Bloggang.com : weblog for you and your gang
Group Blog
<<
สิงหาคม 2549
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
14 สิงหาคม 2549
นกคุ่มอกลาย
All Blogs
นกกระจอกใหญ่
นกกระจอกตาล
นกอีเสือลายเสือ
นกกระจอกชวา
นกกะรางหัวขวาน
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกบั้งรอกใหญ่
นกกาแวน
นกเด้าลมดง
นกเอี้ยงด่าง
นกสีชมพูสวน
นกคุ่มอกลาย
นกกะเต็นปักหลัก
นกจับแมลงคอแดง
นกเอี้ยงหงอน
นกกระแตแต้แว้ด
นกเค้าจุด
นกตีทอง
นกเขาไฟ
นกกะเต็นน้อยธรรมดา
นกปรอดสวน
นกกางเขนบ้าน
....แม่กาก็หลงรักคิดว่าลูกในอุทร....
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงจุกดำ
ฮอ นกฮูก ตาโต
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกกินเปี้ยว
นกคัคคูมรกต
นกอีวาบตั๊กแตน
นกกระแตแต้แว้ด VS นกน้อยต้อยตีวิด
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกปรอดหัวสีเขม่า
นกพญาไฟเล็ก
แซงแซวหางปลา : แซงแล้วยังแซวอีก
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
ยางกรอก 3 อย่าง
กินปลีคอสีน้ำตาล
กินปลีอกเหลือง
นกกระปูดตาแดงน้ำแห้งก็ตาย
กะเต็นหัวดำ
กะเต็นอกขาว
นกขุนแผนแสนเสน่ห์
นกคุ่มอกลาย
นกคุ่มอกลาย
Turnix suscitator
(Barred Buttonquail) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง ประมาณ 17 เซนติเมตร นกตัวเมียมีสีสันสดใสกว่าและตัวโตกว่าตัวผู้ ซึ่งนกมีลักษณะดังนี้ ตัวผู้มักเป็นผู้กกไข่และเลี้ยงดูลูกเล็ก
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ นกตัวเมียจะตัวโตกว่า มีสีดำที่ใต้คาง คอ หน้าอกตอนบนส่วนกลาง ข้างๆหน้าอกและสีข้างมีลายเป็นบั้งๆสีดำ หน้าอกตอนล่าง ท้อง ไปจนถึงขนคลุมโคนหางสีเนื้อออกสีสนิม ขณะที่ตัวผู้ไม่มีสีดำบริเวณใต้คาง คอและหน้าอกตอนบน โคนหางสีคล้ำกว่าตัวเมีย นกทั้งสองเพศมีปาก ขา และเท้าสีเทา ซึ่งใช้เป็นจุดแยกออกจากนกคุ่มชนิดอื่นได้เมื่อพบในสนาม
ดูภาพนกคุ่มอกลายตัวเมีย และภาพอื่นๆที่นี่
นกคุ่มเป็นนกที่มักพบเดินหากินตามพื้นดินเหมือนไก่และนกกระทาในพื้นที่เกษตรกรรม ที่โล่งที่มีพุ่มไม้ขึ้นประปราย เป็นนกที่ไม่ค่อยระแวงอะไรนัก
แต่ถ้าพบเห็นผู้บุกรุกเข้าใกล้ๆ นกจะวิ่งหนีอย่างรวดเร็วเข้าไปซุกในพุ่มหญ้าพุ่มไม้ และหยุดนิ่งอยู่กับที่และให้ลวดลายของตัวเองที่กลมกลืนกับพุ่มหญ้าแห้งๆช่วยพรางตัวไม่ให้ศัตรูมองเห็น ถ้ายังมองเห็นอีกก็จะบินหนีออกไปเป็นระยะทางใกล้ๆ หากถูกพบในที่โล่ง บางครั้งนกจะทำตัวแข็งหลอกศัตรูว่าตัวเองไม่ใช่นก แล้วค่อยๆขยับขาทีละก้าว ขยับ แข็ง ขยับ แข็ง แล้วหลบเข้าพุ่มไม้ เป็นนกที่บินได้เพียงระยะสั้นๆเพราะบินไม่เก่งจึงเป็นนกที่หากินประจำถิ่น ไม่อพยพไปไหนไกลๆ เมื่อกินอาหารอิ่มแล้วจะลงอาบฝุ่นวันละหลายครั้ง แต่จะไม่เล่นน้ำเลย
เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ นกตัวเมียซึ่งสีสวยกว่า ตัวใหญ่กว่าจะส่งเสียงเรียก คุ่ม คุ่ม คุ่ม ให้นกตัวผู้ออกมาผสมพันธุ์ นกทั้งสองเพศช่วยกันทำรังซึ่งเป็นเพียงแอ่งตื้นๆบนพื้นดิน หรืออยู่ในกอหญ้าโคนต้นไม้ ทำรังด้วยใบไม้ใบหญ้าแห้งๆ วางไข่ราว3-5ฟอง ขนาด24.9x20.2 มม. ตัวผู้กกไข่ตัวเดียว แต่ตัวเมียจะนอนเฝ้าอยู่ใกล้ๆ และในช่วงนี้ตัวเมียจะดุและหวงรังมาก ประมาณ12-13วันไข่จะฟักเป็นตัว พอลูกนกออกจากไข่ขนแห้งก็ออกเดินได้เลย
