Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
14 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
ปัญหา “พระวิหาร” จะลงเอยอย่างไร? (ตอนที่ 7)



ตอนที่แล้วได้นำความเห็นแย้งของผู้พิพากษา มอเรโน กินตานา

ชาวอาร์เจนตินามาลง ตอนนี้ก็จะขอสรุปความเห็นของ

ท่านผู้พิพากษา เวลลิงตัน คู (Wellington)

และท่านผู้พิพากษา เซอร์ เพอร์ซี สเปนเดอร์ (Sir Percy Spender)

ท่านผู้พิพากษา เวลลิงตัน คู เป็นชาวไต้หวันมีความเห็นว่า

คณะกรรมการผสมชุดที่ 1 ตามสนธิสัญญา 1904 มีมติรับเส้นเขตแดน

ณ จุดซึ่งไม่ถึง 15 กม. แต่ไม่มีมติในบริเวณเขาพระวิหาร และคณะกรรมการ

ผสมชุดที่ 2 ก็สำคัญผิดว่าคณะกรรมการชุดที่ 1 ทำการปักปันเขตแดนแล้ว

จึงไม่ได้มีการปักปันเขตแดนดังกล่าวด้วย ดังนั้น แผนที่ที่กัมพูชาอ้าง

(ภาคผนวก 1 มาตราส่วน 1: 200,000) จึงไม่ผูกพันไทย นอกจากนั้น

ท่านเวลลิงตัน คู ก็แย้งข้อเท็จจริงที่ผู้พิพากษาฝ่ายข้างมากยกมา

แสดงให้เห็นว่า ไทยไม่ปฏิเสธทีละข้อ ๆ เช่น

เรื่อง สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสด็จเยือนปราสาทในปี 2473 นั้น

ท่านเวลลิงตัน คู แสดงให้เห็นว่าทรงไปในฐานะนายกราชบัณฑิตยสถาน

พร้อมพระธิดา 3 องค์ มีข้าหลวงฝรั่งเศสและนายอองรี ปาร์มองติเอร์

นักโบราณคดีรวมอยู่ด้วยเป็นผู้ต้อนรับ โดยข้าหลวงกล่าวรับเสด็จว่า

ขอนำอภินันทนาการจากข้าหลวงใหญ่และของตนเองมาถวายด้วย

“เคารพในชื่อเสียงในความเป็นมิตรอันสุจริตต่อประเทศฝรั่งเศส

รวมทั้งต่อบุคคลที่อยู่ในบังคับและในอารักขาฝรั่งเศส”

แม้ นายปาร์มองติเอร์ จะได้อ้างอิงว่าปราสาทพระวิหาร

เหมือน “อนุสาวรีย์ อีกแห่งหนึ่งของประเทศกัมพูชาของเรา”

เสด็จในกรมฯ ก็รับสั่งตอบว่า “พระองค์ท่านมาเยือนปราสาทพระวิหาร

โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด” ทั้งยังอ้างหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย

พระธิดาที่ตามเสด็จ และมาให้การต่อศาลโลกว่า สมเด็จฯ

ได้แนะให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสถอดเครื่องแบบออก และทรงเห็นว่า

การชักธงชาติฝรั่งเศสนั้น “เป็นการทะลึ่ง” การที่ทรงส่งรูปภาพให้

เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเพื่อส่งไปให้เจ้าหน้าที่เหล่านี้ก็เป็นเพียงการแสดง

ความเอื้อเฟื้อตามธรรมเนียมตะวันออก ไม่ได้มีความหมาย

อย่างที่ผู้พิพากษาฝ่ายข้างมากกล่าวอ้างแต่อย่างใด

ท่านผู้พิพากษา เวลลิงตัน คู ยังเปรียบเทียบการใช้อำนาจอธิปไตย

เหนือปราสาทจริง ๆ ของทั้ง 2 ประเทศ แล้วพบว่ากัมพูชาแสดงหลักฐาน

ได้เพียงการเดินทางตรวจราชการเป็นครั้งคราวของผู้ว่าราชการกัมปงทม

และคณะทูตประเทศต่าง ๆ และการประกาศขึ้นทะเบียนปราสาท

เป็นโบราณสถานเท่านั้น ขณะที่ไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหาร

ชัดเจนกว่ามาก เช่น การสร้าง-ซ่อมถนนไปเขาพระวิหาร การเก็บภาษี

การออกใบอนุญาตตัดไม้ การทำบัญชีโบราณสถาน การเยือนปราสาท

ของคนสำคัญ ๆ การที่ผู้พิพากษาข้างมากเห็นว่าเป็นการกระทำเจ้าหน้าที่

ท้องถิ่นก็ไม่จริง เพราะผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการระดับสูง

ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ไทยเอง อาทิ

สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ก็เคยเสด็จเยือนปราสาท และถวายรายงานให้พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วย

ในท้ายที่สุดท่าน ผู้พิพากษา คู ก็สรุปว่า “หลักกฎหมายโรมันที่ว่า

“ใครที่นิ่ง จะถูกถือว่ายินยอม ถ้าเขาต้องและอาจจะพูดได้”

นำมาใช้ในคดีนี้มิได้ เพราะไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยในความเป็นจริง

เหนือปราสาทพระวิหารมาตลอด

สำหรับท่าน เซอร์ เพอร์ซี่ สเปนเดอร์ (Sir Percy Spender) ชาวออสเตรเลีย

ก็ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายข้างมาก ท่านผู้นี้เห็นว่า การกำหนดเขตแดน

ต้องเป็นไปตามหลักการในสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1904 คือในบริเวณเทือกเขา

ดงรัก ต้องใช้ สันปันน้ำ และจากการตรวจสอบรายงานการประชุมของ

คณะกรรมการผสม เซอร์สเปนเดอร์ เห็นว่า คณะกรรมการไม่ได้แก้ไข

เส้นสันปันน้ำใด ๆ เลย และการทำแผนที่ผนวก 1 เป็นความผิดพลาดที่กำหนด

ที่ตั้งผิดๆ ของแม่น้ำโอตาเซม โดย ศาสตราจารย์สเกเมอฮอร์น )

(Prof.Schermerhorn) ให้การโดยได้รับการยืนยันจากผู้ช่วย

คือนายอัครมาน (Mr. Ackermann) ซึ่ง ศ.สเกเมอฮอร์น

ได้แถลงไว้ในคำพยานว่า

“เห็นได้ชัดว่าเส้นเขตแดนตามที่แสดงไว้ในแผนที่ภาคผนวก 1 นั้น

ได้ลากขึ้นโดยการสร้างเส้นสันปันน้ำตามเส้นชั้นที่ได้แสดงไว้

การสร้างเส้นวิธีนี้เป็นการถูกต้องตามมูลฐานของเส้นชั้นที่ให้ไว้

อย่างไรก็ดี เนื่องจากข้อผิดพลาดเกี่ยวกับแม่น้ำโอตาเซม

เส้นสันปันน้ำจึงถูกเบนไปทางเหนืออย่างผิด ๆ ทำให้จัดวางภูเขาพนมตรัพ

ไว้ในดินแดนกัมพูชาโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ ทางใต้ของเส้นเขตแดนตามที่ลากไว้

ในแผนที่ภาคผนวก 1 การจัดวางเส้นสันปันน้ำผิดที่ไปทางเหนือนี้

บางจุดมีระยะถึง 2 กิโลเมตร ถ้าความผิดพลาดนี้ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

