อ่านสักนิด ก่อนคิดจะฝึกโยคะ
<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 มกราคม 2554
 
 
เลี้ยงลูกแบบตามใจ…..กลายเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน”

เลี้ยงลูกแบบตามใจ…..กลายเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน”

source //kid.plearnkid.com/?p=952

เวบจิตใจของสมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภป์ ให้คำนิยามคำว่า”พ่อแม่รังแกฉัน” ไว้ว่า “ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่ทุบตี หรือกระทำทารุณทางกายกับลูก แต่ตามเรื่องที่เล่าต่อกันมา หมายถึง พ่อแม่ที่ตามใจลูก เอาใจลูกมากเกินไป แม้ลูกทำผิดก็ไม่กล้าตักเตือน ไม่กล้าลงโทษให้ลูกเข็ดหลาบ เพราะกลัวลูกจะเจ็บ และคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก ลูกจึงมีนิสัยไม่ดี เกะกะเกเร เวลาอยากได้ของของใครก็หยิบเอามาโดยไม่บอกกล่าว เข้าข่ายเป็นขโมย หนักเข้าเมื่อโตขึ้นก็ทำผิดรุนแรงยิ่งขึ้น ถึงขั้นปล้นฆ่าชาวบ้าน เมื่อถูกทางการจับได้ ก็ต้องติดคุกและโดนประหารชีวิต ก่อนตายโจรคนนี้ได้พูดว่า พ่อแม่รังแกฉัน ถ้าพ่อแม่ไม่ตามใจฉันมากเกินไป และอบรมสั่งสอนฉัน ลงโทษฉันเมื่อฉันทำผิดตั้งแต่เด็ก ๆ โตขึ้นฉันคงไม่ถูกทางการลงโทษหนักอย่างนี้หรอก”

จากประสบการณ์ที่เป็นทั้งแม่ของลูกมา ๘ ปี และเป็นครูของเด็กๆ มา๒๐ ปี ได้เห็นเด็กส่วนใหญ่ที่มีปํญหาไม่ว่ามากหรือน้อย ก็เพราะการเลี้ยงดูของพ่อแม่แบบรังแกฉันแทบทั้งนั้น แต่พ่อแม่ก็ไม่ค่อยจะสำนึกกันเท่าไหร่ ตีอกชกตัวว่า เลี้ยงลูกอย่างดีแล้วทำไมลูกมันถึงไม่ดี และหลายคนยังพาลบ้านอื่น โทษบ้านอื่น รวมทั้งโทษครูโทษโรงเรียนแบบไม่ตรงประเด็นกันอีกด้วย

เชื่อจริงๆว่าการเลี้ยงลูกโดยยึดหลักคุณธรรมในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งประยุกต์มาจากหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา จะช่วยให้พ่อแม่และผู้ที่เลี้ยงดูเด็กเข้าใจและส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสม ถูกทาง

ศ.เกียรติคุณ พ.ญ.วัณเพ็ญ บุญประกอบ กล่าวถึงหลักคุณธรรมที่พ่อแม่ควรมีในการเลี้ยงดูลูกว่า พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า “พ่อแม่เป็นพรหมของลูก” ซึ่งเป็นความเหมาะสมและครอบคลุมที่สุด สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานสำคัญ ที่พ่อแม่สามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงดูลูกให้มีคุณภาพและมีความสุขได้

เมตตา กรุณา การเลี้ยงดูลูกให้ดีและมีความสุขได้นั้นต้องเริ่มต้นด้วยความเมตตาต่อลูก ปรารถนาให้ลูกมีความสุข เป็นคนดี ประสบความสำเร็จ และเกิดสิ่งดีๆ กับลูกทุกๆ อย่าง ฉะนั้นหากพ่อแม่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน พ่อแม่จะไม่ทำร้ายลูกและความรุนแรงในครอบครัวก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะเริ่มต้นด้วยความเมตตากรุณาปรานี สงสารยามลูกเจ็บป่วย ยามพลาดพลั้งก็คอยปลอบโยนและเป็นกำลังใจ ด้วยความเมตตากรุณานี้เองพ่อแม่ก็จะรู้ว่าตนเองมีหน้าที่จัดหาสิ่งที่จำเป็น พื้นฐานตามสภาพโดยยึดหลักความปรารถนาดี

