ณ สัทธา อุทยานไทย กับสัทธาถิ่นเรือนไทย 4 ภาค ที่อยากให้คุณมาเยือน



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภูมิภาคภาคกลาง
ร่วมกับ Thinking Radio 96.5 fm
จัดกิจกรรมท่องเที่ยววิถีไทย สุขใจ ได้บุญ
ในกิจกรรม “อุ่นรักษ์วิถีไทย สไตล์ภาคกลาง”
ระหว่างวันที่ 12 – 14 สิงหาคม 2565
เส้นทาง กรุงเทพฯ – อยุธยา – ประจวบคีรีขันธ์ – เพชรบุรี – สมุทรสงคราม – ราชบุรี

นับเป็นความงามอย่างมีคุณค่า
ด้วยการแต่งชุดไทย เก๋ไก๋ เที่ยว ณ สัทธา อุทยานไทย จังหวัดราชบุรี
ซึ่งเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้ และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
โดยได้รับการชื่นชมจากแฟนรายการผู้ร่วมทริปท่องเที่ยวเป็นอย่างดี

หากอยากมาเที่ยวใกล้ๆ ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร
ตามรอยอุ้มสีมาเช็คอิน ณ สัทธา อุทยานไทยได้เลยนะจ๊ะ
เพราะที่นี่เป็นอุทยานการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
นอกจากจะได้ความรู้จากการใช้เทคโนโลยีมาแมทเข้ากันอย่างลงตัว
ยังมาเดินทอดน่องชิลชิลกับธรรมขาติกับแมกไม้ที่ร่มรื่น
ถ่ายรูปสวยๆ กับชุดไทย ที่นี่มีความสุข
รับรองว่าเป็น 1 วันที่ประทับใจแน่นอน
ต้องขอขอบคุณ ททท.ภูมิภาคภาคกลาง ที่ชวนอุ้มสีมา

ณ สัทธา อุทยานไทย อ.บางแพ จ.ราชบุรี
บนพื้นที่กว่า 42 ไร่
นับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่มองเห็นรากเหง้าของความเป็นไทย
มีหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสส์ขนาดเสมือนจริงกว่า 60 รูป
ผ่านเทคนิคจัดแสดงและวิธีการนำเสนอรูปแบบใหม่
ที่ใช้เทคโนโลยีที่ต้องมาเที่ยวชมด้วยตาคุณเอง
นับเป็นอุทยานด้านพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
อุ้มสีนำมาฝากพี่น้องผองเพื่อนชาวบล็อกแก๊ง
นับเป็นอีกเอนทรี่หนึ่งที่ภูมิใจนำเสนอ



วิถีไทย เริ่มจากที่บ้าน
มาถึง ณ สัทธา อุทยานไทย จะมีเรือนไทยสวย 4 ภาค
มาชมกันที่ "โซนสัทธาถิ่นเรือนไทย"
ซึ่งเป็นเรือนไทยจำลองตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดของแต่ละภาค
ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในแต่ละภาค
ประหนึ่งกับย้อนเวลาเดินทางไปสัมผัสวิถีไทยชีวิตของคนภาคต่างๆ
ผ่านการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ อาหารการกิน
ที่แสดงให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น



นางนปภา ศิริพรเลิศ
กรรมการผู้จัดการ ณ สัทธา อุทยานไทย จังหวัดราชบุรี
เล่าให้อุ้มสีฟังว่า
"ณ สัทธา อุทยานไทย” หรือชื่อเดิม คือ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม
เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาสักการะพระอริยสงฆ์
มาเยี่ยมชมบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์
พร้อมกับมาเรียนรู้สัมผัสความเป็นไปของสังคมไทยวิถีไทย
ได้อย่างลึกซึ้งและงดงาม

คำว่า สัทธา จริงๆ แล้วมีความหมายเดียวกันกับคำว่า ศรัทธา
ต่างกันแค่เป็นภาษาบาลีและสันสฤตเท่านั้น
ที่ตั้งชื่อ "ณ สัทธา" แห่งนี้
ก็เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นมาจากความเชื่อ, ความเลื่อมใส
ความเชื่อมั่นในสิ่งดีงาม, ความศรัทธาจริงๆ ในสิ่งที่เราได้รับ

ณ สัทธา อุทยานไทย
เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของสถานที่และธุรกิจที่เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธา
ที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตไทยที่สักครั้งต้องแวะมาเยี่ยมชม











