" การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจ กว่าการเป็นผู้รับ "
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
10 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
เสือทัสมาเนีย เสือที่สูญพันธุ์ จาก ออสเตรเลีย

เสือทัสมาเนีย (Tasmanian Tiger) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หมาป่าทัสมาเนีย หรือ (Tasmanian Wolf) ส่วนอีกชื่อหนึ่งนั้น ตามชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า Thylacine เสือตัวที่ว่านี้ทำให้โลกหันมาสนใจ เพราะเป็นสัตว์กินเนื้อที่หายากจนนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่าสูญพันธุ์หมดไปจากโลกนี้แล้ว แต่ก็มีข่าวคราวว่าพบเสือทัสมาเนียนี้กันบ่อยครั้ง ก็ไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จ เพราะไม่มีภาพถ่ายที่ยืนยันการพบปะกับเสือที่ว่านี้ได้ (ใครจะไปคิดว่าจะเจอหรือพกกล้องติดตัวไปด้วยตลอดเวลา) แต่ก็มีหลักฐานมากมายว่ามีการพบเสือที่ว่านี้บ่อยครั้งขึ้น หลายคนภาวนาให้เป็นอย่างนั้น เมื่อ พ.ศ.2538 มีเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ของทัสมาเนียผู้หนึ่งพบร่องรอยของเสือชนิดนี้ ทางตะวันออกของทัสมาเนีย นับเป็นการค้นพบครั้งสำคัญก็ว่าได้






เสือแทสเมเนีย? (Tasmanian Tiger หรือ Thylacine) หรือเสือในร่างของสุนัขนี้ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Thylacinus cynocephalus เป็นทั้งสัตว์กินเนื้อหรือสัตว์นักล่าในกลุ่มสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง (carnivorous marsupial) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกยุคใหม่ในถิ่นออสเตรเลียและนิวกินี และยังเป็นสัตว์ชนิดสุดท้ายในสกุล Thylacinus ที่อยู่มาได้ยาวนานสูญพันธุ์ช้ากว่าผองเพื่อนชนิดอื่นๆในสกุลเดียวกัน ที่สูญหายไปนานหลายล้านปีแล้ว โดยเจ้าเสือแทสเมเนียตัวสุดท้ายเพิ่งตายไปในปี 1936 นี่เอง แม้ว่าจะสูญหายไปจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลียไปเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน




อ้างอิงจาก //www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=6004


เสือตัวที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายๆกับ สุนัขในบ้านเรา แต่มีฟันหน้าที่แหลมคม นอกจากนั้นลำตัวและหางของเสือประเภทนี้มีลักษณะคล้ายๆกับจิงโจ้ บางครั้งมันยืนด้วยสองขาหลังเหมือนจิงโจ้ด้วย เสือทัสมาเนียที่ชาวออสเตเลียเคยเห็นเป็นขนปุยลายทางสีน้ำตาลอ่อน มีสีดำสลับที่สันหลังค่อนไปทางก้น




เล่ากันว่าเสือประเภทนี้โดยนิสัยไม่ ค่อยวิ่ง เนื่องจากไม่ใช่สัตว์ประเภทวิ่งเร็วเหมือนกับสัตว์กินเนื้ออื่นๆ การจับเหยื่อของมันเป็นอาหาร ก็ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าเหยื่อเหมือนเสืออื่นๆ แต่มันจะค่อยๆทำให้เหยื่อเหนื่อยหรืออ่อนล้า โดยการตามไปเรื่อยๆ ก่อนจะจับกินเป็นอาหาร โดยเสือทัสมาเนียอย่างที่ว่านี้จะชอบกินอวัยวะของเหยื่อสัตว์ต่างๆ ตั้งแต่สัตว์ใหญ่อย่าง วอลลาบี จิงโจ้ ไปจนถึงแบนดีคู้ต หนู และนก ของโปรดจากอวัยวะของสัตว์เหล่านั้นได้แก่ คอ จมูก ตัว และไต หลายคนสงสัยว่าเสือที่ว่าเห่าหอนอะไรบ้างหรือเปล่า นักสัตวศาสตร์ก็บอกว่ามันไม่ค่อยเห่าหอนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบ้างในบางครั้ง แต่ก็นานๆทีว่างั้นเหอะ







