Lilypie First Birthday tickers Lilypie Kids Birthday tickers

มีคำถามกับโรคสุดฮิต : มือ เท้า ปาก จ้า ..

เอาข้อมูลของโรคระบาด สุดฮิตในหมู่วันรุ่น( อนุบาล) มาฝากค่ะ...

เพราะมีกระทู้เกี่ยวกับโรคนี้ที่ห้องชานเรือนเยอะมากค่ะ ..

อย่างวันก่อน..
น้ำใสขึ้นจุดแดงๆ ที่ มือ เท้า หลังมือ ..
เราก็ชิงคิดว่าเป็นโรคมือ เท้า ปาก ซะแล้วค่ะ ..
เพราะพี่บัวเลยเป็น เลยต้องระวังไว้ก่อนค่ะ .. แต่ไม่ใช่ ค่อยยังชั่วไปค่ะ

ท้าวความถึง ตอนที่พี่บัวเป็นโรคนี้ก่อนนะคะ..

ของพี่บัวตอนที่เป็นไม่มีไข้ค่ะ..
แต่สังเกตุว่ามีจุดแดงๆ ขึ้นที่ฝ่ามือ ..

ตอนแรกคิดว่าเป็นอีสุกอีใส แต่ดูตามแขนขาแล้วก็ไม่มีจุด...
เลยพลิกดูที่ฝ่าเท้าด้วย ก็มี เลย มั่นใจแล้วว่า มือเท้าปากแน่นอนค่ะ ..

แต่ของพี่บัวโชคยังดีค่ะ ที่ไม่ได้ขึ้นที่ปาก ..
ไม่งั้นคงทรมาน (ใจแม่) น่าดูค่ะ ..

ลักษณะของอาการตอนแรกจะเป็นแค่จุดแดงๆ นะคะ..
หลายๆ จุดแล้วค่อยพองเป็นตุ่มน้ำ .. เหมือนเป็นอีสุกอีใสค่ะ

แต่ต่างจากอีสุกอีใส ตรงที่ ...

" อีสุกอีใสขึ้นทั้งตัว ตั้งแต่หัวจรดเท้าค่ะ และมีไข้ ..

แต่มือ เท้า ปาก ขึ้นเฉพาะ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปากค่ะ ..
อ่านเจอจากบางเวบบอกว่า อาจจะ มีขึ้นที่หลังมือ หลังเท้าและก้นได้ค่ะ ..
และพบน้อยมากที่จะมีตุ่มน้ำขึ้นที่ตัวค่ะ หรืออาจจะไม่มีเลยค่ะ "


เด็กบางคนอาจจะมีไข้..
และ เด็กบางคนอาจจะไม่มีไข้ค่ะ ( ของพี่บัว ไม่มีไข้ค่ะ )

*** ถ้ามีไข้ และมีจุดแดงๆ ขึ้นที่ฝ่ามือ ให้รีบตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นโรคมือ เท้า ปาก ได้ก่อนเลยค่ะ ..



********** ข้อมูลเสริมที่รวบรวมมานะคะ *********

โรคมือ เท้า ปาก
เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ซึ่งอากาศมักเย็นและชื้น โดยทั่วไปโรคนี้มีอาการไม่รุนแรง

การแพร่ติดต่อของโรค
การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และอาจเกิดจากการไอจามรดกัน ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน จะพบเชื้อในอุจจาระได้ แต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า

อาการของโรค
หลังจากได้รับเชื้อ 3 - 6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปากและไม่ยอมทานอาหาร เนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส ซึ่งบริเวณรอบ ๆ จะอักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกออกเป็นแผลหลุมตื้น ๆ จะพบตุ่มหรือผื่น (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน

การรักษา
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ควรเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมาก ๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวดตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารและดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

การป้องกันโรค
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น

สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย หากพบเด็กป่วย ต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่น ๆ ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วันหรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราว (1-2 สัปดาห์) และทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยอาจใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน

ติดต่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง
ศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3333
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-3194

