|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ยุคต้นพุทธกาล ผู้ที่เข้ามาบวชยังมีน้อย
ยุคต้นพุทธกาล ผู้ที่เข้ามาบวชยังมีน้อย ผู้ที่มาบวชส่วนมากมาจาก 4 กลุ่มหลัก
กลุ่มแรก คือนักบวชที่ก่อนบวชฝึกสมาธิมามาก
กลุ่มที่สอง คือกษัตริย์และเหล่าเชื้อพระวงศ์ที่เป็นผู้นำแว่นแคว้นต่างๆ
กลุ่มที่สาม คือนักการเมืองและนักการทหารที่มีอำนาจค้ำจุนประเทศ
กลุ่มที่สี่ คือนักวิชาการที่เดินทางไปโต้วาทะได้ชัยชนะมาทั่วแผ่นดิน
เรื่องราวที่นำมาเทศน์ให้คน 4 กลุ่มนี้ฟัง จึงมักมีลักษณะโดดเด่นอยู่ 3 ประการ
คือ 1. เนื้อหามาก 2. เนื้อหายาก 3. ใช้เวลาแสดงธรรมมาก ซึ่งใช้เวลาสนทนาถามตอบ ก็ต้องโต้วาทะหักร้างเหตุผลกันยาวนาน กว่าจะจบเนื้อหา กว่าจะเกิดศรัทธา กว่าจะบรรลุธรรม ซึ่งความยาวของเนื้อหาก็เป็นไปตามภูมิปัญญาที่ได้รับการศึกษามาก่อนหน้าของผู้ฟัง เรื่องราวที่พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเนื้อหามากและเนื้อหายากนี้ ส่วนใหญ่เป็น "แม่บท" ที่ใช้วางรากฐานให้กับพุทธจักรและอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองไปด้วยกันทั้งด้านเศรษฐกิจและจิตใจ ส่วนใหญ่บันทึกอยู่ในพระไตรปิฎกส่วนของ "ทีฆนิกาย" และ "มัชฌิมนิกาย"
ซึ่งเนื้อหาธรรมะส่วนทีฆนิกายนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นแสดงธรรมเพื่อให้ชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปฟัง เพราะตอนนั้นเป็นช่วงบุกเบิกพระพุทธศาสนา ศาสนาพุทธยังไม่ได้รับความศรัทธาแพร่หลายไปยังหมู่ราษฎรหรือชาวบ้านทั่วไป
จวบจนกระทั่งต่อมาเมื่อมีพระภิกษุที่เป็นลูกชาวบ้านเข้ามาบวชเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื้อหาธรรมะที่สั้นกระชับ จำง่าย เข้าใจง่าย ปฏิบัติตามได้ทันที พระบรมศาสดาจึงค่อยนำมาแสดงธรรม
เนื้อหาธรรมะส่วนนี้จะไม่ยาวมากและจะถูกแสดงออกมาเป็นหัวข้อสั้นๆ กระชับไม่ซับซ้อน ใช้เวลาแสดงธรรมไม่มากก็จบลงอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็ทรงให้กำลังใจและสอนให้พระภิกษุเหล่านั้นลงมือปฏิบัติธรรม
เนื้อหาที่สั้นกระชับเป็นข้อๆ นี้ถูกจัดอยู่ในพระไตรปิฎกส่วนที่เรียกว่า "อังคุตตรนิกาย" และ "ขุททกนิกาย"
หัวข้อเรื่อง ปริมาณเนื้อหา ลักษณะคำสอน และวิธีการสอนของยุคต้นพุทธกาลและยุคท้ายพุทธกาลนี้ เป็นข้อเตือนใจว่า
การบุกเบิกศรัทธาต้องชนะใจคนทั้งสองกลุ่ม
1. ชนะใจคนกลุ่มบนเพื่อสร้างผู้นำศรัทธาและความปลอดภัยให้พระศาสนา
2. ชนะใจชาวบ้านเพื่อขยายศรัทธา สร้างผู้สืบทอดศาสนา และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว
ถ้าขาดความเข้าใจในเรื่องนี้เมื่อใด ก็จะเกิดปัญหาตามมาทันที
1. เอาใจคนกลุ่มบนละทิ้งชาวบ้าน ก็กลายเป็นศาสนาของชนชั้นสูง มีแต่ผู้นำไม่มีผู้สืบทอด วันหนึ่งก็ต้องเจอปัญหา พระพุทธศาสนาขาดผู้สืบทอด
2. เอาใจชาวบ้านละทิ้งคนกลุ่มบน ก็กลายเป็นศาสนาของชาวบ้าน มีแต่ผู้สืบทอดไม่มีผู้นำ วันหนึ่งก็ต้องเจอปัญหาเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
พระบรมศาสดาทรงมองเรื่องนี้ทะลุปรุโปร่ง พระธรรมเทศนาของพระองค์จึงมีทั้งบทสั้นบทยาว เอาไว้ชนะใจทั้งผู้นำและชาวบ้านที่มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
"ชนะใจผู้นำเพื่อสร้างความมั่นคง ชนะใจชาวบ้านเพื่อสร้างความยืนยาว"
นั่นคือสื่งที่เราต้องเข้าใจว่าทำไมพระนักวิชาการกับพระลูกชาวบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน และขาดแคลนไม่ได้ทั้งคู่
เพราะหากคู่นี้ประสานงานกันสร้างศรัทธาทั้งกลุ่มผู้นำและกลุ่มชาวบ้านอย่างประสบความสำเร็จเมื่อใด ความปลอดภัยและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนาย่อมเจริญงอกงามขึ้นในยุคนั้นทันที
