<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
31 พฤษภาคม 2551
 

อาคารป่วย

ได้ทราบเรื่องว่า ครูที่วิศวกรโยธาจำนวนมากเคารพรัก เล่าประสบการณ์และให้ความรู้เรื่องอาคารป่วย หรือ Sick Building ในโอกาสที่เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ในงานประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จัดขึ้น ณ โรงแรมจอมเทียน ปาล์มบีช พัทยา จังหวัดชลบุรี

ท่านเล่าว่า ป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ปอดทั้งๆ ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เที่ยวกลางคืน แต่อย่างใด และได้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาซึ่งเเพทย์ก็ไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้ว่าสาเหตุของมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นมาจากอะไร

ท่านได้พยายามค้นคว้า หาสาเหตุจากแหล่งต่างๆ ทั้งหนังสือ ตำราต่างประเทศ และทางอินเตอร์เน็ต จึงทำให้ทราบว่าการป่วยนั้น มีสาเหตุมาจากการอยู่ในอาคารหรือห้องที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานหรือเป็นประจำ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Sick Building Syndrome หรืออาคารป่วยนั่นเอง

กรณีของท่านพบน้อยมากในเมืองไทย ส่วนใหญ่ท่านจะทำงานในห้องนอน เรียกได้ว่าชีวิตส่วนใหญ่จะอยู่ในนี้เป็นส่วนมาก ทำงานเสร็จแล้วก็นอน จึงคิดว่านี่อาจเป็นสาเหตุทำให้ป่วยก็ได้ เรื่องอาคารป่วยนี้ถือเป็นภัยเงียบ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้ตัว

อาคารป่วยนี้ ไม่จำเป็นต้องเกิดกับอาคารเก่าเท่านั้น สามารถเกิดได้ทุกอาคารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือมีสารเคมีหรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายรวมอยู่ด้วย

โดยอาการทั่วไปของผู้ที่เข้าไปในอาคารที่พบส่วนใหญ่ จะมีอาการปวดศรีษะ คลื่นไส้ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย จาม ไอ เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นเวลานานเข้าอาจกลายเป็นโรคร้ายอื่นๆ ได้อีกด้วย

สำหรับสาเหตุของที่ทำให้อาคารป่วย นั้นมีมากมายหลายปัจจัย อาทิ อาคารสูงที่มีการโยกเกิน 1/500 ของความสูง ห้องในอาคารปิดทึบไม่มีอากาศถ่ายเท โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคอย่างดี หรือถ้าผนังเกิดรอยร้าว หรือมีความชื้นสูงก็เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคเช่นกัน ส่วนในอาคารหรือห้องที่ปูพรม หรือมีม่าน ถ้าทำความสะอาดไม่ดีก็เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและเชื้อโรคได้เช่นกัน

หากเป็นห้องที่ทำเสร็จใหม่ๆ ก็จะมีฝุ่นละอองและสารเคมีจากสีกลิ่นของทินเนอร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก นอกจากนี้ในห้องที่ติดพื้นดิน ถ้าไม่ได้ปูพื้นป้องกันแก๊สเรเดียม ซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่มีสีและกลิ่น สลายตัวจากแร่เรเดียม และมีมากในพื้นดิน ก็อาจทำให้แก๊สนั้นแพร่ซึมมาสู่ร่างกายก่อให้เกิดการสะสมจนเป็นโรคมะเร็งได้

วิธีแก้ไขและป้องกันนั้น ต้องเริ่มต้นจากการออกแบบก่อสร้างให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งตรงนี้วิศวกรจะต้องมีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำแก่สถาปนิก หรือแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าในห้องอากาศไม่ถ่ายเท ก็ควรออกแบบให้โปร่งโล่ง อากาศเข้าออกได้ดี

ถ้าพื้นอาคารหรือห้องอยู่ติดหรือใกล้พื้นดิน ก็ควรปูยางรองพื้นชนิดพิเศษที่สามารถป้องกันแก๊สเรดอนได้ ที่สำคัญควรทำความสะอาดห้องเป็นประจำและหมั่นตรวจตราสำรวจอยู่สม่ำเสมอ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในห้องหรืออาคารที่ป่วยก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx
คัดลอก - สรุป มาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ ให้เป็นบุญกุศลแก่คุณครูที่เรารัก และหวังให้ท่านหายจากโรคร้ายโดยเร็ว (ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อท่านเจ้าของเรื่องด้วย - เรารู้กันภายใน)


........................................................................................
ขอขยายความเรื่องอาคารสูงที่มีการโยกเกิน 1/500 ของความสูง กล่าวคืออาคารสูงทุกตึก จะเกิดการโยกจากแรงลม มากน้อย อยู่ที่การออกแบบ บางตึกโยกมาก คนอยู่บนตึกนาน ลงมาเดินถนนอาจเกิดอาการเมาบกได้




 

Create Date : 31 พฤษภาคม 2551
1 comments
Last Update : 31 พฤษภาคม 2551 11:07:59 น.
Counter : 891 Pageviews.

 
 
 
 

Comment Zuzaa...


 
 

โดย: yosita_yoyo วันที่: 31 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:57:22 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KittySP
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




[Add KittySP's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com