นั่งรอปลาจาก "ปู่เย็น" ตั้งนานแล้วปู่ยังตกปลาไม่ได้สักตัว



คลิกที่นี่ย้อนไปอ่านตอนที่ 1 พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จ.พระนครศรีอยุธยา

คลิกที่นี่ย้อนไปอ่านตอนที่ 2 ห่มผ้าหลวงปู่ทวด ครั้งที่ 9 ที่วัดห้วยมงคล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์







ภาพปริศนาธรรม ปิดหู ปิดตา ปิดปาก กล่าวคือ
"การไม่รับรู้โดยการมองในสิ่งที่ไม่ดี การไม่ฟังในสิ่งที่ไม่ดี
และการไม่กล่าววาจาในสิ่งที่ไม่ดี"
เพื่อไม่ให้ความชั่วร้ายเข้าสู่ตัว ไม่ฟังสิ่งที่เป็นความชั่ว
ไม่มองสิ่งที่เป็นความชั่ว และไม่พูดสิ่งที่ชั่วร้าย
ทฤษฎีนี้เหมาะกับทุกกคน ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย
ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
กล่าวคือ ต้องรู้จักควบคุมการฟัง ควบคุมการมอง และควบคุมการพูด

























“เหนือฟ้ายังมีฟ้า แต่ไม่มีอะไรเหนือกฎแห่งกรรม”
พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)

คงไม่มีใครทราบว่าอุ้มสีปฎิบัติกรรมฐานกับหลวงพ่อจรัญ แห่งวัดอัมพวัน จ.สิงห์มา 9 ปีล่ะ
รู้จักท่านเพราะคุณป้าพูลศรี เจริญพงศ์ นักร้องเพลงสายธรรมะ
เป็นคนพามาแนะนำ
จากนั้นได้แวะมานั่งฟังป้าพูลศรีกับคุณแม่สนทนาธรรม
กับหลวงพ่อจรัญ 3-4 ครั้ง
และได้เคยเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อจรัญด้วยค่ะ
เป็นอีก 1 เกจิอาจารย์ที่อุ้มสีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

พระธรรมสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม) เป็นพระภิกษุชาวไทย ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อำเภอพรหมบุรีจังหวัดสิงห์บุรี และเป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 3

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
มีชื่อเสียงในระดับประเทศจากการเป็นพระนักพัฒนา พระนักเทศน์
และพระวิปัสสนาจารย์
แนวทางของท่านเน้นที่การสั่งสอนเรื่องกฎแห่งกรรม
โดยยกเหตุการณ์ที่ท่านประสบและนับเป็นกฎแห่งกรรมขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์
และเน้นการพัฒนาจิตใจคน
ด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐานด้วยหลักสติปัฏฐาน 4
แบบพองหนอ-ยุบหนอ
นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนหมั่นสวดมนต์ด้วยพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)
เพื่อเป็นเครื่องเจริญสติอย่างแพร่หลายอีกด้วย















กุฏิภาคเหนือ จะมีพระอริยสงฆ์อยู่ในกุฏิละ 3 ท่าน



ครูบาศรีวิชัย



หลวงปู่แหวน



กุฏิภาคกลาง จะมีพระอริยสงฆ์อยู่ในกุฏิละ 3 ท่าน



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
หรือนามที่นิยมเรียก "สมเด็จโต" "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง"
เป็นพระภิกษุมหานิกาย
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร







กุฏิภาคอีสาน



เกจิอาจารย์ชื่อดังสายปฏิบัติของภาคอีสาน



























นับแต่อดีตกาลมาจวบปัจจุบัน พระพุทธศาสนาได้เป็นหลักคิด
เป็นหลักชัยในการดำเนินชีวิต
นับเป็นบ่อเกิดขนบจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของไทย
หล่อหลอมจิตใจของชาวไทยให้เป็นเอกลักษณ์
ที่การเน้นการรู้ตื่น สะอาด สว่าง สงบ
การมีสติจะนำพาไปสู่ปัญญาอย่างแท้จริง
พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใจของไทยเรามาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน

สังคมไทยสมัยก่อนเป็นสังคมชนบท
มีวัดวาอารามเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ
มีพระสงฆ์ผู้ทรงศีลเป็นที่เคารพศรัทธา เป็นเนื้อนาบุญกุศล
นี่แหละคือวิถีไทยวิถีพุทธ

