สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
9 สิงหาคม 2550
 

ปลูกบ้านควรใช้เสาเข็มสั้นหรือเสาเข็มยาว

ควรใช้เสาเข็มสั้นหรือเสาเข็มยาวปลูกบ้านดี

วิวัฒนาการของฐานรากอาคารในกรุงเทพ
บ้านไม้ใต้ถุนสูง สร้างโดยใช้ไม้สองท่อนตีประกับเสาเป็นกากะบาท ฝังในดินอ่อนเรียกว่า งัว ไม่ต้องทำฐานราก

Step Footing เห็นได้ตามอาคารก่ออิฐผนังหนาๆ ราว 35 ซม. เช่นตึกแถวริมถนน – นางเลิ้ง สร้างโดยเรียงไม้ท่อนกลม วางเรียงในร่องแนวผนัง ก่ออิฐลดหลั่นขึ้นมาจนเหลือความกว้างเท่าที่เห็น สูงขึ้นไปจนถึงหลังคา ไม่ต้องมีเสาคาน

ฐานแผ่ เคยมีการรองก้นหลุมด้วยหินใหญ่ ตามด้วยหินเล็ก ทับหน้าด้วยทราย เทคอนกรีตหยาบ แล้วทำฐานราก ใช้กันจนถึงราวปี 2520 จึงเลิก คงเพราะหาหินใหญ่ลำบาก เปลี่ยนมาตอกเสาเข็มไม้ กดลึก 1.50 เมตร เพื่อให้ไม้แช่อยู่ในระดับน้ำใต้ดิน นิยมกำหนดขนาดเสาไม้ หกนิ้ว หกเมตร แต่มีปัญหาขนาดเสาเข็มมักผอมกว่าที่กำหนด จึงเปลี่ยนมาใช้เสาเข็มคอนกรีตหกเหลี่ยมกลวง เช่นในปัจจุบัน บางแห่ง ก็ทำเข็มรูปตัวที ขาย

ต่อมา การตอกเข็มกลุ่มแล้วขุดหลุมทำฐานรากบ้านจัดสรร ที่สร้างเป็นจำนวนมาก เป็นการเสียเวลา มีการนำเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเข้ามาใช้ บ้านจัดสรรจึงเปลี่ยนเป็นตอกเสาเข็มเดี่ยว ต้นเดียว จึงนิยมกันแพร่หลาย เนื่องจากลดงานขุดฐานราก ราคาตอกเสาเข็มคิดจากเจ้าของงาน

บางที่ ไม่มีที่พอตั้งปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ก็ใช้เสาเข็มเจาะแห้ง ซึ่งลดความสะเทือนต่อบ้านใกล้เคียง แต่ราคาสูงขึ้นอีก

ส่วนเสาเข็มชนิดเจาะนำ Auger Press เสาเข็มเจาะเปียก เสาเข็มเหล็กพืด ฯลฯ ไม่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย เพราะรับน้ำหนักได้สูงมากเกินความจำเป็น

อาคารในกรุงเทพ ย้อนไปตั้งแต่ตอนสร้างอาคารราชดำเนินทั้งแถว รวมกระทรวงต่างๆ อาคารศาลฎีกา หอสมุดแห่งชาติ ฯลฯ ไม่ได้ตอกเข็มคอนกรีตอัดแรง อาคารเหล่านั้น ก็ยังใช้งานมาถึงทุกวันนี้

ดังนั้น ฐานรากบ้านพักอาศัย ก็ใช้เสาเข็มสั้นได้ดี ขึ้นกับการออกแบบ ราคาค่าก่อสร้างก็ถูก ลดปัญหาการทรุดตัวของดินรอบบ้านเร็วกว่าตัวบ้านเหมือนกรณีใช้เสาเข็มยาว ลดค่าซ่อมบำรุง

กทม. กำหนดระดับถนนทั่วกรุง ว่าถนนใด จะมีระดับหลังถนนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเท่าใด ไม่ยกถนนสูงกว่าค่าที่กำหนด ดังนั้น ถ้ารู้ค่าระดับถนนที่ กทม. กำหนด ถือเป็นค่าระดับ 0.00 ม. ของบ้าน หากออกแบบให้ระดับพื้นบ้านเป็น 1.20 เมตร สมมติดินทรุดตัวปีละ 3 ซม. จะใช้เวลา 40 ปี พื้นบ้านจึงทรุดต่ำลงมาถึงระดับ 0.00 ม. แล้วบ้านอายุ 40 ปี จะใช้อยู่อาศัยต่อไปอีกกี่ปี โครงสร้างหมดอายุต้องรื้อสร้างใหม่แล้ว

กรณีนี้ ไม่พูดถึงที่ดินแถวบางพลี บางบ่อ ที่เดิมเป็นป่าจากนะครับ ดินแถวนั้น เอามากวน จะเละเป็นเลนเลย ตอกเข็มเสร็จไปแล้ว ศูนย์เข็มยังขยับตัวตามน้ำขึ้นน้ำลงได้

การใช้เสาเข็มยาวเพียงหนึ่งต้นต่อฐาน ต้องควบคุมงานให้ดี ต้องถูกตำแหน่ง รอยต่อเข็ม (ถ้ามี) ต้องสมบูรณ์ การตอกต้องได้ดิ่ง กรณีเสาเข็มกลุ่ม ศูนย์เข็มเคลื่อนไปบ้าง ก็ไม่เป็นอันตรายต่อตัวบ้าน

บ้านเสาเข็มยาว หากทำที่จอดรถในบ้าน โดยสร้างพื้นจอดรถบนคาน ราคาก็แพง ควรทำ Transition Slab หน้าพื้นจอดรถเชื่อมพื้นดินด้วย แก้ปัญหาคอสะพานทรุด ถ้าทำพื้นจอดรถชนิดบนดิน อย่าลืมลดระดับคานคอดินหน้าทางเข้าให้ต่ำพอควร ป้องกันน้ำหนักรถกับน้ำหนักพื้นบนดินที่ทรุดตัว ไปกดคานคอดินหักเป็นอันตรายต่อเสาบ้าน ต้องซ่อมปรับระดับพื้นเป็นระยะ และต้องระวังให้ช่างรื้อพื้นเดิมส่วนที่อยู่เหนือคานคอดินออกให้หมด ห้ามเทคอนกรีตทับไปเลย

ปัญหาที่ว่าเหล่านี้ ไม่เกิดกับบ้านที่ใช้เสาเข็มสั้น และยังไม่ต้องระวังท่องานระบบ จะเสียหายจากดินรอบบ้านทรุดมากกว่าตัวบ้าน

ดังนั้น จึงควรพิจารณาว่าจะใช้วิธีใดในการออกแบบก่อสร้าง



Create Date : 09 สิงหาคม 2550
Last Update : 25 พฤษภาคม 2551 19:38:51 น. 2 comments
Counter : 2958 Pageviews.  
 
 
 
 
ข้อความน่าสนใจมากครับ
ขอบคุณที่ให้ความรู้คร๊าบ
 
 

โดย: jetmom3425 วันที่: 9 สิงหาคม 2550 เวลา:11:25:01 น.  

 
 
 
ขอบคุณครับ

@ เสาเข็มเจาะ @
 
 

โดย: zaygutae วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:1:23:13 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

KittySP
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 21 คน [?]




[Add KittySP's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com