เข้าถึง-> กรอบความคิด นักวิชาการไทย
|
นักวิชาการ, นักบริหาร (รัฐมนตรี+นักธุรกิจ), นักการเมือง, นักเคลื่อนไหวมวลชน (NGO + การเมืองภาคประชาชน) และสื่อมวลชน คือกลุ่มบุคคล 5 กลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการกำหนด ทิศทางการเมืองและแนวทางการพัฒนาประเทศ
สำหรับข้อเขียนนี้จะขอกล่าวเฉพาะนักวิชาการเป็นเบื้องแรก.....
นักวิชาการสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก
----------กลุ่มแรก..ได้แก่นักวิชาการที่เข้าไปมีบทบาทในกลุ่มนักบริหาร นักธุรกิจ นักการเมือง นักสื่อสารมวลชน และนักเคลื่อนไหวมวลชน กล่าวได้ว่าโลกทัศน์(จุดยืน ทัศนะ วิธีการ)ของนักวิชาการกลุ่มนี้ได้ผสมผสานและค่อนข้างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกลุ่มที่ตนสังกัด.....
----------กลุ่มที่สองได้แก่นักวิชาการที่อยู่กับมหาวิทยาลัยทำหน้าที่สอนและทำวิจัยเป็นงานหลัก กล่าวได้ว่านักวิชาการกลุ่มนี้มีโลกทัศน์(จุดยืน ทัศนะ วิธีการ)ตามองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการที่ตนถนัดเป็นสำคัญ
เมื่อเราพูดถึงนักวิชาการเรามักพูดโดยรวม มิได้แยกแยะกลุ่มที่นักวิชาการสังกัดดังกล่าวข้างต้น อาจทำให้เกิดการมองภาพแบบเหมารวมซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ดำรงอยู่.....
----------แต่ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ กลุ่มแรกหรือกลุ่มที่สอง..ต่างก็ทำหน้าที่วนเวียนในเรื่องเหล่านี้คือ...การค้นคว้าความเป็นจริงด้วยการวิจัย การใช้องค์ความรู้อรรถาธิบายปรากฎการณ์ต่างๆทางสังคม และการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างสรรค์ แก้ปัญหา หรือพัฒนายุทธศาสตร์ ตลอดถึงแนวทาง นโยบาย....
ความเป็นจริง......ได้มาจากการสังเกตุการณ์ความเป็นไปในสังคมและจากการวิจัย ทดลอง
องค์ความรู้..........ได้มาจากการร่ำเรียน เช่นองค์ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ องค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ ด้านกฎหมาย เป็นต้น...องค์ความรู้ก็คือความรู้ที่ถูกรวบรวมเป็นสาขาวิชาที่เป็น องค์ แล้วนั่นเอง
ภูมิปัญญา............ได้มาจากการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางแก้ปัญหา สาขาวิชาการที่เป็น How to, Technology, การคิดค้นยุทธศาสตร์ แนวทาง นโยบาย ล้วนต้องใช้ภูมิปัญญาทั้งสิ้น....กล่าวโดยสรุป ภูมิปัญญาคือการแก้ไขปัญหาหรือการสร้างสรรสิ่งใหม่ที่ต้องพึ่งพา ไหวพริบ ปัญญา ความฉลาดของคน+การเข้าใจความเป็นจริง+การมีองค์ความรู้ที่เพียงพอ ...
----------นักวิชาการไทยส่วนใหญ่ ได้รับการรับรองจากปริญญาบัตรว่าเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในสาขาใดสาขาหนึ่งที่ตนร่ำเรียนมา..และมักใช้องค์ความรู้นี้เป็นกรอบในการคิด....กล่าวคือ.... เอากรอบความรู้ที่ตนร่ำเรียนมาเป็นตัวตั้ง แล้วเอาปรากฎการณ์ที่ตนสังเกตเห็นมาเป็นตัวเทียบ หากปรากฎการณ์ต่างๆ อยู่ในกรอบองค์ความรู้ของตนเองก็สามารถยอมรับได้ แต่ถ้าปรากฎการณ์ทางสังคมไม่อยู่ในกรอบ หรือ อยู่นอกกรอบองค์ความรู้ของตนเองก็เป็นเรื่องที่จะต้องแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ และมักจะขัดแย้งกับนักการเมืองและนักบริหารอยู่เป็นนิจ....
----------ทั้งนี้เพราะกรอบความคิดนักบริหาร เอาเป้าหมายเป็นตัวตั้งและเอาผลการดำเนินงานเป็นตัวเทียบ หากผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมายก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องทบทวน กระบวนการ วิธีการทำงานบุคลากร งบประมาณ ตามแต่เหตุ...
