Be a master of your destiny, not a slave of your own fears.
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
18 พฤษภาคม 2550

การประเมินการสอนทางไกล ใครได้อะไร

การประเมินการสอนทางไกล ใครได้อะไร

ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนทางไกลจะมีรูปแบบที่แตกต่างกับการเรียนในชั้นเรียนเนื่องจากการเรียนการสอนทางไกลนั้นจะใช้สื่ออีเลคโทรนิกส์อย่างอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กส่วนบุคคล (PDA) ในการจัดการจัดการเรียนการสอน แต่วัตถุประสงค์ของการประสงค์ของการประเมินนั้นก็แทบจะไม่มีความแตกต่างจากชั้นเรียนปกติเสียเท่าใดนัก นั่นคือต้องการผู้สอนต้องการที่จะประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนเหมือนๆ กัน

การประเมินที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้นจะทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และก่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย โดยประโยชน์ที่ผู้สอนจะได้รับคือ
1. รับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเรียนการสอนทางไกล
2. เรียนรู้การจัดรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลที่ตรงต่อความต้องการของผู้เรียน
3. นำความรู้ที่ได้รับจากการประเมินไปใช้ปรับปรุงการออกแบบการสอนทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับประโยชน์ที่ผู้เรียนได้รับคือ
1. ทำให้ทราบว่าการเรียนในรูปแบบทางไกลนั้นมีความเหมาะสมกับผู้เรียนเองหรือไม่
2. ได้รับประสบการณ์เรียนใหม่ นอกเหนือจากชั้นเรียน
3. เรียนรู้ขีดความสามารถของตนเอง และจุดที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงในการเรียนทางไกล



ประเมินทางไกล ทำกันอย่างไร

กระบวนการประเมินทางไกลนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการจัดระบบการเรียนการสอนของแต่ละรายวิชาเป็นอยย่างมาก เนื่องจากการสอนที่ขาดการออกแบบการประเมินที่ดีนั้นจะทำให้ผู้สอนไม่สามารถทราบได้อย่างถ่องแท้ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ไปถึงระดับใด มีปัญหาหรืออุปสรรคใดเกิดขึ้นกับผู้เรียนในระหว่างการเรียนรายวิชานั้นๆ หรือไม่ การที่ผู้สอนได้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเร็วเท่าไรก็จะสามารถช่วยเหลือผู้เรียนและทำให้การเรียนการสอนทางไกลเป็นอย่างต่อเนื่องไม่สะดุดติดขัดได้มากขึ้นเท่านั้น

สำหรับกระบวนการการประเมินการจัดการเรียนการสอน ทางไกลนั้นมีกระบวนการดังต่อไปนี้

1. กำหนดเป้าหมายการประเมินให้ถ่องแท้โดยการสร้างคำถามขึ้นเช่น
 ประเมินใคร
 ประเมินเรื่องอะไร
 ประเมินเมื่อไร
 ใช้เครื่องมืออะไรในการประเมิน
 ผลการประเมินจะนำไปใช้ประโยชน์อะไร

2. ออกแบบการประเมิน
ในขั้นตอนนี้ผู้สอนต้องหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้แน่ชัด โดยกำหนดว่าผู้เรียนควรจะเรียนรู้อะไร และมีวัตถุประสงค์อะไรในการเรียนรู้แต่ละเนื้อหานั้นๆ จากนั้นจึงทำการกำหนดการประเมินว่าจะเป็นช่วงเวลาใดหลังจากที่ผู้เรียนได้เริ่มเรียนรู้แล้ว
3. กำหนดเครื่องมือการประเมินและเกณฑ์การประเมิน
สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการสอนทางไกลนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบซึ่งผู้สอนซึ่งการเลือกใช้นั้นผู้สอนควรคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
2. ความถนัดของผู้สอนในการใช้เครื่องมือรูปแบบต่างๆ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการสนับสนุนการสอน

สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินอาจสร้างเลือกใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้
1. การสอบกลางภาค (Midterm Exam)
2. การสอบปลายภาค (Final Exam)
3. การทดสอบย่อย (Quizzes)
4. ชิ้นงานมอบหมาย (Assignment)
5. กรณีศึกษา (Case Study)
6. โครงการ (Project)
7. แบบสอบสำรวจความคิดเห็น (Student Survey)

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินนั้นอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้ทุกชนิดที่กล่าวมา นอกเหนือจากความถนัดของผู้สอนในการใช้เครื่องมือเหล่านั้นแล้ว ผู้สอนยังคงต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ร่วมกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถทำให้การประเมินได้รับผลสัมฤทธิ์สูงสุดเช่น หากผู้สอนทำการสอนทางไกลในระบบออนไลน์ผู้สอนสามารถออกแบบให้ผู้เรียนส่งงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อใช้ประเมินทางออนไลน์ ทาง E-mail หรือทางโทรสาร ได้ หากเป็นการสอบอาจจัดให้สอบตามสถานที่สอบที่ๆ จัดเตรียมให้ หรือสามารถจัดสอบได้ทางอินเตอร์เน็ต หากเป็นการส่งงานก็อาจจะใช้การส่งทาง E-mail ส่งโดย upload ขึ้นบนWeb ที่จัดเตรียมให้ หรือส่งทางจดหมาย
4. ทำการประเมิน
เมื่อทำการสอนตามเนื้อหาที่ได้ออกแบบเอาไว้ ผู้สอนก็จะทำการประเมินเมื่อการสอนเสร็จสิ้นตามแต่ละหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดเอาไว้ จำนวนและวิธีการประเมินนั้นไม่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐานแน่นอนว่าจะต้องเรียนเป็นระยะเวลานานเท่าใดขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้สอนเป็นสำคัญและตอบเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะได้รับ

5. ตรวจสอบและปรับปรุง
ขั้นตอนท้ายของการประเมินการเรียนการสอนทางไกลคือการตรวจสอบว่าผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ต้นหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ มีปัญหา และสาเหตุใดที่ทำให้การเรียนรู้เบี่ยงเบนไปจากที่ออกแบบไว้ในครั้งแรก และจะแก้ปัญหาด้วยวิธีใดเพื่อให้การเรียนการสอนทางไกลนั้นตอบสนองผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุดในการจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป










เอาใจใส่กับปัจจัยที่ทำให้การประเมินทางไกลได้ผล

การเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลให้การประเมินผลเกิดผลสัมฤทธิ์นั้นเป็นประเด็นที่ผู้สอนควรตระหนักถึงก่อนการประเมิน เนื่องจากการเรียนทางไกลและการเรียนในชั้นเรียนปกตินั้นมีความแตกต่างกันกันในหลายด้านเช่น ในการเรียนการสอนทางไกลนั้นผู้สอนอาจไม่มีโอกาสพบปะกับผู้เรียนได้มากเหมือนการเรียนในชั้นเรียนปกติ ซึ่งสภาพแวดล้อมของการเรียนที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อพัฒนาการของผู้เรียนที่ไม่เหมือนกัน หรือการจัดการเรียนทางไกลนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องมีทักษะบางประการเช่นทักษะการเขียนที่ดีเพื่อใช้ในการสื่อสารกับผู้สอนและผู้ร่วมเรียนทางไกลอื่นๆ ซึ่งจะแตกต่างกับการเรียนในชั้นเรียนปกติที่ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะการพูดทดแทนการสื่อสารด้วยการเขียนเมื่ออยู่รวมสนทนากันในชั้นเรียน

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้การประเมินเกิดผลสัมฤทธิ์สำหรับการประเมินการเรียนการสอนทางไกลนั้นประกอบด้วยปัจจัยหลักๆ 3 ประการดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยด้านผู้สอน
1.1 ปัจจัยด้านเวลา
ผู้สอนต้องมีความพร้อมที่จะเข้ามาประเมินงานที่มอบหมาย หรือเข้าร่วมสนทนากับผู้เรียน พราะเวลาการส่งงานหรือการเข้ามาร่วมสนนาของผู้เรียนอาจไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมผู้เรียนในขณะนั้นๆ

1.2 ปัจจัยด้านความยากง่ายของข้อสอบ
ข้อสอบที่มีความยากหรือความง่ายจนเกินไป จะทำให้ไม่สามารถทำการประเมินได้ว่าผู้เรียนที่เรียนได้ดีนั้นมีความแตกต่างจากผู้เรียนที่อ่อนอย่างไร

1.3 ปัจจัยด้านการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนในระบบทางไกลที่มีความซับซ้อนอาจส่งผลให้การประเมินผู้เรียนที่ขาดความรู้และทักษะการใช้สื่อกลายเป็นผู้เรียนที่มีผลการเรียนไม่น่าพอใจเนื่องจากไม่สามารถทำให้ตามข้อกำหนดที่ตั้งไว้

1.4 ปัจจัยด้านความช่วยเหลือและสนับสนุนการเรียนรู้
ผู้สอนต้องมีความเข้าใจปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอนทางไกล ทั้งยังต้องสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนอย่างเพียงพอ ผู้สอนที่ขาดความเอาใจใส่ อาจทำให้ผู้เรียนไม่สามารถผ่านการประเมินรายวิชาได้

