|
|
|
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
Korea Fever : เมื่อคนไทยไม่ชอบของไทย
เดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็เห็นแต่มีเกาหลี (ในที่นี้หมายถึงเกาหลีใต้เท่านั้น) เต็มไปหมด ไม่ว่าจะละคร เพลง รายการทีวี โฆษณา เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ฯลฯ บางทีแค่ย้อมสีผมก็ถูกหาว่าไปทำผมทรงเกาหลีแล้ว แม้แต่นาฬิกาเรือนละ 99 บาทบางทีก็ยังต้องติดป้ายว่านาฬิกาเกาหลีไว้ก่อนเลย
อันที่จริงแล้ว เกี่ยวกับกระแสเกาหลีฟีเวอร์นี้ ได้มีการพูดถึงอยู่หลายต่อหลายครั้งแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะมีผู้ออกมาแสดงความเป็นห่วงถึงการคลั่งไคล้กระแสเกาหลีโดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นไทย ก่อนที่มักจะทิ้งท้ายเหมือนๆ กันด้วยการเรียกร้องให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ก่อนที่จะถูกวัฒนธรรมเกาหลีกลืนหายไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปมองในอดีตแล้ว นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย ครั้งหนึ่งไทยเคยเผชิญกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกระแสอเมริกา กระแสญี่ปุ่น กระแสฮ่องกง กระแสไต้หวันที่เข้ามาในประเทศ และแทบทุกครั้งไทยก็ไม่เคยสามารถต้านทานกระแสเหล่านี้ได้ การเข้ามาของกระแสเกาหลีก็ไม่ต่างอะไรกับกระแสก่อนหน้านั้น
สิ่งที่น่าคิดก็คือ ทำไมวัฒนธรรมไทยจึงไม่เข้มแข็งพอที่จะต้านทานการเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติเหล่านี้ได้เลย บางทีที่ว่ากระแสเกาหลีเข้ามาทำลายวัฒนธรรมไทยนั้น อาจะเป็นไปได้ว่า จริงๆ แล้ววัฒนธรรมไทยเองต่างหากที่อ่อนแอและเปราะบางจนกระแสเกาหลีสามารถเข้ามาทำลายได้ การพูดถึงเรื่องนี้โดยมองแต่เฉพาะเกาหลีนั้น จึงอาจไม่สามารถช่วยให้เราเข้าใจการเข้ามามีอิทธิพลของกระแสเกาหลีได้ทั้งหมด
ปัจจุบันนี้ ญี่ปุ่นกับจีนเองก็เผชิญกับการเข้าไปของกระแสเกาหลีไม่ต่างจากไทย แต่ทำไม 2 ประเทศนี้จึงสามารถรักษาความเป็นตัวเองได้โดยไม่ถูกครอบงำมากเกินไปเหมือนอย่างไทย เป็นไปได้หรือไม่ว่า นั่นเพราะวัฒนธรรมโดยพื้นฐานของทั้งสองประเทศมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะต้านทานการเข้าไปของวัฒนธรรมต่างชาติมิให้มีมากเกินไป ต่างจากวัฒนธรรมไทยที่ไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร ซึ่งก็อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าคนไทยไม่สนใจวัฒนธรรมของชาติตนเอง แต่ชอบที่จะรับวัฒนธรรมจากชาติอื่นเสียมากกว่านั่นเอง
ถ้าให้ลองนึกถึงสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมไทยแล้ว หลายคนอาจจะนึกถึงโขน วัด ลายไทย ขณะที่หลายคนก็อาจนึกถึงพระอภัยมณี เพลงไทยเดิม หรือเสื้อราชปะแตน มีไม่มากนักที่จะนึกถึงบ้านทรายทอง เพลงลูกทุ่ง หรือแม้แต่ผ้าขาวม้า ไม่แปลกที่เราจะนี้เนื่องเพราะเราถูกจำกัดกรอบการมองจากส่วนกลางในการนิยามว่าอะไรคือวัฒนธรรมไทย อะไรที่ไม่ใช่วัฒนธรรมไทย
และหากลองสังเกตกันให้ดีแล้ว ที่ว่าเป็นวัฒนธรรมไทยนั้น จริงๆ แล้วก็เป็นเพียงแค่วัฒนธรรมของส่วนกลางหรืออีกนัยหนึ่งก็คือชนชั้นสูงเท่านั้น วัฒนธรรมที่จะถูกนับเป็นวัฒนธรรมของชาติส่วนใหญ่ล้วนมาจากในวังทั้งสิ้น ขณะที่วัฒนธรรมที่ถือกำเนิดจากชาวบ้านธรรมดาๆ ทั่วไป ไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปด้วย หรือหากถูกนับก็มีสถานะและคุณค่าน้อยกว่าวัฒนธรรมที่มาจากวัง
ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่มาจากชนชั้นสูง ดังนั้น ความรู้สึกผูกพันของคนไทยส่วนใหญ่ซึ่งไม่ใช่ชนชั้นสูงกับวัฒนธรรมเหล่านั้นจึงมีน้อย เมื่อรวมกับแนวโน้มอนุรักษ์นิยมทางวัฒนธรรม ซึ่งได้ทำให้วัฒนธรรมเหล่านั้นเป็น ของสูง จะหยิบมาประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัย ก็มักถูกติเตียนว่าไม่ให้ความเคารพ แม้จะทำด้วยเจตนาดีก็ตาม เหล่านี้ยิ่งทำให้คนไทยจำนวนมากเริ่มหันเหออกจากวัฒนธรรมไทยที่ถูกกำหนดมานี้มากขึ้นเรื่อยๆ และมองสิ่งเหล่านี้ว่า เชย ไม่น่าใช้
