มิถุนายน 2563

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
กลยุทธ์นวัตกรรมทางการจัดการ
 กลยุทธ์นวัตกรรมทางการจัดการ
โดย   กัญญามน กาญจนาทวีกูล 
                  
               การพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางธุรกิจ จะมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบธุรกิจ การสร้างภาพลักษณ์และตราสินค้าเป็นการสร้างสรรค์ธุรกิจนำพาชุมชนไทยสู่สากล โดยเริ่มจากพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมทางการตลาด การพัฒนารูปแบบธุรกิจ (Business Model) ด้านการบริหารจัดการ และการตลาด รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาดสำหรับสินค้าของธุรกิจและการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ด้านการจัดวางระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านแนวคิดการสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ด้านแนวทางการสร้างจุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากเดิม และการรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพ    ในการแข่งขัน Higgins (1995: 106-342) เสนอว่า องค์การนวัตกรรม มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการ ตามแนวคิด 7S ของ McKinsey (เทียนชัย อร่ามหยก, 2561) ดังนี้
                   1) ด้านกลยุทธ์ (Strategy) องค์การนวัตกรรม ต้องมีจุดมุ่งหมาย นโยบาย และกลยุทธ์              ด้านนวัตกรรมที่ชัดเจนแน่นอน และมีการถ่ายทอดไปสู่ฝ่ายงานต่าง ๆ ด้วยมีการส่งเสริมสร้างนวัตกรรม           โดยการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด ซึ่งจะต้องมีความสามารถและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน มีการศึกษาความเป็นไปได้ของความคิด ด้านผลิตภัณฑ์ มีความเข้าใจแนวโน้มของความต้องการของตลาด และลูกค้า และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ได้ มีการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับผู้จัดการในการสร้างนวัตกรรม และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม โดยจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นเชิงกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรมตามลำดับ  แล้วมีการถ่ายทอดลงมาจนถึงระดับบุคคล และต้องทำให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การวัดผล   การปฏิบัติงานระดับบุคคล องค์การจะต้องให้ความสำคัญกับการนำผลที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา มาทำให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นสิ่งมุ่งเน้น ของวัตถุประสงค์ในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ มีการใช้กลยุทธ์ความรวดเร็ว (Speed Strategy) และความสามารถที่เป็นจุดแข็งของผู้ปฏิบัติงานในการสร้างนวัตกรรม และมีการกำหนดช่วงเวลาและวิธีการตอบสนอง หรือชักจูงลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และมีการลดต้นทุนโดยการปรับปรุงกระบวนการการจัดการการปฏิบัติงานและทำให้เกิดนวัตกรรมด้านการตลาด
                   2) ด้านโครงสร้าง (Structure) การพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้ส่งเสริมต่อการเป็นองค์การนวัตกรรม ลักษณะโครงสร้างองค์การที่สนับสนุนการเป็นองค์การนวัตกรรม จะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักรกลให้เอื้อต่อการเกิดภาวะผู้ประกอบการ การริเริ่มออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและการจัดการ องค์การจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างโดยการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษศูนย์กำไร (Profit Centers) ฝ่ายงาน หรือการแยกบริษัทออกมาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุน ให้พนักงานมีภาวะผู้ประกอบการ โดยจะการใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การมอบให้อำนาจแก่พนักงาน     การอนุญาตให้พนักงานมีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้ประกอบการจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีภาวะผู้ประกอบการ การจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจในการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม และการแบ่งโครงสร้างองค์การเป็นหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit: SBU) ซึ่งจะทำให้เกิดความยืดหยุ่น    มีอิสระในการบริหารจัดการ และความสามารถในการตอบสนอง มีลักษณะการทำงานแบบทีมข้ามสายงาน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าและซัพพลายเออร์ได้เข้าร่วมในทีมงานคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทีมงานออกแบบกระบวนการ ทีมงานนวัตกรรมการตลาดและการจัดการ การทำงานแบบทีมข้ามสายงานจะทำให้เกิดความหลากหลายทางด้านแนวคิด ความรู้ และสามารถ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและคิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและการจัดการ มีพันธมิตรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการ กลยุทธ์การสร้างพันธมิตรเป็นการร่วมมือระหว่างสอง องค์การ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) และการร่วมเป็นพันธมิตร แบบใหม่ พันธมิตรกลยุทธ์การเปลี่ยนรูป (Transnational Strategic Alliance: TSA) ซึ่งเป็นลักษณะของการแบ่งปันทรัพยากร และความสามารถ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการกระจายต้นทุนและ ความเสี่ยงได้ดีกว่าการเป็นพันธมิตรแบบร่วมลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการ สร้างสรรค์นวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ
                   3) ระบบ (Systems) มีระบบการให้รางวัลกับนวัตกรรมซึ่งหมายถึง การให้อิสระในการคิดสร้างสรรค์ การให้การยอมรับและเกียรติแก่นวัตกร การให้รางวัลที่เป็นตัวเงินและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง   เพื่อทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับองค์การ การให้รางวัลสำหรับผู้เชี่ยวชาญ  ด้านนวัตกรรม มีการจัดตั้งโปรแกรมการให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion Program) มีการประกาศยกย่องหรือการให้รางวัลเกียรติยศแก่บุคคลที่ทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน    การเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จจะเป็นการแสดงให้ทุกคนเห็นว่า นวัตกรรมและนวัตกรเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ มีระบบข้อมูลข่าวสารการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management Information Systems: IMIS) คือ ระบบที่ใช้สำหรับตรวจสอบสภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางการตลาด      การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีระบบการประเมินความคิดสำหรับนวัตกรรม
                   4) รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) รูปแบบการบริหารจัดการถือเป็นหน้าที่ของผู้นำ        ที่ต้องมีรูปแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสม ภาวะผู้นำมีผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรม นวัตกรรมจะประสบผลสำเร็จ  หรือล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบภาวะผู้นำในทุกระดับขององค์การ ลักษณะภาวะผู้นำที่เป็น องค์ประกอบสำคัญขององค์การนวัตกรรม คือ มีการสร้างวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ (Strategic Intent) มีการใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนรูป (Transformational Leadership)
                   5) พนักงาน (Staff) คนเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ จนทำให้องค์การประสบผลสำเร็จ บุคลากรขององค์การนวัตกรรมจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าบุคลากรในองค์การรูปแบบอื่น ๆ ดังนั้นองค์การจึงต้องให้การดูแลบุคลากรที่สำคัญเหล่านี้ โดยการจัดสรรงบประมาณในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สูงขึ้น มีการสรรหาพนักงานที่มีความสามารถในการคิดและ     การแข่งขัน มีผู้สร้างความสำเร็จด้านความคิดและนวัตกรรม (Innovation and Idea Champion) คือ พนักงานต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ อดทน กระตือรือร้น มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ทักษะในการวิเคราะห์       มีความสามารถในการโน้มน้าว การขาย การสร้าง แรงจูงใจ มีความฉลาดหลักแหลม และเป็นผู้ที่เผชิญหน้ากับอุปสรรคต่าง ๆ ในองค์การ
                   6) ค่านิยมร่วม (Shared Values) องค์การจะต้องพยายามค้นหา ค่านิยมที่จะช่วยในการ     สร้างนวัตกรรม และพยายามสร้างให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ โดยมีการให้ความสำคัญการยอมรับ หรือเคารพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การมีวัฒนธรรมเช่นนี้จะช่วยกระตุ้น       และส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการส่งเสริมความคิดใหม่และกล้าเสี่ยง องค์การนวัตกรรมจะต้องส่งเสริมให้พนักงานกล้าเสี่ยงและคิดใหม่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บริการ และกระบวนการใหม่ รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานทุกคนในองค์การรับรู้และมีส่วนร่วมรับผิดชอบวัตถุประสงค์ของการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการรวมทั้งต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์เหล่านั้นด้วย
                   7) ทักษะ (Skills) องค์การที่มุ่งสร้างนวัตกรรมก็จะต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพและคุณภาพ ซึ่งคุณลักษณะด้านทักษะขององค์การนวัตกรรม คือ มีการสร้างโอกาสใหม่แบบเชิงรุกและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง องค์การจะต้องตรวจสอบสิ่งแวดล้อมขององค์การอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาโอกาสใหม่ๆ และระบุปัญหาเพื่อนำมาพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการสร้างผลิตภัณฑ์      และบริการใหม่และพัฒนานวัตกรรม กระบวนการ การตลาด และการจัดการอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุง   อย่างต่อเนื่องและการคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
               จากการศึกษาของ คูเปอร์ (Cooper, 1997) เรื่องการรับรู้ของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรม     ซึ่งปัจจุบันความคาดหวังพื้นฐานต่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ คือ การปรับปรุงการบริการลูกค้าการเข้าถึงตลาดเพิ่มมากขึ้น และการลดค่าใช้จ่าย ดังที่ สุกานที และคณะ (Suganthi et al.(2001) กล่าวว่า    หากผู้บริโภคมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เทคโนโลยีนั้นๆ จะต้องมีราคาที่สมเหตุสมผลเหมาะกับทางเลือก มิฉะนั้น การยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจจะไม่ตรงกับมุมมองของผู้บริโภค การศึกษานี้สำรวจว่าผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของธนาคารเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้อย่างไร ตลอดจนตรวจหาผลกระทบของการยอมรับนี้    จากความพึงพอใจของลูกค้าและการประเมินค่าของผลิตภัณฑ์ด้วย รวมทั้ง วิลเลี่ยมสัน (Williamson, 2006) พบว่า การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตควรจัดเตรียมความสะดวกสบายและความคล่องตัวให้แก่ลูกค้า และช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าการธนาคารในรูปแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า นวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากจะถูกพัฒนาโดยบริษัทต่างๆเพื่อแข่งขันกันด้านผลประโยชน์แล้ว ยังมุ่งสร้างอิทธิพลต่อ    ตราสินค้าด้วย (Staake et al, 2009) งานวิจัยบางงานพบว่าความล้มเหลวของนวัตกรรมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าและความพึงพอใจของผู้บริโภค (Smith and Bolton,2002: Roehm and Brady,2007; Andreassen,2000: Liao, et al, 2011) สำหรับงานวิจัยของแคปแลน (Kaplan, 2009) เน้นความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนาตราสินค้าให้แข็งแกร่ง ตลอดจนการตัดสินตราสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆด้วย
              