ลักษณะทางกายภาพของสัตว์ประเภทนี้ ว่ากันว่าเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 35 กก. ลำตัวยาวประมาณเมตรครึ่ง อายุขัยของมันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีตัวหนึ่งที่เคยอยู่ในสวนสัตว์ลอนดอนมีอายุถึง 10 ปี ส่วนตัวที่อยู่ทัสมาเนียมีอายุถึง 12 ปี มีการพบเห็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเสือทัสมาเนียครั้งสุดท้าย ในเวสต์ออสเตเลีย บนแผ่นดินใหญ่ แต่พบเป็นฟอสซิล หรือซากศพที่ติดอยู่ในหินอายุประมาณ 3,100 ปี






สำหรับสาเหตุที่ทำให้เสือทัสมาเนียสูญ พันธุ์อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ประการที่เห็นชัดๆได้แก่การที่ผู้คนไม่ใส่ใจจะอนุรักษ์สัตว์ประเภทนี้ไว้ก็ ได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจเกิดมาจากโรคระบาด หรือเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้มันเสียชีวิต บางส่วนก็เข้าใจว่าอาจเป็นเพราะถูกล่า เนื่องจากเสือเหล่านี้เข้าไปกัดกินแกะของชาวไร่ ชาวนา ปัจจุบันถ้าอยากเห็นหนังเสือและเสือเป็นตัวๆ (ตายแล้ว) ก็เข้าไปดูได้ที่ Tasmanian Museum and Art Gallery ที่ Hobart เมืองหลวงของรัฐซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ ที่นั่นท่านจะเห็นสัตว์พื้นเมืองต่างๆของออสเตเลีย






ดั้งเดิมจริงๆเสือชนิดนี้แพร่ พันธุ์ทั่วไปในนิวกีนีและทัสมาเนียเมื่อ 4,000 ปีก่อน เสือที่ว่านี้ค่อยๆหายไปจากนิวกีนีและออสเตเลีย พร้อมๆกับการแพร่พันธุ์ของสุนัขดิงโก้ และหมาป่า แต่โชคดีที่หมาที่ว่านี้ไม่แพร่พันธุ์เข้ามาทัสมาเนีย เพราะทัสมาเนียเป็นเกาะมีน้ำคั่นกลาง หมาดิงโก้คงว่ายน้ำข้ามมาไม่ได้ เพราะช่องแคบบาสส์ (Bass Strait) นั้นกว้างถึง 200 กม. เลยทำให้เสือยืดอายุมาได้นานกว่าที่อื่นๆในออสเตเลีย




อีกกระแสหนึ่งบอกว่า เมื่อชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ๆนั้น เสือทัสมาเนียก็เริ่มหดหายไป เนื่องจากพวกที่เข้ามาใหม่นั้นนำแกะเข้ามาเลี้ยง เมื่อปี พ.ศ.2376 โดยบริษัท Van Diemens Land Co. ให้ค่าหัวในการล่าเสือทัสมาเนีย ต่อมารัฐบาลสั่งห้ามการล่าดังกล่าวเสีย แต่กว่าจะหยุดได้ก็ทำให้เสือดังกล่าวหายากมาก ตาม บันทึกบอกว่าเสือทัสมาเนียตัวสุดท้ายของโลกตายในสวนสัตว์โฮบาร์ต ทัสมาเนีย เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ.2479 และในปีนี้เองรัฐบาลประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการของเสือชนิดนี้



เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวครึกโครมออกไป ทั่วโลกว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีชุบชีวิตเสือดังกล่าวได้แล้วโดย ดร.ไมค์ อาร์เชอร์ (Mike Archer) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ออสเตเลียน ออกมาแถลงว่ามีแผนที่จะทำโคลนนิ่งเสือชนิดนี้ โดยนำเอาเซลล์ของเสือที่ดองแอลกอฮอล์ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2409 มาสกัด DNA นักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ยืนยันว่าทำได้แน่ๆ ในเร็วๆนี้....