ในแผนที่ภาคผนวก 1 แล้ว เส้นสันปันน้ำซึ่งจัดทำขึ้นบนมูลฐานของเส้นชั้น

ที่ถูกต้องจะต้องตรงกับแผนที่ ไอ.ที.ซี. (อันเป็นแผนที่ของศูนย์การฝึก

ระหว่างประเทศที่เมืองเดลฟ์ท) ในกรณีเช่นนั้น สันปันน้ำจะผ่านเหนือ

ภูเขาพนมตรัพ และต่อจากนั้นไปตามขอบทางใต้ของเขาพระวิหารไปสู่

ตัวปราสาท” ดังนั้น เซอร์ สเปนเดอร์ จึงกล่าวว่า “เส้นสันปันน้ำที่แสดงไว้

ในภาคผนวก 1 ก็เลยถูกวางไว้เหนือขึ้นไปกว่าเส้นสันปันน้ำที่ถูกต้องอย่างมาก

จึงเป็นการให้ดินแดนแก่กัมพูชาโดยกัมพูชาไม่มีสิทธิ.....” นอกจากนั้น

คณะกรรมการผสมก็ไม่เคยยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อย่างใด

ยิ่งกว่านั้น เซอร์ เพอร์ซี่ สเปนเดอร์ ก็เห็นต่อไปว่า ศาลไม่อาจนำ

หลักกฎหมายเรื่องการ “รับเอา” “การยอมรับ” “การยอมรับโดยการนิ่งเฉย”

และ “การยอมรับนับถือ” มาใช้ในคดีนี้ได้

น่าเสียดายที่ความเห็นแย้งของผู้พิพากษา 3 ท่านนี้เป็นความเห็นข้างน้อย

ในขณะที่ผู้พิพากษาอีก 9 คนเห็นว่าปราสาทเป็นของกัมพูชา

คือ นายโบดาน วินิอาร์สกิ (Bohdan Winirski) ประธานศาลชาวโปแลนด์

นายริคาร์โด อัลฟาโร (Ricardo Alfaro) รองประธานชาวปานามา

นายจูลส์ บาเดอวอง (Jules Basdevant) ชาวฝรั่งเศส นายอับดุล บาดาวี

(Abdul Badawi) ชาวอียิปต์ เซอร์เจอรัลด์ ฟิตซ์มอริส

(Sir Gerald Fitzmaurice) ชาวอังกฤษ นายวลาดิเมียร์ คอเรตสกี

(Vladimir Koretsky) ชาวรัสเซีย นายโคทาโระ ทานากะ (Kotaro Tanaka)

ชาวญี่ปุ่น นายโฮเซ่ บุสตามันเต อี ริเบโร (Jos Bustamante)

ชาวเปรู นายเกตาโน มอเรลลี (Gaetano Morelli) ชาวอิลาเลียน

นายฌอน สปีโรปูรอส (Jean Spiropoulos) ชาวกรีก

ซึ่งไม่ได้ตัดสินคดีเพราะป่วย เหมือน ๆ กับนายโรแบร์โต คอร์โดวา

ชาวเม็กซิโก (Roberto Cordova) ซึ่งป่วยเช่นกัน

*************

เมื่อศาลโลกตัดสินเช่นนี้ คณะรัฐมนตรีไทยก็เรียกประชุมด่วน

และมีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา

โดยให้ทำตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอวิธีที่ 2 ว่า ’กำหนดเป็นรูปพื้นที่

สี่เหลี่ยมผืนผ้าครอบปราสาทพระวิหาร มีแนวเขตจากปีกขวาของตัวปราสาท

พระวิหารตั้งแต่ช่องบันไดหัก (ช่องบันไดหักอยู่ภายในบริเวณปราสาท

พระวิหาร) ลากเส้นตรงผ่านชิดบันไดนาคตรงไปจนถึงตัวปราสาทพระวิหาร

แล้วลากเส้นตรงขนานกับตัวปราสาทพระวิหารไปสุดที่หน้าผาชั้นด้านหลัง

ปราสาทพระวิหาร จะเป็นเนื้อที่ปราสาทพระวิหารประมาณ ตารางกิโลเมตร“

และคณะรัฐมนตรีให้จัดทำป้ายแสดงเขตและเพิ่มการทำรั้วลวดหนามด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2505 เราก็ยกเสาธงของเรา