อุ้มสี cut มาที่โซน "อริยสัทธา"
ซึ่งเป็นโซนที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งพระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพ
เลื่อมใสศรัทธาของพุทธซาสนิกชนจากทั่วภูมิภาคต่างๆ
นำมาประดิษฐานบนกุฏิเรือนไม้
ในหอสวดมนต์
มาที่ ณ สัทธา อุทยานไทย
เสมือนเราได้ไปกราบไหว้พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศได้ในวันเดียว



ว่าแล้วมาขึ้นที่เรือนภาคกลางกันนะคะ
เรือนไทยภาคกลาง เป็นเรือนไทยประเภทที่มีลักษณะเป็นเรือนยกพื้น
ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศีรษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ
หลังคา ทรงสูงชายคายื่นยาว เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง
นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม
ณ สัทธา อุทยานไทย ได้จำลองเรือนไทยในรูปแบบ "เรือนฝาปะกน"
ถือเป็นเรือนไทยแท้
โดยเรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก
มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกัน สนิท
หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน

เรือนไทยภาคกลาง ยกใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินประมาณพ้นศีรษะ
รวมทั้งระเบียงและชานก็ยกสูงด้วยการยกใต้ถุนสูงนี้มีระดับลดหลั่นกัน
พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตร พื้นชานลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร
และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง
การลดระดับพื้นทำให้ได้ประโยชน์ดังนี้
กล่าวคือ ช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน
และสามารถมองลงมายังใต้ถุนชั้นล่างได้
และใช้ระดับลด 40 เซนติเมตรไว้เป็นที่นั่งห้อยเท้า

หลังคาทรงจั่วสูงชายคายื่นยาว หลังคาของเรือนไทยเป็นแบบทรงมนิลา
ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผา
มาใช้เป็นวัสดุในการมุงหลังคา
วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมาก
น้ำฝนจึงจะไหลได้เร็ว ไม่รั่ว
การทำหลังคา ทรงสูงนี้ มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง
ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย
สำหรับเรือนครัวทั่วไปตรงส่วนของหน้า จั่วทั้ง 2 ด้าน
ทำช่องระบายอากาศ โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์
เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก
ชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด

เรือนไทยภาคกลางจะมีชานกว้างมีปริมาณถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด
ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60
พื้นที่นี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก
ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด
สาเหตุที่พื้นที่อยู่อาศัยภายนอกมีปริมาณมาก
เพราะเล็งเห็นสภาพภูมิดินฟ้าอากาศร้อนอบอ้าวของภาคกลาง
นับเป็นภูมิปัญญาของคนในสมัยโบราณที่เล็งเห็นผลเลิศ









เด็กน้อยสวมชุดไทยที่ "เรือนไทยภาคกลาง"

































































นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช
ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
มอบของที่ระลึกให้แก่นางนปภา ศิริพรเลิศ
กรรมการผู้จัดการ ณ สัทธา อุทยานไทย จังหวัดราชบุรี





















บรรยากาศเรือนไทยแต่ทำไมใส่เพลงประกอบเป็นเพลงสากล
When You Tell Me That You Love Me
สั้นๆ ง่ายๆ ผอ.พี่ติ๋ว- จิรารัตน์ มีงาม ผอ.ททท.สำนักงานลพบุรี
ร้องให้เป็นของขวัญวันเกิด "อุ้มสี" เมื่อ 21 กรกฎาคม 2565
และเดือนหน้านี้พี่ติ๋วจะเกษียณราชการค่ะ
อุ้มสีจึงตั้งใจนำมาใส่ในเอนทรี่นี้ กราบขอบพระคุณค่ะ



ขอขอบคุณ

นางสาวจุฑาทิพย์ เจริญลาภ
ผู้อานวยการภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นายวิศณุ อรุณบำรุงวงศ์
รองผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นางสาวสุรีพร พงษ์พานิช
ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

นายอภิวัฒน์ ทับทิมโต
ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพระนครศรีอยุธยา

นายชัยวิทย์ เผื่อนอุดม
หัวหน้างานภาคกลาง 1 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย




 

Create Date : 16 สิงหาคม 2565
19 comments
Last Update : 18 สิงหาคม 2565 20:45:16 น.
Counter : 2074 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณnewyorknurse, คุณกะว่าก๋า, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkae+aoe, คุณhaiku, คุณทนายอ้วน, คุณปัญญา Dh, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณออโอ, คุณmultiple, คุณนกสีเทา, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณ**mp5**, คุณเริงฤดีนะ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณThe Kop Civil, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณNENE77, คุณสองแผ่นดิน

 


ไม่ไกลจากบ้านพี่
กลับคราวหน้าคงได้แวะไปชมอีก

 

โดย: newyorknurse 16 สิงหาคม 2565 4:27:33 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

บ้านทรงไทยมีเสน่ห์จริงๆ
ชอบรูปปั้นปริศนาธรรมด้วยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 16 สิงหาคม 2565 5:17:32 น.  

