สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ Knowledge Management 

สิ่งสำคัญที่องค์การต้องทำคือ
การพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบของบุคลากรซึ่งผู้บริหารต้องกระตุ้นให้บุคลากรในองค์การของตน  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการริเริ่มลักษณะ             แห่งพฤติกรรมบุคคลซึ่งเป็นข้อคิดแห่งการสร้างรูปลักษณ์ของการแสดงออกของบุคคล ลดและขจัดปมความคิดแย้งหรือความขลาดกลัวจากพฤติกรรมบุคคลให้ลดน้อย สร้างความกล้าต่อ              การแสดงออก การเปิดโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยน ย่อมเป็นผลดีต่อกลุ่มและบุคคลได้ใน                ระดับหนึ่ง เพราะโอกาสเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์มักถูกปิดกั้นด้วยคำสั่งของผู้บริหารการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนอย่างสมเหตุสมผลย่อมส่งผลต่อเหตุและผลในการพัฒนาความคิดต่าง ๆ ได้ (วันชัย โกลละสุต , 2549) นอกจากนี้ ผู้บริหารต้องเลือกวิธีการบริหารองค์การที่ให้บุคลากรในองค์การมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์การด้วย  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์การ   จะทำให้บุคลากรรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและเมื่อบุคลากรรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์การแล้วนั้นก็จะส่งผลให้บุคลากรเกิดความจงภักดีต่อองค์การอีกด้วย การบริหารที่ให้ทุกคนในองค์การได้มีส่วนร่วมในการทำงานจะทำให้โอกาสที่งานจะสำเร็จตามเป้าหมาย ตามที่องค์การต้องการนั้นมีมากขึ้น ฉะนั้นผู้บริหารที่นำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาใช้ควรเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพดี มีทักษะความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการเป็นอย่างดี มีอำนาจในการตัดสินใจมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคลากรทั้งในองค์การและบุคคลทั่วไป  ตลอดจนมีคุณธรรมในการปฏิบัติงาน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ด้วยดี ในด้านสถาบันอุดมศึกษานับว่าเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งภาระกิจที่สำคัญของอุดมศึกษามี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย   การบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  ส่วนผลลัพธ์ที่สำคัญ ที่ได้จากภารกิจดังกล่าว ล้วนมุ่งเสริมสร้างบัณฑิตที่จะผลิตออกไปเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องเป็นคนที่มีคุณภาพดี ได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านวิชาชีพชั้นสูง สติปัญญา สังคมอารมณ์ ร่างกายและจิตใจ หรืออาจกล่าวได้ว่าบัณฑิตที่ผลิตออกไปจะต้องมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ด้านความรู้ด้านทักษะทางปัญญา  ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบและด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2552 :7)

แนวคิดในการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  ที่แพร่หลายอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้การจัดการความรู้ (KnowledgeManagement) ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก  เนื่องจากการจัดการความรู้ (KnowledgeManagement)  มีประโยชน์ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด เป็นการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น  เป็นการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็วและดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศหรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการและเหตุผลน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นสามารถวางแผนงานต่างๆได้ จากประโยชน์ของการจัดการความรู้ดังกล่าวข้างต้นนั้นจะเห็นว่าการจัดการความรู้ (Knowledge Management)มีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากในมหาวิทยาลัยเอกชน  จึงสรุปได้ว่า จุดประสงค์ของการจัดการความรู้คือ การเพิ่มประสิทธิผลที่เกี่ยวข้องกับความรู้ขององค์การซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ Hsu (2006) สนับสนุนว่าการจัดการทุนทางปัญญาและการจัดการความรู้ช่วยพัฒนาประสิทธิผลองค์การและการสร้างความรู้ นอกจากนี้ ยังพบว่าจากการศึกษาของ Sanchez, & Elena(2006) พบว่าสถาบันการศึกษาในยุโรปต่างให้ความสนใจในการดึงคุณค่าของทุนทางปัญญาออกมาโดยใช้การจัดการความรู้   เพื่อให้สามารถวัดและจัดการกับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้         การจัดการความรู้ที่จะให้เกิดผลลัพธ์ของการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์การในการที่จะหาหนทางที่ดีที่สุดในการจัดการความรู้ในองค์การ (Lubit,R., 2001, p. 164-178) โดยองค์ความรู้จะเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญขององค์การที่จะนำไปสู่ผลการดำเนินการที่มีคุณภาพขององค์การ(Xu, & Quaddus, 2005, pp.362-373) โดย Alavi,& Leidner (2001) ได้เสนอว่า การจัดการความรู้ที่มาบทบาทที่ชัดเจนและมีความเป็นอิสระต่อกันนั้นมี 4 องค์ประกอบ คือ การสร้างความรู้ (create) การจัดเก็บความรู้ (storage) การนำความรู้ไปใช้ (retrieval)การถ่ายทอดความรู้ (transfer) และการประยุกต์ใช้(application) การจัดการความรู้จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ความต้องการบรรลุเป้าหมายของบุคคลและของสถานศึกษาเป็นเรื่องเดียวกันสามารถทำให้คนได้ใช้ปัญญาของตนได้อย่างเต็มที่

