เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
9 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 
1984 กับ พรบ.คอมพิวเตอร์ใหม่

วันนี้ขอเว้นจากบทความที่ไม่มีใครรู้จักว่า"ไอ้นี่มันเขียนบทความแนวนี้เป็นด้วยหรอ" นักเขียนนิรนามก็งี้

วันนี้เลยจะเลิกกระแซ๊ะพรบ.ไซเบอร์มาเล่นจริงจังกับมันเพื่อ.. พวกเพื่อนๆ ทุกคนที่อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไรมันมีไว้เพื่ออะไร เพราะมันผ่านร่างมา 8 ฉบับในวันเดียวด้วยถ้าจะว่าไปนะครับมันเหมือนกับ นวนิยาย 1984 ที่ห้ามกันจัง จัง โดยในเรื่องมี"ตำรวจความคิด" กับ "กระทรวงความจริง" (ชื่อเท่ไหมละ)คอยมาตรวจสอบภายใต้สายตาของ "บิ๊ก บราเทอร์"

ผมคนหนึ่งติดตามเรื่องนี้เหมือนกันแต่ออกตัวเลยว่าไม่ได้ลงรายละเอียดโดยรวมเป็นความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมถึงเศรษฐกิจดิจิตอลที่เรียกว่าให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่มากกกกเกินหรือเปล่ายังไม่ต้องเชื่อผมนะครับเพราะเรียกว่าเจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของพวกคุณๆ ได้ในทุกรูปแบบจนสิทธิส่วนตัวของพวกคุณๆ ไม่เหลือเลยก็ว่าได้ ประเทศนี้มันจะกลายเป็นเมือง"โอชันเนีย" ไปละ

แล้วไอ้กฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิตอลและความมั่นคงทางไซเบอร์คืออะไร

มันคือข้อกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้ จริงๆมีอยู่ทั้งหมด 13 ฉบับ เป็น 10+3 10 ฉบับเสนอผ่านมาทางกระทรวงไอซีที และ 3ฉบับเสนอผ่านมาทางกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีรูปแบบของการร่ายยาวว่าที่ผ่านมามีบางพฤติกรรมที่เป็นการก่อกวนทางสังคมสร้างความแตกแยกจนเป็นเหตุให้เยาวชนเลียนแบบจึงจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจค้น ดักฟัง ซึ่งมีพูดถึงไว้ในพรบ.สิ่งยั่วยุด้วย และที่สำคัญคือมีมาตราที่เรียกว่าคล้าย(คล้ายนะครับไม่ได้ลอกเลย) มาตร 25 ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSIคือสามารถเข่าไปดักฟัง เก็บข้อมูล ในกรณีที่เป็นคดีพิเศษแต่นี่คดีอัลไลก็ทำได้

ที่ว่ามามันก็ดีไม่ใช่หรือแล้วจะให้พวกเราเดือนร้อนทำไม

มันดีไหม เดี๋ยวอ่านต่อก่อนดีกว่าครับ จริงๆลองคิดเล่นๆ มโนตามผมนะครับ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครก็คงต้องการความเป็นส่วนตัวนะครับอย่างหากมี CCTV (จินตนาการนะครับเพราะมันคงจะอีกนาน)คุณคงไม่อยากให้มันหันหน้ามาทางบ้านคุณเพราะที่คุณทำมันจะกลายเป็นสาธารณะเลยนะครับกล้องมีคนดูแม้นจะชื่อวงจรปิดแต่มันมีคนเฝ้านะครับเพื่อไม่ให้กล้องมีปัญหาแล้วคุณจะมั่นใจไหมว่าพฤติกรรมคุณจะไม่เป็นสาธารณะ

สายตรวจตำรวจเลยอีกตัวอย่างบางทีขับมอไซต์วิ่งเชนต์กล่องมันก็ปกติ (ขนาดเซนต์กล่องแม่งยังมีเรียกตรวจโดยใช้ความเป็นกันเอง มึงๆ กูๆนิสัยเหมือนตัวอะไรซักอย่าง) แต่หากวันหนึ่งเค๊าะประตูขอเข้าไปดูห้องนอนคุณคุณก็คงไม่ชอบใจ

ทุกวันนี้การทำธุระกรรม ไม่ว่าการเงินหรือเรื่องอื่นๆ มันไปอยู่ในอินเตอร์เน็ตมากขึ้นคนส่วนมากก็อยากได้ความปลอดภัยมากขึ้นอันนี้จริงครับ แต่ถามว่าพรบ.นี้มันตอบโจทย์ไหม ผมว่ามันออกจะรุกลำสิทธิที่เรามีมากเกินไปในความเป็นส่วนตัวแต่มันดีต่อระบบเศรษฐกิจดิจิตอลตามที่ว่าไหมใช่มันตอบในส่วนนี้

คณะกรรมการคุ้มครองหายไปไหน

นี่สิครับที่ควรจะถามเพราะตามเดิมนั้นจะต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้บริโภคอยู่ถึง 3ตำแหน่งที่จะคอยทำการปกป้องคุ้มครองแต่โดยตัดทิ้งหมดเลย แล้วเอาเรื่องความมั่นคงเข้ามาแทนอย่าที่ผมกล่าวแต่ต้นว่า มาตรการทั้งหลายเหล่านี้ไม่ควรมาละเมิดเราตำรวจทะหารไม่ควรมาเดินในบ้านเรา กล้อง CCTV ไม่ควรหันหาบ้านของเราน่าเป็นห่วงไหมละ? จะว่าไป มาตร 35ของ พรบ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ก็มีปัญหา เพราะผมว่าให้อำนาจต่อเจ้าหน้าที่มากเกินไปสามารถดักฟัง แฮก ดักข้อมูล บุกยึดทำได้ทุกอย่างเพียงแค่สงสัยและบอกเข้าใจผิดเราทำเพื่อความมั่นคง จบไม่ต้องรับผิด ยังไม่มีกฎหมายเยียวยาด้วยและทั้ง13 ฉบับไม่มีพูดถึงเรื่องนี้

ถ้า พรบ. นี้ผ่านหมด จะมีผลเสียอย่างไร

ในเมื่อหัวข้อจั่วมาขนาดนี้แล้วแน่นอนผมมองข้อเสียถ้าผ่านนะ จะมีกฎหมายอย่างน้อย 5มาตราที่จะทำให้เจ้าหน้าที่ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร (คณะทำงานก็ยังไม่มีชื่อนี่)สามารถดักข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ เรียกว่าได้ทุกวิธี โดยที่พวกเราๆไม่รู้ตัวว่าเขาสงสัยมึงอยู่นะ โดยข้อมูลไม่รู่ว่ารู้อะไรกูมั่ง เอทีเอ็มกี่ใบรหัสอะไรATM Skimming ต่อไปไม่ต้องแล้วมั่ง แต่ที่น่าสนใจคือ อุปกรณ์การอบรม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาจากไหน ภาษีเราๆ ท่านๆ ไงเท่าไรไม่รู้ด้วยอาจจะหลายล้านล้านก็เป็นได้ ทั้งที่มึงพัฒนาระบบ Security ของชาติไม่ง่ายกว่าหรอไม่ละเมิดใครด้วย

แล้วมันจะดักข้อมูลได้จริงไหม?

แอร้ยยย อันนี้หรอมันก็ต้องได้สิครับถ้าเงินพอนะ และมีข่างลืออยู่พักหนึ่งว่ามีการล๊อกอินเฟสอีกครั้งจนทำให้เจ้าของบัญชีต้องอึ้งไปตามๆ กันแต่ผมไม่มีประสบการณ์ไม่รู้เกินจริงไหม แต่หากมีการดักโดยระหัส HTTP อย่างที่คนเรียนคอมเข้าใจแต่ถ้าใช้เงินซื้อกุญแจรหัสละ ตอนนี้ตรวจสอบอะไรไม่ได้ใครจะไปรู้

แต่อย่างว่าตอนนี้ยังไม่มีรายชื่อคณะทำงานที่ชัดเจนก็ต้องอบรม พนักงานที่ดึงมาจาก ตำหาร ตำรวจ บลา บลา บลาอีกกี่คนเพื่อที่จะทำหน้าที่ในส่วนนี้ สนุกนะทีนี้ ต้องคิดเอาว่ามันจะคุ้มกับที่อยากได้ไหม

พรบ. นี้ผิดจุดประสงค์ไหม

คุณจั่วหัวกะเอาตายเลยหรอเปล่านะแค่อยากบอกว่ามันยังไง ชื่อสวยนะ ความมั่นคงทางไซเบอร์ และเศรษฐกิจดิจิตอลแต่เหมือนว่าเอามาใช้ทางความมั่นคงมากกว่านะครับ มีแต่เรื่องของความมั่นคงจนเรียกว่าดูแลอย่างใกล้ชิด มึงชิดไปไหม อยากถามมึงจะหาเลขหลังบัตรเดบิตกูเลยไหมถ้าใกล้ชิดขนาดนี้

และอีกย่างคือ ข้อที่เพิ่มมาในวัตถุประสงค์ข้อ 6ให้รัฐบาลนำเงินกองทุนไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ถ้ารัฐบาลเห็นสมควรเออสมควรกับเงินภาษีนี่นะ ฟังดูเหมือนมีอะไรที่ตรวจสอบไม่ได้แต่ฉันจะทำให้มันชอบธรรมโดยบังคับใช้ให้ได้ อัลไลผมคิดมาไปไหม แต่ถ้าถามผมนะมันคือการคงอยู่ของ คณะ คสช. ต่อให้ยุคณะนี้ยกเลิกกฏอัยการศึกกลไกลเหล่านี้ก็จะยังคงอยู่ ในนามของ พรบ.ดิจิตอลแม้นจะเปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลพลเรือน เรียกว่าฝังรากความมั่นคง

ผมเองมองว่าระบบดิจิตอล ต่างๆ จะเกิดยากสักนิดอย่าง 4G คงต้องรออีกนานเพราะอะไร ต้องรอระบบ ระเบียบประมูล ทำไมไม่บอกละว่า ประกาศไปเลย ความถี่นี้ใช้ได้พวกคุณเอาไปแข่งกันพัฒนามันง่ายกว่านะ รัฐบาลก็แค่รอภาษีเท่านี้ก็จะเกิดขึ้นได้ ผมว่าไม่นานด้วย และไม่ใช่ 4G หรอกๆด้วยแต่ตอนนี้ ราคาแพง จำจัดความเร็ว ทุกอย่างเมื่อสิ่งใดที่ยากต่อการเข้าถึงมันก็ยากที่จะพัฒนา

ต่างประเทศมีประเทศใดที่เขาดักข้อมูลไหม

มีครับ จีน มีการบล็อกเฟส ไลน์แต่คุณต้องดูด้วยนะว่าคุณจะอยู่ได้อย่างจีนไหมเราไม่ได้เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีอย่างจีน เราเป็นผู้ซื้อ ถ้าคุณคิดว่ากำลังซื้อเรามากพอและกล้าประกาศไปเลยว่าความลับของกองทัพและรัฐบาลสำคัญที่สุดอันนี้ก็เข้าใจนะจะได้ทราบว่าเราจะพัฒนาระบบความมั่นคงนี่แหละไม่ต้องเอาเงินไปพัฒนาอย่างอื่นละการที่บอกว่าจะพัฒนา โดยที่เอาคลื่นไปกั๊กไว้ เงินบริหารก็จากภาษีข้อมูลส่วนบุคคลก็นะ ไม่มีอะไรไว้ใจได้ แบบนี้นะประเทศอื่นที่เขาไม่ดีลเรื่องการค้าขายมันก็คงไม่แปลก

ทำไมถึงเรียกว่าเป็นการจับตามองโดยพี่เบิ้ม

ปกติข้อมูลเราๆ ท่านๆมันอยู่กระจัดกระจายแต่หากได้น้ำกฎหมายนี้มาใช้จริงละก็ ข้อมูลทุกอย่างจะถูกรวมเข้าด้วยกันปกติรัฐมีข้อมูลบริการเพียงบางส่วน เอกชนมีข้อมูลบางส่วนแต่ต่อไปมันก็จะรวบรวมมาเป็นข้องมูลชุดเดียว ที่เชื่องกันด้วย PID หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชนและรหัส **** มันก็อยากที่จะเป็นความลับ

อ้อในแง่ของกล้องวงจรปิดที่ผมยกตัวอย่างไปเราติดไว้ที่บ้าน ดูผ่านมือถือ เขาก็จะดูได้นะฮ๊าฟเรียกว่าโดนจับตาทุกฝีก้าวเหมือน "ครอบครัวของคิระ ใน เดธโน้ต" กันเลยทีเดียวนั้นขนาดพ่อของคิระรู้นะ ว่าคนในบ้านคือผู้ต้องสงสัยแต่นี่ไม่ต้องสงสัยคร้าบคงคิดออกนะว่าพ่อที่มีลูกสาวเป็นสาวในบ้านโดนจับตามองจะรู้สึกไง

นี่แหละคือเรื่องที่น่าห่วงมากๆเพราะคณะกรรมการสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องขอใครทั้งสิ้นจร้า

Power by I9




Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2558
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2558 13:39:37 น. 0 comments
Counter : 1341 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.