|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
บ้านยายหลาน-update ข่าวโครงการก่อสร้างถนน
สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำคือคอยตามข่าวการสร้างถนน
กทม. โปรยยาหอมอีกแล้วเอาข่าวมาแปะไว้ดูพัฒนาการและเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับท่านอื่นที่กำลัง "คิด มอง หาบ้านโซนกรุงเทพฝั่งตะวันออก"
วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 15:37:02 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กทม.ทุ่มหมื่นล้านผุด10โครงการเชื่อมโครงข่ายคมนาคมย่าน ′ศรีนครินทร์′

กทม.ทุ่มกว่าหมื่นล้าน เตรียมปรับระบบโครงข่ายคมนาคมย่านศรีนครินทร์ เร่งสร้างถนนสายเก่า-สายใหม่ที่กำลังโตวันโตคืนเบ็ดเสร็จร่วม 10 โครงการ ทั้งอุโมงค์ทางลอดแยกศรีอุดม ยกถนนศรีนครินทร์ แก้น้ำท่วมซ้ำซาก สร้างทางต่างระดับ "พัฒนาการ-อ่อนนุช" ตัดถนนใหม่ 6 ช่อง "ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า" ฯลฯ คาดแล้วเสร็จใน2-3ปี

2 ปีเสร็จ - ระบบโครงข่ายคมนาคมย่านศรีนครินทร์ เจ้าภาพคือ กทม. ลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้าน จำนวน 10 โครงการ เพื่อแก้ปัญหารถมากติดขัด กับทั้งน้ำท่วมเพราะเป็นพื้นที่ต่ำ ตามสัญญาก่อสร้างจะทยอยแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้านี้ 2 ปีเศษนับจากนี้ รัศมีทำเล "ศรีนครินทร์" จะเปล่งประกายยิ่งขึ้นอีกเท่าทวีคูณ ด้วยกรุงเทพมหานคร (กทม.) เจ้าของพื้นที่กำลังเร่งเครื่องก่อสร้างโครงข่ายถนนทั้งสายเก่า-สายใหม่ รองรับกับการเติบโตที่นับวันยิ่งโตวันโตคืน ทั้งด้านที่อยู่อาศัย และค้าปลีก
สภาพพื้นที่ปัจจุบัน มี "ถนนศรีนครินทร์" ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังให้ถนนสายรองและตรอกซอกซอยต่าง ๆ ทุกสารทิศมาเชื่อม จนทำให้ทุกวันนี้ ถนนสายนี้ทะลักล้นด้วยปริมาณรถยนต์นับแสนคัน/วัน
ปัจจุบัน "กทม." กำลังปรับโฉมถนนเดิม เพิ่มเติมถนนสายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นถนนอ่อนนุช พัฒนาการ บางนา-ตราด ถนนวงแหวนรอบนอก เบ็ดเสร็จร่วม 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าร่วม 10,043.6 ล้านบาท มีกำหนดเสร็จในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้
สร้างอุโมงค์ลอด "แยกศรีอุดม"
เริ่มจากโครงการที่ 1 "อุโมงค์ทางลอดแยกศรีอุดม" หรือแยกศรีนครินทร์-สุขุมวิท 103 (อุดมสุข) ตามแนวถนนศรีนครินทร์ ขนาด 4 ช่องจราจร มีความยาว 758 เมตร ระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ค่าก่อสร้างกว่า 538 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน โดย กทม.เซ็นสัญญาก่อสร้างกับ "กิจการร่วมค้าศรีนครินทร์" เมื่อปี 2551 ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 50% ยังล่าช้าจากแผน 4-5% กำหนดเสร็จเดือนตุลาคม 2554
โครงการที่ 2 "ก่อสร้างและปรับปรุงถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 28" หรือรามคำแหง 2 ค่าก่อสร้างโดยรวมประมาณ 500 ล้านบาท เป็นการขยายถนนเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร แบ่งเป็น 3 เฟส เฟสแรกถึง "คลองลงแถว" ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 124 ล้านบาท คืบหน้า 30% ส่วนเฟส 2 "จากคลองลงแถว-คลองต้นตาล" ระยะทาง 1.85 กิโลเมตร งบฯก่อสร้าง 117 ล้านบาท คืบหน้าแล้ว 40% และปลายปีนี้ ในส่วนที่เหลือ กทม.จะเปิดประมูลและก่อสร้างได้ต้นปี 2554 เพื่อให้จบโครงการ
โครงการที่ 3 "ปรับปรุงถนนศรีนครินทร์" ช่วงจากแยกพัฒนาการถึงถนนสุขุมวิท 103 ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร วงเงิน 891 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงยกระดับถนนเดิมที่มีสภาพไม่ต่างจากอุกกาบาตให้สูงขึ้นอีก 50 เซนติเมตร พร้อมขยายถนนเดิมจาก 6 ช่องจราจร เป็น 8 ช่องจราจร ใช้เวลา 750 วัน ล่าสุด กทม.แจ้งผู้รับเหมา "บจ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง" เข้าพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายนนี้
โครงการที่ 4 "ถนนต่อเชื่อมแนวถนนพัฒนาการไปสวนหลวง ร.9" ระยะทาง 3.05 ก.ม. ขยายแนวถนนพัฒนาการจากบริเวณสามแยกพัฒนาการตัดถนนอ่อนนุช หรือสุขุมวิท 77 ทะลุกลายเป็น 4 แยกถึงถนนสุขุมวิท 103 (ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9) ขนาด 6 ช่องจราจรไปและกลับ ค่าก่อสร้างกว่า 257 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 630 วัน ปัจจุบัน "บมจ.ซิฟโก้" ผู้รับเหมาเพิ่งเข้าพื้นที่เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จะแล้วเสร็จกลางปี 2555

ทางต่างระดับ "พัฒนาการ-อ่อนนุช"
โครงการที่ 5 "ก่อสร้างทางต่างระดับถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช" เป็นทาง ต่างระดับบริเวณแยกถนนพัฒนาการ-ถนนอ่อนนุช 6 ช่องจราจร ยาว 500 เมตร พร้อมทางขึ้นลง ค่าก่อสร้าง 888.6 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 810 วัน ผู้รับเหมาก่อสร้าง "บมจ.ซีฟโก้" เพิ่งเริ่มเข้าพื้นที่
โครงการที่ 6 "สะพานข้ามทางแยกถนนอ่อนนุช-ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9" ค่าก่อสร้าง 180 ล้านบาท มี "บมจ.ซิฟโก้" เป็นผู้รับเหมา ใช้เวลาก่อสร้าง 540 วัน
โครงการที่ 7 "ทางลอดถนนพัฒนาการ-รามคำแหง" บริเวณแยกถาวรธวัช วงเงิน 800 ล้านบาท กทม.อยู่ระหว่างเคลียร์แบบใหม่ จะเปิดประมูล เร็ว ๆ นี้
โครงการที่ 8 "ทางแยกต่างระดับแยกพัฒนาการ" 6 ช่องจราจร ได้ "บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น" เป็น ผู้ก่อสร้าง กำลังจะเซ็นสัญญาเร็ว ๆ นี้ ค่าก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท
โครงการที่ 9 "โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนสุขาภิบาล 2" ช่วงถนนอ่อนนุชถึงวงแหวนรอบนอก ขยายถนนเดิมจาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร และถนนแอสฟัลต์ผสมร้อน ขนาด 6-8 ช่องจราจร ฟูลออปชั่นพร้อมสรรพ ทั้งคันหินทางเท้า ทางจักรยาน ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง สะพานข้ามคลอง ป้ายและเครื่องหมายจราจรต่าง ๆ ระยะทาง 4.2 กิโลเมตร วงเงิน 230 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 720 วัน ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างประมูล
ตัดใหม่ 6 ช่อง "ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า"
ปิดท้ายโครงการที่ 10 ถนนตัดใหม่ 6 ช่องจราจร สาย "ศรีนครินทร์-ร่มเกล้า" ชื่อเดิม "กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า" ระยะทางรวม 11.2 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างกว่า 4,759 ล้านบาท กทม.กำลังขอจัดสรร งบประมาณจากรัฐบาลในปี 2554 หากได้รับไฟเขียว กทม.ขอใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี
โดยงานก่อสร้างแบ่งเป็น 5 ตอน คือ 1.ทางต่างระดับถนนศรีนครินทร์กับถนนกรุงเทพกรีฑา 6 ช่องจราจร และถนน 6 ช่องจราจร จากศรีนครินทร์-ร่มเกล้า ถึง ก.ม.0+820 พร้อมเกาะกลาง ทางเท้า ระบบระบายน้ำ คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 994.5 ล้านบาท
2.ก่อสร้างถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า จาก ก.ม.0+820 ถึง ก.ม.1+800 ขนาด 6 ช่องจราจร อุโมงค์ทางลอด ขนาด 4 ช่องจราจร ความยาว 500 เมตร และถนน 4 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลาง ทางเท้า ระบบระบายน้ำ คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน เวลาก่อสร้าง 720 วัน วงเงิน 992 ล้านบาท
3.ก่อสร้างถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า จาก ก.ม.1+800 ถึงวงแหวนรอบนอก ตะวันออก ก่อสร้างเป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 900 ล้านบาท
4.ทางยกระดับข้ามถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก ถึง ก.ม.8+100 ขนาด 6 ช่องจราจร และถนน 6 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลาง คันหิน ถมดิน ปลูกหญ้า กำแพงกันดิน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เครื่องหมายป้ายจราจร สะพานข้ามคลอง เขื่อนกันดิน ใช้เวลา 720 วัน 998 ล้านบาท
5.ปรับปรุงถนนเดิมที่ กทม.สร้างค้างไว้หลายปี ระยะทาง 4-5 กิโลเมตร พร้อมสร้างทางต่างระดับ ขนาด 6 ช่องจราจรเพิ่ม เพื่อข้ามแยกไปเชื่อมกับถนน เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ใช้เวลา 720 วัน วงเงิน 874.5 ล้านบาท
ร้องเพลงรอกันต่อไปดันอยู่โครงการที่ 10 ซะนี้
Create Date : 20 ตุลาคม 2553 |
Last Update : 20 ตุลาคม 2553 14:45:40 น. |
|
3 comments
|
Counter : 1765 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: หญิงแก่น วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:16:46:55 น. |
|
|
|
โดย: Khunshine วันที่: 20 ตุลาคม 2553 เวลา:19:44:11 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เฮ้อ...ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจดีครับ