พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์












พระกริ่งหลังปิ จัดเป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ที่เป็นของดีที่น่าสะสม เนื่องจาก ถอดแบบมาจากพระกริ่งจาตุรงคมุนี ของเจ้าคุณศรีฯ โดยพระครูหนู เป็นผู้ถอดแบบ โดยตอกโค๊ตพระคาถา ปิ ไว้เพื่อป้องกันการสับสน และเป็นผลทางด้านเมตตามหานิยม เพราะเหตุที่ว่า พระคาถา ปิ นี้มาจากคัมภีร์รัตนมาลา ซึ่งเป็นคำสวดพิเศษที่ถ่ายทอดศึกษาสืบเนื่องมาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งอัญเชิญพระศรีศากยมุนี จาก กรุงสุโขทัยมายังวัดสุทัศน์ฯ



ในการเททอง พระกริ่งหลังปิ นี้มีการใส่ชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์จำนวนมาก พิธีเททองก้อจัดได้ในฤกษ์สำคัญของการสร้างพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ กล่าวคือจัดในวันเพ็ญเดือนสิบสอง พ.ศ. 2507

วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง วโรกาสฉลองสมณศักดิ์ของสมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยม และเพื่อหาทุนซ่อมแซมพระอุโบสถ วัดสุทัศน์ หลังจากเททอง สมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยม ได้นำพระกริ่งชุดนี้ให้พระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในยคนั้นช่วยอธิฐานจิตให้ มากมาย อาทิ หลวงพ่อ เนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ก่อนที่จะนำพระชุดนี้ เข้าพิธีพุทธาภิเศกพิธีใหญ่ ณ.พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 ป็นเวลาสามวันสามคืน โดยนิมนต์ พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีลาจริยวัตร อาทิเช่น

ลพ มุ่ย วัดดอนไร่
ลพ อั้น วัดพระญาติการาม
ลพ แต้ม วัดพระลอย
ลพ เนื่อง วัดจุฬามณี

เป็นต้น















Create Date : 12 มิถุนายน 2559
Last Update : 12 มิถุนายน 2559 10:55:21 น.
Counter : 4066 Pageviews.

3 comments
  
พระกริ่งหลังปิ เป็นพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ที่เป็นของดีที่น่าบูชา เนื่องจาก ถอดแบบมาจากพระกริ่งจาตุรงคมุนี ของเจ้าคุณศรีฯ โดยพระครูหนู เป็นผู้ถอดแบบ ตอกโค๊ตพระคาถา ปิ ไว้ที่ฐานด้านหลัง เพื่อป้องกันการสับสน และมีผลทางด้านเมตตามหานิยม เพราะเหตุที่ว่า พระคาถา ปิ นี้มาจากคัมภีร์รัตนมาลา ซึ่งเป็นคำสวดพิเศษที่ถ่ายทอดศึกษาสืบเนื่องมาแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งอัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากกรุงสุโขทัยมายังวัดสุทัศน์ฯ ในการเททอง พระกริ่งหลังปิ มีการใส่ชนวนพระกริ่งสายวัดสุทัศน์จำนวนมาก พิธีเททองจัดในฤกษ์สำคัญตามสายการสร้างพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ กล่าวคือจัดในวันเพ็ญเดือนสิบสอง พ.ศ. 2506 วัตถุประสงค์ในการสร้าง เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวโรกาสฉลองสมณศักดิ์ของสมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยมและเพื่อหาทุนซ่อมแซมพระอุโบสถวัดสุทัศน์ หลังจากเททอง สมเด็จพุฒาจารย์เสงี่ยม ได้นำพระกริ่งชุดนี้ไปให้พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นอธิษฐานจิตให้มากมาย อาทิ หลวงพ่อ เนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ก่อนที่จะนำพระชุดนี้เข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ.พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ในเดือน 6-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน โดยนิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้ทรงศีลาจริยวัตร อาทิเช่น ลพ. มุ่ย วัดดอนไร่ ลพ. อั้น วัดพระญาติการาม ลพ. แต้ม วัดพระลอย ลพ. เนื่อง วัดจุฬามณี เป็นต้น พระกริ่งกระแสเนื้อกลับดำ เป็นประกายแวววาว มีจารที่ก้นโดยหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดย: thaithinker วันที่: 13 มิถุนายน 2559 เวลา:21:48:31 น.
  
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖ เนื่องจากวัดสุทัศน์เทพวราราม ในขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมลงมาก ประกอบกับเป็นวัดที่ใหญ่โตมาก หากจะบูรณะก็ต้องใช้เงินไม่น้อย เพื่อจัดหาปัจจัยมาบูรณะวัด จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) โดยตอกโค้ตตัว “ ปิ " ไว้ตรงฐานด้านหลัง แต่บางองค์จะตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างพระกริ่งจาตุรงค์มุนีของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์ ยติธโร)

เมื่อประกอบพิธีเททองพระกริ่งเสร็จเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) ได้จัดส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่น หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสก ซึ่งแต่ละท่านก็ได้จารที่ก้นขององค์พระกริ่งทุกองค์ รวมทั้งหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จารตัวยันต์กอหญ้าด้วย รวมเวลาทั้งสิ้น ๓ ปีเต็ม แล้วจึงนำกลับมาทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป เช่น

๑. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
๒.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
๓.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
๔.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
๕.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
๖. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
๗.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ
๘.หลวงพ่อถิร์ วัดป่าเลไลยก์
๙.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
๑๐.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
๑๑.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
๑๒.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
๑๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๔.พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
๑๕.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
๑๖.หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
๑๗.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต
๑๘.หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
๑๙.หลวงปู่นาค วัดระฆัง ฯลฯ เป็นต้น
เนื้อในองค์พระเป็นสีนาก แล้วกลับดำเป็นมันวาว มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกๆ บางองค์ก็จะมียาแดงขัดผิวติดอยู่ตามซอกๆด้วย

พระกริ่งหลัง “ปิ” จึงเป็นพระกริ่งที่น่าเช่าหามาบูชามาก เพราะ
เนื้อหามวลสารดีตามตำรับวัดสุทัศน์ฯ
พระกริ่งรุ่นนี้ได้ชนวนเก่าๆที่เหลือจากหล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ทุกรุ่นของสมเด็จสังฆราช (แพ) รวมกับของท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์) ซึ่งสมเด็จพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) ได้นำมาจากพระตำหนักของสมเด็จสังฆราช (แพ) ด้วยตัวท่านเอง และยังได้รับเพิ่มจากท่านเจ้าคุณแป๊ะ (พระราชวิสุทธาจารย์) เจ้าคณะ๖ ผู้เป็นอดีตคนรับใช้ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) อีกเป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้ชนวนเก่าๆมาผสมกันเป็นจำนวนมาก

มีการบรรจุเม็ดกริ่งร่วมกับผงวิเศษ
หลังจากเททองเป็นองค์พระและตัดออกมาเพื่อตบแต่งแล้ว ได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งร่วมกับผงวิเศษของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) จึงทำให้ไม่ค่อยมีเสียงดัง เมื่อเขย่าพระกริ่งรุ่นนี้

ผู้สร้าง
สมเด็จพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) ผู้สร้าง เป็นถึงพระปลัดขวาของสมเด็จฯสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และสร้างด้วยเนื้อนวะโลหะตามตารับของวัดสุทัศน์ฯทุกประการ

พิธีดี และถูกต้องตามตำรับของวัดสุทัศน์ฯ
เมื่อพิธีเททองเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) ได้จัดส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่น หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปูดู่ วัดสะแก ให้ทำการปลุกเสก เป็นเวลาทั้งสิ้น ๓ ปีเต็ม ซึ่งแต่ละท่านก็ได้จารที่ก้นขององค์พระกริ่งทุกองค์ แล้วจึงนำกลับมาทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนมากกว่า ๔๐ รูป
-
โดย: thaithinker วันที่: 20 มิถุนายน 2559 เวลา:19:31:43 น.
  