 

ไม่ไกลจาก กทม ดีเลยค่ะ

 

โดย: kae+aoe 16 สิงหาคม 2565 8:12:01 น.  

 

สวัสดีค่ะ..

ร่มรื่น น่าเดินชมมากๆคะ..

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 16 สิงหาคม 2565 13:34:59 น.  

 

ผมก็ชอบเพลงได้อย่างเสียอย่างครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 16 สิงหาคม 2565 13:41:10 น.  

 

ร่มรื่นมากครับ มีแอบน่ากัว ^^

 

โดย: จันทราน็อคเทิร์น 16 สิงหาคม 2565 15:05:28 น.  

 

ที่นี่เป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วย ความรู้ ทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและความรื่นรมย์ ของธรรมชาติ ครบเลยนะครับนี่

พื้นที่กว้างขวางมาก ดูแล้ว ต้องมี ครึ่งวัน ถึงจะเดินทั่ว
หุ่นขี้ผึ้งนี่ ฝีมือปราณีตมาก เรือนไทยแต่ละภาค ก็ทำได้ดีเลยนะครับ ถ้ามีโอกาส ต้องแวะไปชมซักครั้งละครับ

 

โดย: multiple 16 สิงหาคม 2565 19:22:40 น.  

 

เรือนไทยสงยทุกหลังเลยค่ะ
ปั้นพระออกมาเหมือนมากนะคะ

 

โดย: นกสีเทา 16 สิงหาคม 2565 19:55:33 น.  

 

ขอบคุณครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 17 สิงหาคม 2565 15:02:22 น.  

 

แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ

 

โดย: **mp5** 17 สิงหาคม 2565 16:20:03 น.  

 

อรุณสวัสดีจ้า คุณอุ้ม

บ้านทรงไทยมีเสน่ห์จริงๆเห็นแล้วอยากไปเที่ยวจังเลย
ชอบรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งปริศนาธรรมด้วย

ขอบคุณ คุณ อุ้ม มากนะจ้าที่นำสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งมาให้ได้ชม

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 18 สิงหาคม 2565 0:47:31 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 18 สิงหาคม 2565 5:39:12 น.  

 

 

โดย: เริงฤดีนะ 18 สิงหาคม 2565 8:11:25 น.  

 

ขอบคุณครับพี่อุ้ม

 

โดย: กะว่าก๋า 18 สิงหาคม 2565 10:28:07 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องอุ้มสี
ตามมาเที่ยวด้วย จ้ะ ครูเคยไป "ณ สัทธา อุทยานไทย กับสัทธาถิ่นเรือนไทย 4 ภาค ที่อยากให้คุณมาเยือน" แต่หลายปีแล้ว ลูกศิษย์พาไป ครูเกิน 60 ปี
เลยไ่ม่ต้องเสียค่าเข้าชม จ้ะ อิอิ
น่าเสียดาย เวลามีน้อย เลยไม่ได้เดินชมอย่างละเอียดอย่างที่อุ้มนำเสนอ ดีมากเลยจ้ะ ได้เห็นบ้านทรงไทย ทั้ง 4 ภาค และได้เห็นรูปของเกจิอาจารย์ที่เคารพของปวงชน ด้วยจ้ะ
โหวดหมวด ท่องเที่ยว

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 18 สิงหาคม 2565 12:48:10 น.  

 

สถานที่ร่มรื่น น่าถ่ายรูปนะครับพี่

 

โดย: The Kop Civil 18 สิงหาคม 2565 13:56:25 น.  

 

เรือนไทยสวยงาม บรรยากาศร่มรื่นดีด้วยค่ะ

 

โดย: NENE77 18 สิงหาคม 2565 14:50:32 น.  

 

แต่งชุดไทย เที่ยวเรือนไทย
บรรยากาศดีงามมากค่ะ

 

โดย: ฟ้าใสวันใหม่ 18 สิงหาคม 2565 14:53:48 น.  

 

มาเที่ยวด้วยครับ
เคยไปตั้งแต่ใช้ชื่ออุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยามครับ

 

โดย: สองแผ่นดิน 18 สิงหาคม 2565 23:03:12 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
16 สิงหาคม 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.