มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
27 มีนาคม 2556
 

อะไรๆ ก็ต้องมีเหตุผลรองรับ 100%

นิค หนุ่มสถาปัตย์ วัย 25 ปี ทายาทกิจการ SMEs แห่งหนึ่ง เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นใจตัวเองสูง เติบโตมากับระบบการเรียนสมัยใหม่ที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ พูดคุยหาข้อสรุปกันด้วยเหตุผล เขาเป็นหนุ่มไฟแรงตัวแทนของคน Generation Y ที่มีความคิดความอ่านและความฝันเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน

เมื่อ นิคจบมาใหม่ๆ นิคได้มีโอกาสทำงานในบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่เป็นระยะเวลา 3 ปี ก่อนที่จะตัดสินใจกลับมาช่วยพัฒนาธุรกิจครอบครัว ด้วยความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง นิคมักจะมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับการทำงานของคุณพ่ออย่างรุนแรง และในหลายๆครั้ง ก็มักจบด้วยการถกเถียงกันที่ไม่มีคำตอบใดๆ สร้างความขุ่นข้องหมองใจรอยร้าวเล็กๆระหว่างพ่อลูก รอยแล้วรอยเล่า

นิครู้ดีว่า การสื่อสารระหว่างเขากับพ่อ มีปัญหาบางอย่างที่ต้องรีบแก้ไข เขาจึงตัดสินใจติดต่อหา พี่หนุ่ม โค้ชผู้บริหารระดับสูงที่แบ่งเวลามาจัดกิจกรรมโค้ชราคาย่อมเยาว์ให้กับนักธุรกิจ SME อย่างสม่ำเสมอ จนบางครั้ง โค้ชฟรีให้เลยก็มี ทั้งสองนัดมาเจอกันที่ร้านกาแฟเจ้าประจำที่คุ้นเคยตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เมื่อทั้งสองพบกัน นิคไม่รีรอที่จะเล่าเรื่องราวความอึดอัดในใจให้พี่หนุ่มฟัง

นิค : พี่หนุ่ม ผมไม่รู้ว่าพ่อผม หรือผมกันแน่ที่มีปัญหา เรามักจะมีความคิดเห็นไม่ตรงกันเสมอ ไอ้ผมเนี้ย ก็รับได้นะ ถ้าเขาบอกเหตุผลว่า ทำไมเขาถึงคิดแบบนั้น คนเราก็มีสิทธิคิดไม่เหมือนกัน แต่ทุกครั้ง เวลามีความเห็นขัดแย้ง พ่อก็จะบอกแต่ว่า ผมผิด ผมผิด พี่ว่า ผมควรจะทำยังไงดี

พี่หนุ่ม : ใจเย็นๆ ไอ้น้อง เรามาทำความเข้าใจความคิดความอ่านของคนแต่ละ generation ที่ทำให้เกิด generation gap กันก่อนดีไหม

นิค : ดีครับพี่ ผมก็เคยได้ยินเหมือนกันว่า คนแต่ละยุคจะมีแนวคิดที่แตกต่างกัน สำหรับผมกับพ่อ พี่ว่า อะไรคือความแตกต่างที่ทำให้เกิดปัญหานี้ครับ

พี่หนุ่ม : คนยุคพ่อของนิคเนี้ย คือ ยุค Baby boom เขาเติบโตมากับการเรียนรู้ที่ถูกสอนให้ “รับฟัง” “ห้ามโต้เถียง” “มีอะไรต้องเก็บไว้ในใจ”

นิค : โห ต่างกับผมแยะเลย ผมถูกสอนมาให้แสดงความคิดเห็น กล้าถาม กล้าตอบ

พี่หนุ่ม ยิ้มอย่างเข้าใจรุ่นน้อง : แล้วเราคิดว่า ความแตกต่างนี้มีผลกับปัญหาในการสื่อสารอย่างไร

นิค : มันก็ทำให้ผมกับพ่อสื่อสารกับไม่รู้เรื่องไงพี่ เพราะผมชอบถามเพื่อหาทางออกร่วมกัน แต่พ่อผมก็ไม่ค่อยยอมตอบผมเท่าไหร่ ซึ่งทำให้ผมหงุดหงิดมาก มันจะยากอะไรหนักหนากับการอธิบาย ตอนนี้ผมเริ่มเข้าใจแล้วครับพี่ แต่ ทุกๆอย่างมันต้องมีเหตุผลรองรับนะพี่ ถ้าเขาไม่อธิบายผมจะรู้ได้ยังไง

