โจทย์ผิด หรือ คำตอบผิด?
ครูตั้งคำถามให้เด็กตอบว่า "ถ้ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร" เด็กทุกคนตอบว่า "7 บาท" แต่มีเด็ก 2 คนที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น คือเด็กคนหนึ่งตอบว่า "2 บาท" ส่วนเด็กอีกคนหนึ่งตอบว่า "ไม่ต้องทอน" ครูสงสัยก็เลยถามเด็กคนแรกว่าทำไมจึงจะต้องได้เงินทอน 2 บาท คำตอบที่เกิดจากภาพในใจของเด็กคนนั้นก็คือ เงิน 10 บาทที่เขามีนั้น เป็นเหรียญห้าบาท 2 เหรียญ เมื่อซื้อของในราคา 3 บาท เขาก็ให้เหรียญห้าบาทไป 1 เหรียญ ดังนั้นเขาจึงต้องได้เงินทอน 2 บาท เมื่อถามเด็กคนที่สองว่าทำไมจึงไม่ต้องมีทอนเงินเลย คำตอบก็คือ เด็กคนนี้คิดว่าเขามีเหรียญบาทอยู่ในกระเป๋า 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ส่งเหรียญบาทให้คนขายไป 3 เหรียญ ฉะนั้น คนขายจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน ถ้าโจทย์นี้เป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ก็คงจะไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนไปจากคนส่วนใหญ่ และคงไม่ผ่านการเรียน การสร้างโจทย์ที่ "เสมือนจริง" กับ "จินตนาการ" ของครูนั้น อาจจำกัดเพียงแค่ "ตัวเลข" ของ "ผลลัพธ์" ที่ถูกกำหนดไว้แต่แรกแล้วเท่านั้น แต่สำหรับเด็กแล้ว.. เขามีความคิดและจินตนาการของผลลัพธ์ที่ไร้ขอบเขต หรือที่เรียกกันว่า คิด นอกกรอบ หากโจทย์ถามอย่างชัดเจนว่า "มีธนบัตรฉบับละ 10 บาท อยู่ 1 ฉบับ ซื้อของไป 3 บาท จะได้เงินทอนเท่าใด?" เด็กทุกคนก็คงจะตอบเหมือนกันหมด เช่นเดียวกันกับการทำงาน หากผู้บริหาร หรือ ผู้บังคับบัญชา มีเป้าหมายและคำตอบอยู่ในใจเรียบร้อยแล้ว แต่กลับสร้างโจทย์ที่ไม่ชัดเจน แล้วสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ถามว่า อะไรจะเกิดขึ้น? สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะมีทั้ง "คนผิด" และ "คนถูก" มนุษย์มีทุกสิ่งเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์มีเหมือนกัน แต่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ก็คือ... อำนาจทางความคิดและแนวทางปฏิบัติของแต่ละคน เปรียบเทียบเหมือนตัวอย่างโจทย์ด้านบน เมื่อคุณเป็นผู้กำหนด คุณก็ต้องมีความชัดเจน และต้องมีเหตุผลพอที่จะรับฟัง เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ผลที่ได้นั้นไปสู่แนวทางที่ดีขึ้น สิ่งที่ผู้บริหารควรจะต้องมีให้มากที่สุดก็คือ ... 1. การให้ - ให้ความรู้ - ให้ความเสมอภาค - ให้ความเป็นธรรม - ให้ความรักความเอาใจใส่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา - ให้อภัยในสิ่งที่ควรอภัยได้ 2. การฟัง - ฟังเพื่อวิเคราะห์ มิใช่ฟังแล้วดุด่า - ฟังเพื่อพิจารณาถึงเหตุผลอันควร - ฟังเพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นของผู้อื่น - ฟังเพื่อพิจารณาถึงตัวเองว่าเป็นอย่างไร (คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง บางทีก็สำคัญตนผิด เหมือนนักการเมืองส่วนใหญ่ของไทย เห็นตัวเองสำคัญกว่าผู้อื่นเสมอ และมีความเอารัดเอาเปรียบเห็นแก่ตัว) โลกในห้องเรียนกับโลกของความเป็นจริงนั้น..แตกต่างกัน โลกในห้องเรียนนั้น คำถามทุกคำถามแทบจะมีคำตอบที่ถูกอยู่เพียง 1 คำตอบ แต่ในโลกของความเป็นจริง ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้มากกว่า 1 คำตอบ เพียงแต่เราต้องมองให้ออกว่า.. คำตอบใดดีที่สุด "อย่าด่วนตัดสินความผิดถูกของคนๆหนึ่ง เพียงแค่ได้ยิน "คำตอบ" ของเขา โดยที่ยังมิได้วิเคราะห์คำตอบนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน ว่า "เขามีเหตุผลอะไร?" ลองย้อนกลับไปมองดูตัวเองในเวลาที่ผ่านมา แล้วถามตัวเองซิว่า เคยเป็นอย่างเขาไหม? ถามตัวเองสิว่า การที่สั่งให้เขาทำนั่นทำนี่ ตัวเราเองทำได้อย่างที่เราสั่งให้เขาทำไหม... เวลา วัน เดือน และ ปี ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่กาลเวลาที่ผ่านไปทำให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงได้.. แปลก.. ทำไมไม่คิดว่าชีวิตคนเรา สุดท้ายแล้วก็ต้องอยู่ ณ ที่เดียวกัน ใช้พื้นที่พอๆกัน .... คิดซะนะ.. แล้วจะมีความสุข คนเราไม่ว่าจะอยู่ตึกสูงระฟ้าราคาพันล้าน หรือ เพียงแค่กระต๊อบมุงจาก มุงสังกะสี อย่าลืมว่า.."เท้า(ตีน)" ไม่เคยพ้นดินเหมือนกัน ฉะนั้น อย่าวัดคุณค่าของคนอื่น ต่ำกว่าคุณค่าของตนเองที่มี ทุกคนมีเป้าหมาย และ เหตุผล ที่ไม่เหมือนกัน ความคิดและการกระทำจึงไม่อาจเหมือนกันได้... "อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนอื่น.. ด้วยกรอบความคิดของเรา" ******************************************* ** ที่มา---->>> Forward Mail เห็นว่าเป็นข้อคิดดีดี ก็เลยนำมาฝากกันต่อค่ะ
Create Date : 27 ตุลาคม 2551
7 comments
Last Update : 26 พฤษภาคม 2561 3:17:15 น.
Counter : 906 Pageviews.
โดย: gadeja 27 ตุลาคม 2551 19:31:11 น.
Location :
Thailand Germany
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [? ]
**..นิสัยส่วนตั๊ว..ส่วนตัว..** ตามใจตัวเองที่ซู๊ดดดด... รักแมวเป็นชีวิตจิตใจ อารมณ์ดีเหลือหลาย (แต่ถ้าร้ายขึ้นมาละก็ให้อยู่ห่างๆนะจ๊ะ) ความเครียดไม่เคยย่างกรายมาในชีวิต .. ติดจะบ้าๆ ... (อย่างหลังต้องทำใจกันหน่อยนะ อิอิ)**..คติ "ทำ" ประจำใจ..** Before you speak, listen Before you write, think Before you spend, earn Before you invest, investigate Before you quite, try Before you retire, save Before you die, give
1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31