วัดระฆังหลังฆ้อน กับ กการหล่อพระพุทธชินราช ครั้ง รัชกาลที่๕






ภาพประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง รัชกาลที่ 5

ภาพประวัติศาสตร์เมื่อครั้ง รัชกาลที่ 5
ภาพถ่ายที่ฝั่งกรมอู่ทหารเรือ โดยRobert Renz เป็นพิธีอัญเชิญพระพุทธชินราช มองดีๆจะเห็นรัชกาลที่ 5,กรมพระยาดำรงฯ,เจ้าฟ้าวไลย ,
ทรงเสด็จในภาพ








พระยาชลยุทธโยธินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารเรือ ได้กราบถวายบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เชิญพระพุทธชินราชจำลองไปตกแต่งที่กรมทหารเรือ เพราะมีโรงหล่อ มีเครื่องมือครบถ้วน และสามารถบังคับบัญชาให้ช่างผลัดเปลี่ยนเป็นเวรกันตกแต่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบดังนี้ ทรงโสมนัสและทรงเชื่อว่าสำเร็จ

วันที่ 2 พฤศจิกายน ขบวนเรือพระพุทธชินราชจำลองถึงกรุงเทพมหานคร เชิญขึ้นที่โรงหล่อที่ทำการของกรมทหารเรือ ช่างสับเปลี่ยนกันเป็นสำรับ ตกแต่งทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดเวลา 24 ชั่วโมง จนสำเร็จเรียบร้อย (จากหนังสือพระพุทธเจ้าหลวงกับวัดเบญจมบพิตร หน้า 151 และ หน้า 159)







เศษโลหะที่เหลือจากการตกแต่งองค์พระพุทธชินราชจำลองในครั้งนั้น (พ.ศ. 2444) กรมทหารเรือหรือผู้เกี่ยวข้องยังคงเก็บรักษาไว้ (และมีการมอบบางส่วนให้วัดระฆังฯ เมื่อครั้งทางวัดทำพิธีหล่อพระ วัดระฆังหลังฆ้อน) เพราะเป็นของดีและโลหะเช่นนั้นหาไม่ได้ง่าย ๆ


พระวัดระฆังหลังฆ้อน 

พุทธลักษณะของพระวัดระฆังหลังฆ้อนมีหลายพิมพ์ ทั้งองค์พระล่ำ และผอม
ชะลูด (และพิมพ์พิเศษ)

ด้านหน้า : เป็นพระพุทธประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเม็ดบัวสองชั้น อยู่บนกรอบสี่เหลี่ยม (บางองค์แต่งโค้งมน) มีซุ้มโค้งโดยรอบองค์และฐาน เหนือพระเศียรและข้างองค์มีใบโพธิ์โดยรอบ มีพระกรรณ แต่ไม่เห็นรายละเอียดบนพระพักตร์

ด้านหลัง : หลัังเรียบ บางองค์มีรอยตะไบ และแอ่นเป็นเส้น

เนื้อ : เป็นเนื้อโลหะผสม

ความหนา : มีทั้งหนามากและธรรมดา สันนิษฐานว่าเกิดจากการถ่ายเทของโลหะลงไปในเบ้าแม่พิมพ์ (หรือการนำพาความร้อนนั่นเอง)





















Create Date : 18 มิถุนายน 2560
Last Update : 18 มิถุนายน 2560 8:47:44 น.
Counter : 3984 Pageviews.

6 comments
  
ใช้เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น นับตั้งแต่ทำหุ่นและถ่ายแบบ ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2443 จนถึงวันอัญเชิญพระพุทธชินราชประดิษฐาน ณ พระอุโบสถ วัดเบญจมพิตร ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2444 เป็นเวลา 1 ปี พอดี
โดย: . (thaithinker ) วันที่: 18 มิถุนายน 2560 เวลา:8:48:26 น.
  
ในการหล่อองค์พระประธานที่สำคัญขนาดนี้ ย่อมต้องมีพิธีพุทธาภิเษก และบรรดาพระเกจิอาจารย์ในยุคสมัยนั้น ล้วนแล้วแต่เข้มขลังในพุทธาคม โดยเฉพาะเป็นพิธีหลวงเช่นนี้ด้วยแล้ว หลวงพ่อต่าง ๆ ที่มาร่วมพิธี ก็ต้องยิ่งทุ่มเทพลังสมาธิและพลังจิตอย่างเต็มที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) คงเล็งเห็นความสำคัญประการนี้ จึงได้นำเนื้อทองเหลืองที่เหลือจากพิธีดังกล่าวมาสร้างเป็นพระเครื่องขนาดเล็กให้ประชาชนบูชา




พระวัดระฆังหลังฆ้อน สร้างที่วัดระฆัง สมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจา่รย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) สมเด็จฯ เจริญ เป็นเจ้าอาวาส วัดระฆัง องค์ที่ 4 ต่อจากสมเด็จพระพุทธบาทปิลันทน์ (ม.จ. ทัด เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา) นับเป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์ของวัดระฆังองค์หนึ่ง ในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อน ท่านมอบให้ อาจารย์พา วัดระฆัง เป็นเจ้าพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งว่ากันว่า ท่านได้นิมนต์ หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง บางขุนเทียน มาร่วมปลุกเสกด้วย


