 |
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
6 ตุลาคม 2565 |
|
 |
 |
|
 |
|
|
|
 |
 |
 |
 |
|
 |
 |
 |
 |
|
สมองแล่นกับ 8 สารอาหารบำรุงสมอง
ชวนทุกคนมาทำความรู้จักสารอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองกัน
ขอบคุณภาพจาก Pinterest 1.โอเมกา 3 สำคัญในการสร้างผนังเซลล์ของเซลล์สมองและมีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ ทำให้การรับประทานอาหารที่มีโอเมกา 3 สูงมีส่วนช่วยชะลอความเสื่อมของสมองและพัฒนาความจำ พบได้ทั่วไปใน ปลาที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอนหรือทูน่า วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์
2.คาเฟอีน มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ทั้งเรื่องความจำ อารมณ์ รวมไปถึงกระบวนการคิด ผ่านสารสื่อประสาทโดปามีนและนอร์เอพิเนฟริน นอกจากนั้นยังอาจเพิ่มอะดรีนาลิน ทำให้ร่างกายพร้อมที่จะตอบสนองได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย งานวิจัยพบว่าการบริโภคคาเฟอีนเป็นระยะเวลายาวอาจยังช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้น ไม่ได้มีความจำเป็นต้องหยุดกาแฟในผู้สูงอายุที่ชอบดื่มกาแฟค่ะ แต่ไม่ควรบริโภคคาเฟอีนมากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ คลื่นไส้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้
3.วิตามินซี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำให้วิตามินซีเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่ช่วยบำรุงระบบประสาทและชะลอความเสื่อมของระบบประสาทได้ โดยคนส่วนใหญ่ได้รับวิตามินซีที่ต้องการต่อวันเพียงพอจากการรับประทานผักและผลไม้ค่ะ อย่าลืมว่าในภาวะที่ร่างกายมีบาดแผล มีการอักเสบ เผชิญแสงแดดจัด ฝุ่น PM2.5 หรือการสูบบุหรี่ ร่างกายจะต้องการวิตามินซีเพิ่มขึ้น
4.วิตามินบี การมี Homocysteine ในเลือดสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ ซึ่งวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และโฟเลตสามารถลดปริมาณ Homocysteine ในเลือดได้ นอกจากนี้เรายังต้องการวิตามินบีเพื่อช่วยสร้างพลังงานที่ต้องใช้ในการสร้างเซลล์สมองใหม่อีกด้วย
5.Resveratrol พบได้ในอาหารที่มีเปลือกสีม่วง เช่น องุ่น บลูเบอรรี่ และไวน์แดง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปกป้องไมโตคอนเดรียแหล่งสร้างพลังงานของสมอง แม้ว่างานวิจัยจะยังมีน้อย แต่ก็พบว่าการรับประทาน Resveratrol ขนาด 150 - 200 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 2 ปี สามารถเพิ่มปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและชะลอภาวะสมองเสื่อมในหญิงวัยหมดประจำเดือนได้
6.สารสกัดแปะก๊วย ด้วยคุณสมบัติที่ลดการสะสมของโปรตีนเบต้า-อะไมลอยด์สาเหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ร่วมกับฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สารสกัดแปะก๊วยเป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มผู้สูงอายุที่เริ่มมีอาการขี้ลืมบ่อยๆ ขนาดรับประทาน 240 มิลลิกรัมต่อวันนาน 3 - 6 เดือน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้สารสกัดแปะก๊วยช่วยให้คนวัยกลางคนที่ต้องใช้สมองมาก (Multitasking) สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆได้ดีกว่าด้วย
7.Acetyl L-Carnitine กรดอะมิโนตัวนี้นอกจากจะสำคัญต่อไมโตคอนเดรียแล้วยังช่วยในการสร้างสารสื่อประสาท Acetylcholine ซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาเรื่องความจำ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทาน ALC ในขนาด 1.5 – 3 กรัมต่อวัน นาน 12 เดือน ช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมที่เกิดจากอายุที่เพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้ความจำดีขึ้นและลดความรู้สึกเหนื่อยล้าในวัยสูงอายุได้
8.โสม (Panax ginseng or asian ginseng) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในยาจีนโบราณ มีสาร Ginsenosides ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระและต่อต้านการอักเสบ งานวิจัยทางคลินิกพบว่าโสมสกัดสามารถช่วยบำรุงระบบประสาทในแง่ของความคิด พฤติกรรม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนวัยกลางคนและวัยสูงอายุได้
อ่าน สมองแล่นกับ 8 สารอาหารบำรุงสมอง >>>
Create Date : 06 ตุลาคม 2565 |
Last Update : 6 ตุลาคม 2565 16:29:54 น. |
|
0 comments
|
Counter : 296 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
 |
 |
 |
 |
|
|