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
เว็บไซต์สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค //thaigcd.ddc.moph.go.th/eid_knowledge_Enterovirus.html
เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข //www.moph.go.th

แจ้งการระบาดของโรค
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค โทร. 0-2590-1882

//thaigcd.ddc.moph.go.th/EID_HFMD_knowhow_050218.html



************



โรคมือเท้าปาก (Hand-Foot-and-Mouth-Disease)
หรือโรคที่ติดปากกันทั่วไปว่า "โรคมือ เท้า ปาก เปื่อย" เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อ enterovirus มีลักษณะเฉพาะ คือ มีตุ่มน้ำใส (vesicular lesion) ที่ปาก มือ และเท้า


ประวัติความเป็นมา
พ.ศ. 2500 มีรายงานการระบาดของกลุ่มอาการไข้ ซึ่งพบร่วมกับตุ่มนํ้าใสในช่องปาก มือและเท้าในผู้ป่วยเด็กที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา โดยพบสาเหตุจากเชื้อ Coxsackie virus A16 (Cox A16)

พ.ศ. 2502 พบการระบาดของกลุ่มอาการเช่นเดียวกันในเมือง Bermingham ประเทศอังกฤษ และได้มีการเรียกกลุ่มอาการนี้ ว่า Hand-Foot-and Mouth Disease (HFMD) หลังจากนั้นมีรายงานการระบาดจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ระบาดวิทยา
โรค มือ เท้า ปาก มีการระบาดแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ในประเทศเขตหนาว มักพบในช่วงฤดูร้อน และต้นฤดูใบไม้ ร่วง ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม แต่ในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยพบได้ตลอด ทั้งปี แต่จะชุกในช่วงฤดูฝนและช่วงที่มีอากาศร้อนชื้น เชื้อที่พบเป็นสาเหตุของโรคมือ เท้า ปาก แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ และแต่ละการระบาด ส่วนใหญ่ที่พบเชื้อ Coxsackie virus A16, Enterovirus 71และ Echovirusแต่เชื้อที่พบในการระบาดแต่วผู้ป่วยมักมีอาการรุนแรง พบผู้เสียชีวิตและพิการตามมาได้บ่อยคือ Enterovirus 71 ในประเทศไทย โรคมือ เท้า ปาก มีสาเหตุจาก EV71 ประมาณร้อยละ 15-30 ซึ่งเชื้อ EV71 นั้นมี โอกาสก่อให้เกิดอาการรุนแรงในผู้ป่วย


การติดต่อ

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้ง่ายพอสมควร โดย การสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากจมูก , ลําคอ และนํ้าจากในตุ่มใส (respiratory route)อุจจาระของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ (fecal - oral route ) ช่วงที่แพร่กระจายมากที่สุด คือ ในสัปดาห์แรกที่ผู้ป่วยมีอาการ และจะยังแพร่เชื้อได้จนกว่ารอยโรคจะหายไป แต่ก็ยังพบเชื้อในอุจจาระผู้ป่วยต่อได้อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เชื้อเอนเทอโรไวรัสสามารถทนสภาวะกรดในทางเดินอาหารมนุษย์ได้ และมีชีวิตอยู่ในอุณหภูมิห้องได้ 2-3 วัน โรคนี้ไม่สามารถติดติอจากคนสู่สัตว์ หรือจากสัตว์สู่คนได้


พยาธิวิทยา

โรค มือ เท้า ปาก เป็นหนึ่งในกลุ่มอาการซึ่งเกิดจากเชื้อกลุ่ม enterovirus ซึ่งอยู่สายพันธุ์ ของ T6N picornavirus เชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดโดยทั่วไป คือ coxsackie A16 รองลงมาคือ enterovirus 71 มักพบในการระบาด ส่วนในรายที่พบประปราย พบสาเหตุจากเชื้อหลายชนิด ได้แก่ coxsackie virus A4-10, B2 และ B5


อาการและอาการแสดง
อาการเริ่มต้น คือ มักเป็นไข้ที่ไม่มีอาการอะไรในช่วงแรก โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-6 วัน มักจะเริ่มจากการมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 38-39 องศา และมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ระยะนี้จะมีระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน จากนั้นจะเริ่มมีอาการเจ็บปาก ตรวจร่างกายจะพบมีรอยโรคในบริเวณปาก มือ และเท้าตามมา อาการแสดงที่พบ มักจะมีอาการแสดงในหลายระบบ เช่น

1) ระบบทางเดินหายใจ อาจมีอาการเหมือนไข้หวัด ไอ มีน้ำมูกใส เจ็บคอ
2) ทางผิวหนัง
3) ทางระบบประสาท เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง หรือเนื้อสมองอักเสบ
4) ทางระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำเล็กน้อย ปวดหัว อาเจียน
5) ทางตา มักพบเยื่อบุตาอักเสบ (chemosis and conjuntivitis) และ
6) ทางหัวใจ เช่นสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า อาการอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการที่พบบ่อยเช่น


รอยโรคบริเวณปาก

พบในผู้ป่วยทั้งหมด มีรอยโรคจํานวน 5-10 แห่ง พบได้ทุกบริเวณในปากแต่ที่พบได้บ่อย คือ เพดานปาก ลิ้น และเยื่อบุกระพุ้งแก้ม รอยโรคระยะเริ่มต้น ลักษณะเป็นรอยสีแดง อาจนูนเล็กน้อย ขนาด 2-8 มิลลิเมตร จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มนํ้าสีเทาขนาดเล็กขอบแดง ช่วงที่รอยโรคเป็นตุ่มนํ้าจะสั้น จึงมักตรวจไม่พบ รอยโรคในระยะนี้ แต่ก็มักพบลักษณะเป็นแผลตื้นๆ สีเหลืองถึงเทาของแดง ซึ่งอาจจะมารวมกันเป็นรอยโรคใหญ่ได้




รอยโรคที่ผิวหนัง
อาจเกิดขึ้นพร้อมรอยโรคที่ปาก หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย จํานวนตั้งแต่ 2-3 แห่งไปจนถึง 100 แห่ง พบ ที่มือบ่อยกว่าเท้า ลักษณะเป็นรอยแดงๆ อาจนูนเล็กน้อยขนาด 2-10 มิลลิเมตร ตรงกลางสีเทา บางรอยโรคมี ลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสขอบแดง มีกระจายขนานไปกับแนวของผิวหนัง อาจเจ็บหรือไม่ก็ได้ หลังจากนั้น 2-3 วัน จะค่อยๆเริ่มตกสะเก็ด และค่อยๆ หายไปภายใน 7-10 วัน โดยทิ้งรอยแผลเป็นให้เห็น บริเวณอื่นๆ ที่อาจพบรอยโรคได้ เช่นกัน คือ ก้น แขน ขา และอวัยวะสืบพันธุ์ ในเด็กทารกอาจพบกระจายทั่วตัวได้



ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย
โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก จัดว่ามีอาการน้อย โดยมากมักมีเพียงไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว และเจ็บปาก แต่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ็อนที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ enterovirus 71 ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แบ่งเป็น

ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
1.1 ก้านสมองอักเสบ (brainstem encephalitis)
1.2 สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningoencephalitis)
1.3 เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ใช้การติดเชื้อแบคทีเรีย (aseptic meningitis)
1.4 กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ (poliomyelitis like paralysis)

ภาวะแทรกซ้อนระบบปอด เช่น ปอดอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีไข้นำมาก่อนประมาณ 3-6 วัน โดยมักไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว และมักมีอาการทางระบบ ประสาทนำมาก่อน ต่อมามีอาการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และมีปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคมือเท้าปากโดยทั่วไปใช้อาการและอาการแสดงเป็นสําคัญ (clinical diagnosis) โดย ตรวจร่างกายพบรอยโรคจําเพาะที่บริเวณมือ เท้า ปาก ร่วมกับมีไข้ การส่งตรวจรอยโรคที่ผิวหนังโดยวิธีทางพยาธิวิทยาจะพบเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil และ lymphocyte เพิ่มขึ้น แต่ จะไม่พบ multinucleated giant cell หรือ inclusion body สำหรับในกรณีที่ต้องการทราบชนิดของเชื้อไวรัสที่ก่อโรค สามารถทำได้โดยการแยกเชื้อไวรัส หรือตรวจ ร่องรอยการติดเชื้อจากนํ้าเหลือง สําหรับประเทศไทยใช้วิธี micro-neutralization ส่วนการส่งตรวจอื่นที่ส่งได้คือ