พระวัดระฆังหลังฆ้อนสร้างทั้งหมดสองครั้ง

ครั้งแรก

การสร้างครั้งแรกนั้นอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2453 ถึง พ.ศ. 2457 เพราะการสร้างครั้งนั้น สมเด็จฯ (เจริญ) ยังมีสมณศักดิ์เป็น "พระพิมลธรรม" อยู่ (เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ใน พ.ศ. 2464)

การสร้างครั้งนี้เททองที่บริเวณพระอุโบสถ พิธีกรรมคราวนั้นกล่าวได้ว่าทำอย่างใหญ๋โต เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองถวายไปยังพระคณาจารย์ต่าง ๆ ที่มีชื่อทั้งในกรุึงเทพ ธนบุรี และต่างจังหวัด ทำการลงยันต์แล้วส่งกลับคืนมา แบ้วทำแผ่นทองเหลืองลงยันต์นั้นมาหลอมรวมกับทองเหลืองเก่า ซึ่งมีทั้งฝาบาตรและถาดทองเหลืองเก่าที่มีอยู่มาในสมัยนั้น โบราณเรียกทองชนิดนี้ว่าทองใบ หรือ ทองลำย่อย เมื่อเทเป็นองค์พระแล้วเนื้อพระจึงดูเข้มจัด มีกระแสแคล้ายกับทองดอกบวบ

พระวัดระฆังหลังฆ้อน แบ่งเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งเป็นพระที่ไม่ได้ชัดแต่ง ให้เช่าองค์ละ 1 บาท ส่วนอีกอย่างหนึ่งเป็นพระขัดแต่งสวยงามให้องค์ละ 2 บาท

วิธีขัดแต่ง พระสมเด็จท่านจ้างให้โยมปั้น ซึ่งอยู่ในหอไตรฯ ในสระเป็นผู้ขัดแต่ง หลังจากที่ตัดพระออกจาแกนชนวนเป็นองค์ ๆ แล้วก็เอาตะไบลงทั้ง 4 ด้าน แล้วขัดด้วยกระดาษทรายทั้งด้านข้างและด้านหลัง จากนั้นจึงเอารากลำพูขัดเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสร็จแล้วจะดูงดงามมาก ถ้าสมัยนี้เรียกว่า หลังเจียรเพชร

การเททองครั้งที่ 2

การเททองครั้งที่สองนี้พระเทพญาณเวที (ละมูล) ได้เล่าว่าในตอนนั้นท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว (บรรพชา พ.ศ. 2458) และสมเด็จพระอุปัชฌาย์ของท่านเลื่อนสมณจากพระพิมลธรรม เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2467 และมรณภาพในปี พ.ศ. 2470

ดังนั้นการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนครั้งที่สอง จึงอยู่ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2458 ถึง พ.ศ. 2470

ข้อความเกี่ยวกับการสร้างพระทั้งสองครั้งในช้างต้นนี้ ผู้เรียบเรียง (ม.ร.ว.
อภิเดช อาภากร) ได้นำมาจากเรื่อง "พระสมเด็จปรกโพธิ์ เ้นื้อทองเหลือง" จากหนังสือ "ของดีวัดระฆัง" พระครูปลัดสมคิด สิริวุทฒโน รวบรวม ในที่นี้ผู้เขียนขอเพิ่มเติมข้อมูลที่เคยได้รับฟังมา แต่ไม่มีระบุในบันทึกข้างต้นนี้บางประการคือ

เนื้อโลหะซึ่งใช้ในการสร้างพระวัระฆังหลังฆ้อนนั้น มีส่วนผสมของเศษโลหะที่เหลือจากการแต่งพระพุทธชินราชจำลองที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อที่จังหวัดพิษณุโลก แล้วทรงนำไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรฯ อยู่ด้วย
โดย: thaithinker วันที่: 18 มิถุนายน 2560 เวลา:8:50:59 น.
  
สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง ๖๐ รูป อาทิ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม (ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ (จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓)
โดย: thaithinker (thaithinker ) วันที่: 20 สิงหาคม 2560 เวลา:8:05:26 น.
  
พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ ๑.๒ ซ.ม. สูงประมาณ ๑.๗ - ๒.๐ ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ผู้เป็นบุตรของ หม่อมเจ้าถึก พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชสกุล อิศรางกูร เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ ของวัดระฆังต่อจาก พระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ. ทัด เสนีวงศ์) ผู้สร้าง "พระปิลันทน์" อันลือชื่อ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สร้างพระระฆังหลังฆ้อนขึ้นในขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี ๒๔๖๔) ท่านได้สร้าง พระสมเด็จวัดระฆังหลังฆ้อน ขึ้นจุดประสงค์เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ซ่อมพระอุโบสถวัดระฆังหลังเก่า
โดย: . (thaithinker ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:23:03:05 น.
  