แต่แม้ว่าจะถอยห่างจากวัฒนธรรมไทยแบบชนชั้นสูงแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมไทยแบบอื่นขึ้นมาแทนได้ เนื่องจากพวกเขาถูกกล่อมเกลามาให้เชื่อว่าวัฒนธรรมไทยมีเพียงแบบเดียวเท่านั้น ซึ่งก็คือแบบที่ส่วนกลางกำหนดให้ ในแง่นี้จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายที่วัฒนธรรมต่างชาติจะเข้ามามีอิทธิพลต่อคนไทย จะต่างก็แค่ก็แค่ว่าเป็นชาติไหนและระดับการเข้ามามีอิทธิพลซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามความเจริญก้าวหน้าของสื่อ
หลายปีก่อนกระแสต่างชาติฟีเวอร์อาจจำกัดวงอยู่แค่วงเล็กๆ เฉพาะผู้ที่ค่อนข้างมีฐานะเท่านั้น ทั้งนี้เพราะสื่อมีค่อนข้างจำกัดและมีค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นอย่างมาก การเข้าถึงวัฒนธรรมต่างชาติจึงเป็นเรื่องที่ง่ายดายและแทบจะไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย กระแสเกาหลีเข้ามาในยุคนี้พอดี ประกอบกับการที่รัฐบาลเกาหลีใต้เองก็ได้ให้การสนับสนุนการส่งออกวัฒนธรรมนี้อย่างเต็มที่ จึงทำให้ดูเหมือนว่ามีระดับการฟีเวอร์ที่มากกว่ากระแสต่างชาติอื่นๆ ที่เคยเข้ามาในไทย
การมองแค่เรื่องเกาหลีอย่างเดียวจึงเป็นการมองที่แคบเกินไป เพราะต่อให้กระแสเกาหลีหมดไปจากไทยแล้ว ในอนาคต ไทยก็ยังพร้อมที่จะรับกระแสชาติอื่นๆ ต่อไปอยู่ดี จึงเป็นการป่วยการเปล่าๆ หากเพียงแค่จะลุกขึ้นมาพูดให้คนไทยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย หรือประกาศอยากจะส่งออกวัฒนธรรมไทยบ้าง โดยที่ยังไม่ทำให้วัฒนธรรมไทยกลายเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยทุกคนรู้สึกว่าเป็นวัฒนธรรมของพวกเขาจริงๆ
หมายเหตุ : บทความนี้เขียนส่งวิชา JC310 การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ หมายเหตุ 2 : ส่วนตัวชอบ SNSD นะ (ชอบมากด้วย) แต่ก็แอบเบื่อกระแสเกาหลีที่บางทีมันมากเกินไปเหมือนกัน
Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2553 |
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2553 16:01:14 น. |
|
21 comments
|
Counter : 2162 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: jejeeppe วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:16:00:48 น. |
|
โดย: P J IP: 112.143.8.11 วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:22:52:47 น. |
|
โดย: panwat วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:0:08:24 น. |
|
โดย: veerar วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:0:15:00 น. |
|
โดย: brackleyvee วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:3:04:15 น. |
|
โดย: แพท ภัทรียา วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:7:35:53 น. |
|
โดย: ธิธารา วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:8:54:06 น. |
|
โดย: nootikky วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:10:01:01 น. |
|
โดย: หน่อยอิง วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:11:59:53 น. |
|
โดย: ป้าหู้เองจ่ะ (fifty-four ) วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:12:57:29 น. |
|
โดย: no filling วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:15:24:30 น. |
|
โดย: pinkyrose วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:17:53:44 น. |
|
โดย: ยัยลีลี วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:20:29:26 น. |
|
โดย: Poky IP: 182.53.8.35 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:13:52 น. |
|
โดย: Poky IP: 182.53.8.35 วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:15:31 น. |
|
| |
|
เซียวเล้ง |
|
|
|
|