ดังนั้น ไม่ว่าลูกผู้นำหรือลูกชาวบ้าน เมื่อบวชเข้ามาแล้วตั้งใจบวช ตั้งใจฝึกฝนอบรมตัวเองตามพระธรรมวินัย ก็จะสามารถสร้างความเจริญให้แก่พระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางไปทั่วโลกได้ดุจเดียวกัน
เพราะถ้อยคำของพระสัมมานั้นทรงคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นกรวดจากภูเขาลูกใด เป็นลูกหลานจากชนชั้นใด ย่อมสามารถ "เปลี่ยนกรวดให้เป็นเพชร" ได้ดุจเดียวกัน
1 มกราคม 2565 9.25 น. cr: Ptreetep Chinungkuro เฮดบล็อก เรือนเรไรญามี่... ภาพบีจีกุ๊กไก่...ของแต่งบล็อกโกฟี่แมว... กรอบแต่งบล็อกชมพร... ไอคอนเล็กๆ
Create Date : 03 มกราคม 2565 |
|
7 comments |
Last Update : 4 มกราคม 2565 14:01:18 น. |
Counter : 583 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: **mp5** 11 กุมภาพันธ์ 2565 9:36:36 น. |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- ❀จันทร์ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑✼ภาพหมู่พระธรรมยาตราที่วัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
- ❀ภาพ ณ วัดโบสถ์(บน) บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
- ❀ชมภาพ วัดโบสถ์(บน) ,วัดไผ่หูช้าง ,วัดนครอินทร์ ,วัดคลองขวาง จังหวัด นครปฐม - นนทบุรี
- ❃วันที่๒๒มีนาร่วมพัฒนาชุมชน วัดบ่อทอง ,วัดตาก้อง ,วัดรางกำหยาด ,วัดบัวแก้วเกษร ,วัดบ่อทอง จ.นครปฐม
- ✿ภาพชุดชุมชนร่วมพัฒนา วัดบัวแก้วเกษร ,วัดนาราภิรมย์ ,วัดบ่อทอง จ.นครปฐม, ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑
- ✿ภาพ ณ อนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐมวันศุกร์ที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ✿ภาพวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑วัดบัวแก้วเกษร ,วัดนาราภิรมย์ ,วัดบ่อทอง นครปฐม
- ✿ณ วัดตาก้อง ,วัดบางปลา ,วัดโฆษิตาราม ,วัดผาสุการาม ,วัดบางไผ่นารถ จังหวัดนครปฐม
- ✿ภาพวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ✾อ.บางเลน จ.นครปฐม
- ✿ภาพวันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ✾อ.บางเลน จ.นครปฐม
- ✿วันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ஐภาพถวายภัตตาหารพระธรรมยาตรา
- ◐วันเสาร์ที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ஐภาพพิธีจุดประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา
- ◑พิธีตักบาตร วันมาฆบูชา วันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ◐ภาพพิธีบูชาข้าวพระ วันมาฆบูชา วันพฤหัสบดีที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ◑↔ถวายภัตตาหารพระธรรมยาตรา วันจันทร์ที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ อนุสรณ์สถานบางปลา
- ◑↔วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ✤ บิณฑบาต โปรดญาติโยม บริเวณ วัดไผ่หูช้าง ,วัดคลองขวาง จังหวัด นครปฐม
- ◑↔ภาพวันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ◑↔วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑☆พิธีโปรยกลีบดอกเบญจทรัพย์
- ❀ภาพวันจันทร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- ✿คณะสงฆ์ พระธรรมยาตรา ทำนุบำรุงศาสนสถานร่วมกับชุมชน★จันทร์ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
- BlogGang.com
|
|
|
|
ขอบคุณมากสำหรับข้อมูล
ของศาสนาพุทธ ที่แสดงให้เห็น
ถึงพระอัจฉริยภาพของพระพุทธ
องค์ในการสั่งสอนและเผยแผ่
พระพุทธศาสนา ค่ะ
"ชนะใจผู้นำเพื่อสร้างความมั่นคง ชนะใจชาวบ้านเพื่อสร้างความยืนยาว" ครูชอบประโยคนี้
มาก ค่ะ แต่ปัจจุบัน ศาสนาพุทธ
ของเรา กำลังสั่นคลอน ทำอย่าง
ไร จึงจะพ้นวิกฤตนี้ไปได้ เป็นสิ่งที่เราจะต้องช่วยกันหาทาง ค่ะ
โหวดหมวด ข้อคิดและธรรมะ