สิงหาคม 2557

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของจังหวัดพิษณุโลก
การศึกษาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของจังหวัดพิษณุโลกมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลก และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลกโดยสามารถนำแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลกไปส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันเชิงคุณภาพด้านการจัดการมาตรฐานการท่องเที่ยวต่อไป

ประชากรที่ คือ ผู้เกี่ยวข้องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของจังหวัดพิษณุโลกใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเลือกเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มีการดำเนินกิจกรรมตามหลักมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 40 คน เพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับลักษณะกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดพิษณุโลก กำหนดแนวทางสนทนาด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (ContentAnalysis) ทำการบรรยาย กรณีศึกษาการใช้ตารางและรูปภาพจากผลวิจัยที่ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์

จากผลวิจัย พบว่าการดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่มีลักษณะของการเน้นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทุกแหล่งท่องเที่ยวมุ่งเน้นการศึกษาวิถีชีวิตวัฒนธรรม ความเชื่อ และมีกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนมีการสร้างรายได้ด้วยการขายของที่ระลึกของชุมชนในพื้นที่วัฒนธรรมของผู้อาศัยในชุมชนนั้นๆแต่ยังสามารถเพิ่มงานเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้และให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่นและจากการศึกษาพบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังเป็นการท่องเที่ยวที่ครบวงจรระหว่างการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ เช่น การชม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีพิพิธภัณฑ์ของสถานที่ต่างๆทั้งโบราณสถานประเพณี วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ยาวนาน

จากการศึกษาความคิดเห็นด้านมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ นักท่องเที่ยว จำนวน 30คน และผู้ดูแลสถานที่เชิงวัฒนธรรม จำนวน10 คนได้ให้ความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหลายด้าน คณะผู้วิจัยจึงขอสรุปเพื่อเป็นแนวทางดังนี้ การพัฒนาด้านการสืบค้น สืบสาน อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในประเพณีการสนับสนุนทางด้านนโยบาย ด้านงบประมาณและด้านบุคลากร จากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและองค์กรทำให้แหล่งท่องเที่ยวจะสามารถดำรงอยู่ได้การที่พนักงานมีความรู้ความเข้าใจต่อวิถีชีวิตการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว ของจังหวัดพิษณุโลกนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ทั้งยังมีความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวและมีความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยวสามารถจัดการด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ ทั้งยังจัดการด้านการให้ความรู้และการสร้างจิตสำนึก รวมทั้งชุมชนมีรายได้จากการท่องเที่ยวได้อย่างดีศักยภาพการดึงดูดนักท่องเที่ยวคือ มีกิจกรรมที่ครอบคลุมกิจกรรมท่องเที่ยวหลักการชมวิถีชีวิตการส่งเสริมการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ วิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ความสะดวกในการเดินทางและการเข้าถึงและความสามารถที่จะรับได้ของพื้นที่
•การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวความปลอดภัย และความหลากหลายของกิจกรรมการท่องเที่ยว
•การที่พนักงานมีความรู้ความเข้าใจต่อวิถีชีวิตภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของท้องถิ่น 
•ควรมีการพัฒนาด้านการสืบค้น สืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
•แหล่งท่องเที่ยวมีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตและภูมิปัญญา
•ควรมีการนำเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น
•ควรให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการจัดแสดงประเพณี
•สร้างสิ่งจูงใจให้นักท่องเที่ยว 
•การสนับสนุนทางด้านนโยบายด้านงบประมาณ และด้านบุคลากร




Create Date : 31 สิงหาคม 2557
Last Update : 31 สิงหาคม 2557 13:43:08 น.
Counter : 1648 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kanyamon555
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



การเรียนรู้ คือวิถีของมนุษย์