Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
10 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชัก

วันนี้ ขณะที่เรากำลังจัดหนังสือ เราเจอสมุดเล่มหนึ่ง สมุดเล่มนั้นก็คือ

สมุดบันทึกอาการชักและการรักษาโรคลมชัก

ของโครงการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักครบวงจร
ในพระอุปภัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี


เราเห็นว่าสมุดเล่มนี้ มีประโยชน์มากทั้งต่อตัวผู้ป่วย, แพทย์พยาบาล, ญาติ และบุคคลทั่วไป เราจึงขอนำความบางตอนเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้่ป่วยที่มีอาการชักมาให้อ่านกันนะคะ

เริ่มจาก ปกหลังค่ะ

ข้าพเจ้าเป็นโรคลมชัก


* ถ้าพบข้าพเจ้าชักกระตุก หมดสติ หรือทำอะไรไม่รู้ตัว อาจเกิดจากโรคลมชัก
* ถ้าพบข้าพเจ้ากำลังชัก อย่าใช้ของแข็งใส่ปาก หรืองัดขากรรไกรจนเป็นอันตราย
ข้าพเจ้าจะไม่กัดลิ้น ถ้าทำได้ ใส่ผ้าหรือของนุ่ม ๆ ให้กัด แต่อย่าใช้นิ้วของท่าน
ถ้าทำไม่ได้ ไม่ต้องใส่อะไรเข้าปากเลย
* กรุณากันข้าพเจ้าออกจากที่ที่มีอันตราย อย่าผูกมัดหรือต่อสู้ และคอยดูข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าจะหายเป็นปกติในเวลาไม่เกิน 5-10 นาที
* ถ้าข้าพเจ้ายังไม่ดีขึ้นใน 15 นาที กรุณาติดต่อแพทย์หรือส่งข้าพเจ้าไปยังโรงพยาบาล
* ถ้าข้าพเจ้าหมดสติ อย่าให้สิ่งใดแก่ข้าพเจ้ากินทางปาก กรุณาติดต่อแพทย์ หรือส่งข้าพเจ้าไปโรงพยาบาลทันที

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการชัก


ก. ชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว (ลมบ้าหมู) (Generalized Tonic Clonic Seizures)

อาการ ผู้ป่วยจะหมดสติทันที เกร็งกัดฟันตาเหลือก ตามด้วยกระตุกทั้งตัวนานประมาณ 5 นาที

การปฐมพยาบาล
1. ป้องกันผู้ป่วยจากการบาดเจ็บ
2. ไม่ควรผูกมัดต่อสู้หรือตบตีผู้ป่วยระหว่างชัก เพราะโดยทั่วไปจะหยุดเอง
3. ไม่ควรทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพังขณะชักหรือหลังชักใหม่ ๆ
4. ไม่งัดขากรรไกรหรือใส่ของแข็งในปาก เพราะจะเป็นอันตรายต่อช่องปากผู้ป่วยมากกว่าจากการชักเอง ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่กัดลิ้นจนเป็นอันตราย
5. ช่วยเหลือการหายใจ โดยพลิกตัวให้นอนตะแคงเมื่อหยุดชัก
6. ไม่ควรให้รับประทานสิ่งใดในระหว่างชักหรือหลังชักใหม่ ๆ
7. ไม่ควรเร่งให้ผู้ป่วยยืนหรือเดินขณะเพิ่งฟื้น โดยปกติผู้ป่วยจะลุกได้เองในเวลาต่อมา


ข. ชักแบบทำอะไรไม่รู้ตัว (Complex Partial Seizures)

อาการ หยุดนิ่ง ไม่รับรู้สิ่งแวดล้อม คล้ายคนล่องลอย พร้อมมีการเคลื่อนไหวที่ไม่รู้ตัว เช่น เดินไปมา ถูกมือคลำสิ่งของ แกะเสื้อผ้า ดูดริมฝีปาก หรือพูดคำซ้ำ ๆ นาน 1-2 นาที อาจตามด้วยการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัว

การปฐมพยาบาล
1. คอยกันผู้ป่วยไว้จากการบาดเจ็บขณะที่ผู้ป่วยทำอะไรโดยไม่รู้ตัว
2. อย่าห้ามหรือขัดขวางการเคลื่อนไหว เพราะผู้ป่วยจะยิ่งต่อสู้ดิ้นรน
3. เฝ้าดูผู้ป่วยจนอาการชักหมดไป
4. ปลอบโยนผู้ป่วยเมื่อฟื้นถ้ามีอาการสับสนหลังชัก

ค. ชักแบบเหม่อ (Absence Seizures)

อาการ เหม่อนิ่งทันทีและหายอย่างรวดเร็ว ภายใจ 5 วินาที ดูคล้ายคนใจลอย แต่ผู้ป่วยจะไม่ได้ยินและไม่รับรู้สิ่งใด ๆ อาจจ้องตาหรือกระพริบตาถี่ ๆ มักเป็นในเด็ก

การปฐมพยาบาล
1. ไม่จำเป็นต้องปฐมพยาบาล แต่อาการชักแบบนี้ จำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย
2. อาจลองพูดตัวเลขหรือสิ่งของให้จำ แล้วถามภายหลังเมื่อหาย ซึ่งผู้ป่วยที่ชักแบบนี้จะบอกไม่ได้




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2552
2 comments
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2552 13:41:51 น.
Counter : 1446 Pageviews.

 

มีประโยชน์มากเลยคะ
เคยเลี้ยงหลานสาวแล้วเกิดอาการชัก
ทำให้ตกใจ ทำอะไรไม่ถูกเลยคะ

 

โดย: หน่อยอิง 10 กุมภาพันธ์ 2552 13:40:44 น.  

 

ขอบพระคุณที่นำสาระมาเผยแพร่ มีประโยชน์มากตอนนี้มีญาติผู้ใหญ๋เป็นอยู่พอดี

 

โดย: ไม้เอก IP: 115.31.145.154, 117.121.208.2 30 มิถุนายน 2552 0:54:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Flowery
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Flowery รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักภาษาอังกฤษ รักการแปล และรักที่จะแบ่งปันประสบการณ์ความรู้
Friends' blogs
[Add Flowery's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.