พระวัดระฆังหลังค้อน สร้างทั้งหมดสองครั้ง สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้บริจาคทรัพย์ซ่อมแซมพระอุโบสถวัดระฆัง หลังเก่า แต่มีบางข้อมูลได้ระบุว่า การสร้างครั้งแรกนั้นอยู่ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗ เพราะการสร้างครั้งนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ) ยังมีสมณศักดิ์เป็น "พระพิมลธรรม" อยู่ (เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๔)

การสร้างครั้งนี้เททองที่บริเวณพระอุโบสถ พิธีกรรมคราวนั้นกล่าวได้ว่าทำอย่างใหญ่โต เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองถวายไปยังพระคณาจารย์ต่าง ๆ ที่มีชื่อทั้งในกรุงเทพ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกัน ทำการจารอักขระลงยันต์แล้วส่งกลับคืนมา แล้วนำแผ่นทองเหลืองลงยันต์นั้นมาหลอมรวมกับชนวน และเศษชิ้นส่วนโลหะที่เหลือจากการตกแต่งพระพุทธชินราช (จำลอง) ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ รวมทั้งทองเหลืองเก่า ซึ่งมีทั้งฝาบาตรและถาดทองเหลืองเก่าที่มีอยู่มากในสมัยนั้น โบราณเรียกทองชนิดนี้ว่าทองใบ หรือ ทองลำย่อย เมื่อเทเป็นองค์พระแล้วเนื้อพระจึงดูเข้มจัด มีกระแสคล้ายกับทองดอกบวบ
โดย: . (thaithinker ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:23:04:15 น.
  
นอกจากนี้ยังมีพระ เนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ ก็เคยพอเห็น ..แต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า หากจะแยกแยะถึงพระที่หล่อในครั้งแรกและครั้งที่ ๒ ดูจะเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีจำนวนพระมากและหล่อด้วยกรรมวิธีโบราณและมีหลายพิมพ์ทรง ส่วนใหญ่นักสะสมจะแยกแยะจากกระแสเนื้อหาของพระเป็นหลัก โดยพระที่จัดสร้างขึ้นครั้งแรกกระแสเนื้อจะออกเหลืองแบบทองดอกบวบ บางองค์จะออกกระแสเหลืองอมเขียว ส่วนที่สร้างในครั้งต่อมา กระแสเนื้อจะออกสีเหลืองอ่อน ส่วนพระที่กระแสเนื้อออกแดงเข้มคล้ายสีทองแดงเถื่อนหรือที่เรียกว่าเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ เท่าที่พบเข้าใจว่าเป็นเนื้อโลหะก้นเบ้าไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นพระที่สร้างครั้งแรกหรือครั้งหลัง ถ้าจะแบ่งแยกแบบคร่าวๆ คงดูที่ความลึกขององค์พระเป็นเกณฑ์ ถ้าองค์พระตื้นๆ มักถูกจัดไปเป็นพระที่สร้างรุ่นที่ ๒

รายละเอียดพิธีการสร้างพระในคราวแรกจากบันทึกประวัติส่วนที่หลงเหลืออยู่ ที่พระราชธรรมภาณี (รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี ๒๕๑๓) บันทึกไว้ มีดังต่อไปนี้.............

"พิธีกรรม เนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด ได้ทำการลงจารอักขระเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา

เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเสกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ที่กำหนดไว้...

สำหรับพระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้นตามบันทึกประวัติข้างต้นได้ระบุไว้มีจำนวนถึง ๖๐ รูป ปรากฏรายนามบางส่วน อาทิ ๑. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, ๒. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, ๓. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, ๔. หลวงพ่อพ่วง วัดกก, ๕. กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, ๖.หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, ๗. หลวงพ่อสาย วัดอินทาราม (ใต้), ๘. หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, ๙. หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม, ๑๐. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, ๑๑. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, ๑๒. หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, ๑๓. หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, ๑๔. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, ๑๕. หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, ๑๖. พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), ๑๗. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, ๑๘. หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, ๑๙. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, ๒๐. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ฯลฯ

"...สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก สร้างและประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ ๓ เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ ๕ เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ "ระฆังหลังฆ้อน"

โดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น... "

บางตำนานเล่าถึงวิธีการหล่อที่แตกต่างกันออกไปเล็กน้อยดังนี้

การเทหล่อในคราวแรกคาดว่าหล่อพระแบบเรียงต่อกันองค์ต่อองค์ในแนวตั้ง ยาวเหมือนไม้บรรทัด เมื่อทุบดินหุ่นออกแล้ว คงใช้สิ่วตอกตัดองค์พระแต่ละองค์ให้แยกจากกัน บางครั้งฆ้อนตอกพลาดเป้าไปโดนองค์พระก็มีบ้าง (ที่มาของชื่อระฆังหลังฆ้อน)
โดย: . (thaithinker ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา:23:05:37 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

thaithinker
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กตัญญู ขยัน ซื่อสัตย์
เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต
ที่เราทุกคนเกิดมาเป็นคน
พึงรักษาไว้








JAVA counter clicks
มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog