก็จำต้องใช้อินซูลินเพิ่มเพื่อลดมันลงมา
ส่วนผสมที่สามที่ต้องระวังคือ refined flour (รีไฟนด์ฟลาวร์ แป้งบริสุทธิ์) ซึ่งส่วนผสมนี้ระบุอยู่เป็นส่วนประกอบของแป้งขาว ซึ่งมันก็เป็นตัวแป้งเองนั่นแหละ คุณจะพบมันได้ในขนมปัง เส้นพาสต้า สปาเก็ตตี้ และอาหารเช้าซีรีล แป้งบริสุทธิ์เหล่านี้มีค่าของ glycemic index สูง ซึ่งหมายความว่ามันจะทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นทันที และทำให้ยากต่อการควบคุมระดับน้ำตาล และยังเป็นสาเหตุของเบาหวานประเภทที่สอง โดยไปทำให้ความไวต่ออินซูลินของเนื้อเยื่อในร่างกายลดลง ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนัก (ตับอ่อนคืออวัยวะที่ผลิตอินซูลินในร่างกายของคุณ)
ในเรื่องของความหวาน คุณจะต้องหลีกเลี่ยงน้ำอ้อย หรือน้ำตาลอ้อยดิบ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ผ่านกรรมวิธีน้อยที่สุดแล้ว เป็นน้ำตาลที่มีผงสีน้ำตาลเข้ม ผลิตโดยระเหยน้ำออกจากน้ำอ้อยจนแห้ง ซึ่งน้ำตาลอ้อยดิบมีค่าของ glycemic index สูง และเป็นตัวเสี่ยงที่ทำให้เกิดเบาหวาน โดยมันจะไปกระตุ้นให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นทันทีเหมือนน้ำตาลทรายปกติ เพียงแต่ข้อดีของน้ำตาลอ้อยดิบคือมันมีคุณค่าอาหารสูงกว่าน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลอ้อยดิบประกอบด้วยวิตามิน B และแร่ธาตุ เช่น แมกนีเซี่ยม ถึงแม้จะมีประโยชน์ แต่มันก็มี glycemic index สูงเหมือนกันกับน้ำตาลทราย ซึ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
หลีกเลี่ยง excitotoxin (สารพิษกระตุ้นระบบประสาท พบได้ในสารปรุงแต่งรสอาหาร)
ส่วนผสมอีกสองรายการที่สำคัญมากจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ monosodium glutamate หรือ MSG (ผงชูรส) และ aspartame หรือชื่อทางการค้าคือ NutraSweet, LightSugar, Equal (นูทราสวีท, ไลท์ชูการ์, อีควล) ส่วนผสมสองสิ่งนี้คุณคงไม่เคยได้ยินมาก่อนในชีวิตเลยว่า มันเป็นอันตรายกับผู้ป่วยเบาหวาน สารสองตัวนี้ได้ถูกจัดอยู่ในประเภท excitotoxin
ด็อกเตอร์ รุสเซล เบย์ล็อค ผู้เขียนหนังสือ Excitotoxins เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเกี่ยวกับสารสองตัวนี้ที่ใช้กันอย่างมากในอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ปัญหาที่เกิดเพราะเจ้าสองตัวนี้คือ มันไปรบกวนระบบ endocrine (ระบบที่ประสานการทำงานจากต่อม hypothalamus (ไฮโปทาลามัส) ในสมองสู่ร่างกาย มีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญพลังงาน การเจริญเติบโต และการสืบพันธ์) ในการทดลองหนึ่ง ซึ่งป้อน MSG ให้หนู พบว่า หน้าที่ของ hypothalamus ของหนูถูกรบกวน มีผลให้ไม่สามารถควบคุมความต้องการอาหารได้ หนูจึงอ้วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทุกคนทราบดีว่าความอ้วน และเบาหวานเป็นสิ่งเสริมซึ่งกันและกัน และในผู้ป่วยเบาหวาน ก็จะมาพร้อมกับความอ้วนในระดับหนึ่งเสมอ นี่จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่จะต้องหลีกเลี่ยง MSG และ aspartame ในอาหารอย่างเด็ดขาด มิฉะนั้นระบบ endocrine จะทำงานผิดพลาด และคุณจะไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารของคุณได้เลย
โชคร้ายที่สุด ที่ผู้ผลิตอาหารจะหาวิธีใส่ MSG ลงในอาหารโดยไม่มีระบุบนฉลาก โดยซ่อนมันไว้ในชื่ออื่นๆ รายชื่อทั้งหมดรวมอยู่ในหนังสือ Grocery Warning ซึ่งหาดูได้ที่ //www.truthpublishing.com