Last Tasmanian Tiger, Thylacine, 1933










ขอขอบคุณที่มาจาก jabchai นะคะ ^^
-----------------------------------------------------------------------------

การกลับมาอีกครั้งของเสือทัสมาเนีย

เป็น ครั้งแรกที่ดีเอ็นเอจากทัสมาเนียนไทเกอร์ สัตว์สูญพันธุ์ของประเทศออสเตรเลียได้กลับคืนชีพมาอีกครั้งเมื่อสารพันธุ กรรมของมันแสดงหน้าที่ให้เห็นในตัวอ่อนของหนู ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ได้สกัดดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตหลายสายพันธุ์ ตั้งแต่แบคทีเรีย ต้นไม้ ไปจนถึงแมมมอธ และมนุษย์นีแอนเดอธัล สารพันธุกรรมนั้นถูกนำไปเพาะในห้องปฏิบัติการ แต่ก็ไม่สามารถตรวจสอบบทบาทของดีเอ็นเอต่อการพัฒนาได้ จึงนับว่าเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากที่สามารถตรวจสอบยีนจากตัวอย่างชิ้นส่วน ที่มีอายุเก่าแก่ได้ และดีเอ็นเอที่สมบูรณ์ก็เป็นสิ่งที่น่าทึ่งมากด้วย









“ทัสมาเนียนไทเกอร์” หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “ไธลาซีน” เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดที่มีกระเป๋าหน้าท้อง ถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปจากป่าเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 โดยตัวสุดท้ายตายในปี 1936 ที่สวนสัตว์โฮบาร์ท เกาะแทสมาเนีย แต่ก็นับว่ายังโชคดีที่มีทัสมาเนียนไทเกอร์มากมายได้รับการรักษาไว้ในเอทานอ ลในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งทั่วโลกในรูปของเนื้อเยื่อของตัวเต็มวัย เช่น หนังสัตว์



ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศได้สกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างของทัสมาเนียนไท เกอร์ที่มีอายุ 100 ปีจากพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียในเมลเบริ์น จากนั้นได้นำสารพันธุกรรมใส่เข้าไปในตัวอ่อนของหนูแล้วตรวจดูการทำงานของมัน พบว่าชิ้นส่วนเล็กๆของดีเอ็นเอของมันทำ หน้าที่คล้ายกับยีน Col2a1 ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนากระดูกอ่อนในหนูก่อนที่จะเจริญเป็นกระดูกต่อ ไป

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส (University of Texas) ริชาร์ด เบริงเงอร์ (Richard Behringer) กล่าวว่า งาน วิจัยนี้มีประโยชน์มากต่อการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น การพัฒนายาชีวภาพชนิดใหม่ และความเข้าใจทางชีววิทยาที่ดีขึ้นของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

“เมื่อสัตว์สูญพันธุ์มีมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็เสียความรู้ทางด้านการทำงานของยีนและศักยภาพของมันไปด้วยเช่นกัน” แอนดรูว์ พาส์ค (Andrew Pask) นักวิจัยด้านชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยเมลเบริ์น (University of Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย กล่าว แม้ ว่ายีนที่ได้จากสัตว์ที่ตายแล้วจะทำงานได้อีกครั้งแต่ก็ไม่ทำให้สัตว์นั้น กลับมามีชีวิตใหม่ได้ แต่มันช่วยให้ความรู้ต่างๆที่หายไปกลับคืนมา


ที่มาจาก
//news.xinhuanet.com/english/2008-05/20/content_8215437.htm

ภาพประกอบจาก //www.abc.net.au/







Create Date : 10 กันยายน 2553
Last Update : 10 กันยายน 2553 8:30:21 น. 3 comments
Counter : 6023 Pageviews.

 
แปลกจังครับ


โดย: ธนเดช IP: 58.137.45.50 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:10:00:11 น.  

 
เอาไปทำงาน(ขอบคุณค่ะ)


โดย: กานพลู IP: 101.51.3.25 วันที่: 22 กรกฎาคม 2554 เวลา:17:48:35 น.  

 
น่าสงสาร คนชอบทำร้ายธรรมชาติ


โดย: Tok IP: 27.55.107.82 วันที่: 10 พฤษภาคม 2559 เวลา:9:58:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




การเป็นผู้ให้ ย่อมสุขใจกว่าการเป็นผู้รับ : )
Friends' blogs
[Add อลิซ ในดินแดนไม่มหัศจรรย์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.