Be a master of your destiny, not a slave of your own fears.
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
16 สิงหาคม 2549

กระดานอีเลกโทรนิคส์

ปัจจุบันการใช้กระดานดำหรือไวท์บอร์ดแบบธรรมดาในการสอนดูจะกลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปเสียแล้วในวันนี้เทคโนโลยีของกระดานอีเลกโทรนิคส์ได้เข้ามามีบทบาทในการสอนทั้งในระบบโรงเรียน มหาวิทยาลัยและในภาคธุรกิจ

กระดานอีเลกโทรนิคส์นี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่า “สมาร์ท บอร์ด” ซึ่งบริษัทสมาร์ท เทคโนโลยีในประเทศคานาดาเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น รูปร่างหน้าตาของกระดานอีเลกโทรนิคส์นี้นั้นก็ดูทั่วๆไป แล้วก็เหมือนว่าจะไม่แตกต่างเท่าไรกับกระดานดำและ ไวท์ บอร์ดปกติที่เราใช้อยู่กันในปัจจุบัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างกระดานดำและไวท์ บอร์ด กับกระดานอีเลกโทรนิกส์ คือกระดานอีเลกโทรนิกส์ นั้นมีผิวกระดานที่มีความไวต่อการสัมผัส และเชื่อมต่อตัวกระดานเข้ากับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเมื่อเริ่มใช้งาน กระดานอีเลกโทรนิคส์จะแปลสภาพเป็นเสมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งผู้เรียนสามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏบนกระดานเสมือนมองจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ และตัวของกระดานเองก็เป็นเสมือนเมาส์ในตัวนั่นคือ ผู้ใช้ยังสามารถออกคำสั่งให้ให้หน้าข้อมูลที่นำเสนอบนกระดานเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการโดยใช้นิ้วสัมผัส ซึ่งก็เปรียบเสมือนมีใช้เมาส์สั่งการบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เราใช้งานกันอยู่ หรืออาจใช้ปากกาอีเลกโทรนิคส์ที่จัดเตรียมไว้ในการเขียนข้อมูล ลงบนกระดานดังกล่าว

สำหรับซอร์ฟแวร์นั้นมีให้ใช้งานได้หลายรูปแบบเช่น ใช้ในการเขียน การวาดรูป หรือการ Highlight ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลที่เขียนขึ้นบนกระดานชนิดนี้นั้นสามารถจัดเก็บในรูปอีเลกโทรนิคส์ ไฟล์ได้เพื่อใช้ในการพิมพ์ในภายหลัง

งานวิจัยของ บ๊อบบี้ เอฟ แอนเดรียน (Bobby F. Andrian, 2004) ระบุว่าโรงเรียน แรปิด ซิตี้ ดีสตริกในรัฐเซาท์ ดาโกต้า (South Dakota’s Rapid City Area School District) นั้นมีนโยบายที่จะให้คุณครูนำเทคโนโลยี มาผนวกกับการสอนในชั้นเรียน ซึ่ง บ๊อบบี้ ได้เริ่มโดยการผนวกการใช้กระดานอีเลกโทรนิคส์เข้าไปในการหน่วยการสอนกับนักเรียนเกรด 4 ของโรงเรียน ในการเริ่มใช้งานกระดานแบบใหม่ในการสอนในวิชาวิชาคณิตศาสตร์ เขาพบว่านักเรียนเริ่มมีการเบี่ยนเบนความสนใจไปที่สื่อการสอนชนิดใหม่นี้ ซึ่งเมื่อเด็กเริ่มคุ้นเคยกับการใช้งานกระดานอีเลกโทรนิคส์ใหม่แล้ว บ๊อบบี้พบว่า นักเรียนสามารถอธิบายกระบวนการคิด โดยสื่อจากการวาดภาพ และสื่อความคิดโดยการเขียนลงในกระดานอีเลกโทรนิคส์ชนิดนี้ จากการสังเกตุเขาพบว่านักเรียนในชั้นเรียนเริ่มมีความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของแนวคิดที่พวกเขาคิดขึ้นผ่านการใช้กระดานอีเลกโทรนิคส์ที่ใช้เป็นสื่อนำเสนอ นอกจากนี้นักเรียนสามารถสร้างบทเรียนการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจากกระดานอีเลกโทรนิคส์ชนิดนี้ ฮาร์วีร์ และ เกาด์วิช (Harvey and Goudvis, 2003) ได้กล่าวว่า “การสร้างอะไรขึ้นก็ตามนั้น แสดงถึงการเข้าสู่เป้าหมายของการเรียนรู้... การใช้วิธีการ Constructivist ในการสอนจะช่วยส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเรียนรู้ที่เกิดจากตนเอง” นอกจากนี้บ๊อบบี้ได้ระบุว่าเขาต้องการที่จะให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ การเรียนรู้ในได้รับการกระตุ้นจากการที่กระดานอีเลกโทรนิคส์ชนิดใหม่นี้สามารถโต้ตอบกับพวกเขาได้ และพวกเขาสามารถนำข้อมูลที่เกิดขึ้นออกมาใช้ในภายหลังได้ด้วย กระดานอีเลกโทรนิคส์ยังช่วยให้นักเรียนได้สอบทานความเข้าใจของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำได้จากการใช้กระดาน หรือไวท์ บอร์ดแบบเก่าที่ไม่สามารถโต้ตอบได้

แซรี เบาว์แมน อัลเดรน ได้ให้ความคิดเห็นว่า เทคโนโลยีนั้นช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้มากขึ้นและมีสำนึกถึงความสำเร็จที่ตนเองได้ทำให้เกิดขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเอง กระดานอีเลกโทรนิคส์ไม่เพียงแต่ช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจในการเรียนมากขึ้นเท่านั้นแต่ยังก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยระหว่างกันมากขึ้นในชั้นเรียน ซึ่งผลทำให้นักเรียนเกิดการแบ่งปันและเสนอความคิดเห็นกันได้มากขึ้น เพราะเด็กๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในด้านคุณครูนั้นก็มีเวลามากขึ้นที่จะสร้างบทเรียนใหม่ๆ ที่น่าสนใจและดึงดูดให้เกิดการเรียนรู้ และที่สำคัญคุณครูมีโอกาสได้พูดคุยกับนักเรียนแบบตัวต่อตัวที่มากขึ้นด้วย

จากการทดลองใช้กระดานอีเลกโทรนิคส์เป็นเวลา 10 สัปดาห์บ๊อบบี พบว่าการนำเทคโนโลยีมามีส่วนร่วมในการสอนทำให้ขาสามารถพัฒนาคุณภาพของการสอนของเขาได้มากขึ้น และนักเรียนก็ให้ความคิดว่าการเรียนเป็นระบบมากขึ้นและคุณครูก็เอาใจใส่พวกเขามากขึ้น และผู้ปกครองของนักเรียนก็มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกันเมื่อดูข้อมูลจากแบบสำรวจโรงเรียนได้ที่จัดทำขึ้น

เว็บไซต์อ้างอิง
//www.bizjournals.com/wichita/stories/2002/06/03/focus1.html
//www.techlearning.com/shared/printableArticle.jhtml?articleID=51200657


Create Date : 16 สิงหาคม 2549
Last Update : 5 ตุลาคม 2550 10:44:48 น. 0 comments
Counter : 781 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Jazz-zie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH
[Add Jazz-zie's blog to your web]