พ่อนกจะพาลูกทิ้งรังทันที ขณะที่แม่นกจะทิ้งพ่อและลูกไปจับคู่ใหม่ทันทีเช่นกัน ในช่วงแรกพ่อนกจะคาบเมล็ดพืชและแมลงมาป้อนลูก พออายุ 1 สัปดาห์ ลูกนกจะเริ่มหากินเองได้ รู้จักอาบฝุ่น หาอาหาร หากพบศัตรูก็จะหลบเข้ากอหญ้าขณะที่พ่อจะช่วยดึงความสนใจของศัตรูไปทางอื่น พอสองสัปดาห์ลูกนกก็แยกไปหากินเอง แต่จะมีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยก็เมี่ออายุครบ 10 สัปดาห์แล้ว
นกคุ่มอกลายเป็นนกประจำถิ่นของอนุทวีปอินเดีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น สุมาตรา ชวา บาหลี ตะวันตกของซุนดาน้อย ฟิลิปปินส์ สุลาเวสี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาค จากที่ราบถึงความสูงระดับ 1500เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามที่โล่ง มีไม้ยืนต้น มีกอหญ้า ป่าละเมาะ พื้นที่เกษตรกรรม
นกคุ่มอกลายตัวผู้ตัวนี้พบเดินหากินอยู่ในพุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม
ข้อมูลจาก :
//www.bird-home.com
Create Date : 14 สิงหาคม 2549
Last Update : 2 พฤษภาคม 2552 15:56:22 น.
4 comments
Counter : 11400 Pageviews.
Share
Tweet
หวัดดีครับ
แหะๆ หายหน้าไปนานตกนกไปหลายตัวเลย
ว่าตะเจ้าคุ่มๆเนี่ยจะอร่อยเหมือนนกกระทามั๊ยครับ
โดย:
เซียวเปียกลี้
วันที่: 14 สิงหาคม 2549 เวลา:23:34:39 น.
สวัสดีค่ะ จขบ.
วันนี้ได้เข้ามาดูนกแล้ว น่ารักมากๆ มีความสุขเหลือหลายค่ะ โอ...มีรอยยิ้มกลับไปค่ะ
โดย:
tu_bong
วันที่: 24 สิงหาคม 2549 เวลา:14:56:50 น.
คุณเซียวฯ
ไม่เคยลองทานค่ะ
คุณ tu_bong
ยินดีมากค่ะ
โดย:
จันทร์น้อย
วันที่: 24 สิงหาคม 2549 เวลา:20:48:22 น.
เมื่อวานผมเห็น 1 ตัว แต่ผมไม่รู้จัก
ลักษณะคือ ตัวมนๆ หน่อย ไม่บิน พอเห็นคนก็วิ่งเข้าพุ่มไม้
นิ่งหายไปเลย
ถามเขาดู เขาว่านกคุ่ม แปลกดี ไม่เคยเห็นเลย
มันใกล้สูญพันธุ์หรือยังครับ
โดย:
RouteRaideR
วันที่: 20 มิถุนายน 2554 เวลา:11:46:57 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [
?
]
เล็กๆน้อยๆ
" ฤดูที่เหมาะสมในการดูนกในเมืองและใกล้เมืองคือฤดูหนาว เพราะเป็นเวลาที่นกอพยพเดินทางไกลมาอาศัยร่วมพื้นที่กับนกท้องถิ่น ทำให้มีปริมาณมากขึ้นและมีนกหลากหลายชนิดขึ้น "
เรื่องเล่าวันนี้
เมษายน เดือน "ฮ็อต"
นกใหม่วันนี้
ค้นหาในGOOGLE.CO.TH
ขอบคุณ:
ไฟล์เสียงเพลงประกอบบล็อกและสคริปต์ อนุเคราะห์โดย
ป้ามด
ตัวหนังสือที่ใช้ทำปุ่มต่างๆและโลโก้จาก
www.f0nt.com
ภาพวาดการ์ตูนนกน่ารักสีสันสดใสจากบล็อกคุณ
Pichsud
Friends' blogs
VA_Dolphin
SevenDaffodils
มัชชาร
9A
I am just fine^^
กระจิบหญ้าสีเรียบ
Pichsud
พนาไพร
WaxGourd
quin toki
PANDIN
weraj
ระเบียงดอกไม้
เขาพนม
Webmaster - BlogGang
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
ห้องบลูแพลนเน็ต
บ้านนก
ทัวร์ทโมน
birder's journal
ไทยเบิร์ดพิค
ornithology
birdlinks
นกไต้หวัน
พจนานุกรม
dictionary
นกอังกฤษ
นกอิตาลี
cornell all about birds
นกเกาหลี
encyclopedia
honolulu zoo
ชื่อผีเสื้อ
ผีเสื้อเมืองไทย
รักษ์ผีเสื้อ
โค้ดบล็อกของป้ามด
เซฟเบิร์ด
what bird
Thailand nature
oriental bird images
ลานนาเบิร์ด
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.
แหะๆ หายหน้าไปนานตกนกไปหลายตัวเลย
ว่าตะเจ้าคุ่มๆเนี่ยจะอร่อยเหมือนนกกระทามั๊ยครับ