Grocery Warning ยังมีรายการอาหารที่มี aspartame เป็นส่วนประกอบ และคุณจะต้องตะลึงว่า มีอาหารจำนวนมากเท่าไรที่มี excitotoxin เป็นส่วนผสม aspartame และ MSG เป็นส่วนผสมหนึ่งในอาหารสำเร็จจำนวนมากมายมหาศาลแทบจะทุกอย่าง โดยเฉพาะอาหารที่เน้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้ว่าคุณจะซื้ออาหารที่ระบุว่าไม่มีน้ำตาล แต่คุณยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูต่ออย่างระมัดระวังอีกว่า มันมี aspartame หรือไม่ ซึ่งจะพบเสมอว่ามันเป็นส่วนประกอบหนึ่งของอาหารปราศจากน้ำตาล และน้ำอัดลมไร้แคลอรี่
**หมายเหตุประเทศไทย (โดยผู้แปล)
ในไทยแม้อาหารสำเร็จรูปยังไม่เป็นที่นิยมมากอย่างในอเมริกา แต่ผู้ผลิตผงชูรสรายใหญ่ในประเทศไทยได้ทำโฆษณาอย่างต่อเนื่อง และบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้โดยการโฆษณา ทำให้ชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ซึ่งมักประกอบอาชีพเกี่ยวกับอาหาร ใส่ผงชูรสลงในอาหารจำนวนมาก แม้แต่ขนมก็ยังใส่ เพราะเข้าใจผิดว่าใส่ได้อย่างปลอดภัยเหมือนใส่น้ำตาล อาหารสำเร็จพวกข้าวแกง อาหารตามสั่งข้างออฟฟิศทั่วกรุงเทพ หรือร้านข้างทางในทุกจังหวัด จะมีผงชูรสจำนวนมหาศาลต่อจาน ซึ่งโดยปกติแล้วเราไม่ควรรับผงชูรสเกิน 1-1.5 กรัมต่อวัน (ตามปริมาณที่แนะนำระบุข้างห่อ) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อาหารเหล่านั้น มีผงชูรสจานละไม่ต่ำกว่า 3-5 กรัม ยิ่งถ้าทานสามมื้อต่อวัน ได้รับ MSG เข้าไปปริมาณมหาศาล ก่อให้เกิดอาการป่วยเช่น ปวดหัว เวียนหัว อารมณ์แปรปรวน มือสั่น มือชา ผิวหนังแพ้ง่าย กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และในระยะยาว ยังก่อโรคเช่น เนื้องอกในสมอง อัลไซเมอร์ เบาหวาน อ้วน และอื่นๆ อีกมาก
**รายนามชื่อส่วนผสมที่มี excitotoxin เป็นสารชูรส
These ALWAYS contain MSG
Glutamate Glutamic acid Gelatin Monosodium glutamate Calcium caseinate Textured protein Monopotassium glutamate Sodium caseinate Yeast nutrient Yeast extract Yeast food Autolyzed yeast Hydrolyzed protein (any protein that is hydrolyzed) Hydrolyzed corn gluten Natrium glutamate (natrium is Latin/German for sodium)
These OFTEN contain MSG or create MSG during processing
Carrageenan Maltodextrin Malt extract Natural pork flavoring Citric acid Malt flavoring Bouillon and Broth Natural chicken flavoring Soy protein isolate Natural beef flavoring Ultra-pasteurized Soy sauce Stock Barley malt Soy sauce extract Whey protein concentrate Pectin Soy protein Whey protein Protease Soy protein concentrate Whey protein isolate Protease enzymes Anything protein fortified Flavors(s) & Flavoring(s) Anything enzyme modified Anything fermented Natural flavor(s) & flavoring(s) Enzymes anything Seasonings (the word "seasonings")
อ่านต่อตอนที่ 2
Create Date : 14 มีนาคม 2550 |
|
2 comments |
Last Update : 15 มีนาคม 2550 12:27:04 น. |
Counter : 2129 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: หน่อยอิง 14 มีนาคม 2550 20:33:54 น. |
|
|
|
|
|
|
|