ออกจากพื้นที่ และกองกำลังทหารตำรวจออกมาจากปราสาท

นอกจากนั้น ไทยก็ได้ทำหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

(นายถนัด คอมันตร์) ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 มีความว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร

ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียว

ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1959 (พ.ศ.2502) และซึ่งศาล

ได้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1962 (พ.ศ. 2505)

ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร

“ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1962 (พ.ศ. 2505)

รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศต่อประชาชน

แสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น

โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อ

ข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ.1904

(พ.ศ.2447) และ ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) และขัดต่อหลักกฎหมาย

และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิก

สหประ ชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณี

ที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์

ตามข้อ 94 ของกฎบัตร

“ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษา

ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น

รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้ง

เกี่ยวกับสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต

เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่

หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษา

ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

“ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ

พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ ให้สมาชิกทั้งปวง

ขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย”

เรื่องดังกล่าวข้างต้นนั้น ไทยเราได้นำมาอ้างว่าได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา

ศาลโลกแล้ว และกัมพูชาก็ไม่ได้ประท้วงในคำให้การ ซึ่งเป็นข้อสังเกต

ที่เรายื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาล เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2554 (ค.ศ.2011)

เพื่อตอบคำขอตีความของกัมพูชาว่า

“..........คณะรัฐมนตรีไทยได้กำหนดพื้นที่ที่กองกำลังของไทย

ต้องถอนออกบนพื้นฐานของคำพิพากษาของศาล และภายหลัง

การถอนกำลัง ได้มีการก่อสร้างรั้วลวดหนามเพื่อหมายพื้นที่ที่กองกำลังไทย

ได้ถูกกันออกแล้ว และจะต้องอยู่ภายนอกในอนาคต พื้นที่ที่ล้อม

ด้วยรั้วลวดหนามมีป้ายระบุว่า “BEYOND THIS POINT LIES THE VICINITY

OF THE TEMPLE OF PHRA VIHARN” (พ้นจากจุดนี้เป็นบริเวณใกล้เคียง

ปราสาทพระวิหาร) และมีป้ายด้านที่หันหน้าเข้าไปทางตัวปราสาท

ซึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแก่ชาวกัมพูชา ทุกคนที่อยู่ที่ปราสาท

อ่านว่า “LES ENVIRONS DU TEMPLE DE PHRA VIHARN NE S’ETENDENT

PAS AU DELA CETTE LIMITE” (บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร

ไม่ขยายออกเกินกว่าขอบเขตนี้)

กัมพูชาตระหนักดีถึงการดำเนินการเหล่านี้ของประเทศไทย

กัมพูชาคัดค้านการตั้งข้อสงวนในหนังสือของประเทศไทย

ลงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ.1962 ถึงสหประชาชาติเกี่ยวกับการได้ปราสาท

กลับคืนมาในที่สุด และมองว่าสิ่งนี้ในตัวของมันเองเป็นการไม่ปฏิบัติ

ตามคำพิพากษาปี ค.ศ.1962 รั้วลวดหนามนั้น สมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ได้พิจารณาเมื่อปี ค.ศ.1963 เห็นว่าเป็นการรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของกัมพูชา

แต่เพียงไม่กี่เมตรเท่านั้น และไม่คุ้มค่าที่จะร้องเรียน”

..................................

ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต



อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2556


Create Date : 14 พฤษภาคม 2556
Last Update : 14 พฤษภาคม 2556 14:39:32 น. 0 comments
Counter : 774 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ART19
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]





ความเสมอภาคที่แท้จริง คือ
การที่ทุกคนต้องมีหน้าที่
การทำหน้าที่ของตนเอง
จะเป็นสิ่งที่กำหนดว่า
เราควรได้รับอะไร แค่ไหน
Friends' blogs
[Add ART19's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.