การส่ง throat swab โดยส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ค่าส่งตรวจประมาณ 900 บาท/specimen
การเก็บอุจจาระ (stool) ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เช่นเดียวกัน เพื่อตรวจด้วยการเพาะเชื้อหรือ serology
การส่งน้ำไขสันหลัง (CSF) ตรวจทาง serology, PCR technique

การรักษา
โรคมือ เท้า และปาก หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน การรักษาจึงเป็นเพียงการประคับประคองและบรรเทาอาการ โดยเฉพาะการลดไข้ และลดอาการเจ็บปวด จากแผลในปาก โดยอาจใช้ยาชาป้ายบริเวณที่เป็นแผลก่อนรับประทานอาหาร ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนให้รักษาตามอาการเป็นส่วนใหญ่ หลังจากการติดเชื้อผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรค แต่อาจเกิดโรคมือ เท้า ปาก ซ้ำได้จาก enterovirus ตัวอื่นๆควรแนะนําผู้ปกครองสังเกตอาการที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียนบ่อยๆ ไม่ยอมรับประทานอาหารและนํ้า ซึ่งควรพาบุตรหลานมาพบแพทย์


การป้องกัน
ที่สำคัญที่สุดคือการแยกผู้ป่วยที่เป็นโรคออกจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน สถานเลี้ยงเด็ก โดยเน้น contact isolation เป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

แยกเด็กป่วยไม่ให้ร่วมกิจกรรมกับเด็กอื่น เช่น ว่ายนํ้าไปโรงเรียน ใช้สนามเด็กเล่น เป็นเวลา 1 สัปดาห์
ผู้ดูแลเด็กหมั่นล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือ สัมผัสกับน้ำมูก และนํ้าลายของเด็ก
ทําความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื่อนเชื้อ ด้วยนํ้ายาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
มีรายงานในโกปกติที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ อาจมีเชื้อในอุจจาระได้ 6-12 สัปดาห์


Reference


Theokiss Z, Joel DK. Enterovirus infection. Pediatrics in Review 1998;19:183-91.
Jennifer CH, Antoinette FH. Hand-food-and-mouth disease. In: Freedberg IM, Eisen AZ, editors.Fitzpatrick’s Dermatology in General Medicine. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 1999. p. 2403-7.
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดเชื้อ. “ข่าวที่น่าสนใจ โรคมือ เท้า และปากเปื่อย”
(//www.cdcnet.moph.go.th/cdcweb/hotnews/gcd/html).

-------------------------------------------------------------------------

อ.นพ. อุเทน ปานดี, อ.นพ.ศักดา อาจองค์
งานวิชากุมารเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

//ramacme.ra.mahidol.ac.th/?q=node/45



*******และจากที่รวมๆ ไว้และตอบลงในกระทู้นะคะ *******


โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Syndromes)
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคน จึงถูกตั้งชื่อว่า เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ซึ่งเจ้าไวรัสชนิดนี้จะถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ และสามารถแพร่กระจายไปสู่คนอีกคนหนึ่งได้โดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่มาจากอุจจาระ ส่วนสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสนี้ได้

สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัสนี้มีหลายกลุ่มมาก เช่น เอคโคไวรัส (Echovirus) และค็อกแซคกี้ไวรัส (Coxsackie virus) ซึ่งค็อกแซคกี้ไวรัสนี้เองที่ทำให้เกิดโรคมือ ปาก เท้า และแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่ม A และ B โดยเชื้อที่แสดงอาการโรคมือ ปาก เท้า นี้อยู่ในค็อกแซคกี้ไวรัสกลุ่ม A 16 ค่ะ
ที่สำคัญเด็กจะมีความเสี่ยงสูงที่สุดเพราะมักจะไม่สามารถรักษาความสะอาดส่วนตัวได้ดี เด็กจึงมักแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กอื่นๆ ได้ง่าย (อุจจาระ-ผิวหนัง-มือ-ใส่ปาก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อยู่รวมกันมากๆ อย่างโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก

นอกจากเชื้อค็อกแซคกี้ไวรัส A16 แล้วยังพบว่าเชื้อเอนเทอโรไวรัส A17 ยังเป็นสาเหตุของโรคนี้อีกด้วย แต่มักทำให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่า อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบอัมพาต แต่ในประเทศไทยยังไม่พบรายงานว่ามีเชื้อเอนเทอโรไวรัส A17 นี้แต่อย่างใดค่ะ

จาก ...
//www.tataya.com/school/hand_foot_mouth.htm



**********

ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย

โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก จัดว่ามีอาการน้อย โดยมากมักมีเพียงไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว และเจ็บปาก แต่ ในผู้ป่วยบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะจากการติดเชื้อ enterovirus 71 ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แบ่งเป็น

ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท
1.1 ก้านสมองอักเสบ (brainstem encephalitis)
1.2 สมองและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningoencephalitis)
1.3 เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ใช้การติดเชื้อแบคทีเรีย (aseptic meningitis)
1.4 กล้ามเนื้ออ่อนแรงคล้ายโปลิโอ (poliomyelitis like paralysis)

ภาวะแทรกซ้อนระบบปอด เช่น ปอดอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนระบบหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีไข้นำมาก่อนประมาณ 3-6 วัน โดยมักไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว และมักมีอาการทางระบบ ประสาทนำมาก่อน ต่อมามีอาการหายใจล้มเหลวอย่างรวดเร็ว และมีปอดบวมน้ำ (pulmonary edema)


จากนี้ค่ะ
//ramacme.ra.mahidol.ac.th/?q=node/45




Outbreak:
ในประเทศตะวันตก พบว่ามีการระบาดในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โรคนี้
เคยแพร่ระบาดในรัฐซาราวัคของมาเลเซีย ช่วงปี 40 มาแล้ว คร่าชีวิตเด็กๆ
ไปราว 50 คน นอกจากนี้ ยังเคยแพร่ระบาดในไต้หวันเมื่อปี 41 มีเด็กเสีย
ชีวิตไปถึง 78 คน

สำหรับในประเทศไทย จากการเฝ้าระวังโรคภายในปีนี้ มีรายงานว่าพบผู้ป่วย
ในเดือน พ.ค. 43 จำนวน 57 ราย และ มิ.ย. จำนวน 6 ราย โดยในประเทศไทย
พบผู้ป่วย HFMD มาตลอด แต่ยังไม่เคยมีการระบาดใหญ่ และยังไม่เคย มี
การระบาดของเชื้อเอนเธอโรไวรัส 71 แต่อย่างใด

จากการเฝ้าระวังโรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคที่พบอยู่ประปราย
เป็นเวลานานแล้ว และเป็นโรคที่พบได้ในประเทศต่าง ๆ แต่ไม่มีอาการรุนแรง
สำหรับผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอ็นเทอโรไวรัส 71 (enterovirus 71) ซึ่งใน
ประเทศไทยเคยพบจำนวนเล็กน้อยในหลายปีก่อน และมีอาการไม่รุนแรง ไม่
พบว่ามีผู้ป่วยเด็กเสียชีวิตแต่อย่าง


จากนี้ค่ะ ..//www.thailabonline.com/sec8hfm.htm
//ramacme.ra.mahidol.ac.th/?q=node/45


*********



ปล. เนื้อหาและข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ยังมีอีกมากค่ะ .. แต่ที่รวบรวมมานี่ มีเพียงคร่าวๆ เท่านั้นนะคะ ..