จากการศึกษาพบว่าการจัดการความรู้ที่จะให้เกิดผลลัพธ์ของการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับองค์การที่จะหาหนทางในการจัดการความรู้ในองค์การ (Lubit , 2001, p.164-178) โดยองค์ความรู้จะเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญขององค์การที่จะนำไปสู่ประสิทธิผลการดำเนินการอย่างมีคุณภาพขององค์การ (Xu, &Quaddus, 2005, pp. 362-373) มีนักวิชาการได้นำเสนอแนวคิดและผลการวิจัยในการที่จะทำให้การจัดการความรู้ในองค์การเกิดประสิทธิภาพซึ่ง Alavi, & Leidner (2001) และ Lawson (2003) ได้พบว่าการจัดการความรู้ที่มาบทบาทที่ชัดเจนและมีความเป็นอิสระต่อกันนั้น มี 4 องค์ประกอบ คือ การสร้างความรู้ (create) การจัดเก็บความรู้(storage) การนำความรู้ไปใช้ (retrieval) การถ่ายทอดความรู้ (transfer) และการประยุกต์ใช้ (application)Murrey (2005) ได้ศึกษาระบบการจัดการเอกสารที่จำเป็นต่อระบบการจัดการความรู้พบว่าจะต้องมีการอำนวยความสะดวกในการรวบรวมความรู้ การจัดเก็บความรู้การนำความรู้ไปใช้และส่วนที่เพิ่มเติมคือ การนำความรู้กลับไปใช้ (reuse knowledge)

จากการทบทวนแนวคิดหลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการความรู้ สามารถสรุปได้ว่ากระบวนการจัดการความรู้หมายถึงพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กรที่แสดงออกถึงการใช้ความรู้โดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้ที่วัดได้จากองค์ประกอบ  1) การสร้างความรู้ 2)การแสวงหาความรู้ 3) การแลกเปลี่ยนความรู้ และ 4)การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

ด้านการสร้างความรู้ เป็นการสร้างความรู้ผ่านความร่วมมือระหว่างองค์กรและเครือข่าย (Network) และผสานพลังจากทุกส่วนเพื่อสร้างให้เกิดพลังความร่วมมือ(Synergy ) ระหว่างองค์กรทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการถ่ายโอนทางความรู้และนำความรู้ที่ได้รับมาต่อยอดอันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสม โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจะช่วยประหยัดทรัพยากรในด้านเวลาและบุคลากร ตลอดจนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้ด้วย นอกจากนี้จากการศึกษางานวิจัยของ Kucza (2001) พบว่า การสร้างความรู้เป็นวัฏจักรที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องโดยให้มีการนำความรู้ซ่อนตัวหรือความรู้ส่วนบุคคล (Tacit Knowledge) ที่มีอยู่มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และการสร้างสรรค์ ให้สามารถเกิดความรู้ใหม่เพื่อประสิทธิภาพขององค์กร

การแสวงหาความรู้ เป็นกิจกรรมหนึ่งของมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ขึ้นมาด้วยกระบวนการและวิธีการต่างๆโดยความรู้จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ปฏิบัติงานด้วยกันในกลุ่มซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นด้วยการสร้างความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการแสวงหาความรู้เป็น 4 ประเภท (Takeuchi& Nonaka, 2001) คือ

1)  การสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Socialization) คือการแสวงหาความรู้โดยการสร้างความรู้แบบไม่ชัดแจ้งให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้ง ซึ่งสามารถทำได้โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การฝึกอบรม และการแนะนำเช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานต่างๆเป็นต้น