               นวัตกรรมการบริหารงานสมัยใหม่จะมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกโลกาภิวัฒน์ นวัตกรรมทางการบริหารงานสมัยใหม่จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการใหม่  การใช้เทคนิควิธีการใหม่จนเกิดการสร้างสิ่งใหม่และต้องมีความผันแปรให้เกิดความทันสมัยในตัวเอง   การบริหารสมัยใหม่เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมทั้งองค์การเอกชน องค์การรัฐบาล ธุรกิจต่าง ชุมชน สังคม เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงาน ระบบคน ระบบองค์การ ดังนั้น การบริหารงานสมัยใหม่จะต้องมีเครื่องมือการบริหารจัดการที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมทางการบริหารงานสำคัญทั้งของประเทศทางตะวันตกและประเทศทางตะวันออก เป็นเครื่องมือในการสร้างกลยุทธ์การบริหารงานต่อไป
                 การบริหารจัดการธุรกิจมีความจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากขึ้น ดังนั้น หากจะประมวลเครื่องมือสมัยใหม่ที่ได้ใช้เป็นเครื่องมือใหม่ๆ ในเชิงการบริหารที่นักบริหารทั้งหลายยังคงนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2013  อาจแยกออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
                   กลุ่มแรก เป็นกลุ่มของเครื่องมือที่จะช่วยนักบริหารในการบริหารความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ผิดปกติ วิกฤติทางธุรกิจที่ร้ายแรง ไปจนถึงการเกิดมหันตภัยที่กระทบในองค์กรทั้งอุตสาหกรรม ทั้งระบบอย่างกรณีของโรงไฟฟ้าปรมาณูระเบิดในญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่านักการบริหารถูกตั้งสมมติฐานว่าต้องบริหารสถานการณ์ปกติหรืองานประจำวันได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ในฐานะของมืออาชีพ หากแต่การบริหารวิกฤติแตกต่างกันเพราะอาจจะใช้เครื่องมือหรือทรัพยากรตามปกติไม่เพียงพอ เช่น Scenario analysis เป็นเครื่องมือที่นำไปใช้ในการกำหนดวิสัยทัศน์ ซึ่งก่อนที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ที่เป็นเรื่องระยะยาวได้ ผู้ที่จะกำหนดวิสัยทัศน์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการสร้างฉากสุดท้ายหรือเป้าหมายปลายทางการพิจารณาได้ การทำแผนงานที่เป็นลักษณะของแผนที่นำทางหรือ roadmap ก็ไม่อาจจะทำได้ และที่สำคัญ roadmap ดังกล่าวอาจจะเป็นความคาดหวังที่ผู้มีส่วนได้เสียของกิจการต้องการรับรู้ตั้งแต่วันนี้ ข้อมูลความเสี่ยงที่ต้องได้รับการยกระดับการจัดทำให้เป็นทะเบียนข้อมูลความเสี่ยงที่ครบถ้วนสมบูรณ์ (Risk Register& dashboard) เพื่อให้ทุกคนในกิจการไม่ใช่เพียงผู้บริหารเห็นภาพของข้อมูลความเสี่ยงอย่างเดียวกัน ข้อมูลความเสี่ยงเหล่านี้จะต้องจัดเก็บและนำไปใช้งานในการบริหารจัดการองค์กรอย่างครบถ้วน แทนที่จะพยายามปกปิด หลีกเลี่ยง ไม่พูดถึงความเสี่ยงที่เกิดอยู่
                   กลุ่มที่สอง เป็นการบริหารที่เน้นการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ สังคมดิจิตอลเพื่อการบริหารจัดการมากขึ้น แทนการยึดติดอยู่เฉพาะรูปแบบเดิม ๆ เพราะพฤติกรรมและการใช้ชีวิตของลูกค้ามีความทันสมัยและเป็นสังคมที่พึ่งพาและใกล้ชิดกับเทคโนโลยีมากขึ้นตามลำดับ เช่น แผนบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan :BCP) เพื่อเป็นแผนเตรียมความพร้อมที่กิจการจะนำขึ้นมาใช้ได้ หากเกิดเหตุการณ์ใดก็ตามที่ทำให้กิจการต้องหยุดชะงักและไม่สามารถดำเนินงานหรือส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้ตามปกติเป็นเวลานานติดต่อกันเป็นวัน เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือนไม่ใช่เป็นรายชั่วโมง และรอให้มีการซ่อมแซมหรือปรับปรุงเพื่อดำเนินการต่อไปได้      
               ในการกำหนดเงื่อนไขการว่าจ้างนักบริหารระดับสูงในหลายองค์กร ยังเริ่มมีการกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงแล้ว ทำให้นักบริหารทั้งหลายอาจต้องทำการบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม หรือหาทางว่าจ้างมืออาชีพด้านการบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะมาช่วยกิจการ โดยให้ทำหน้าที่ในการมองไปข้างหน้าและกลับมาบอกกับนักบริหารที่เหลือว่าข้างหน้ามีอุปสรรคและภัยคุกคามอย่างไรอยู่บ้าง และกิจการต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือล่วงหน้าอย่างไรเครื่องมือในการบริหารข้อมูลความเสี่ยงนี้ มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากการบริหารงานประจำวันอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นการใช้ข้อมูลความเสี่ยงในการสร้างภูมิคุ้มกันล่วงหน้า      
               สำหรับนวัตกรรมกลุ่มเครื่องมือในด้านเทคโนโลยีไฮเทคมาช่วยในการบริหารจัดการ ได้แก่ เครื่องมือแรกเป็นการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับโลกดิจิตอล คือ การพัฒนาการโฆษณา การส่งเสริมการจำหน่ายหรือแม้แต่ช่องทางการจำหน่ายแบบ outdoor ด้วยระบบเสมือนจริง 3D หรือ Virtual marketing ให้กับลูกค้าที่ติดต่ออยู่เพื่อให้เห็นภาพได้ในลักษณะ 3 มิติ หรือการใช้ในการบริหารจัดการประชุมข้ามพื้นที่ที่ทำให้ผู้ที่ร่วมประชุมมีความรู้สึกเสมือนว่าได้ร่วมประชุมในสถานที่เดียวกัน จริงๆ ไม่ใช่เป็นการมองภาพจากจอทีวีเหมือนเดิมอีกต่อไป หรือแม้แต่การวางระบบการควบคุมแบบไร้สายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ครบวงจร โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้า ทำให้นักบริหารสามารถสอดส่อง ตรวจตราการทำงานของบุคลากร การป้องกันการโจรกรรม การแก้ไขสถานการณ์ได้เพียงการใช้รีโมทคอนโทรลในการสั่งการ ทำให้สามารถควบคุมการทำงานทั้งหมดได้ เครื่องมือนี้มีความสำคัญและเป็นการต่อยอดการทำงานของระบบงานที่เรียกว่า Office Automation เพราะภายใต้ระบบดังกล่าวได้กำหนดเงื่อนไขให้ระบบงานควบคุมการทำงานของคน คนไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลง นอกจากทำตามกฎเกณฑ์ที่ระบุไว้อย่างเดียว แต่ภายใต้ระบบงานใหม่นั้น จะทำให้มนุษย์ทำการควบคุมการทำงานหรือที่เรียกว่า Office management system ซึ่งอยู่ที่การสั่งการ การควบคุมโดยมนุษย์เป็นหลัก 
      
