ชีวิตคือการเรียนรู้

 
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
2 พฤษภาคม 2554
 

ดอกส้มสีทอง กับคำถามเรื่องอิทธิพลของสื่อ




กลายเป็นปัญหาระดับชาติไปเสียแล้วสำหรับ “ดอกส้มสีทอง” ละครทางช่อง 3 ที่แรงทั้งเนื้อหาและกระแส จนผู้ปกครองบางส่วนทนไม่ไหว ต้องโทรศัพท์ไปแจ้งให้ศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมว่าละครเรื่องนี้มีการกระทำที่ไม่เหมาะสม กลัวจะเป็นตัวอย่างไม่ดีต่อเยาวชน กระทรวงก็รับลูก เรียกร้องให้ปรับบทละครหรือตัดจบ เรื่อยไปจนขู่ว่าจะไม่ต่อสัญญาสัมปทานช่อง 3 หากไม่หยุดออกอากาศ ด้วยเหตุผลเดิมๆ “กลัวเด็กจะทำตาม”

อันที่จริงอิทธิผลของสื่อที่มีต่อคนดูนั้น เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานานแล้ว มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาคำตอบถึงความทรงพลังของสื่อว่ามีมากแค่ไหน สิ่งที่ผ่านสื่อทำให้ผู้รับสารทำตามจริงหรือไม่

ในยุคแรกๆ นั้นมีการเชื่อกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลมาก และส่งผลต่อผู้รับสารโดยตรงและทันที ทฤษฎีสื่อสารมวลชนในยุคนี้เรียกกันว่า “ทฤษฎีเข็มฉีดยา” หรือ “ทฤษฎีกระสุนปืน” ตัวอย่างที่มักนำมาอ้างอิงก็คือการโฆษณาชวนเชื่อของนาซี หรือละครวิทยุอเมริกาเรื่อง War of the Worlds ที่นำเสนอเลียบแบบรายงานข่าว จนทำให้ประชาชนแตกตื่นเมื่อละครบอกว่า “มนุษย์ดาวอังคารบุกโลก” ดูแล้วกระทรวงวัฒนธรรมคงเชื่อตามทฤษฎีในยุคนี้เป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีนี้ไม่นานก็เสื่อมความนิยมลง เนื่องจากพบว่าในหลายต่อหลายครั้ง เรื่องที่ผ่านสื่อมวลชน ผู้รับสารก็ไม่ได้เชื่อแล้วทำตามทันที นี่ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ที่ว่า สื่อนั้นมีอิทธิพลจำกัด แต่สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือสภาพแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวผู้รับสารนั้น

ในยุคนี้จะค่อนข้างให้ความสำคัญกับ “ผู้นำทางความคิด” ของผู้รับสาร เช่น มีโฆษณาทางทีวีให้เลือกพรรค ก. เราอาจไม่ตัดสินใจเลือกทันที แต่หากคนในครอบครัวบอกว่าจะเลือกพรรค ก. เราก็มีแนวโน้มจะเลือกพรรค ก. มากขึ้น เราเรียกทฤษฏีนี้ว่า “การสื่อสารสองจังหวะ” ซึ่งก็ดูจะตรงกับความคิดของแฟนละครดอกส้มสีทองหลายคน ที่เห็นว่าแค่ลำพังละครไม่น่าจะทำให้คนลุกขึ้นมาอยากเป็นเมียน้อยได้ แต่ต้องมีสภาพแวดล้อมหรือแบบอย่างในชีวิตจริงที่เอื้อด้วย

แต่กระนั้นทฤษฎีก็ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ มีอีกหลายเรื่องที่เราเห็นว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลจริงๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีการประนีประนอมกันด้วยแนวคิดที่ว่า สื่อมวลชนมีอิทธิพลในระดับหนึ่ง และถึงแม้อาจไม่สามารถทำให้คนเชื่อตามได้ทันที แต่ก็ทำให้คนสามารถ “คิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น” ได้ และเมื่อผ่านไป เรื่องเหล่านั้นก็จะค่อยๆ ซึมซับลงไปในจิตใจของผู้รับสารโดยไม่รู้ตัว

โดยเฉพาะละคร อาจไม่ส่งผลให้เห็นโดยตรงและทันที แต่ด้วยเหตุที่เป็นละคร ปราการในการต่อต้านสื่อของเราจะน้อยลง เพราะเชื่อว่ามันไม่สามารถทำอะไรเราได้ แต่จริงๆ แล้วสารจากละครจะค่อยๆ ซึมเข้าไปในใจเราเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น การชมละครหรือภาพยนตร์ที่มีเนื้อหารุนแรงติดต่อกัน อาจไม่ทำให้เราลุกขึ้นมาหยิบปืนออกไปฆ่าใครได้ทันที แต่ก็จะทำให้เราเป็นพวกชาชินต่อความรุนแรงในอนาคตได้

แต่นั่นหาใช่เหตุผลสนับสนุนการแบนดอกส้มสีทอง!!!

