|
|
|
|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
ทำไมต้อง (แค่) 1 มกราคม?
1 มกราคมถือเป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ซึ่งประเทศส่วนใหญ่รวมถึงประเทศไทยต่างยึดถือกันว่าเป็นวันที่แสดงถึงการเริ่มต้นศักราชใหม่ ในวันนี้นอกจากจะมีงานเฉลิมฉลองต้อนรับปีใหม่ ทำบุญตักบาตร แจกของขวัญซึ่งกันและกัน ส่งคำอวยพรให้ผู้อื่นประสบความสุขและความสำเร็จ ผู้คนจำนวนมากยังนิยมใช้วันนี้เป็นโอกาสในการคิดทบทวนสิ่งต่างๆ ที่ได้กระทำในปีที่ผ่านมา และตั้งปณิธานจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น เลิกการกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควรในปีที่ผ่านมา เป็นโอกาสในการต้อนรับสิ่งใหม่ๆเข้ามาในชีวิต
แต่ในขณะที่เราถือกันว่าวันขึ้นปีใหม่ถือเป็นเวลาอันดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆในชีวิต ก็ชวนให้เกิดข้อสงสัยไม่ได้ว่าทำไมต้องเป็นแค่เฉพาะวันที่ 1 มกราคมเท่านั้น วันอื่นๆ เราไม่สามารถเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ได้เลยหรือ หลายคนอาจกล่าวว่าเหตุที่ต้องให้ความสำคัญกับวันนี้เป็นพิเศษก็เพราะเป็นวันเปลี่ยนศักราช แต่ใช่หรือว่าที่เฉพาะวันนี้เท่านั้นที่ถือเป็นวันเปลี่ยนศักราช เอาเข้าจริงแล้ว 1 มกราคมก็เป็นวันที่ถูกสมมติขึ้นมาให้เป็นวันแรกของปี เนื่องจากเป็นวันแรกที่อยู่ในเดือนแรกของปฏิทินรายปีพอดี หาใช่เป็นวันขึ้นปีใหม่โดยตัวสภาพมันเองไม่
ในทางวิทยาศาสตร์แล้ว ระยะเวลา 1 ปีนั้นก็คือระยะเวลาที่โลกใช้โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ ซึ่งกินระยะเวลา 365.24 วัน โดยปฏิทินที่นับวันได้ใกล้เคียงที่สุดก็คือปฏิทินเกรกอเรียน (Geregorian) ซึ่งเป็นปฏิทินสากลที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดย 1 ปีมี 365 วัน และทุก 4 ปีจะเพิ่มอีก 1 วัน แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถคำนวณได้ว่าโลกเริ่มโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งแรกวันไหน เมื่อไม่ทราบข้อนี้ ก็เลยทำให้ไม่ทราบว่าการโคจรรอบใหม่นั่นเริ่มจริงๆวันไหน วันขึ้นปีใหม่ที่เราใช้ๆกันอยู่ในปัจจุบันนั้น แท้จริงจึงเป็นเพียงการสมมติวันขึ้นมาเท่านั้น
ด้วยเหตุที่เป็นวันที่ถูกสมมติขึ้น วันขึ้นปีใหม่ในสังคมต่างๆจึงไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปฏิทินที่ใช้และการกำหนดจากสังคมนั้นๆ ตัวอย่างวันขึ้นปีใหม่ในที่ต่างๆเทียบกับการนับวันตามปฏิทินเกรกอเรี่ยนแล้ว เช่น ของจีนจะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ของอิหร่านอยู่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ของไทยสมัยก่อนใช้ 1 เมษายน เป็นต้น เหล่านี้แสดงให้เห็นวันขึ้นปีใหม่ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เป็นสิ่งที่ถูกสมมติขึ้น หรือถ้าจะกล่าวโดยถึงที่สุดก็คือวันทุกวันไม่เฉพาะ 1 มกราคม สามารถเป็นวันขึ้นปีใหม่ได้ทั้งสิ้น
การกำหนดให้วันใดวันหนึ่งเป็นวันสำคัญนั้น แม้จะเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นๆ แต่ขณะเดียวกันก็ไปลดทอนความสำคัญของวันอื่นๆด้วยเช่นกัน เราอาจไปเที่ยวกับครอบครัวเฉพาะวันที่ 14 เมษายน กราบแม่เฉพาะวันที่ 12 สิงหาคม เห็นความสำคัญของรัฐธรรมนูญเฉพาะวันที่ 10 ธันวาคม แต่วันอื่นๆเราอาจไม่ได้ทำสิ่งเหล่านั้นที่กล่าวมาเลย 1 มกราคมก็เช่นกัน ทำไมต้องแค่วันนี้เท่านั้นที่เราจะเปลี่ยนตัวเอง ในแง่นี้การกล่าวถึงวันขึ้นปีใหม่ว่าเป็นสิ่งสมมติก็เพื่อให้เราตระหนักว่าสามารถทำสิ่งดีๆได้ทุกวันโดยไม่จำกัดแค่ 1 มกราคม
เมื่อเราถือกันว่าวันขึ้นปีใหม่เป็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สิ่งใหม่ๆ จะดีกว่าถ้าเราสามารถทำสิ่งนี้ได้ทั้ง 365 วัน ไม่ใช่แค่เพียง 1 วัน ก็ในเมื่อวิทยาศาสตร์เองยังไม่สามารถสรุปได้ว่า โลกนั้นเริ่มหมุนรอบดวงอาทิตย์จริงๆวันไหน ดังนั้นวันทุกวันจึงล้วนมีโอกาสเป็นวันขึ้นปีใหม่ได้ด้วยกันทั้งสิ้น การดำเนินชีวิตเสมือนทุกวันเป็นวันขึ้นปีใหม่จึงย่อมจะส่งผลดีต่อเราได้มากกว่า จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง จะอวยพรให้ผู้อื่น จะทบทวนสิ่งที่แล้วมา จะแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด ก็สามารถทำได้ทันนี้โดยไม่ต้องรอถึง 1 มกราคม
หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เขียนส่งวิชา JC310 การเขียนบทบรรณาธิการและบทความ เมื่อตอนปีใหม่ ใช้รูปแบบการเขียนแบบบทบรรณาธิการ
Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2553 |
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2553 19:33:40 น. |
|
2 comments
|
Counter : 736 Pageviews. |
|
|
|
|
โดย: Beerzonline วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:0:33:41 น. |
|
โดย: nezz (hetiangle ) วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:11:33:43 น. |
|
| |
|
เซียวเล้ง |
|
|
|
|