หากย้อนไปมองพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่สร้างขึ้นในเมืองไทย จะพบว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สายสำนักวัดสุทัศนเทพวราราม มีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง นับเนื่องแต่องค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ที่ทรงสร้างพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ขึ้นมาแล้ว วัดสุทัศนเทพวรารามยังมีลูกศิษย์ที่สืบสานการสร้างต่อๆ มา ไม่ว่าจะเป็น พระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) ที่นักสะสมพระเครื่องคงคุ้นอยู่กับชื่อสมณศักดิ์ท่านที่ "พระศรีสัจจญาณมุนี" และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ)
พระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรารามที่สืบสานตำราการสร้างต่อมาอีกรุ่นหนึ่งที่น่าสนใจมิน้อยทีเดียว เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์ ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2508 เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น
พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีขนาดความสูง 3.2 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.9 เซนติเมตร ฐานบัวมี 7 คู่ ด้านหลังมีโค้ตตัว "ปิ" มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมา มีจำนวนสร้างมากถึง 10,000 องค์ ประกอบพิธีเททองและพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน มีพระเกจิอาจารย์ร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย อย่างไรก็ตาม โค้ตตัว "ปิ" อาจไม่ได้ตอกตรงฐานหลัง แต่จะมีการตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะก็มี และรอยจารที่ฐานชั้นล่างเกือบจะทุกองค์ด้วย จารดังกล่าวเป็นจารยันต์กอหญ้า โดยหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระกริ่งหลังปิบางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุโบสถ บางส่วนที่ยังไม่ได้ตัดก้านชนวน ก็เก็บไว้ทั้งก้าน ต่อเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2526 ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้รับอนุญาตจากคณะสงฆ์ให้นำพระกริ่งหลังปิ ออกจากพระอุโบสถมาให้ประชาชนเช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของพระกริ่งที่ยังไม่ได้ตัดจากก้าน ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้ตัดแต่งแล้วตอกโค้ตตัวปิ ที่ทำขึ้นใหม่มาตอก แล้วนำไปให้พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม อธิษฐานจิตปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง
จาก มติชนสุดสัปดาห์
วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 23 ฉบับที่ 1194
กริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ ในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) พระกริ่งวัดสุทัศนเทพวรารามที่สืบสานตำราการสร้างต่อมาอีกรุ่นหนึ่งที่น่า สนใจมิน้อยทีเดียว เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์ ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีขนาดความสูง 3.2 เซนติเมตร ฐานกว้าง 1.9 เซนติเมตร ฐานบัวมี 7 คู่ ด้านหลังมีโค้ตตัว "ปิ" มีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมา มีจำนวนสร้างมากถึง 10,000 องค์ ประกอบพิธีเททองและพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่ 6-8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2506 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน มีพระเกจิอาจารย์ร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาว มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย โค้ตตัว "ปิ" อาจไม่ได้ตอกตรงฐานหลัง แต่จะมีการตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะก็มี และรอยจารที่ฐานชั้นล่างเกือบจะทุกองค์ด้วย จารดังกล่าวเป็นจารยันต์กอหญ้า โดยหลวงปู่ดู่ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การสร้างพระกริ่ง หลังปิ ในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2506 เหตุที่ดำเนินการสร้างพระกริ่งนั้น ด้วยในระหว่างนั้นสภาพของทางวัดสุทัศนเทพวรารามชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ประกอบกับสภาพวัดที่ใหญ่โต หากบูรณะก็ต้องใช้เงินมิใช่น้อย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) จึงได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) ขึ้น ด้านหลังมีโค้ตตัว "ปิ" อาจไม่ได้ตอกตรงฐานหลัง แต่จะมีการตอกตรงก้นฐานที่เว้าเป็นแอ่งกระทะก็มี เพื่อแยกความแตกต่างพระซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระ มงคลราชมุนี (สนธิ์ ยติธโร) เมื่อประกอบพิธีเททองพระกริ่งเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วย เป็นเวลาทั้งสิ้นปีเต็ม แล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป อาทิเช่น
๑. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
๒.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
๓.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
๔.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
๕.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
๖. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
๗.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ
๘.หลวงพ่อถิร์ วัดป่าเลไลยก์
๙.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
๑๐.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
๑๑.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
๑๒.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