แนวทางการบริหารงานด้วยนวัตกรรม
               การพัฒนา จะมุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบธุรกิจ การสร้างภาพลักษณ์และตราสินค้าเป็นการสร้างสรรค์ธุรกิจนำพาชุมชนไทยสู่สากล โดยเริ่มจากพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมทางการตลาด การพัฒนารูปแบบธุรกิจ (Business Model) ด้านการบริหารจัดการ และการตลาด รวมถึงสร้างโอกาสทางการตลาดสำหรับสินค้าของธุรกิจและการบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีต้นทุนที่เหมาะสม ด้านการจัดวางระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านแนวคิดการสร้างตราสินค้า เครื่องหมายการค้า และการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ด้านแนวทางการสร้างจุดเด่นผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากเดิม และการรวมกลุ่มธุรกิจเพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน Higgins (1995: 106-342) เสนอว่า องค์การนวัตกรรม มีองค์ประกอบที่สำคัญ 7 ประการตามแนวคิด 7S ของ McKinsey ดังนี้
                   1) ด้านกลยุทธ์ (Strategy) องค์การนวัตกรรม ต้องมีจุดมุ่งหมาย นโยบาย และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรมที่ชัดเจนแน่นอน และมีการถ่ายทอดไปสู่ฝ่ายงานต่างๆ ด้วยมีการส่งเสริมสร้างนวัตกรรม  โดยการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด ซึ่งจะต้องมีความสามารถและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน มีการศึกษาความเป็นไปได้ของความคิด ด้านผลิตภัณฑ์ มีความเข้าใจแนวโน้มของความต้องการของตลาด และลูกค้า   และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่าง ๆ ได้ มีการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับผู้จัดการในการสร้างนวัตกรรม และการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม โดยจะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นเชิงกลยุทธ์ พันธกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรมตามลำดับ    แล้วมีการถ่ายทอดลงมาจนถึงระดับบุคคล และต้องทำให้นวัตกรรมเป็นส่วนหนึ่งในเกณฑ์การวัดผล  การปฏิบัติงานระดับบุคคล องค์การจะต้องให้ความสำคัญกับการนำผลที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา มาทำให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งเป็นสิ่งมุ่งเน้น ของวัตถุประสงค์ในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ มีการใช้กลยุทธ์ความรวดเร็ว (Speed Strategy) และความสามารถที่เป็นจุดแข็งของผู้ปฏิบัติงานในการสร้างนวัตกรรม และมีการกำหนดช่วงเวลาและวิธีการตอบสนองหรือชักจูงลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และมีการลดต้นทุนโดยการปรับปรุงกระบวนการการจัดการการปฏิบัติงานและทำให้เกิดนวัตกรรมด้านการตลาด
                   2) ด้านโครงสร้าง (Structure) การพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างองค์การให้ส่งเสริมต่อการเป็นองค์การนวัตกรรม ลักษณะโครงสร้างองค์การที่สนับสนุนการเป็นองค์การนวัตกรรม จะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักรกลให้เอื้อต่อการเกิดภาวะผู้ประกอบการ การริเริ่มออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและการจัดการ องค์การจะต้องมีการพัฒนาโครงสร้างโดยการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษศูนย์กำไร (Profit Centers) ฝ่ายงาน หรือการแยกบริษัทออกมาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุน ให้พนักงานมีภาวะผู้ประกอบการ โดยจะการใช้วิธีการต่างๆ เช่น การมอบให้อำนาจแก่พนักงานการอนุญาตให้พนักงานมีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้ประกอบการจะช่วยส่งเสริมให้พนักงานมีภาวะผู้ประกอบการ การจัดตั้งทีมงานเฉพาะกิจในการคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม และการแบ่งโครงสร้างองค์การเป็นหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Business Unit: SBU) ซึ่งจะทำให้เกิดความยืดหยุ่น    มีอิสระในการบริหารจัดการ และความสามารถในการตอบสนอง มีลักษณะการทำงานแบบทีมข้ามสายงาน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าและซัพพลายเออร์ได้เข้าร่วมในทีมงานคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทีมงานออกแบบกระบวนการ ทีมงานนวัตกรรมการตลาดและการจัดการ การทำงานแบบทีมข้ามสายงานจะทำให้เกิดความหลากหลายทางด้านแนวคิด ความรู้ และสามารถ มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและคิดค้น ผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและการจัดการ มีพันธมิตรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการ กลยุทธ์การสร้างพันธมิตรเป็นการร่วมมือระหว่างสอง องค์การ โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบการร่วมลงทุน (Joint Venture) และการร่วมเป็นพันธมิตร แบบใหม่ พันธมิตรกลยุทธ์การเปลี่ยนรูป (Transnational Strategic Alliance: TSA) ซึ่งเป็นลักษณะของการแบ่งปันทรัพยากร และความสามารถ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการกระจายต้นทุนและ ความเสี่ยงได้ดีกว่าการเป็นพันธมิตรแบบร่วมลงทุน ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการ สร้างสรรค์นวัตกรรมให้ประสบผลสำเร็จ
                   3) ระบบ (Systems) มีระบบการให้รางวัลกับนวัตกรรมซึ่งหมายถึง การให้อิสระในการคิดสร้างสรรค์ การให้การยอมรับและเกียรติแก่นวัตกร การให้รางวัลที่เป็นตัวเงินและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง   เพื่อทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับองค์การ การให้รางวัลสำหรับผู้เชี่ยวชาญ  ด้านนวัตกรรม มีการจัดตั้งโปรแกรมการให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion Program) มีการประกาศยกย่องหรือการให้รางวัลเกียรติยศแก่บุคคลที่ทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมมาเป็นระยะเวลายาวนาน    การเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จจะเป็นการแสดงให้ทุกคนเห็นว่า นวัตกรรมและนวัตกรเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญต่อองค์การ มีระบบข้อมูลข่าวสารการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management Information Systems: IMIS) คือ ระบบที่ใช้สำหรับตรวจสอบสภาพแวดล้อม สถานการณ์ทางการตลาด การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีระบบการประเมินความคิดสำหรับนวัตกรรม
                   4) รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) รูปแบบการบริหารจัดการถือเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องมีรูปแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมภาวะผู้นำมีผลต่อความสำเร็จของนวัตกรรม  นวัตกรรมจะประสบผลสำเร็จ หรือล้มเหลวนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบภาวะผู้นำในทุกระดับขององค์การลักษณะภาวะผู้นำที่เป็น องค์ประกอบสำคัญขององค์การนวัตกรรม คือ มีการสร้างวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ (Strategic Intent) มีการใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนรูป (Transformational Leadership)
                   5) พนักงาน (Staff) คนเป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ จนทำให้องค์การประสบผลสำเร็จ บุคลากรขององค์การนวัตกรรมจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มากกว่าบุคลากรในองค์การรูปแบบอื่น ๆ ดังนั้นองค์การจึงต้องให้การดูแลบุคลากรที่สำคัญเหล่านี้ โดยการจัดสรรงบประมาณในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้สูงขึ้น มีการสรรหาพนักงานที่มีความสามารถในการคิดและการแข่งขัน มีผู้สร้างความสำเร็จด้านความคิดและนวัตกรรม (Innovation and Idea Champion) คือ พนักงานต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ อดทน กระตือรือร้น มีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี ทักษะในการวิเคราะห์มีความสามารถในการโน้มน้าว การขาย การสร้าง แรงจูงใจ มีความฉลาดหลักแหลม และเป็นผู้ที่เผชิญหน้ากับอุปสรรคต่าง ๆ ในองค์การ
                   6) ค่านิยมร่วม (Shared Values) องค์การจะต้องพยายามค้นหา ค่านิยมที่จะช่วยในการ     สร้างนวัตกรรม และพยายามสร้างให้เป็นวัฒนธรรมขององค์การ โดยมีการให้ความสำคัญการยอมรับ หรือเคารพนักงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม การมีวัฒนธรรมเช่นนี้จะช่วยกระตุ้น    และส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการส่งเสริมความคิดใหม่และกล้าเสี่ยง องค์การนวัตกรรมจะต้องส่งเสริมให้พนักงานกล้าเสี่ยงและคิดใหม่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บริการ และกระบวนการใหม่ รวมถึงสนับสนุนให้พนักงานทุกคนในองค์การรับรู้และมีส่วนร่วมรับผิดชอบวัตถุประสงค์ของการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการรวมทั้งต้องได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์เหล่านั้นด้วย
                   7) ทักษะ (Skills) องค์การที่มุ่งสร้างนวัตกรรมก็จะต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ประสิทธิภาพและคุณภาพ ซึ่งคุณลักษณะด้านทักษะขององค์การนวัตกรรม คือ มีการสร้างโอกาสใหม่แบบเชิงรุกและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง องค์การจะต้องตรวจสอบสิ่งแวดล้อมขององค์การอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาโอกาสใหม่ๆ และระบุปัญหาเพื่อนำมาพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่และพัฒนานวัตกรรม กระบวนการ การตลาด และการจัดการอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุง   อย่างต่อเนื่องและการคิดค้นนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน
                    จากการศึกษาของ คูเปอร์ (Cooper, 1997) เรื่องการรับรู้ของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรม     ซึ่งปัจจุบันความคาดหวังพื้นฐานต่อผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ คือ การปรับปรุงการบริการลูกค้าการเข้าถึงตลาดเพิ่มมากขึ้น และการลดค่าใช้จ่าย ดังที่ สุกานที และคณะ (Suganthi et al.(2001) กล่าวว่า    หากผู้บริโภคมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เทคโนโลยีนั้นๆ จะต้องมีราคาที่สมเหตุสมผลเหมาะกับทางเลือก มิฉะนั้น การยอมรับในเทคโนโลยีใหม่ๆ อาจจะไม่ตรงกับมุมมองของผู้บริโภค การศึกษานี้สำรวจว่าผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของธนาคารเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคได้อย่างไร ตลอดจนตรวจหาผลกระทบของการยอมรับนี้    จากความพึงพอใจของลูกค้าและการประเมินค่าของผลิตภัณฑ์ด้วย รวมทั้ง วิลเลี่ยมสัน (Williamson, 2006) พบว่า การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตควรจัดเตรียมความสะดวกสบายและความคล่องตัวให้แก่ลูกค้า และช่วยลดต้นทุนได้มากกว่าการธนาคารในรูปแบบเดิม อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า นวัตกรรมใหม่ ๆ นอกจากจะถูกพัฒนาโดยบริษัทต่างๆเพื่อแข่งขันกันด้านผลประโยชน์แล้ว ยังมุ่งสร้างอิทธิพลต่อ    ตราสินค้าด้วย (Staake et al, 2009) งานวิจัยบางงานพบว่าความล้มเหลวของนวัตกรรมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าและความพึงพอใจของผู้บริโภค (Smith and Bolton,2002: Roehm and Brady,2007; Andreassen,2000: Liao, et al, 2011) สำหรับงานวิจัยของแคปแลน (Kaplan, 2009) เน้นความสำคัญของนวัตกรรมในการพัฒนาตราสินค้าให้แข็งแกร่ง ตลอดจนการตัดสินตราสินค้าที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆด้วย
                  
               จากการศึกษาพบว่า บริษัทในประเทศไทยควรเรียนรู้บทเรียนจากประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีที่ได้มีวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมด้านการทำนวัตกรรม (innovation) การพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีในประเทศมีความสำคัญยิ่ง เพราะเทคโนโลยีส่วนใหญ่มิใช่ความรู้ชัดแจ้ง  ที่สามารถถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือแบบแปลน   การออกแบบ  หรือเครื่องจักร   แต่เป็นความรู้แฝงที่จะได้มาด้วยการเฝ้าสังเกต การเลียนแบบและการปฏิบัติเท่านั้น   ขีดความสามารถทางเทคโนโลยีสามารถแบ่งออกเป็น   3  ส่วนคือ ขีดความสามารถในการใช้งานและบำรุงรักษาเครื่องจักรและกระบวนการผลิต (Production Capability)   ขีดความสามารถในการออกแบบและสร้างโรงงานใหม่ หรือขยายโรงงานที่มีอยู่ (Investment  Capability) และขีดความสามารถในการกำเนิดผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตใหม่  รวมทั้งการปรับปรุงของที่มีอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก (Innovation Capability) ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเพิ่มได้โดยการเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และขีดความสามารถทางเทคโนโลยีมีความสำคัญยิ่งในระบบนวัตกรรมแห่งชาติเพราะเป็นตัวกำหนดการจัดหาความรู้ที่มีอยู่ การสร้างความรู้ใหม่ การแพร่กระจายและการใช้ประโยชน์ความรู้ใหม่
ปัจจัยที่จัดได้ว่ามีความสำคัญอย่างมากที่สุดในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน   นั่นคือความสามารถด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นความสามารถในการผลิต   การเรียนรู้และการใช้ประโยชน์ในด้านใหม่ ๆ  ให้เกิดผลทางเศรษฐกิจได้    นวัตกรรมมาจากวิธีการทำงานและแก้ปัญหาแบบใหม่ในบริษัทหรือองค์กร    โดยอาศัยความริเริ่มและร่วมมือจากบุคลากรทุกฝ่ายและทุกระดับ     ในปัจจุบันนวัตกรรมที่มีความสำคัญในการก่อให้เกิดผลผลิตและบริการใหม่ๆ  มักจะมาจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   ซึ่งอาจเรียกได้ว่า   นวัตกรรมเทคโนโลยี  (technological  innovation  หรือ  technovation)   ตัวอย่างเช่น   การใช้รหัสแท่ง  (bar  code)  ในการติดฉลากสินค้า   ซึ่งเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้   หลักการในการติดฉลากสินค้าให้มีข้อมูลต่าง ๆ  เกี่ยวกับตัวสินค้านั้นมีมานานแล้ว   แต่การใช้รหัสแท่งอย่างกว้างขวางรวมทั้งในการขายและการควบคุมสต็อกสินค้า เกิดขึ้นได้จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
               ในยุคโลกาภิวัตน์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การสื่อสารข้อมูลทั่วโลกเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็วมีการติดต่อธุรกิจและคมนาคมระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น    เศรษฐกิจในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่าเป็นเศรษฐกิจยุคความรู้ที่พึ่งพาความรู้และทักษะในระดับสูงของบุคลากร   รวมทั้งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้า   ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ใช้ความได้เปรียบด้านความรู้เป็นเครื่องมือในการแข่งขันในโลกไร้พรมแดน   ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ที่จะต้องปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันจากที่เคยอาศัยความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบด้านทรัพยากรและแรงงานราคาถูก   หรือการใช้กำแพงภาษีเพื่อปกป้องผลกระทบจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศมาเป็นการใช้ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น นวัตกรรมทางการบริหารจะต้องอาศัยการปฏิวัติเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่น นวัตกรรมทางวัสดุซึ่งได้รับการผลักดันจากลูกค้าให้มีการสร้างวัสดุใหม่ๆขึ้น นวัตกรรมระบบการผลิตเพื่อเข้าสู่โรงงานอัตโนมัติ นวัตกรรมทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ นวัตกรรมด้านสารสนเทศซึ่งถูกผลักดันโดยความก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นและมีบทบาทต่อชีวิตของทุกองค์การมากที่สุด
 
กลยุทธ์หลักในการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางนวัตกรรมขององค์การ
 
               วัฒนธรรมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อระดับการพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรม กลยุทธ์ด้านนวัตกรรมนี้ถือว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถทางนวัตกรรมอย่างยั่งยืน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบ่มเพาะคุณค่าในตัวสมาชิกของสังคม  ในขณะเดียวกันการเสริมสร้างการตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของนวัตกรรมในคณะผู้บริหารก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง   ในฐานะที่จะเป็นผู้นำขององค์การให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็น (นฤมล ลิ้มฬหะพันธ์, 2561)
               กลยุทธ์หลักของการเสริมสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมองค์กรมีองค์ประกอบหลายส่วนที่สำคัญ ดังนี้
  • สังคมการเรียนรู้ การเรียนรู้ด้วยการศึกษาเป็นรากฐานของสังคมในการสร้างคน   การสร้างคุณค่าในสังคม และการสร้างรากฐานของการเรียนรู้ในโลกของการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้ในสังคมสารสนเทศ
  • การเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศ   การเผยแพร่แนวความคิดและการเสริมสร้างคุณค่าสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผลในปัจจุบันโดยผ่านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ เนื่องจากเป็นสังคมดิจิทัล หัวใจสำคัญคือ การใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร
  • การเสริมสร้างคุณค่านวัตกรรม   การปลูกฝังความรู้ความเข้าใจ   ตลอดจนการเสริมสร้างคุณค่าของนวัตกรรม เป็นกิจกรรมส่งเสริมให้การพัฒนานวัตกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การเผยแพร่ความรู้และยกระดับความสำคัญของนวัตกรรมขึ้นมาอย่างเด่นชัดในสังคม
               นวัตกรรมเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจในเชิงรุก โดยอาจมีระดับต่างกัน เช่น การปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หรือก้าวกระโดด ทั้งนี้ขึ้นกับความพร้อมขององค์กรนั้นๆ ส่วนความสำเร็จในการทำนวัตกรรมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า ความเหมาะสมในเรื่องเวลาและราคา ความสามารถในการผลิตและการเลือกตลาด โดยองค์กรต้องมีโครงสร้างและระบบที่ช่วยให้ระบบการตัดสินใจมีประสิทธิภาพ และรัฐเองก็ควรมีแผนที่จะช่วยอำนวยให้อุตสาหกรรมมีความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรม
นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นเสมอและอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยสภาพการแข่งขันในตลาดต้องตระหนักถึงวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สินค้า/บริการที่เกิดขึ้นแล้วนั้นย่อมมีอายุและติดตลาดอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้นการสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ขึ้นมา ทำให้ผู้ประกอบการสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดหรือเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ ซึ่งเป็นแรงขับหรือสิ่งกระตุ้นที่สำคัญในการทำนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม ในการจัดการนวัตกรรมจำเป็นต้องมีลักษณะนวัตกรรมการจัดการด้านการผลิต นวัตกรรมกระบวนการและความสำเร็จของผู้ประกอบการมาเป็นแนวทางการวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ ดังนี้ 1) ด้านบรรจุภัณฑ์ช่วยสร้างการจดจำตราสินค้าได้ดี 2) รูปแบบบรรจุภัณฑ์มีลักษณะโดดเด่นบรรจุภัณฑ์เน้นเอกลักษณ์ 3) ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานสากล 4) มีกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล 5) มีกระบวนการผลิตสินค้าที่สดใหม่ได้ปริมาณมาก 6) มีกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ 7) มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามบรรจุภัณฑ์มีความทันสมัยดึงดูดใจลูกค้า 8) ผลิตภัณฑ์ได้รับความปลอดภัย 9) เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ 10) มีการใช้วัตถุดิบทดแทนที่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ 11) มีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าตรงต่อเวลา 12) มีการจัดกิจกรรมหรือแคมเปญพิเศษที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วม 13) มีการเข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงสินค้าในเทศกาลต่างๆ 14) มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์มีเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน 15)  การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านจุดขาย 16) มีการขนส่งและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ  17) มีร้านค้าที่เป็นพันธมิตรในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นแนวทางของลักษณะนวัตกรรมการจัดการได้ ดังต่อไปนี้
ลักษณะนวัตกรรมการจัดการด้านการผลิต ลักษณะนวัตกรรมด้านกระบวนการการจัดการและการตลาด ลักษณะความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ นวัตกรรมการจัดการด้านการผลิตมีผลต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ ความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจ
การใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีการการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพจาก
ผู้จัดจำหน่ายในท้องถิ่น
 ธุรกิจมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
มีกระบวนการผลิตสินค้าที่สดใหม่ได้ปริมาณมาก
มีการใช้วัตถุดิบทดแทนที่ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
มีเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่เป็นพันธมิตร
ที่ดีต่อกัน
มีการนำวัตถุดิบ
ใหม่ๆ มาผลิต
เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
ในการผลิต
 
  ธุรกิจมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง มีกรรมวิธีการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล
มีกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
 
  มีการบอกเรื่องราวประวัติความเป็นมาของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดแก่ผู้บริโภค
มีการให้ข้อมูลคุณค่าของ
ผลิตภัณฑ์บน
บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้
ธุรกิจมีการขยายในรูปแบบ
แฟรนไชส์
ด้านบรรจุภัณฑ์ช่วยสร้างการจดจำตราสินค้าได้ดี
รูปแบบบรรจุภัณฑ์
มีลักษณะโดดเด่นบรรจุภัณฑ์เน้นเอกลักษณ์
มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามบรรจุภัณฑ์มีความทันสมัยดึงดูดใจลูกค้า
 
มีการจัดกิจกรรมหรือแคมเปญพิเศษที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมมีการเข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงสินค้าในเทศกาลต่างๆ
มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์
การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านจุดขาย
มีร้านค้าที่เป็นพันธมิตรในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
      ผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐานสากล
 
มีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าตรงต่อเวลา
มีการขนส่งและกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
จากตารางข้างต้น สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ประสบความสำเร็จในการนำนวัตกรรมไปใช้ทั้งด้านการผลิตและกระบวนการจัดการการตลาดต่อไปได้ สามารถสรุปองค์ประกอบที่ส่งเสริมการทำนวัตกรรมในธุรกิจทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ดังนี้
1.      เทคโนโลยีใหม่
2.     วัสดุใหม่
3.     กระบวนการใหม่และกระบวนการที่ดีกว่าเดิม
4.     การจัดการที่ดีขึ้น
5.     ความสามารถในการลงทุน
6.     ความคิดสร้างสรรค์หรือแนวความคิดใหม่
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 6 ด้านนี้สามารถเป็นพื้นฐานสำคัญของการเกิดนวัตกรรมและจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าซึ่งเป็นผู้ใช้นวัตกรรมดังนั้นทุกขั้นตอนของการทำนวัตกรรมจะต้องมีปัจจัยนำเข้า  กระบวนการและผลลัพธ์เป็นแนวทางการจัดการ ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือ  ลูกค้า ที่จะให้ข้อมูลป้อนกลับกับการปรับปรุง พัฒนาต่อไป

 
 
จากตัวอย่างข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
 
ตารางที่  6  การวิเคราะห์ด้านนวัตกรรม
 
Strategy
  • เปลี่ยนเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันในแบบ merchandise ต้องเน้นด้านคุณภาพ   รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้า   โดยยึดเอาลูกค้าเป็นหลัก  
  • ต้องเรียนรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรและติดตามอย่างสม่ำเสมอ แล้วนำมาพัฒนาสินค้าให้มีความเหมาะสมและตอบรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
  • การไปซื้อ know-how หรือเทคโนโลยีมาจากต่างประเทศ
  • การจัดงาน  Saha Group Export & Trade Exhibition ขึ้นทุกปี                                                                                
Structure
  • สนับสนุนบริษัทในเครือให้เน้นนโยบายด้านนวัตกรรม และส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมมากขึ้น
  • How
  • Why
  • Who
  • When//Where
  • What
 
 
Process
  • พัฒนานวัตกรรมจากสินค้าที่ขายดีแล้วในต่างประเทศ มาผลิตเป็นสินค้าออกสู่ตลาด
  • ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมของสินค้า
  •  
Skill
  • พนักงานของบริษัททุกคน จะต้องมีส่วนร่วมในการประกวด
  •  มีการรณรงค์และเผยแพร่นวัตกรรม
  • การฝึกอบรมพนักงานของบริษัทฯในหลักสูตรการบริหารจัดการนวัตกรรมยุคใหม่
 
 
               อย่างไรก็ตาม การทำนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับการต้องมีเทคโนโลยีใหม่เป็นจุดเริ่มต้น แต่การทำนวัตกรรมเป็นสิ่งที่จะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นทีมงาน คนเป็นปัจจัยใหญ่ในการก่อให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์บางอย่าง จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ ในองค์กร หรือบริษัท ซึ่งเป็นกลยุทธ์นวัตกรรมต่างๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้
 
 

กิติกร ดาวพิเศษ และคณะ. (2554). แนวทางการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของธุรกิจท่องเที่ยวที่พักแรมที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

กัญญามน อินหว่างและคณะ. (2557). รูปแบบการพัฒนาของระบบธุรกิจบริการที่ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา เครือข่ายทางธุรกิจท่องเที่ยวแบบครบวงจร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย” และนิทรรศการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว” จากท้องถิ่นสู่อาเซียน 2557,914-921.