2. ปัจจัยด้านผู้เรียน
2.1 ปัจจัยเรื่องทักษะการเขียนและการเข้าใจภาษา
การเขียนเป็นการติดต่อสื่อสารที่ใช้มากระหว่างการเรียนทางไกล หากผู้เรียนขาดทักษะหรือด้อยทักษะด้านดังกล่าว ทำให้ผลการประเมินผู้เรียนเป็นไปในทิศทางที่ผู้เรียนขาดผลสัฤทธิ์ของการเรียน

2.2 ปัจจัยเรื่องความมีวินัยของผู้เรียน
ผู้เรียนที่ขาดวินัยในการเรียนเช่นขาดการส่งงานตามกำหนดเวลา หรือไม่เข้าร่วมสนทนาตามกำหนด จะส่งให้การเรียนเป็นไปได้ช้าและไม่สามารถตามผู้เรียนอื่นๆ ได้ทันซึ่งจะมีผลต่อการประเมินเรื่องพัฒนาการของผู้เรียน

2.3 ปัจจัยด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนอื่นๆ
การเรียนที่ขาดการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ไม่ลึกและใม่กว้างขวาง Webboard เป็นช่องทางสำคัญที่จะได้เรียนรู้ร่วมกันในขณะเดียวกัน ผู้สอนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนจากการสนทนาใน Webboard

2.4 ปัจจัยด้านความุ่งมั่นในการเรียนรู้
ความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี การควบคุมผู้เรียนในการเรียนทางไกลนั้นเป็นไปได้ยากกว่าการเรียนในชั้นเรียนปกติที่ผู้สอนและผู้เรียนมาพบกันในชั้นเรียน

2.5 ปัจจัยด้านความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ต่อตนเองที่จะเรียนรู้เป็นอีกคุณสมบัติพื้นฐานอีกประการหนึ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี หากผู้เรียนขาดคุณสมบัติดังกล่าว อาจทำให้ผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการเรียนการสอนทางไกลในรายวิชานั้นๆ

3. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี
3.1 ปัจจัยด้านความเข้าถึง
หากผู้เรียนไม่สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนเช่น ขาดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือไม่มีโทรศัพท์มือถือ ก็จะทำให้ผู้เรียนไม่สามารถมีโอกาสเรียนรู้รายวิชาทางไกลได้และผู้สอนก็ไม่สามารถประเมินผู้เรียนได้

3.2 ปัจจัยด้านความรู้เรื่องเทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเกิดขีดความสามารถและทักษะที่ผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นอุปสรรคต่อการประเมินผู้เรียน สถาบันการศึกษาจึงควรจัดหาและใช้เทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมกับทั้งสอนและผู้เรียน

3.3 ปัจจัยด้านการช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านเทคนิค
การขาดผู้ช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านเทคนิคก็ทำให้การเรียนขาดความต่อเนื่องและติดขัด การประเมินผู้เรียนก็จะขาดความน่าเชื่อถือเนื่องจากติดขัดจากอุปสรรคของเทคโนโลยี
การตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัยทั้ง 4 ที่กล่าวถึงนั้นย่อมที่จะช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอนทางไกลกับผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ซึ่งทำการประเมินผู้เรียนได้ว่าได้เรียนรู้มากแค่ไหนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้หรือไม่
ส่งท้าย

การประเมินการเรียนการสอนทางไกลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้นั้นผู้สอนจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการประเมิน รวมถึงสามารถจัดการประเมินได้อย่างเป็นระบบ การเรียนรู้ที่เป็นระบบจะช่วยให้ผู้สอนทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนและปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียน และนำความรู้ที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้หลักสูตรที่สามารถตอบสนองความอยากเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง

นอกเหนือจากกระบวนการสอนแล้ว ปัจจัยด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านเทคโนโลยี ก็เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการประเมินการเรียนการสอนทางไกลให้ได้ผลสัมฤทธิ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้หากผู้สอนสามารถที่ควบคุมหรือจัดการได้ก็จะมีผลทให้การประเมินมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

บุริม โอทกานนท์




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2550
1 comments
Last Update : 5 ตุลาคม 2550 10:42:35 น.
Counter : 642 Pageviews.

 

สวัสดีค่ะ
บังเอิญเป็นคนหนึ่งที่เรียนในรูปแบบการศึกษาทางไกลทั้งแล้วออนไลน์และออฟไลน์นะคะ

เมื่อนำไปเทียบกับมหาวิทยาลัยที่ตัวเองจบมา

ความรู้สึกในการเรียนทางไกลถือว่ามีความสุขดีนะคะ ไม่ได้มีอุปสรรคมาก

ความรู้ก็ใช้ได้เลย อาจารย์สนใจนักเรียนดีมากค่ะ

 

โดย: bestwish 20 กรกฎาคม 2550 19:41:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Jazz-zie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]





ค้นหาใน GOOGLE.CO.TH
[Add Jazz-zie's blog to your web]