แม้ผมจะเห็นด้วยว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลในระดับหนึ่ง แต่ผมเห็นว่าระดับของอิทธิพลนั้นนอกจากขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมผู้รับสารแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความหลากหลายของตัวสื่อนั้นเองด้วย

ในยุคแรกๆ ที่สื่อสามารถมีอิทธิพลต่อผู้รับสารได้สูง จะสังเกตได้ว่าสื่อในสมัยนั้นมีน้อย ประชาชนมีช่องทางในการรับสื่อไม่มากนัก ทำให้มีโอกาสในการเปรียบเทียบสื่อน้อย สิ่งที่ออกมาจากสื่อจึงค่อนข้างจะมีผลต่อผู้รับสารอย่างมาก

แต่เมื่อสื่อมีความหลากหลายมากขึ้น ประชาชนไม่ได้ถูกจำกัดแค่สื่อใดสื่อหนึ่งอีกต่อไป มีการเปรียบเทียบสารที่ผ่านแต่ละสื่อออกมา ในการณ์นี้ผู้รับสารจะมีโอกาสได้ใช้ดุลยพินิจของตนพิจารณาว่าสื่อใดเหมาะ สื่อใดสม และเขาควรที่จะเลือกเชื่อสื่อไหนเป็นหลัก อิทธิพลของสื่อในช่วงนี้จึงลดลง ไปพร้อมๆ กับการช่วยเพิ่มวิจารณญาณของผู้รับสารไปด้วย

ที่ผ่านมาภาครัฐมักใช้วิธี “ควบคุม” มากกว่า “สร้างความหลากหลาย” ภาครัฐอาจเห็นการแบนว่าน่าจะช่วยให้ประชาชนต้องมารับอะไรที่ไม่ดี แต่ในแง่หนึ่งภาครัฐกำลังเอาตัวเองเป็นผู้ตัดสินว่าอะไรดีไม่ดี

การที่เอาแต่ห้าม แต่แบน เป็นเสมือนการดูถูกสติปัญญาว่าประชาชนไม่สามารถคิดว่าอะไรถูกอะไรผิดเองได้ ขณะเดียวกันการหันมาไล่บี้กับสื่อ ก็เป็นการยอมรับกลายๆ ว่ารัฐไม่เชื่อมั่นว่าสังคมจริงจะสามารถเป็นเกราะป้องกันผู้รับสารได้ ซึ่งก็สะท้อนถึงความล้มเหลวในการทำงานของรัฐที่ผ่านมา

ด้วยเหตุนี้ การแบนดอกส้มสีทองจึงไม่ใช่คำตอบ สังคมอุดมปัญญาคือสังคมที่คนในสังคมรู้จักคิด ไม่ใช่เพียงถูกชักนำให้คิดตามที่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจูงไปเท่านั้น หากอยากทำอะไรจริงๆ แนะนำให้รัฐหรือกระทรวงลงทุนหรือส่งเสริมให้ทำละครสร้างสรรค์สังคมตามแนวคิดของพวกท่านมาแข่งเอง แล้วสุดท้ายคนดูจะเป็นผู้ตัดสินเอง...




 

Create Date : 02 พฤษภาคม 2554
7 comments
Last Update : 2 พฤษภาคม 2554 13:39:00 น.
Counter : 3279 Pageviews.

 
 
 
 
มันก็ไม่ได้เสียาหายอะไรเลย คนเดี๋ญวเดี๋ญวนี้เค้าดูเค้าคิดได้ไม่ใช่เพราะมาเรียกร้องให้แบน ถามจริงเหอะ ตัวเองไม่เคยทำอย่างในละครใช่มั๊ย
 
 

โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:56:45 น.  

 
 
 
มันก็ไม่ได้เสียาหายอะไรเลย คนเดี๋ญวเดี๋ญวนี้เค้าดูเค้าคิดได้ไม่ใช่เพราะมาเรียกร้องให้แบน ถามจริงเหอะ ตัวเองไม่เคยทำอย่างในละครใช่มั๊ย
 
 

โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:13:56:45 น.  

 
 
 
ผู้ปกครองกลัวบุตรหลานดู แต่ถามจริงเถอะว่า คุณรู้ไหมว่าบุตรหลานคุณ ดูอะไรใน internet บ้างบางครั้งมันมากกว่าในหนังอีกนะ
 
 

โดย: nuch9981 วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:09:18 น.  

 
 
 
แพงว่าละครเรื่องนี้สอนข้อคิดได้ดี และทุกตัวละคร
จะมีจุดจบของมันเอง แทนที่จะห้าม แทนที่จะไม่บอก

เปลี่ยนมาเป็นบอกแล้วสอนดีกว่า
เชื่อเด็กสมัยนี้เค้าโตกันไว คิดไว ยิ่งห้ามเหมือยยิ่งยุ

ทำให้เค้ารู้แล้วเข้าใจ ดีกว่าทำให้เค้าอยากรู้แล้วลองทำ..
 
 

โดย: ห้องนอนสีฟ้า วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:40:13 น.  

 
 
 
ถึงขนาดจะไปต่อสัมปทานช่อง3เรยหรอเนี่ย!!! ทำเกินไปมั้ง
ก็ละครมันสะท้อนภาพสังคมปัจจุบันแบบจังๆแค่นี้
ทำเป็นรับกันไม่ได้ เหอะๆ
 
 

โดย: Nattylicious วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:19:55:10 น.  

 
 
 
เข้ามาอ่านค่ะ
 
 

โดย: เด็ก(อยาก)แนว วันที่: 2 พฤษภาคม 2554 เวลา:21:30:39 น.  

 
 
 
ละครสนุกจะตาย ทำไมต้องแบน
 
 

โดย: คาราเมล IP: 180.183.147.65 วันที่: 3 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:09:55 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

เซียวเล้ง
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตอนนี้ย้าย Blog หลักไปที่ zeawleng.wordpress.com แล้วนะครับ
[Add เซียวเล้ง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com