กัญญามน อินหว่าง. (2558). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

กัญญามน  อินหว่าง. (2558). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทริน์.
กัญญามน อินหว่าง. (2559). รูปแบบการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดสมุทรสงคราม. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชนครินทรวิจัย และวิชาการครั้งที่ 8,732-740.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2556). ระบบคลังข้อมูลธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ . วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2561, จากเว็บไซต์: https://datawarehouse.dbd.go.th/bdw/home/main.html.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2550).บทความ: คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤศจิกายน 2561. จากเว็บไซต์: https://www.ryt9.com/s/ryt9/112106.


นฤมล ลิ้มฬหะพันธ์ และกัญญามน อินหว่าง. (2560). กลยุทธ์นวัตกรรมการจัดการของธุรกิจขนมไทย. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 ทิศทางการพัฒนางานวิจัยในยุค Thailand 4.0. วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

นฤมล ลิ้มฬหะพันธ์. (2561). กลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรมและความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนมไทยในเขตภาคกลางของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเวสเทิรน์.

.

ฝนทิพย์ ฆารไสว. (2554). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม
ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย.วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิบูล ทีปะปาล. 2551. การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร :อมรการพิมพ์.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร การสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน. นนทบุรี: บริษัท ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์ จำกัด.
พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล. (2561). LIFETIME WARRANTY: แนวโน้มกลยุทธ์การบริการหลังการขายที่สำคัญที่สุดในธุรกิจบริการ.” Propholic, 01 May, 2017, วันที่ 20 พ.ย. 2561, จาก https://propholic.com/branding-etc/lifetime- warranty.

พูนฤดี สุวรรณพันธ์และคณะ. (2554). เทคนิคการบริหารสมัยใหม่. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
พูนฤดี สุวรรณพันธุ์. (2557). ทฤษฎีและพฤติกรรมในองค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

มาริสา ดีใจ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนกบภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.


รพีพรรณ ฉัตรเลิศยศ. (2556). CSR : กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์ขององค์การ.วารสารนักบริหาร. 
ปีที่ : 33  ฉบับที่ : 2  เลขหน้า : 3-9  ปีพ.ศ. : 2556.


ลัคนา สุคนธวัฒน์. (2558). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของธุรกิจโรงแรมในภาคตะวันตก.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.

วณิศญดา วาจิรัมย์. (2560). การพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร เขตภาคกลางตอนล่าง 1. ดุษฎีนิพนธ์หลักกสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วุฒิพงค์ ครอบบัวบาน. (2560). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจเกษตรอินทรีย์” ในยุคประเทศไทย 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 9 ทิศทางการพัฒนางานวิจัยในยุค Thailand 4.0 วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ณ อาคารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์และกัญญามน อินหว่าง. (2554). ทฤษฎีองค์การและการจัดการ. พิษณุโลก.
ศราวุฒิ บุษหมั่น. (2558). กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์: ศึกษาเฉพาะผู้ประกอบการขนส่งไทย. นครสวรรค์:มหาวิทยาลัยภาคกลาง.

สาคร สุขศรีวงศ์. (2560). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริลักษณ์ ทองพูน. (2559). คุณภาพการบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธนาคาร.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36 (2). 70-83.
สุขุม เฉลยทรัพย์ และคณะ. (2548). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2558). Marketing กลยุทธ์นอกตำรา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เพชรประกาย.


อภิชัจ พุกสวัสดิ์.(2558). การสื่อสารในภาวะวิกฤตขององค์กร. สืบค้นวันที่ 5 กันยายน 2561. จากhttps://www.smartsme.co.th/content/18430.

อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ และคณะ. (2559). การสร้างจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการด้วยรูปแบบการศึกษาจากการปฏิบัติงานจริง. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (พิเศษ, สิงหาคม 2559), หน้า 283.

Adams, R, Bessant, J & Phelps, R. (2006). Innovation management measurement: A review. International Journal of Management Reviews, vol. 8, no. 8, pp. 21-47.
Alvarez & Solis-Rodriguez. (2011). Discovery of Entrepreneurial Opportunities: A Gender Perspective. 111(5). 

Bartol, K.M. and Martin D. C. 1991. Management. NewYork: McGraw-Hill, Inc.
Benavides, L., DE Eskinazis, V., & Swan, D. (2012). Six steps to successful supply chain collaboration. Retrieved June 15, 2016, from https://www.Supplychainquarterly.com/ topics/Strategy/20120622-six-steps-to-successful-supply-chain-collaboration.

Boone, L. E., & Kurtz, D. L. (2002). Contemporary business. (10th ed.). Fort Worth: Harcourt.
Bovee, Courtland L. and others. (1993). Management. New York : Mc Graw – Hill.

Cao, Ning., Zhang, Zhiming., To, Kin, Man., and Ng, Keng, Po. (2008). How are Supply Chains Coordinated. Journal of Fashion Marketing and Management. 12 384-397.

Castaldo, S. (2016). The missing path to gain customers loyalty in pharmacy retail:The role of the store in developing satisfaction and trust. Research Journal of Social and Administrative Pharmacy, 12, 699–712.

Cermak, D.S., File, K.M. and Prince, R.A. (1994). “Customer participation in service specification and delivery”, Journal of Applied Business Research, Vol. 10 No. 2, pp. 90-97
Certo Samuel C. and Peter J. Paul. (1991). Strategic Management : Concept and Applications. New York : Mcgraw-Hill.

Christopher  Tingley.(2015). Social Media Marketing Strategies to Engage Generation Y   Consumers s  Administration. Walden University.

Chuen, IP. (2010).Critical Success Factors in Enterprise Resource Planning System Implementation: an Analysis. Doctor of Philosophy, Business Administration, Bulacan
State University.

Collison, Chris; & Parcell, Geoff. (2004). Learning to Fly : Practical Knowledge Management from some of the world’s leading learning Organization. 2th ed. West Sussex: Capstone.

Dalbol, Julie Pihl, and Dalbol, Mads Lundgard. (2011). Sustainability and valuecreation. A
Master thesis, Strategy, Organization & Leadership,Copenhagen Business School, University of Copenhagen.

DeGroote, Sharon, E., and Marx, Thomas, G. (2013). “The Impact of IT on Supply Chain Agility and Firm Performance: an Empirical Investigation.” International Journal of Information Management. 33 (2013): 909-916.

Dezenhall, E.; Weber, J. (2007). Damage control: Why everything you know about crisis           management is wrong. Portfolio Hardcover
Drucker, P. F. (2001). Management challenges for the 21th Century. New York: Harper Be sine.
Dubrin .J. (1998). Leadership research finding : Practice and skills. Boston Houghton :
Mifflin Company.
Ehie, Ike C., and Madsen, Mogens. (2005): “Identifying Critical Issues in Enterprise Resource
Planning (ERP) Implementation.” Computers in Industry. 56 (2005): 545-557.
Epstein, M. J. (2008). Making sustainability work: best practices in managing and measuring
corporate social, environmental and economic impacts. Sheffield, UK : Greenleaf Pub. ; San Francisco: Berrett-Koehler Publishers.
Esper, Terry L., and Williams, Lisa R. (2003).“The Value of Collaborative Transportation Management (CTM): Its Relationship to CPFR and Information Technology.” Transportation Journal. (2003): 55-65.
Fawcett, Stanley, E., Fawcett, Amydee, M., Watson, Bradlee, J., and Magnan, Gregory, M. (2010). “Bridging the Barriers to Supply Chain Collaboration: an Integrative Theoretic Model.” Academic of Management. (2010): 1-8.
Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London : Sir Isaac Pitman & Sons.
Fesler, James W, and Donald F. Kettl. (1991). The Politics of the Administrative Process. Chatham, N.J: Chatham House.
Fink, S. (2007). Crisis management: Planning for the inevitable. Backinprint.com.
Fred R. David. (2007). Strategic management-concepts. Prentice Hall. Charles W.L. Hill.
Frese M. (2000). Success and Failure of Micro Business Owners in Africa: a Psychological Approach. U.S.A.: Greenwood Publishing Group.
Grönroos, C. (2004). The relationship marketing process: communication, interaction, dialogue, value. Journal of Business & Industrial Marketing, Vol. 19 No. 2, pp. 99-113.
Gulick, Luther and Lyndall Urwick. (1973). The Science of Administration. New York:
Columbia University.
Hall, M. B.; Akinyode, A., (2000). Cottonseed hulls: working with a novel fiber source. In:
Proc. 11th Ann. Florida Rumin. Gainesville, FL: Nutr. Symp.: 179–186
Hatten, T. S. (2006). Small Business Management: Entrepreneurship and Beyond (3nd ed.).
Boston: Houghton Miffin.
Higgins, James M. (1995).Innovate or Evaporate: Test & Improve YourOrganization’s IQ –
ItsInnovation Quotient. New York: New Management Publishing Company.
Hlupic, V., Pouloudi, A. and Rzevski, G. (2002). Towards an Integrated Approach to
Knowledge Management: “Hard”, “Soft” and “Abstract” Issues. Knowledge and Process Management.The Journal of Corporate Transformation, 9, 90-102.
Holt, R. C. (1993). Very Simple Classification Rules Perform Well on Mostly Commonly
Used Datasets. Machine Learning, 11(1).
Holsapple, C.W. and Joshi, K.D. (2002). Knowledge management: a threefold framework.
The Information Society, Vol.18, pp. 47- 64.
Hung, Wei-Hsi, Chang, Li-Min., Lin, Chieh-Pin., and Hsiao, Chun-Hao. (2014). “E-Readiness of Website Acceptance and Implementation in SMEs.” Computers in Human Behavior. 40 (2014): 44-55.
Injazz J. Chen and  Karen Popovich. (2003). Understanding customer relationship management (CRM) People, process and technology. Business Process Management Journal
  Vol. 9 No. 5, 2003.
Juste, Victoria, Bordonaba., and Fierro, Jesus J, Cambra. (2009). “Managing Supply Chain in the Context of SMEs: a Collaborative and Customized Partnership with the Suppliers as the Key for Success.” Supply Chain Management: An International Journal. 14 (2009): 393-402.
Keith A. Richards, Eli Jones. (2008). Customer relationship management: Finding value drivers. Industrial Marketing Management 37 (2008) 120 –130.
Kotler,Philip and Keller Kelvin Lane.(2016).Marketing  Management.(15thglobal edition) Edinburgh: Pearson Education. (679pp).
Lambert, L. (2002). A framework for shared leadership. Educational Leadership, 59, 37-40.
Lantos, G. (2001).The boundaries of strategic corporate social responsibility. Journal of Consumer Marketing, Vol. 18 No. 7, pp. 595-632.
Laudon & Traver. (2004). E-commerce: Business, Technology. Society provides an overview of the current. Age and gender differences: Understanding.

Liu, Hefu., Ke, Weiling., Wei, Kwok, Kee., and Hua, Zhongsheng. (2013). “The Impact
       of IT Capabilities on Firm Performance: the Mediating Roles of Absorptive
       Capacity and Supply Chain Agility.”
Decision Support Systems. 54 (2013): 
       1452-   1462
Longenecker, J. G., Moore, C. W., Petty J. W., & Palich, L. E. (2006). Small Business
           Management: An Entrepreneurial Emphasis. NP: South-Western.
Mondy, R. W., Noe, R. M. & Premeaux, S. R. (2002). Human Resource
         Management.
8th ed.New Jersey: Pearson Education.
Ngai, E. W. T., To, C. K. M., Moon, K. K. L., Chan, L. K., Yeung, P. K. W., and Lee, M.
         C. M. (2010). “RFID Systems Implementation: a Comprehensive Framework
      and a Case Study.”
International Journal of Production Research. 48 (2010):
       2583-2612.
Pitts, R. and Lei, D. (2006). Strategic Management. 4th Edition, Thomson South-                 Western.
Porter, M. and Kramer, M. (2002). The Competitive Advantage of Corporate                        Philanthropy. Harvard Business Review
Ricky W. Griffin. (1999). Management. 6th ed. Boston: Houghton Griffin.
Robbins & DeCenzo. (2004), Certo. (2003). Retrieved December 18, 2012, from
 https://www.gotoknow.org/posts/447935.
Robbin, Stephen P. and Coulter, Mary (2005). Management. 8th ed Prentice Hall.
Robbins and Coulter. (2007). Organization Theory: Structure, Design, and                         Applications.New Jersey:Prentice-Hall.
Schermerhorn, J. R. (2002). Management. (7 thed.).New York: John Wiley & Sons,                  Inc.
Stanley C.Abraham. (2006). Strategic Planning  A Practical Guide for Competitive         Success. Ohio : Thomson South-Western.
Waseso, S. (2013). The influence of perceived service quality, mooring factor,               and relationship quality on customer satisfaction and loyalty. Procedia -                  Social and Behavioral Sciences, 81, 306-310.
Wheelen, Thomas L.; & Hunger J. David. (2004). Strategic Management Business            Policy.9 th ed. New York: Pearson Prentice Hall.
Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy.
           (10th ed). New Jersey : Pearson Prentice Hall.
World Business Council Sustainability Development (WBCSD). (2000).Eco-efficiency:             Creatingmore value with less impact. London:WBCSE and E&Y Direct.
Wright, P. M., & McMahan, G. C. (1992). Theoretical perspectives for strategic human              resource management. Journal of Management.

 



Create Date : 26 มิถุนายน 2563
Last Update : 26 มิถุนายน 2563 12:32:02 น.
Counter : 8655 Pageviews.

0 comments

kanyamon555
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



การเรียนรู้ คือวิถีของมนุษย์