Bloggang.com : weblog for you and your gang
Group Blog
<<
กรกฏาคม 2551
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
12 กรกฏาคม 2551
นกกะรางหัวขวาน
All Blogs
นกกระจอกใหญ่
นกกระจอกตาล
นกอีเสือลายเสือ
นกกระจอกชวา
นกกะรางหัวขวาน
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่
นกบั้งรอกใหญ่
นกกาแวน
นกเด้าลมดง
นกเอี้ยงด่าง
นกสีชมพูสวน
นกคุ่มอกลาย
นกกะเต็นปักหลัก
นกจับแมลงคอแดง
นกเอี้ยงหงอน
นกกระแตแต้แว้ด
นกเค้าจุด
นกตีทอง
นกเขาไฟ
นกกะเต็นน้อยธรรมดา
นกปรอดสวน
นกกางเขนบ้าน
....แม่กาก็หลงรักคิดว่าลูกในอุทร....
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจับแมลงจุกดำ
ฮอ นกฮูก ตาโต
นกอีแพรดแถบอกดำ
นกกินเปี้ยว
นกคัคคูมรกต
นกอีวาบตั๊กแตน
นกกระแตแต้แว้ด VS นกน้อยต้อยตีวิด
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกปรอดหัวสีเขม่า
นกพญาไฟเล็ก
แซงแซวหางปลา : แซงแล้วยังแซวอีก
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
ยางกรอก 3 อย่าง
กินปลีคอสีน้ำตาล
กินปลีอกเหลือง
นกกระปูดตาแดงน้ำแห้งก็ตาย
กะเต็นหัวดำ
กะเต็นอกขาว
นกขุนแผนแสนเสน่ห์
นกกะรางหัวขวาน
นกกะรางหัวขวาน
Upupa epops
(Common Hoopoe) ไม่ใช่นกหัวขวาน และไม่สามารถใช้ปากเล็กๆโค้งยาวบอบบางที่มีเจาะไม้ได้แน่ๆ นกชนิดนี้มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว30เซ็นติเมตร รูปร่างเพรียว หัวเล็ก ปากเล็กยาวโค้งลงเล็กน้อยสีค่อนข้างดำ มีหงอนบนหัวที่สามารถกางแผ่ออกได้เหมือนพัด สีสันโดยรวมทั้งตัวรวมทั้งขนหงอนเป็นสีน้ำตาล ปลายขนหงอนมีแต้มสีดำ ปีกสีดำสลับขาว ขนหางสีดำมีแถบคาดสีขาวไล่ระดับกันลงมาในแต่ละเส้น ลำตัวด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน นกทั้งสองเพศคล้ายคลึงกัน
เราสามารถพบนกชนิดนี้หากินตัวเดียว เป็นคู่ เป็นครอบครัวและเป็นฝูง นกจะเดินหากินไปเรื่อยๆตามพื้นดิน นกจะออกหากินแต่เช้าโดยใช้ปากแหย่ลงไปในดินนิ่มๆเพื่อพิสูจน์หาอาหาร เมื่อจิ้มปากไปเจออาหารนกจะงับทันที โดยอาหารของนกกะรางหัวขวานคือแมลงต่างๆ ลูกกบและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เนื่องจากมีลิ้นเล็กมากไม่สามารถตวัดเหยื่อได้ เวลากินนกจึงต้องโยนเหยื่อขึ้นแล้วอ้าปากรับ ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่และแข็งอย่างพวกแมลงต่างๆก็ต้องฟาดให้ส่วนที่แข็งหลุดออกแล้วกินเนื้อนิ่มๆ เมื่อกินอิ่มแล้วก็จะบินไปเกาะพักบนกิ่งไม้
นกกะรางหัวขวานอาศัยและหากินตามที่โล่ง พื้นที่เกษตรกรรม ป่าละเมาะ ชายป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบจนถึงที่สูง1500เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นนกที่ค่อนข้างจะพบง่ายใกล้ชิดกับคน เช่นพบตามสนามหญ้าในรีสอร์ตที่ชะอำ ใกล้ชายหาดที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่นกกะรางหัวขวานจับคู่ผสมพันธุ์ทำรังวางไข่ โดยนกตัวผู้จะส่งเสียงร้อง ฮูฟ ฮูฟ ฮูฟ ประกาศอาณาเขตและเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย และนกจะพองขนรอบคอออกและก้มหัวลงด้วย ถ้านกตัวเมียสนใจก็จะบินไปหา เมื่อเป็นเช่นนั้นนกตัวผู้ก็จะย่ำเท้าถี่ๆเข้าไปหาและพยักหน้าเรื่อยๆ ทำปีกพอง สั่นและแผ่หางออกด้วย เมื่อผสมพันธุ์แล้วนกก็จะเลือกหาทำเลสำหรับเป็นที่วางไข่ โดยอาจเลือกโพรงไม้ธรรมชาติ โพรงรังเก่าของนกอื่น ซอกหรือรูแตกของกำแพง ซอกหินริมตลิ่ง ซอกในจอมปลวก โพรงโคนต้นมะพร้าว หรือแม้กระทั่งในรถไถเก่าอย่างในภาพ
ในโพรงรังอาจมีวัสดุรองรังหรือไม่ก็ได้ จากนั้นแม่นกก็จะวางไข่ครั้งละราว4-5ฟองหรืออาจมากกว่า โดยนกเริ่มกกไข่ตั้งแต่วางไข่ฟองแรก ลูกนกจึงออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ใช้เวลา14-16วันไข่ก็จะฟักเป็นตัว โดยในระหว่างฟักไข่ ตัวผู้จะหาอาหารมาป้อนตัวเมีย จนกระทั่งลูกนกออกจากไข่มาได้ระยะหนึ่ง แม่นกก็จะออกมาหาอาหารเองและหาอาหารมาป้อนลูกนกบ้าง เมื่อลูกนกอายุ 27-28วันก็สามารถออกมาหาอาหารและหัดบินได้
นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางครอบคลุมทวีปยุโรป อาฟริกาและเอเชีย สำหรับประเทศไทยพบได้ทั่วประเทศยกเว้นทางภาคใต้พบได้น้อย โดยในจำนวนนกกะรางหัวขวาน 10 ชนิดย่อยทั่วโลก จะพบในประเทศไทย 2 ชนิดย่อยคือชนิดย่อย
U.e.longirostris
ซึ่งเป็นชนิดย่อยประจำถิ่น และชนิดย่อย
U.e.satueata
ซึ่งพบน้อยกว่าและเป็นชนิดย่อยที่อพยพเข้ามาหากิน ชนิดย่อยนี้สังเกตได้จากปลายหงอนซึ่งมีแต้มดำจะมีจุดขาวด้วย
ภาพนกในบล็อกถ่ายมาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมเมื่อเดือนมีนาคม 2551ที่ผ่านมา พ่อนกหาอาหารมาให้แม่นกป้อนลูกในโพรงรังซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของรถไถเก่านั่นเอง
ข้อมูลและอ่านเพิ่มที่ :
//www.bird-home.com
Create Date : 12 กรกฎาคม 2551
Last Update : 13 กรกฎาคม 2551 21:32:46 น.
5 comments
Counter : 5316 Pageviews.
Share
Tweet
สุดยอด นกนี้ไวนะครับ
โดย: c (
chaiwatmsu
) วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:54:22 น.
สวยครับ สวยๆๆๆ
โดย:
เขาพนม
วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:21:13:32 น.
ถึงจะเป็นนกที่พบเห็นได้ไม่ยาก แต่ก็เป็นนกที่รู้สึกว่าอยากจะเจออยู่บ่อย ๆ เพราะชื่นชอบกับความสวยงามในแบบฉบับของเค้าน่ะค่ะ
โดย:
กระจิบหญ้าสีเรียบ
วันที่: 12 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:24:49 น.
สวยจังเลยค่ะ..
ภาพแรกสวยมากค่ะ..
ขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องนกด้วยค่ะ
โดย:
ว่าน
วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:20:19:26 น.
เคยเห็นตัวจริงๆครับ สวยงามมากๆ
โดย:
bigwores
วันที่: 6 กันยายน 2551 เวลา:11:42:11 น.
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [
?
]
เล็กๆน้อยๆ
" ฤดูที่เหมาะสมในการดูนกในเมืองและใกล้เมืองคือฤดูหนาว เพราะเป็นเวลาที่นกอพยพเดินทางไกลมาอาศัยร่วมพื้นที่กับนกท้องถิ่น ทำให้มีปริมาณมากขึ้นและมีนกหลากหลายชนิดขึ้น "
เรื่องเล่าวันนี้
เมษายน เดือน "ฮ็อต"
นกใหม่วันนี้
ค้นหาในGOOGLE.CO.TH
ขอบคุณ:
ไฟล์เสียงเพลงประกอบบล็อกและสคริปต์ อนุเคราะห์โดย
ป้ามด
ตัวหนังสือที่ใช้ทำปุ่มต่างๆและโลโก้จาก
www.f0nt.com
ภาพวาดการ์ตูนนกน่ารักสีสันสดใสจากบล็อกคุณ
Pichsud
Friends' blogs
VA_Dolphin
SevenDaffodils
มัชชาร
9A
I am just fine^^
กระจิบหญ้าสีเรียบ
Pichsud
พนาไพร
WaxGourd
quin toki
PANDIN
weraj
ระเบียงดอกไม้
เขาพนม
Webmaster - BlogGang
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
ห้องบลูแพลนเน็ต
บ้านนก
ทัวร์ทโมน
birder's journal
ไทยเบิร์ดพิค
ornithology
birdlinks
นกไต้หวัน
พจนานุกรม
dictionary
นกอังกฤษ
นกอิตาลี
cornell all about birds
นกเกาหลี
encyclopedia
honolulu zoo
ชื่อผีเสื้อ
ผีเสื้อเมืองไทย
รักษ์ผีเสื้อ
โค้ดบล็อกของป้ามด
เซฟเบิร์ด
what bird
Thailand nature
oriental bird images
ลานนาเบิร์ด
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.