มุทิตา เมื่อโตขึ้นเด็กต้องการรู้ว่าเวลาทำอะไรประสบความสำเร็จ หรือทำอะไรได้ด้วยตนเอง เมื่อเขาวิ่งไปหาพ่อแม่ พ่อแม่จะชื่นชม พ่อแม่ต้องชื่นชมยินดีกับลูกทุกครั้งทุกขั้นตอนที่ลูกมีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ มีความพยายามในสิ่งที่เป็นคุณสมบัติที่ดีทั้งหลายของลูก เช่น ความอดทน ความมีน้ำใจ การช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งพ่อแม่ต้องแสดงออกให้ลูกเห็นและทำเป็นแบบอย่างด้วย การสอนให้ลูกรู้จักชื่นชมยินดีกับผู้อื่นจะเป็นสิ่งที่ป้องกันความรู้สึก อิจฉาริษยาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างมุทิตาให้เกิดภายในครอบครัวระหว่างพี่น้อง พี่ยินดีกับน้อง น้องยินดีกับพี่ จะนำไปสู่การปลูกฝังความสามัคคีภายในบ้าน ซึ่งพ่อแม่ต้องสามัคคีกันก่อน ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันให้ลูกเห็น หรือหากมีการเถียงกันบ้าง ไม่ลงรอยกันบ้าง ในที่สุดก็อภัยกัน ยกโทษให้กันและลงเอยด้วยการแก้ปัญหาด้วยดี ลูกจะได้เห็นว่าการไม่ลงรอยกันเกิดขึ้นได้ในสังคม แต่หากฟังเหตุผลกัน ประนีประนอมและให้อภัยกันจะนำมาซึ่งความสงบสุขสมานฉันท์

อุเบกขา เด็กๆ ต้องการจะเป็นตัวของเขาเอง ต้องการการเจริญเติบโต ก้าวหน้า เราจะเห็นว่าเวลาเด็กเดินได้ รับประทานข้าวเองได้ ทำอะไรเองได้ เขาจะภาคภูมิใจ นั่นคือการเพิ่มความมั่นคงทางใจให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เขากล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด กล้าแสดงออก และอยากทำอะไรมากขึ้น ต่อไปข้างหน้าเขาก็จะเป็นตัวของเขาเอง รู้จักทำอะไรได้ด้วยตัวเอง และรู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยเหลือเมื่อเขาร้องขอหรือต้องการ เมื่อเขาซวนเซ พลาดพลั้ง นั่นคือจังหวะที่เราจะก้าวเข้าไปหา ปลอบลูกหรือเป็นกำลังใจให้ลูก หรือในช่วงแรกๆ ที่เขายังทำอะไรไม่ได้ พ่อแม่มีหน้าที่ฝึกหัดให้เขาทำโดยช่วยเขาก่อน หลังจากนั้นจึงให้ลูกลองผิดลองถูกตามความเหมาะสม เมื่อลูกทำได้แล้วจึงถอยห่างออกมาดูและคอยชื่นชม แต่หากลูกยังทำไม่ได้ พ่อแม่อาจจะค่อยๆ เข้าไปช่วยเหลือพอให้เขาตั้งหลักได้จึงปล่อยให้เขาทำด้วยตัวเอง

ความไว้วางใจต่อกัน ช่วยให้ลูกมีความรับผิดชอบต่อตนเอง เมื่อเขาอยู่ตามลำพังจะมีจิตใจเข้มแข็งและมั่นคงในตนเอง และพ่อแม่ก็จะไม่ต้องกังวลใจเมื่อถึงวัยที่ลูกอยู่นอกสายตา

อย่างไรก็ตาม การวางอุเบกขา มิได้หมายถึงความไม่สนใจหรือรักแบบตามใจ ต้องอบรมสั่งสอน คุณธรรม กิริยาและมารยาท หากเด็กๆ ได้รับการอบรมสั่งสอนน้อยไปและได้เห็นตัวอย่างผิดๆ เด็กจะไม่รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี และจะเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงเมื่อเขาเติบโตขึ้น

“เด็กๆ หลายคนที่มาพบหมอ เมื่อเราช่วยเหลือเขา บางครั้งเขาจะบอกว่าทำไมพ่อแม่ไม่สอนหนู” นั่นคือพ่อแม่ละเลยความสำคัญในบทบาทการเป็นพ่อแม่ เพราะจริงๆ แล้วพ่อแม่ยังเป็นผู้ที่ควบคุมและมีอำนาจเหนือลูกได้ แต่พ่อแม่ควรใช้อำนาจด้วยพรหมวิหาร 4 คือด้วยความเมตตาไม่ใช่อำนาจแบบโหด ร้ายทารุณหรือเอาเปรียบเด็ก หรือแบบประชาธิปไตย คำว่าประชาธิปไตยไม่ใช่ทำอะไรตามสิทธิเสรี แต่ประชาธิปไตยคือการรู้จักสิทธิมนุษยชน สิทธิบุคคลคือตนเอง และสิทธิของผู้อื่น และทำในขอบเขตศีลธรรมหรือคุณธรรมโดยไม่ล่วงเกินผู้อื่น ไม่เป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น ที่สำคัญมากคือต้องเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น เพราะฉะนั้นจะมีคำว่า”กาลเทศะ” เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ

แน่นอนที่สุดพ่อแม่ทุกคนรักลูกและพร้อมสนองตอบความต้องการของลูกเสมอ แต่ต้องมีขอบเขตความพอดี เพื่อไม่ให้กลายเป็นดังคำที่ว่า “พ่อแม่รังแกฉัน”

ลองพยายามทำดู เพื่อช่วยลูกๆของเรากันเถอะ



Create Date : 18 มกราคม 2554
Last Update : 18 มกราคม 2554 13:02:15 น. 0 comments
Counter : 633 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

honeymo
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add honeymo's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com pantip.com pantipmarket.com pantown.com