พระพุทธชินราช รุ่น พานพระศรี ปี 2496















พระพุทธชินราชรุ่น ‘พานพระศรี’ ปี2496 พระขนาดเล็กกระทัดรัด ศิลปะสวยงามแถมพิธีพุทธาภิเษกยังสุดยอด  นาทีนี้ยังเป็นพระแท้ที่สะสมง่าย...ยังไม่เคยเห็นของปลอมในสนามพระ แต่ที่ยากก็คือต้องขยันเดินหาสักหน่อย

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นับเป็นครั้งหนึ่งที่ทางวัดสร้างพระพุทธชินราชที่มีพิธีใหญ่ 
พระเกจิร่วมพิธี ดังนี้
๑. พระราชโมลี วัดระฆังโฆสิตามราม กรุงเทพมหานคร(หลวงปู่นาค)
๒. พระศากยุตติวงศ์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
๓. พระวิเชียรปัญญามุนี วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์
๔. พระครูสังฆพิชิต วัดเกาะสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร
๕. พระครูสังวุฒคณี วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบูรณ์
๖. พระครุพินิจสมณคุณ วัดนิยมยาตรา จังหวัดสมุทรปราการ
๗. พระครูรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
๘. พระครูญาณอุดม วัดบุพพาราม จังหวัดอุตรดิตถ์
๙. พระครูวิริยกิตติ วัดประดู่ฉิมพลี  กรุงเทพมหานคร
๑๐. พระครุพิบูลย์สุนทร วัดสะพานหิน จังหวัดพิจิตร
๑๑. พระครูพิพิฒน์ธรรมโกศล วัดมงคลทับคร้อ จังหวัดพิจิตร
๑๒. พระครูสุนทรสังฆกิจ วัดแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
๑๓.​ พระครูนอ วัดกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๔. พระครูเสือ วัดมงคลนิมิตร์ จังหวัดสมุทรปราการ
๑๕. พระครูวินัยธรจันทร์ วัดคลองระหง จังหวัดนครสวรรค์
๑๖. พระอาจารย์มหาสุวรรณ วัดทินกรนิมิตร์ จังหวัดนนทบุรี
๑๗. พระปลัดเจริญ วัดตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
๑๘. พระอาจารย์สิน วัดเทพราช จังหวัดฉะเชิงเทรา
๑๙. พระอุปัชฌาย์ไช้ วัดช่องลม จังหวัดอุตรดิตถ์
๒๐. พระอุปัชฌาย์เกตุ วัดหัวช้าง จังหวัดลพบุรี
๒๑. พระอาจารย์จันทร์ วัดบ้านคอย จังหวัดลพบุรี
๒๒. พระอาจารย์ประดิษฐ์ วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
๒๓. พระอาจารย์คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี
๒๔. พระอาจารย์สมบัติ วัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
๒๕. พระอาจารย์สำเภา วัดป่าหวายทุ่ง จังหวัดลพบุรี
๒๖. พระอาจารย์อ้อน วัดหนองโพธิ์ จังหวัดนครสวรรค์
๒๗. พระอาจารย์เอี้ยง วัดป่าหวาย จังหวัดลพบุรี
๒๘. พระอาจารย์ทองอยู่ วัดเทวประสาท จังหวัดพิจิตร
๒๙. พระอาจารย์สิงห์โต วัดสกัดน้ำมัน จังหวัดพิษณุโลก
๓๐. พระอาจารย์ฟื้น วัดจันทร์ตะวันออก จังหวัดพิษณุโลก
๓๑. พระอาจารย์ไส้ วัดศรีรัตนาราม จังหวัดพิษณุโลก
ส่วนพระเกจิอาจารย์อีก ๔ รูป ซึ่งได้รับนิมนต์มาจากวัดสระเกษราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อสวดพุทธาภิเษก ประกอบด้วย
๑. พระอาจารย์บัว
๒. พระอาจารย์ชำนาญ
๓. พระอาจารย์พร
๔. พระอาจารย์หนู
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ดำเนินการพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น ทางวัดได้เก็บเหรียญไว้จนในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้นำออกมาให้ประชาชนได้บูชากัน
ขณะที่ทางวัดเก็บรักษาไว้นั้น ยังได้นำเข้าปลุกเสกอีกถึง ๒ ครั้ง คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๘
ลักษณะของเหรียญปั๊มพระพุทธชินราช รุ่นพานพระศรี หรือที่เรียกกันว่า เหรียญปั๊มพระพุทธชินราช รุ่นเสารืห้า เป็นเหรียญปั๊มรูปจำลองพระพุทธชินราช มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ ๑.๕ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร
ด้านหน้า เป็นรูปจำลองพระพุทธชินราชปางมารวิชัย ประทับบนอาสนะฐานบัวสองชั้น
ด้านหลัง ด้านบนเป็นอกเลา ซึ่งปรากฏอยู่ตรงประตูเข้าพระวิหารพระพุทธชินราช วัดำระศรีรัตนมหาธาตุ ล่างลงมาเป็นรูปพานพุ่มบรรจุตัวอุณาโลม
พานพระศรีนี้เป็นตราประจำวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก


 



Create Date : 20 มีนาคม 2566
Last Update : 20 มีนาคม 2566 19:07:56 น.
Counter : 758 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

thaithinker
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กตัญญู ขยัน ซื่อสัตย์
เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต
ที่เราทุกคนเกิดมาเป็นคน
พึงรักษาไว้








JAVA counter clicks
มีนาคม 2566

 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
21
22
23
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog