เว็บเพื่อการเลี้ยงลูก,เว็บท่องเที่ยววังน้ำเขียว,สื่อสุขภาพ,ครอบครัวการเลี้ยงลูก,ทิปคอมพิวเตอร์
Group Blog
 
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
9 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
การแบ็กอัพไดรเวอร์


การแบ็กอัพไดรเวอร์ (Driver Backup)


เรื่องที่ผมกำลังจะกล่าวถึงต่อไปนี้ต้องบอกว่าน่าสนใจ
และไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง
เพราะบางทีหลังจากที่ติดตั้งเครื่องใช้งานได้เสร็จแล้ว
เราอาจจะไม่ได้เก็บแผ่นไดรเวอร์ที่มีมาพร้อมกับเครื่องไว้
หรือเก็บไว้ไม่ครบ และไดรเวอร์บางตัวถูกจัดเก็บไว้แผ่นดิสก์
ซึ่งค่อนข้างเสี่ยงต่อการเสียหาย
หรือในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา หรือโน้ตบุ๊กบางยี่ห้อ
ที่ไม่มีแผ่นไดรเวอร์แถมมาให้ (เพราะรวมเอาไว้ในแผ่น Restore
เรียบร้อยแล้ว)
ก็อาจจะทำให้เราลำบากหากต้องการเปลี่ยนระบบปฏิบัติการจากที่มีอ
ยู่ไปใช้ระบบปฏิบัติการตัวอื่น



การแบ็กอัพไดรเวอร์มักอาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปเข้าช่วย อาทิ
พวกโปรแกรมดูดไดรเวอร์
โปรแกรมอรรถประโยชน์ในการสำรองข้อมูลสำคัญ เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดและขั้นตอนในการแบ็กอัพไดรเวอร์นั้นสามารถหาอ่
านได้จาก หนังสือ Com.Today Action เล่ม 19 ปักษ์หลัง กันยายน
และเล่มที่ 24 ปักษ์แรกธันวาคม 2546
ซึ่งได้เสนอแนะพร้อมสาธิตการทำงานของโปรแกรมอย่างละเอียด



ดีไวซ์ไดรเวอร์นับเป็นโปรแกรมพิเศษที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ทุกคนควรจะได้รู้จักและทำความเข้าใจอย่างยิ่ง
ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์ทุกตัวในคอมพิวเตอร์ของเราล้วนแต่ต้องอาศัย
เจ้าโปรแกรมตัวนี้ทั้งสิ้น
โดยอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะมีไดรเวอร์เฉพาะสำหรับตัวเองไม่สามารถใช
้ร่วมกันได้














รูปที่ 6 รายชื่ออุปกรณ์ที่ Built-in มากับเมนบอร์ด

ไดรเวอร์หาย ใครช่วยที


ใครที่เคยเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ที่ว่านี้
ก็อย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจมากไปนะครับ ผมมีวิธีแก้ไขง่ายๆ
โดยให้คลิ้กปุ่ม Cancel
ที่หน้าต่างโปรแกรมที่ขึ้นมาแจ้งเตือนให้ใส่แผ่นไดรเวอร์
เพื่อยกเลิกการติดตั้งก่อน จากนั้นปล่อยให้กระบวนการ Install
ดำเนินไปจนเสร็จสิ้นเราค่อยหาไดรเวอร์มาลงอีกที
และถ้าจะให้ดีเราควรจะมีการจดรายละเอียดของอุปกรณ์ที่มีอยู่ในเ
ครื่องของเราไว้ด้วย เช่น การ์ดจอยี่ห้ออะไรใช้ชิปเซตรุ่นไหน
(เช่น Winfast Geforce4 MX 400) หมายเลขโมเดลอะไร,
ซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, โมเด็ม, ตลอดจนอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ดูได้จากข้างกล่อง
หรือดูที่แผงวงจรได้เลย
และสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ชุดประหยัดที่มักจะมีอุปกรณ์หลายๆ
ตัวผนวก (Built-in)
มากับเมนบอร์ดซึ่งบางทีเราอาจจะไม่ทราบว่าชิปตัวไหนเป็นอะไร
(จริงๆแล้วมีเขียนบอกไว้ที่ชิป) หรืออาจจะดูไม่ถนัด
ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้โดยการคลิ้กขวาที่ My Computer
ให้เลือก Properties แล้วคลิ้กที่แท็บ Hardware คลิ้กปุ่ม
Device Manager
จากนั้นคลิ้กเข้าไปดูรายละเอียดของอุปกรณ์ได้ตามรายชื่อที่ปราก
ฏอยู่ ดังรูปที่ 6



เมื่อเห็นรายละเอียดบนหน้าจอแล้ว แนะนำให้จดรายชื่อ
ยี่ห้อของอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เรียบร้อย
และหากเปิดฝาครอบตัวเครื่อง (case)
ออกดูภายในแล้วไม่พบแผงวงจรใดๆ เสียบอยู่ในช่องเสียบ (Slot)
ที่เมนบอร์ดเลยให้มั่นใจได้เลยครับว่าอุปกรณ์ต่างๆ
ถูกผนวกไว้ในเมนบอร์ดทั้งหมด ในกรณีนี้ไดรเวอร์ต่างๆ
ก็จะถูกบรรจุไว้ในแผ่นซีดีของเมนบอร์ด
หรือแม้แต่อาจจะมีอุปกรณ์บางตัว เช่น
ซาวนด์การ์ดหรือการ์ดจอเป็นแบบ Built-in
ซึ่งสามารถหาไดรเวอร์ได้จากแผ่นซีดีของเมนบอร์ด
และถ้าหากแผ่นซีดีดังกล่าวไม่มี
ก็ให้จดชื่อ-ยี่ห้อ-รุ่นของเมนบอร์ดไว้ โดยอาจจะดูจากข้างกล่อง
หรือเปิดดูของจริง
หรือสอบถามจากผู้ขายโดยทั่วไปผู้ผลิตเมนบอร์ดทุกรายจะมีเว็บไซต
์ให้ลูกค้าสามารถไปดาวน์โหลดคู่มือ
และไดรเวอร์ของเมนบอร์ดที่เขาจำหน่ายแทบทุกรุ่น ดังนั้น
ในการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรเลือกซื้อเมนบอร์ดที่มีสกุลส
ักหน่อยครับ (แม้จะแพงไปนิด) เพราะถ้าเกิดปัญหาใดๆ
จะได้มีทางเลือกและมีแหล่งช่วยเหลือได้


Computer Today ฉบับที่ 233 ปักษ์แรก มีนาคม 2547


Create Date : 09 กันยายน 2551
Last Update : 9 กันยายน 2551 12:37:46 น. 0 comments
Counter : 1009 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

fnhero125
Location :
นครราชสีมา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add fnhero125's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.