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม คลิกได้ที่นี่เลยค่ะ ..

//www.google.co.th/search?hl=th&source=hp&q=%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2+%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81&meta=&aq=f&aqi=g3&aql=&oq=&gs_rfai=

ขอบคุณที่แวะมาอ่านนะคะ




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553
5 comments
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 2:17:52 น.
Counter : 5304 Pageviews.

 

เคนจังเพิ่งหายไปเองคะ ไอ้โรคนี้ น่าสงสารมากเลยคะ

 

โดย: Hamugo 1 สิงหาคม 2553 8:29:56 น.  

 

เพิ่มเติมคะ
ของเคนจังนะ มีฝื่นขึ้นทั้งหลัง ขา และบริเวณที่ใส่แพมเพิร์สด้วยคะ
น่าสงสารมากเลย ทานอาหารไม่ได้ ไปหลายวันเหมือนกัน
ตอนนี้อยู่ในช่วง งดออกจากบ้านเข้าอาทิตย์ที่สามแล้วคะ

 

โดย: Hamugo 1 สิงหาคม 2553 8:32:36 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมน้องมินโฮค่ะ

ข้อมูลเยอะมากเลย ดูรูปแล้วน่ากลัวจัง แบบหยึ่ยๆ ตรงเม็ดที่มืออ่ะ อิอิ

ดีที่ลูกคนโตยังไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นด้วย อิอิ

 

โดย: น้าโอ ณ บ้านนา 3 สิงหาคม 2553 1:01:29 น.  

 

ผมอายุ23แล้ว ผมเป็นได้ไงไม่รู้ครับ แต่เป็นที่เท้ากับมือ เซงเลยครับ แต่ที่เท้าทำไมแสบมากครับ

 

โดย: b IP: 183.89.40.108 15 ธันวาคม 2553 12:00:17 น.  

 

น้องอายุ 2ขวบตรึ่งมีตุ่มน้ำใสแดงขึ้นที่หลัง5-6เม็ดข้างๆแขน และมีตุ่มแดงแตกที่หน้าอก1เม็ด อาการอื่นข้างเคียงไม่มีเลย ไม่รู้ว่าน้องเป็นโรคมือ เท้า ปากรึปล่าวคะ

 

โดย: คุณแม่ IP: 203.149.4.38 30 กรกฎาคม 2555 12:41:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


คุณพ่อมือ1
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




คุณแม่ 2 ลูก ..
ที่ยึดล๊อคอินคุณพ่อมา..
วิ่งเล่นไป วิ่งเล่นมาในเวปพันทิพ.. ..

ก่อนที่จะ..
กระโดดมานั่งเฝ้าชานเรือนอย่างจริงๆ จัง ..


หลายๆ เรื่องราว..
และหลายๆข้อความที่..
ถูกหลายๆ คนตั้งกระทู้ขึ้นมา..
ทำให้อดไม่ได้ที่จะ .. .. ต้องตามไปตอบ

โดยอาศัยข้อมูล และความเห็น ..
จาก..
ที่ได้อ่านมาบ้าง ..
ที่ได้รู้และพูดคุยกับคนอื่นๆมาบ้าง..
ที่ได้ปรึกษาและสอบถามคุณหมอมาบ้าง..
และที่สำคัญคือ..ที่เจอะเจอมากับตัวเองเต็มๆ ..

โดยหวังว่า..
ข้อความ หรือความเห็นต่างๆที่ได้ ตอบลงไป..
จะไม่เป็นการรู้มากเกินไป (นะคะ)

เพราะอันไหนสิ่งไหน ..
ถ้าเราไม่รู้จริงๆ ก็อาจจะข้าม ..
หรือตอบได้แบบสั้นๆ และตามด้วย ..

" ลองปรึกษาคุณหมอดูนะคะ .. "


และหวังว่า สุดท้ายนี้..
น้ำใสกับใบบัวจะได้รู้จัก ..
เพื่อนๆ และป้าๆ หรือคุณพี่(ยังสาว) อีกเยอะเยอะเลยนะคะ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
1 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add คุณพ่อมือ1's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.