บทความเกี่ยวกับบ้าน อาหาร โรงแรม แต่งงาน กีฬา ท่องเที่ยว เสื้อผ้า แฟชั่น ที่พัก เครื่องสำอาง ซื้อขาย สัตว์ เลี้ยง สุขภาพ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
24 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
ทำอย่างไรเมื่อเพื่อนร่วมงานกลายเป็นลูกน้อง : เพื่อนร่วมงาน เพื่อน ร่วมงาน เพื่อนทำงาน เพื่อนที่ทำงาน

เพื่อนร่วมงานกลายเป็นลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา



การปรับโครงสร้างองค์กรถือเป็นเรื่องปกติในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน หลายองค์กรเลือกที่จะปรับเปลี่ยน โยกย้ายตำแหน่งแทนการลดพนักงาน จึงอาจทำให้คนบางคนเปลี่ยนสถานะจากเพื่อนร่วมงานกลายเป็นหัวหน้างานโดยไม่ทันตั้งตัว บทบาทใหม่อาจทำให้คุณตกใจ และต้องการการปรับตัว เราจึงมีเคล็ดลับสำหรับการเตรียมพร้อมของผู้จัดการหรือหัวหน้างานมือใหม่มาฝาก เพื่อให้คุณยังคงมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่กลายเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ค่ะ


1. นัดประชุมกับสมาชิกในทีม


สิ่งแรกที่ควรทำคือการประชุมกับผู้ร่วมทีม โดยนัดพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวกับผู้ใต้บังคับบัญชาทีละคน เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้


- บทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคนภายในทีม ซึ่งพวกเขาอาจถูกปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่บางอย่างเช่นกัน


- สิ่งที่คุณคาดหวังคืออะไร สไตล์การทำงาน และสิ่งที่คุณแตกต่างจากผู้จัดการคนก่อน ๆ คืออะไร


- วิธีการวัดผลของคุณ


การประชุมจะทำให้คุณทราบเป้าหมายในอาชีพของทีมงานแต่ละคน และสิ่งที่คุณจะสามารถช่วยพวกเขาให้ไปถึงเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้ นอนจากนี้ ยังเป็นโอกาสที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้ถามข้อสงสัยต่าง ๆ และร่วมกันแก้ไขก่อนที่มันจะกลายเป็นปัญหาต่อไป


2. กำหนดขอบเขตการวางตัว


สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเมื่อคุณกลายเป็นหัวหน้างาน คือการวางตัว ในเวลางานคุณมีบทบาทเป็นผู้จัดการ ไม่ใช่เรื่องยากนักที่คุณจะวางตัวให้ดูภูมิฐานน่าเคารพ แต่หลังเลิกงานหรือในวันหยุด คุณจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตการวางตัวให้เหมาะสม ว่าคุณสมควรที่จะออกไปเที่ยวหลังเลิกงานกับทีมของคุณหรือไม่ คุณได้รับอนุญาตที่จะคุยเล่นกับเพื่อนของคุณอย่างแต่ก่อนหรือไม่ แม้ว่ายังไม่มีคำตอบที่เป็นมาตรฐานสำหรับเรื่องดังกล่าว สิ่งหนึ่งที่คุณพึงระลึกเสมอคือ คุณจำเป็นต้องมีขอบเขตในฐานะหัวหน้างานด้วย


3. วางตัวเป็นกลาง


คุณอาจมีเพื่อนที่สนิทเป็นพิเศษกว่าเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ แต่ในฐานะหัวหน้า คุณจะต้องปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มิฉะนั้นคุณอาจมองข้ามพนักงานคนอื่นที่มีความสามารถโดยไม่รู้ตัว รวมทั้งต้องเชื่อในศักยภาพของทุกคนภายในทีม และแจกจ่ายงานอย่างยุติธรรมที่สุด


4. มั่นใจในตัวเอง อย่าหวั่นไหว


แม้ว่าคุณจะพยายามบริหารงานอย่างดีที่สุด แต่อาจมีพนักงานบางคนที่ต้องการทดสอบอำนาจของคุณ ด้วยการไม่สนใจคำสั่ง ไม่ส่งงานตามเวลาที่กำหนด หรือ ไม่เข้าประชุมตามเวลาที่คุณนัดหมาย เป็นต้น จงอย่าหวั่นไหวสั่นคลอน ในขณะเดียวกัน คุณควรทำให้พนักงานตระหนักในสิ่งที่คุณคาดหวัง ความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎและข้อตกลงซึ่งจะส่งผลต่อบริษัท รวมถึงการประเมินผลงานของตัวพนักงานเองด้วย ทั้งนี้คุณควรทำให้เป็นรูปธรรม โดยเป็นเอกสารชัดเจน เพื่อย้ำถึงจุดยืนของคุณ


5. มองหาคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์


แน่นอนว่าคุณไม่ใช่คนแรกที่ประสบกับสถานการณ์เช่นนี้ การมีที่ปรึกษาย่อมเป็นเรื่องดี ที่จะช่วยให้คุณมีแนวทางในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทและความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ว่าพวกเขามีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผ่านเหตุการณ์เช่นนี้ไปนี้ด้วยดี





การเป็นผู้จัดการเป็นการก้าวขึ้นบันไดแห่งความสำเร็จขั้นหนึ่งในหน้าที่การงาน อย่าให้อะไรมาเป็นอุปสรรคขวางกันความก้าวหน้าของคุณได้ พูดคุยสื่อสารกับสมาชิกในทีมเป็นประจำ วางตัวให้เหมาะสม และหาที่ปรึกษาดี ๆ สักคน จะช่วยให้คุณก้าวสู่บทบาทของผู้บริหารได้อย่างราบรื่นค่ะ






Create Date : 24 สิงหาคม 2552
Last Update : 24 สิงหาคม 2552 17:49:24 น. 1 comments
Counter : 1055 Pageviews.

 
เป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งทีเดียว


โดย: ลูกสาวชิชิ วันที่: 26 สิงหาคม 2552 เวลา:17:55:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tottui
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add tottui's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.