พี่หนุ่ม : แล้วนิคจำเป็นต้องได้รับคำตอบที่มีเหตุผลรองรับ 100% ทุกๆครั้งเลยเหรอ

นิค : จำเป็นดิพี่ อะไรๆ ก็ต้องมีเหตุผลด้วยกันทั้งนั้นหล่ะ

เมื่อพี่หนุ่ม รับฟังคำตอบจากนิค แม้ว่าเขาจะรู้แล้ว ว่ารุ่นน้องคนนี้ เข้าใจความแตกต่างของ generation gap แล้ว แต่เขากลับยังไม่หยุดการโค้ช เพราะ เขาคิดว่า มีประเด็น “ความเชื่อ” บางอย่างของนิค ที่ดูไม่สมเหตุสมผล

พี่หนุ่ม : โอ้ว นิคมีความเชื่อว่า ทุกๆอย่างต้องมีเหตุผลรองรับ 100% เหรอ

นิค (ชายหนุ่มทำหน้างง กับคำถามของรุ่นพี่) : ใช่สิครับ ทำไมพี่ถามแปลกจัง

พี่หนุ่ม : พี่กำลังคิดว่า ความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลไปซะทุกอย่างนะ แม้ว่าความเชื่อนี้ จะเป็นตัวผลักดันให้ นิคประสบความสำเร็จในหลายๆเรื่องก็ตาม แต่บางครั้งก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพ หรือทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับการสื่อสารกับพ่อของนิคก็เป็นไปได้นะ

นิค: เป็นความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผลหรือครับ ???

พี่หนุ่ม : พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เราคงต้องมาพูดคุยเรื่องนี้กันโดยละเอียดอีกครั้ง แต่ในเบื้องต้นพี่ขอเช็คข้อมูลบางอย่างก่อนได้ไหม

นิค : ยินดีครับพี่ (นิครู้สึกดีใจ กับความหวังดีที่พี่หนุ่ม โค้ชผู้บริหารระดับสูงคนนี้ มองเห็นสิ่งที่ตัวเขาต้องปรับปรุงแก้ไข)

พี่หนุ่ม : เคยมีเหตุการณ์ไหนในชีวิตที่ทำให้นิคผิดพลาด หรือเกิดปัญหา เพราะ “ทุกอย่างต้องมีเหตุผลรองรับ 100%” ไหม นอกเหนือจากการสื่อสารกับพ่

นิค : อืมมมม ก็มีนะครับ เช่น ผมจะทะเลาะกับแฟนบ่อยๆ เพราะ ผมรู้สึกว่า แฟนผมไม่มีเหตุผล แล้วผมก็พยายามจะให้เขาบอกเหตุผลกับผมให้ได้ ... อ้อ มีอีกครั้งหนึ่งครับ ผมเถียงกับเจ้านายผมอย่างรุนแรง สมัยผมยังทำงานอยู่บริษัทเอกชน เพราะผมคิดว่าเจ้านายผมไม่มีเหตุผลในการคัดเลือกพนักงานเข้าร่วมโครงการอบรมผู้บริหารระดับต้น

พี่หนุ่ม : ดีมาก แสดงว่า นิค เริ่มเห็นปัญหาที่เกิดจากความเชื่อ “ทุกอย่างต้องมีเหตุผล 100%” แล้วหล่ะ แล้วตัวนิคเองอยากจะเปลี่ยนแปลงมันไหม

นิค : ผมสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้ได้ด้วยเหรอครับ ดีจริง แล้วผมต้องทำอย่างไรครับ

พี่หนุ่ม : กระบวนการโค้ชเพื่อเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เป็นเรื่องไม่ง่ายนะนิค แต่นิคเริ่มมาถูกทางแล้วหล่ะ นั่นก็คือ นิคเริ่มตระหนักว่า ความเชื่อนี้บั่นทอนศักยภาพการทำงานการใช้ชีวิตของตัวเอง จากนี้ไป เราต้องใช้เวลากันอีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อพูดคุยกันเรื่องนี้ แต่วันนี้พี่มีนัดในอีกครึ่งชั่วโมงข้างหน้า ไว้เรามานัดเจอกันอีกครั้งดีไหม

นิค : ดีครับ แล้วผมจะรอคอยการนัดหมายครั้งต่อไปจากพี่นะครับ อย่างน้อยวันนี้ ก็ทำให้ผมเข้าใจพ่อผมมากขึ้น และเริ่มรู้สึกว่า บางทีปัญหาอาจจะเกิดจากผมก็เป็นได้



Create Date : 27 มีนาคม 2556
Last Update : 27 มีนาคม 2556 1:06:43 น. 0 comments
Counter : 571 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ajarntik
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ได้รับทุนภูมิพล(ปริญญาตรี)
เศรษฐศาสตร์ มธ. (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
แล้วได้รับทุนจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ มธ.)
มีประสบการณ์สอน 15 ปี จากสถาบันกวดวิชาเดอะเบรน
และอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ก่อนจะผันตัวเองออกมาทำธุรกิจส่วนตัว พร้อมๆไปกับงานที่ปรึกษา
[Add ajarntik's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com