----------ในขณะที่นักการเมืองเอาเรื่องการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองเป็นตัวตั้งและเอาความนิยมหรือคะแนนเสียงเป็นตัวเทียบ หากมีคะแนนเสียงไม่มากพอที่จะเข้าสู่อำนาจได้ก็ถือว่าล้มเหลว และกลับไปทบทวน ตัวบุคคล กลยุทธ ตลอดจน แนวทาง นโยบายทางการเมืองของตน....
ในแง่นี้....นักวิชาการ นักบริหาร และนักการเมือง จำต้องขัดแย้งกัน เพราะกรอบความคิดและตรรกะที่แต่ละฝ่ายใช้เป็นหลักยึดนั้น...แตกต่างกันตั้งแต่จุดเริ่มต้น...ยกเว้นนักวิชาการที่สังกัดกลุ่มมักจะใช้จุดยืน ทัศนะ และวิธีการด้านต่างๆ ตามกลุ่มที่ตนสังกัด.....หากประชาชนเข้าถึงกรอบความคิดของบุคลในกลุ่มต่างๆเหล่านี้...ย่อมพิจารณาเรื่องราวต่างๆได้ง่ายขึ้น
----------นักวิชาการของไทยทุกสาขารวมกัน มีผลงานวิจัย ไม่ถึง 0.5 เรื่องต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่ายังแตกต่างกันมาก...และนี้คือตัวบ่งชี้ว่านักวิชาการไทยยังเรียนรู้ รับรู้ และเข้าใจความเป็นจริงรอบตัวน้อยมาก..
----------การที่นักวิชาการมีผลงานวิจัยน้อยนี่แหละคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้นักวิชาการแก่กล้าเฉพาะองค์ความรู้ แต่อ่อนด้อยด้านการทำความเข้าใจกับความเป็นจริงที่อยู่รอบตัว...และเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้นักวิชาการอ่อนแอทางภูมิปัญญา กล่าวคือไม่สามารถใช้ องค์ความรู้ที่มีอยู่ประสานกับไหวพริบ ปัญญา ความฉลาดของตนบนพื้นฐานของการเข้าใจความเป็นจริง(ที่ได้จากการวิจัย) ได้อย่างเหมาะสม....ภูมิปัญญาของนักวิชาการไทยจึงดูเหมือนหยุดนิ่ง..ลอกเลียนต่างประเทศ..กระทั้งอนุรักษ์นิยมจนไม่สามารถยอมรับกับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา...
----------นักวิชาการเป็นกลุ่มคนที่แทรกตัวอยู่ในหมู่นักธุรกิจ นักบริหาร นักการเมือง นักเคลื่อนไหวมวลชน และสื่อสารมวลชน....และถือว่าทำหน้าที่ในส่วนที่เป็นสมองให้กับคนกลุ่มต่างๆดังกล่าว...และยังทำหน้าที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะต้องเติบโตขึ้นมารับช่วงเพื่อดูแลสังคมในอนาคต.....ในแง่นี้...นักวิชาการมีความสำคัญต่อการกำหนดชะตากรรมของประเทศไม่น้อยกว่านักบริหาร นักการเมืองและคนกลุ่มอื่นๆเลย...
----------แต่ถ้านักวิชาการ มัวแต่ เป็นปลื้ม กับองค์ความรู้ของตนโดยละเลย การค้นคว้า วิจัยทดลองความเป็นจริงของสังคม และไม่มีทิศทางพัฒนาภูมิปัญญาให้ก้าวหน้า ออกมาในรูปของยุทธศาสตร์ แนวทางนโยบายสาธารณะด้านต่างๆ.....นักวิชาการไม่เพียงปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกาภิวัฒน์ แต่ยังกลายเป็นพวกอนุรักษ์กลุ่มใหม่ และบางกลุ่มไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ถึงขั้น ขวางโลก ด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอารยะขัดขืน หรือ อนาธิปไตย.... ----------ในห้วงเวลา ที่สนธิ-จำลอง-พันธมิตร และเครือข่ายสนับสนุน เคลื่อนไหวกดดันให้นายกทักษิณลาออกนั้น...
.....มีนักวิชาการจำนวนมากได้หันหลังให้กับหลักการที่ทุกคนเคยเรียกร้องมาเมื่อเดือนพฤษภาคม35 คือนายกมาจากการเลือกตั้ง มิใช่มาจากการแต่งตั้ง หรือขอนายกพระราชทาน...
.....ในห้วงเวลาดังกล่าวเช่นกันนักวิชาการจำนวนมากยอมรับการกดดันโดยไม่เสนอทางออกแก่สังคม พร้อมที่จะให้สังคมเปลี่ยนจาก ภาวะเสถียร ไปสู่ ภาวะเสี่ยงภัย...เพียงเพื่อให้นายกทักษิณลาออกเท่านั้น..
.....มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งออกมากระแทกแดกดัน เสียงส่วนใหญ่ของสังคมว่าเป็นเสียงที่ไร้คุณภาพซึ่งถูกพรรคการเมืองซื้อ.....คนส่วนใหญ่เป็นแม้กระทั่งเหยื่อของนโยบายประชานิยม
.....มีนักวิชาการจำนวนหนึ่งยุยงส่งเสริมให้ประชาชนทำผิดกฎหมายภายใต้หลักการแห่งลัทธิอารยะขัดขืน เปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคมเสียใหม่ โดยเชิดชูพฤติกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างออกหน้าออกตา(คว่ำบาตรเลือกตั้ง และฉีกบัตรเลือกตั้ง) และเห็นการกระทำที่ถูก กฎ กติกา ตามระบอบที่เรายึดถือเป็นสิ่งอัปลักษณ์และสามานย์(การเลือกตั้ง)
.....แม้แต่วันนี้..นักวิชาการเหล่านี้ก็มิได้สำนึกและกลับตัวมายึดหลักการ ยังมีอาการตะแบงตามความถนัดของแต่ละคน....
----------ปรากฎการณ์เหล่านี้...ประชาชนตาดำๆต่างตั้งคำถามกันว่า....นักวิชาการไทย สิ้นคิด ได้ถึงเพียงนี้แล้วหรือ ?....นักวิชาการไทย เพี้ยน ได้ถึงเพียงนี้แล้วหรือ ?......สภาพของนักวิชาการกลุ่มนี้...ทำให้เราหดหู่ และมองไม่เห็นว่าพวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาที่ใช้พัฒนาประเทศได้อย่างไร....
----------เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง...ในขณะที่พรรคไทยรักไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณนำเสนอนโยบาย ออกมามากมาย...แต่นักวิชาการเหล่านี้แทนที่จะทำการศึกษา วิจัยผลกระทบทางบวก/ทางลบ หรือพัฒนานโยบายแนวอื่นมาเทียบเคียงเพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบแข่งขัน...เขากลับไม่ทำแต่กลับใช้วิธีเดียวกับที่พรรคเก่าแก่ใช้ นั่นคือ ดิสเครดิตนโยบายของรัฐบาลด้วยภาษาประดิษฐ์เช่น นโยบายประชานิยม นโยบายหว่านเงินหาเสียง คอรับชั่นเชิงนโยบาย...ซึ่งล้วนแต่เป็นข้อกล่าวหาที่ยากจะพิสูจน์....
----------เมื่อนักวิชาการไม่มีข้อเสนอใดๆ ให้ประชาชนเทียบเคียง..ประชาชนก็ยังให้ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากกว่าพรรคการเมืองอื่น แม้ในยามที่ถูกกล่าวหา โจมตีอย่างรุนแรงที่สุดก็ตาม...พรรคการเมืองอื่นก็ดี, หัวหน้าพรรคการเมืองอื่นก็ดี, รัฐบาลพระราชทานก็ดี...ย่อมไม่สามารถเข้ามาแทนที่ได้....เพราะว่า...
----------การเมืองยุคต่อจากนี้ไป...แข่งกันที่วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ ภูมิปัญญา บุคลากรทางการเมืองที่มีฐานแห่งความสำเร็จในชีวิต และความน่าเชื่อถือด้านการบริหาร....
การเมืองไทยได้เข้าสู่ยุค Solution Base แล้ว.............. มิได้เป็นการเมืองยุควาทะกรรม อีกต่อไป
ยิ่งเป็นมิจฉาวาทะด้วยแล้ว...ยิ่งจะตกยุคไปกันใหญ่
Create Date : 30 เมษายน 2549 |
|
3 comments |
Last Update : 26 พฤษภาคม 2549 8:36:24 น. |
Counter : 743 Pageviews. |
|
|
|
|
| |
โดย: ประชาชน IP: 203.113.16.241 6 พฤษภาคม 2549 19:32:19 น. |
|
|
|
| |
โดย: นัททิว IP: 202.149.25.234 16 สิงหาคม 2552 20:13:33 น. |
|
|
|
|
|
|
|
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]
|
หากเอาเวลาของจักรวาลเป็นตัวตั้ง แล้วเอาเวลาของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งเป็นตัวเทียบ......ชีวิตคนเรานั้นแสนสั้นยิ่งนัก...สั้นยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ....
|
|
|
|
|
|
|
เป็นบล็อกที่อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาจริงๆ
จะติดตามดูนะคะ