2)  การปรับเปลี่ยนสู่ภายนอก (Externalization) คือ การพูดหรือบรรยายความรู้แบบไม่ชัดแจ้งเป็นความรู้แบบชัดแจ้งโดยการใช้อุปมาอุปมัยการเปรียบเทียบ และการใช้ตัวแบบ เช่น การนำประสบการณ์จากการไปเห็นหน่วยงานต่างๆซึ่งมีคอมพิวเตอร์ในที่ทำงานเป็นจำนวนมากแต่การใช้ประโยชน์ยังน้อยมากจึงมีการเปรียบเทียบว่ามีคอมพิวเตอร์เป็นเสมือนเฟอร์นิเจอร์ที่มาประดับห้องทำงานเท่านั้น การเปรียบเทียบดังกล่าวช่วยทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

3)  การปรับเปลี่ยนสู่ภายใน (Internalization) คือการแสวงหาความรู้โดยวิธีการสร้างความรู้แบบชัดแจ้งให้เป็นความรู้แบบไม่ชัดแจ้งโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติ ศึกษาจากความรู้ที่ได้เขียนไว้ในคู่มือ เอกสาร เพื่อเพิ่มพูนทักษะให้สูงขึ้นเช่น การซื้อตำราโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาฝึกฝนจนเกิดความชำนาญขึ้น

 4)  การผสมผสาน (Combination) คือการแสวงหาความรู้โดยการสร้างความรู้แบบไม่ชัดแจ้งให้เป็นความรู้แบบชัดแจ้ง โดยการรวบรวมหรือบูรณาการองค์ความรู้หรือสังเคราะห์ ความรู้ที่มีอยู่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา เช่น การนำองค์ความรู้ของวิชาคอมพิวเตอร์มาผสมผสานกับความรู้ด้านองค์กรและการจัดการเกิดเป็นองค์ความรู้ในวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

การแลกเปลี่ยนความรู้ เครื่องมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ มี 2 มิติคือมิติในด้านความรู้ที่ฝังลึกในคน และมิติในด้านความรู้เปิดเผย หรือความรู้ที่ชัดแจ้งและ Sahasrabudhe (2002) ได้ให้ทัศนะว่าการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน โดยมุ่งที่คน กลุ่มคนระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน โดยผ่านกระบวนการให้ความรู้ระหว่างบุคคลกับเอกสาร (People-to-Document)หรือระหว่างบุคคลกับบุคคล (People-to-People)ในองค์กร ซึ่งจะต้องไม่ใช้เฉพาะเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการใช้คนด้วยเช่น การประชุม อบรม สัมมนา การสร้างเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนความรู้ เช่น การประชุมทางไกลการสนทนาผ่านทางเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนความรู้ไม่ใช้เป็นเรื่องของธรรมชาติต้องมีการส่งเสริมและสนับสนุนและต้องใช้เวลาซึ่งจะช่วยในการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ได้ดีและช่วยเพิ่มพูนความสามารถและทักษะของบุคลากรในองค์กรด้วยนอกจากนี้เราสามารถใช้วรรณกรรมเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยนความรู้ ได้อีกด้วยโดยใช้วิธีการวิจัย เมื่อได้ผลวิจัยแล้วการใช้ประโยชน์จากแหล่งภายนอกเช่นสิทธิบัตร(Hall et al., 2000)

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์McKean and Smith (2003) ได้ให้ทัศนะว่าเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการเก็บมาใช้หรือนำความรู้มาใช้ใหม่ เป็นความรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่บุคลากรในองค์กร มีการเก็บไว้อย่างเป็นระบบเช่น จากฐานข้อมูล วรรณกรรม เอกสาร คู่มือตำรา บทความ หลักสูตร เป็นต้นเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลหรืองค์กร ซึ่งรวมถึง กระบวนการในการเรียนรู้และการจัดการระบบข้อมูลข่าวสารซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Dale ( 2004) ที่กล่าวว่าผลที่เกิดการใช้ความรู้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความสามารถและทักษะของบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น และมีผลเชิงป้อนกลับ





Create Date : 09 สิงหาคม 2558
Last Update : 9 สิงหาคม 2558 12:14:20 น.
Counter : 1296 Pageviews.

0 comments

kanyamon555
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



การเรียนรู้ คือวิถีของมนุษย์