๑๓. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
๑๔.พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
๑๕.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม
๑๖.หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
๑๗.หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธินิมิต
๑๘.หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
๑๙.หลวงปู่นาค วัดระฆัง ฯลฯ เป็นต้น
กระแสเนื้อเดิมเป็นสีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย
พระกริ่งหลังปิบางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุโบสถ บางส่วนที่ยังไม่ได้ตัดก้านชนวน ก็เก็บไว้ทั้งก้าน ต่อเมื่อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.2526 ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้รับอนุญาตจากคณะสงฆ์ให้นำพระกริ่งหลังปิ ออกจากพระอุโบสถมาให้ประชาชนเช่าบูชาอีกครั้งหนึ่ง ในส่วนของพระกริ่งที่ยังไม่ได้ตัดจากก้าน ทางมูลนิธิอัฏฐมราชานุสรณ์ ได้ตัดแต่งแล้วตอกโค้ตตัว ปิ ที่ทำขึ้นใหม่มาตอก แล้วนำไปให้พระครูโกวิทสมุทรคุณ (เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม อธิษฐานจิตปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อวันที่ ๒๗ ต.ค. ๒๕๒๗ ได้มีการค้นพบพระกริ่งหลัง”ปิ”ภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ โดยพบอยู่จำนวน ๗๐๐ องค์เป็นพระที่ตัดจากช่อแล้วจำนวนสองร้อยเศษ ที่เหลือเป็นพระที่ยังอยู่ครบทั้งช่อ ทางวัดได้ส่งให้ช่างทำการตัดออกเป็นองค์ๆซึ่งกว่าจะเสร็จเรียบร้อยก็เมื่อ ๑๕ ม.ค.๒๕๒๘ แล้วทางวัดสุทัศน์ได้นำไปถวายให้หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณีทำการปลุกเสกอีกครั้ง.มูลเหตุที่ทำให้พบพระกริ่งหลัง”ปิ”คือพระ ทองสุข ผู้ดูแลด้านพระเครื่องวัตถุมงคลได้ทำการเปิดพระอุโบสถทำการสำรวจโดยมีคณะ กรรมการของวัดซึ่งมีคุณสำเภา ปานรัตน์และคุณธรรมนูญ เพชรลีลาร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากพระสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม ) ปี ๒๕๑๖ ได้มีประชาชนบูชาไปจนหมด จึงได้เปิดพระอุโบสถเพื่อนำเอาพระสมเด็จที่เก็บรักษาไว้ภายในพระอุโบสถออกมา ให้สาธุชนได้ร่วมบูชา เพื่อนำปัจจัยไปซ่อมแซมพระอารามที่ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา โดยการเปิดอุโบสถได้รับคำอนุญาตจากท่านเจ้าอาวาส. ทำให้พบพระกริ่งหลัง”ปิ”ด้วย พระกริ่งหลัง”ปิ”เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์เสงี่ยมสร้างไว้เมื่อ คราวปี พ.ศ.๒๕๐๖และปลุกเสกใหญ่ พ.ศ.๒๕๐๘ พระกริ่งดังกล่าวเป็นเนื้อนวโลหะสวยงาม ทำการหล่อแบบโบราณโดยนายช่างหรัส พัฒนางกูล ช่างประจำตัวของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) แต่หย่อนทางด้านความสวยงามเพราะพระทั้งหลายไม่ได้รับการตกแต่งภายหลังจากการ เททองแล้ว จำนวนการสร้างจริงๆในคราวนั้นสร้าง ๕,๐๐๐ องค์ และได้แจกให้สาธุชนที่ร่วมบริจาคปัจจัยในการซ่อมแซมพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯ โดยได้แจกไปจนหมด.หลังจากพระได้ตัดจากช่อแล้วปลุกเสกโดยหลวงพ่อเนื่องจน เสร็จเรียบร้อยเมื่อ ๒ ก.พ.๒๕๒๘
พระกริ่ง”ปิ”ดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ดี เนื่องจากเหตุผล ๕ ประการ
๑.พระกริ่งหลังปิสร้างด้วยเนื้อนวโลหะกลับดำสวยงามเป็นเนื้อนวโลหะแท้ของ ตระกูลวัดสุทัศน์ฯโดยตรงและท่านผู้สร้างก็เป็นศิษย์สายตรงของสมเด็จพระ สังฆราช(แพ)โดยเป็นพระปลัดขวาของสมเด็จฯ
๒.เนื้อหาชนวนดี
พระกริ่งรุ่นนี้ได้ชนวนทุกรุ่นของสมเด็จสังฆราช(แพ)รวมกับชนวนของท่านเจ้า คุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์) ซึ่งสมเด็จพุฒาจารย์ได้นำลงมาจากพระตำหนักของสมเด็จสังฆราชด้วยตนเอง พร้อมได้รับเพิ่มเติมจากท่านเจ้าคุณแป๊ะ(พระราชวิสุทธาจารย์) เจ้าคณะ๖ ผู้เป็นอดีตคนรับใช้ใกล้ชิดของสมเด็จพระสังฆราช(แพ)อีกเป็นจำนวนมาก กล่าวได้ว่าเป็นพระกริ่งรุ่นสุดท้ายที่มีการทุ่มเทชนวนของเก่าผสมอย่างมาก มาย
๓.บรรจุกริ่งพร้อมผงวิเศษ
เมื่อเททองเป็นองค์พระและตัดออกมาแล้ว ยังได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งพร้อมกับผงวิเศษของสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ทำให้กริ่งรุ่นนี้ไม่ค่อยมีเสียงดังเมื่อเขย่า
๔. แล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวันที่๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ เมื่อพระกริ่งเสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม)ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระ คณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์ด้วยเป็นเวลาทั้ง สิ้นปีเต็มแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯเมื่อวัน ที่ ๖-๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘เป็นเวลาสามวันสามคืน โดยมีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงเข้านั่งปรกปลุกเสกจำนวนกว่า ๔๐ รูป
๕.พระกริ่งที่พบใหม่นี้ถูกเก็บลืมอยู่ภายในพระอุโบสถเป็นเวลา ๑๙ ปีเต็ม ซึ่งทุกๆปีภายในพระอุโบสถก็ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกหลายครั้ง จึงเชื่อแน่เหลือเกินว่าพระกริ่งที่พบนี้จะเปี่ยมไปด้วยพระพุทธานุภาพ
โดย: thaithinker วันที่: 17 มิถุนายน 2560 เวลา:11:47:38 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

thaithinker
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กตัญญู ขยัน ซื่อสัตย์
เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต
ที่เราทุกคนเกิดมาเป็นคน
พึงรักษาไว้








JAVA counter clicks
มิถุนายน 2559

 
 
 
1
3
4
5
6
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog